สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 10
เอาแนวคิดมาแชร์นะจ๊ะ (ใครเคยอ่านแล้วก็ขอโทษด้วย เพราะน่าจะมีประโยชน์บ้าง สักนิดก็ยังดี)
อันนี้เป็นวิธีที่เราใช้กับกองทุนหุ้นปันผล สนใจก็ลองดู ไม่สนใจก็ผ่านเลยไป เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัวเท่านั้น
ไม่ได้ยาก หรือ ซับซ้อนอะไร เน้นความเรียบง่าย คือ
1. มองการลงทุนในกองทุนเป็นการออมเงินในระยะยาว และ ต้องนำเงินเย็นจริงๆเท่านั้นเพื่อมาลงทุน เพราะมันคือหุ้น ความผันผวนสูง
2. สะสมหน่วยลงทุนแบบทบต้นไปเรื่อยๆ จากงบที่เตรียมไว้ในแต่ละปี และ จากเงินปันผลที่ได้รับกลับไปลงทุนต่อ (Re-Investment) โดยที่ไม่ขายหน่วยลงทุน (เพราะถือว่าเงินส่วนนี้เป็นเงินเย็นตั้งแต่แรกเพื่อการออมเงิน ตามที่เราตกลงกับตัวเองไว้)
3. มันก็จะช่วยลดต้นทุนของ NAV ตัวเองโดยอัตโนมัติ เราขอเรียกว่าการ Cost Reduction เมื่อทำตาม ข้อ 2 อย่างต่อเนื่อง ซึ่งระยะยาวแล้วหน่วยลงทุนจะมากขึ้น
4. ประโยชน์จากข้อ 3 มัน จะเกิดส่วนต่างของราคาต้นทุนเรา กับ ราคากลางของกองทุน ซึ่งขอเรียกมันว่าส่วนเผื่อความปลอดภัย มันจะช่วยให้เรามีผลกระทบน้อย หรือ มีเวลาถอนตัวทัน ในสภาวะที่ตลาดตกลงอย่างรุนแรง จากราคาหุ้นที่กองทุนไปซื้อไว้ (เช่นต้มยำกุ้งถ้ามันจะเกิดขึ้นอีก) เราจะมีเวลาขายคืนทันมากกว่าคนอื่นซึ่งยังพอได้กำไรบางส่วนกลับมา หรือ ที่เลวร้ายที่สุดก็คือยังได้ทุนคืน
***ทุกวันนี้จึงให้ความสำคัญกับข้อ 4 นี้มากที่สุด***
5. สุดท้ายเมื่อหน่วยลงทุนเรามากขึ้น เงินปันผลของเราก็จะมากขึ้น เมื่อเงินปันผลของเรามากขึ้น เราก็จะมีเงินไปลงทุนทบต้นต่อมากขึ้น จนเราไม่จำเป็นต้องนำเงินต้นเพื่อนำมาลงทุนอีกต่อไป เพียงแต่เรานำเงินปันผลกลับไปลงทุนต่อทั้งหมด หรือ ใช้บางส่วน และ ลงทุนทบต้นต่อบางส่วน จนเราได้เงินต้นทุนคืนทั้งหมด หรือ เรียกว่า ต้นทุนเป็น 0 หลังจากนั้นเท่ากับว่าเราถือหน่วยลงทุน **ฟรี**
6. จาก ข้อ1 - ข้อ5 มันคือตัวสรุปของสิ่งที่ทุกคนไขว่คว้า คือ อิสระภาพทางการเงิน (FINANCIAL FREEDOM) ซึ่งหมายถึง
- การมีรายได้แบบไม่ต้องทำงาน
(PASSIVE INCOME) จากกระแสเงินสด (CAST FLOW) ที่ได้มาจากเงินปันผล (DIVIDEND) ที่เพียงพอกับการใช้จ่ายของเรา และ ครอบครัวไปตลอดชีวิต หรือ การมีรายได้มากกว่ารายจ่ายอยู่ตลอดเวลา หรือ
