ลมปาก กับ ลมตด

กระทู้สนทนา
ในการปาฐกถา “ผนึกกำลังสู่อนาคต : เรียนรู้ร่วมกันจากประสบการณ์” หรือ Uniting for the future : Learning from each other’s experiences ที่โรงแรมพลาซ่า แอทธินี ช่วยให้เห็นความแตกต่างหลายเรื่อง

ประสบการณ์ที่แตกต่าง

ปัญหาที่แตกต่าง

และที่สำคัญ ช่วยให้เห็นความแตกต่างระหว่าง “ลมปาก” กับ “ลมตด” ที่บังเอิญออกมาทางปาก!

โดยเฉพาะเมื่อสิ่งที่นายโทนี่ แบลร์ อดีตนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร พูดถึงหลัก 5 ประการ ของการทำงานเรื่องปรองดอง หากนำหลักการเหล่านั้นมาเทียบเคียงกับสิ่งที่รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร “ทักษิณคิด เพื่อไทยทำ” ได้ลงมือกระทำจริงๆ ในประเทศไทยขณะนี้ ก็จะได้เห็นถึงความแตกต่าง สวนทางกันอย่างสิ้นเชิง

แต่ในงานเดียวกันนั้น นายกฯ ยิ่งลักษณ์อุตส่าห์อ่านบทพูดสวยหรู ไม่อายตัวเอง “ดีแต่พูด” ของแท้

นั่นทำให้ “ลมปาก” มีค่าไม่ต่างจาก “ลมตด”



ประการที่ 1 โทนี่ แบลร์ บอกว่า การปรองดองเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อสังคมมีความรู้สึกอยากแบ่งปันมากกว่าแบ่งแยก สิ่งที่สำคัญคือการเจรจาต่อรองสันติภาพและการผนึกกำลังร่วมกันที่จะแบ่งปันโอกาส

สิ่งที่รัฐบาลในขณะนี้ทำ คือ แบ่งแยกประชาชน ใครสนับสนุนรัฐบาลก็จะได้รับความช่วยเหลือเต็มที่ ใครยอมเป็นมวลชนขี้ข้าทักษิณก็สามารถอยู่เหนือกฎหมายบ้านเมืองด้วยซ้ำ

ประการที่ 2 โทนี่ แบลร์ บอกว่า ในการสร้างความปรองดองสิ่งที่เราพูดกันคือเรื่องความขัดแย้งที่ทำให้ต้องมีการปรองดองกัน สิ่งที่ผมเรียนรู้คือเราสามารถนำสิ่งเหล่านี้มาวิเคราะห์ไตร่ตรองได้ แต่ไม่ควรตัดสินว่าจะนำมาซึ่งความพอใจของทุกฝ่ายได้ เราต้องยอมรับว่า อย่างไรก็ตามจะมีสองฝ่ายในการอธิบายถึงอดีตที่ผ่านมาซึ่งเราไม่สามารถข้ามพ้นไปได้ แต่เราตรวจตราอดีตในลักษณะที่จะทำให้เราสามารถเดินไปสู่อนาคตได้ด้วย เราสามารถมองทุกอย่างตามความจริงที่เกิดขึ้น ความโศกเศร้ายังมีอยู่ ภารกิจปรองดองไม่ใช่ให้ลบล้างมัน แต่ให้ก้าวข้ามมันไปเพื่อไปทำสิ่งอื่น

สิ่งที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์กำลังทำ คือ เดินหน้า “พาพี่ชายกลับบ้าน”

ประการที่ 3 โทนี่ แบลร์ บอกว่า เราไม่สามารถลบล้างความอยุติธรรมได้ แต่สาระที่แท้จริงคือสามารถตั้งกรอบการทำงานที่ทุกคนเห็นว่ายุติธรรมได้ ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง ซึ่งประเทศไทยมีกรอบอยู่แล้ว คุณสามารถลงรายละเอียดเพิ่มเติมในผลลัพธ์ที่ถูกต้อง

สิ่งที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ทำ คือ พยายามลบล้างคดีที่เกิดขึ้นหลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 โดยเฉพาะคดีทุจริตโกงกินของพี่ชาย นำมาสู้ความพยายามจะแก้รัฐธรรมนูญ ออกกฎหมายนิรโทษกรรมล้างผิดสุดซอย

ประการที่ 4 โทนี่ แบลร์ บอกว่า ประชาธิปไตยไม่ใช่เรื่องของการลงคะแนนเสียงเฉยๆ ไม่ใช่เรื่องที่ว่าคนส่วนใหญ่เข้าไปมีอำนาจ แต่ประชาธิปไตยเป็นเรื่องเกี่ยวกับแนวคิดที่ว่าคนส่วนใหญ่จะมีความสัมพันธ์กับคนกลุ่มน้อยอย่างไร หากคิดว่าประชาธิปไตยคือการชนะทุกอย่าง จะทำให้คนกลุ่มน้อยรู้สึกว่าถูกกีดกันในทุกเรื่อง

“หลักนิติธรรมต้องดำเนินไปไม่เอนเอียง ไม่ว่าจะเป็นตุลาการหรือรัฐบาลต้องตรวจสอบได้ กระบวนการยุติธรรมต้องมีความเป็นอิสระปราศจากการแทรกแซงหรืออคติ นี่คือกระบวนการยุติธรรมที่ถูกต้อง”

สิ่งที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ทำ คือ การแทรกแซงตำรวจ ดีเอสไอไล่สอบไล่เล่นงานฝ่ายตรงข้ามของรัฐบาล ในขณะที่คดีของฝ่ายรัฐบาลไม่ใช่แค่เกียร์ว่าง อาจเข้าเกียร์ถอย บางคดีสั่งไม่ฟ้อง ท่ามกลางข้อครหาสงสัยมากมาย

ประการที่ 5 โทนี่ แบลร์ บอกว่า การปรองดองจะเกิดขึ้นได้ง่าย ถ้ารัฐบาลมีประสิทธิภาพในการดูแลประชาชน โปร่งใส ตรวจสอบได้

ปรากฏว่า รัฐบาลบริหารประเทศล้มเหลวสารพัดเรื่อง ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนเสมือนถูกลอยแพ ไม่ว่าจะเป็น ค่าครองชีพแพง หนี้ท่วม ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ฯลฯ นายกฯ ทำลอยตัวอยู่เหนือปัญหาทั้งปวง เที่ยวเดินทางไปต่างประเทศเป็นว่าเล่น

ซ้ำร้าย ยังเต็มไปด้วยครหาเรื่องทุจริตโกงกิน ความไม่โปร่งใส

ไม่แปลกที่โทนี่ แบลร์ กล้าพูดต่อหน้านายกฯ ยิ่งลักษณ์

เขาอาจจะไม่รู้ความจริงของพฤติกรรมรัฐบาลยิ่งลักษณ์ หรือเขาอาจพูดตรง

แต่ที่น่าแปลกคือ นายกฯ ยิ่งลักษณ์และคนในรัฐบาล ทำเฉยชากับคำพูดของเขา ที่เสมือนกรีดหน้าพฤติกรรมการใช้อำนาจของ
พวกตนได้อย่างไม่รู้สึกรู้สาเลย!


ที่มา:http://www.naewna.com/politic/columnist/8456

ปล.หน้าหงายเงิบเลยนะ รีบหนีไปจีนเลย....เอิ๊ก ๆ ๆ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่