ว่าด้วยเรื่อง เพลี้ยอ่อน (Aphids)

กระทู้สนทนา
ว่าด้วยเรื่อง เพลี้ยอ่อน (Aphids)

เพลี้ยอ่อน (Aphids)

ชื่อวิทยาศาสตร์


-
ลักษณะการทำลาย

เพลี้ยอ่อน ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงตามใบ ยอดอ่อนและดอก ทำให้หงิกงอเป็นคลื่น หากมีการระบาดมาก ๆ จะทำให้ไม้ดอกเหี่ยวและอ่อนแอ ไม่ออกดอก บริเวณที่มีเพลี้ยก่อนระบาดมักจะพบเห็นมดอาศัยกินน้ำหวานที่เพลี้ยอ่อนถ่ายออกมา จะทำให้เกิดราดำ

รูปร่างลักษณะและชีวประวัติ

เพลี้ยอ่อน เป็นแมลงปากดูดที่มีขนาดเล็ก ผนักลำตัวอ่อนนุ่ม ขยายพันธุ์ได้โดยไม่ต้องการผสมพันธุ์และออกลูกเป็นตัว มีทั้งชนิดมีปีกและไม่มีปีก ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก ต่างกันที่ขนาดและสี เจริญเติบโตลอกคราบ 4-5 ครั้ง ตัวเต็มวัยขนาดโตเต็มที่ประมาณ 1 มิลลิเมตร สีลำตัวมีตั้งแต่สีเขียวอ่อนไปจนถึงสีดำเข้ม ที่ปลายส่วนท้องจะมีท่อเล็ก ๆ ยื่นยาวออกมา 2 ท่อ เพลี้ยอ่อนตัวหนึ่ง ๆ จะให้ลูกได้ประมาณ 27 ตัว ระยะตัวอ่อนประมาณ 5-6 วัน ระยะตัวเต็มวัยประมาณ 3-14 วัน อายุเฉลี่ย 11 วัน
การแพร่กระจายและฤดูกาลระบาด

เพลี้ยอ่อนจะพบเห็นอยู่ทั่วไปตลอดปี การกระจายตัวของเพลี้ยอ่อนเป็นแบบรวมกลุ่ม ปกติจะไม่เกิดการระบาด เพราะธรรมชาติคอยควบคุม เช่น ปริมาณน้ำฝน ศัตรูธรรมชาติ แต่ถ้าฝนทิ้งช่วงหรือในฤดูแล้ง อากาศร้อนจะเกิดการระบาดของเพลี้ยอ่อน
พืชอาหาร

ในไม้ดอก เช่น ดาวเรือง กุหลาบ เบญจมาศ ดอกรัก ชบา ยี่โถ บานชื่น แม้แต่บัว ฯลฯ ในพืชไร่ชนิดต่าง ๆ ในพืชผัก ฯลฯ
ศัตรูธรรมชาติ

มีทั้งตัวห้ำและตัวเมียนหลายชนิด เช่น แมลงช้างปีกใส, ด้วงเต่าหลายชนิด, แมลงวันก้นขน
การป้องกันและกำจัด

พยายามสำรวจแปลงปลูกพืช หากพบศัตรูธรรมชาติมีปริมาณมากให้ปล่อยไว้ สำหรับในฤดูแล้ง หากพบมีการระบาดมากให้ใช้สารสกัดจากสะเดา หรือยาสูบฉีดพ่น หากมีการระบาดรุนแรงศัตรูธรรมชาติไม่สามารถควบคุมได้ ใช้สารเคมี oxydemeton-methyl  หรือ carbosulfan  อย่างใดอย่างหนึ่งฉีดพ่น ตามอัตราที่ฉลากระบุ หลังจากนั้น 7 วัน ให้สำรวจแปลงดูหากยังมีการระบาดอยู่ให้ฉีดพ่นซ้ำอีกครั้ง
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่