เพียงพอกับการใช้จ่ายที่คาดการณ์ในแต่ละปี
มันเหมือนการทำฟาร์มเลี้ยงวัวนม หรือ การเลี้ยงห่านที่ออกไข่ทองคำ ดั่งที่มีเปรียบเปรยกันทั่วไป เพราะตราบใดที่เรายังไม่ขายแม่วัวนมพันธ์ุดี หรือ แม่ห่านที่ออกไข่ทองคำ เราก็ยังมีนมจากแม่วัวไว้เลี้ยงชีพเป็นระยะ หรือ มีไข่ทองคำเก็บเอาไปขายเป็นระยะ โดยที่เราไม่ต้องทำงานอีกต่อไป เพียงแต่เราต้องดูแลทั้งแม่วัว และ แม่ห่าน ให้อยู่กับเราให้นานที่สุดเท่านั้นเอง
มันยากตรงที่เราจะมีวินัยกับตัวเองได้นานเพียงใด และ ควบคุมความโลภ ความกลัวของตนเองได้มากเพียงใด เท่านั้นเอง
"วิธีของเรา คือ อดเปรี้ยวไว้กินหวาน" เน้นอึด สงบนิ่ง และ คอยปรับตัวให้ทันตามสถานะการณ์ เท่านั้นพอ
เราไม่มีเทคนิคการคำนวนทางตัวเลข ไม่ใช่เซียน ไม่มีความรู้เรื่องหุ้น ไม่มีปรัชญา จึงคิดว่าควรลงทุนกับกองทุนรวมน่าจะเหมาะสมกับจริตตนเองมากที่สุด โดยกำหนดวางแนวความคิดของตนเองแบบนี้ เพื่อให้อยู่ในตลาดได้อย่างปลอดภัย มีความสุข และ มีอนาคตที่สดใส ยั่งยืน ไม่ลำบาก ทุกอย่างเราว่ามันเริ่มที่แนวคิดก่อนว่ามันเหมาะกับเราหรือไม่ และ มันสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการลงทุนได้หลายประเภท ขอให้ลงทุนแบบ Win Win ซึ่งหมายถึง ตลาดหมีมาก็ดี(หุ้นแดง) , ตลาดกระทิงมาก็ดี(หุ้นเขียว)
ขอให้มองข้อดีของตลาดหุ้นในทุกช่วงเวลา และ นำมาเป็นประโยชน์สำหรับตัวเรา เพราะส่วนมากคนในตลาดหุ้นมีความสุขในช่วงตลาดขาขึ้นแค่ 30% ส่วนอีก 70% ต้องกังวล และ ไม่มีความสุขกับช่วงตลาดขาลง
แต่ถ้าเป็นเรา ตลาดสีแดง หมีมาตะปบแล้ว
เรามองเป็นแดงทับทิมที่มีค่ามาก ก็จะได้เวลาซื้อของดีราคาถูก ถ้าตลาดสีเขียว กระทิงขวิดเสยแล้ว ก็เป็นสัญญาณดีเพื่อเตรียมรับเงินปันผล เพื่อนำกลับไปลงทุนทบต้นต่อไป
จากสถิติตลาดหุ้นมีคนกำไรมีเพียง 10% นอกนั้นขาดทุนหรือเสมอตัว จงลงทุนแบบคิดให้ต่าง ให้ตนเองอยู่ใน 10% นั้นให้ได้นะ
ส่วนตัวแล้ว จะสนใจกระแสเงินสดที่เข้ามาเป็นระยะจากเงินปันผล ราคาที่ขึ้นลงจึงไม่ค่อยมีผลกับแนวคิดนี้เท่าไหร่นัก เพราะตนเองไม่ได้ต้องการทำกำไรจากส่วนต่างราคาแบบเก็งกำไร เราจึงชอบบอกว่าแนวทางการรับผลตอบแทนมันคนละรูปแบบกัน นำมาเปรียบเทียบกันไม่ได้ ราคาจะมีผลกับเราอีกทีที่ทำให้ตัดสินใจก็คือช่วงที่กองทุนประกาศวัน XD ว่าเรายอมรับราคาและพร้อมจะเข้าลงทุนต่อหรือไม่ ส่วนราคาที่ขึ้นไปตามตลาด จะถือว่าเป็นหน้าที่ของ ผจก.กองทุนในการตัดสินใจแทนเราเพื่อทำราคาและนำเงินปันผลมาจ่ายให้เราเป็นระยะตามคอนเซ็ปกองทุน เราถือว่าในเมื่อเรายอมรับในการเข้าลงทุนกองทุนใดแล้วก็ควรเชื่อใจในระดับหนึ่ง
เรื่องลดความเสี่ยงของเรานั้นจะหมายถึง ต้นทุนจากการทบต้นในระยะยาว ต่ำกว่าราคาตลาดมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งอุ่นใจ จากวิกฤตในอนาคต (ถ้ามี)
ทั้งนี้การรับเงินปันผลเพื่อหวังเป็นรายได้ในอนาคต ควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงไปสินทรัพย์อื่นที่มีความเสี่ยงในระดับที่แตกต่างกันด้วย เพราะอนาคตไม่มีความแน่นอน ต้มยำกุ้งครั้งก่อนราคากองทุนเหลือเพียง 50% ก็มีให้เห็นมาแล้ว ดังนั้น ณ ปัจจุบัน จึงควรเตรียมแนวทางไว้แต่เนิ่นๆ ทั้งการเตรียมตัวตั้งรับ สังเกตุการณ์ หรือ เตรียมเผ่น อย่างน้อยการมีส่วนต่างราคาต้นทุนของเรากับราคากลางมากๆนั้น การเผ่นของเราอย่างน้อยก็ยังได้กำไรบ้าง หรือ อย่างเลวร้ายที่สุดก็ได้ทุนคืน แบบถอนตัวทัน ทั้งนี้อยู่ที่จังหวะการตัดสินใจของแต่ละคนในช่วงนั้นแล้วหล่ะนะ
เรามองการสะสมจำนวนหน่วยลงทุนที่มากขึ้นเป็นหลัก เพื่อสร้างกระแสเงินสดจากเงินปันผลที่มากขึ้นในอนาคต จึงมีแต่ซื้อนะ ไม่เคยขายออก เงินเท่ากันแต่ถ้าซื้อได้ถูก จำนวนหน่วยก็จะมากกว่า คนที่ซื้อราคาสูงกว่าเรา
ส่วนการเลือกลงทุนว่าจะเลือกกองทุนแบบจ่ายปันผล หรือ ไม่จ่ายปันผลนั้น แบบไหนดีกว่ากัน
เราคิดว่ามันก็สุดแล้วแต่ความชอบ ความพึงพอใจ ของแต่ละคน ในกรณีกองทุนที่ไม่จ่ายเงินปันผลบางท่านก็จะมีการคำนวนตัวเลขส่วนต่างราคาแล้วนำมาเปรียบเทียบกับกองทุนหุ้นปันผลว่าผลตอบแทนดีกว่าเนื่ิองจากไม่ต้องเสียภาษี 10% ส่วนตัวมองว่าไม่จริงเสมอไป เพราะ ผจก.กองทุน มีความสามารถในการเลือกหุ้น จังหวะการลงทุน ระยะเวลา การสร้างผลตอบแทน ประกอบกับจังหวะการ เข้า-ออก ตลาดของตัวผู้ลงทุนเองที่มีจำนวนครั้งในรอบปี ที่มีความหลากหลายไม่เหมือนกัน มีผลทำให้มีความแตกต่างทางด้านผลตอบแทน แนวคิดการเปรียบเทียบดังกล่าวเรามองว่าเป็นการมองเพียงด้านเดียว ช่วงตัวเลขเดียว ระยะเวลาเดียว ที่นำมาเปรียบเทียบกันเท่านั้น เรามองว่าการเปรียบเทียบควรมองในภาพรวมในระยะยาวว่าผลตอบแทนในช่วงเวลาเดียวกันในแต่ละรอบปีได้เป็นกี่เปอร์เซนต์ ต่อ ปี น่าจะใกล้เคียงความจริงมากกว่า โดยเปรียบเทียบตัวเลขของกองทุนในประเภทเดียวกันเท่านั้น
กองทุนหุ้นที่ไม่จ่ายเงินปันผล จะดีมาก ถ้าเข้า-ออก ถูกจังหวะ คือ เข้าได้ราคาถูกจริง และ ออกได้ราคาดีจริง ซึ่งมีผลให้ในแต่ละรอบปีผลตอบแทนเมื่อเทียบกับเงินต้นที่ลงทุนก็จะสูงตามไปด้วย ส่วนหนึ่งมั่นใจตนเองในการตัดสินใจขายทำกำไรว่าสามารถทำได้ดี และ ทำได้แม่นยำกว่า ผจก.กองทุน ประเภทกองทุนหุ้นที่จ่ายเงินปันผล
ประเด็น คือ ในความเป็นจริงผู้ลงทุนมีความสามารถในการคาดการณ์ให้ใกล้เคียงค่าที่ดีที่สุดได้ดีเพียงใด และ ผิดพลาดบ่อยแค่ไหน เพราะยิ่งเร่งการสร้างผลตอบแทนให้ได้ตามเป้าหมายในแต่ละปีโดยการเข้า-ออกบ่อยเพียงใด ความถี่ในการนำพาตนเองเข้าหาความเสี่ยงก็จะมาก และ ถี่ขึ้นเป็นเงาตามตัว
ส่วนตัวเรามีกองทุนหุ้นปันผล เรื่องภาษี 10% เราถือว่าเป็นค่าจ้างการสร้างจังหวะการลงทุนของเรา เพราะเราเชื่อ และ ยอมรับว่า ผจก.กองทุน มีความรู้ และ ประสบการณ์ และ สามารถตัดสินใจรอบคอบได้ดีมากกว่าเรา
ภาษี 10% ที่เสียไปอาจจะเสียหายน้อยกว่าการคาดการณ์จังหวะที่ผิดพลาดเพียงครั้งเดียวก็เป็นไปได้
ส่วนเรื่องจังหวะการเข้าลงทุนนั้น ที่เราเข้าใจก็มีอยู่ 3 รูปแบบ คือ
1. ลงทุนวันที่ราคาปรับตัวลดลงมากๆ ตามสถานะการณ์ของตลาด
2. ลงทุนช่วงวัน XD ที่กองทุนพิจารณาตัดจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ลงทุนซึ่งมีผลทำให้ราคาลดลงตามมูลค่าเงินปันผลที่ตัดจ่ายในเบื้องต้น บวก-ลบ ราคาตามตลาด ณ วันดังกล่าวอีกส่วนหนึ่ง
3. ลงทุนแบบถัวเฉลี่ยลงทุนตามจำนวนเงิน และ ระยะเวลาที่เท่าๆ กันอย่างต่อเนื่อง (DCA) เพื่อให้ภาพรวมมูลค่าต้นทุนได้ค่าเฉลี่ยที่ไม่สูงเกินไป แต่ก็จะไม่ได้ค่าเฉลี่ยต้นทุนที่ใกล้เคียงค่าที่ต่ำที่สุด
การลงทุนเราเชื่อว่าต้องใช้ระยะเวลาเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ดี สามารถต้านทานความผันผวนของตลาดได้มากยิ่งขึ้น แต่ระยะเวลาของเราในการเข้าลงทุน คือ จะไม่ใช้ระยะเวลากับวิธีที่ 3 (DCA) ในการเข้าซื้อ
แต่จะใช้วิธีที่ 1 และ 2 โดยเราจะรอจนกว่าจะมั่นใจว่าได้ของถูกจริงๆ ถึงจะซื้อ และ จะซื้อมากๆ ตามงบประมาณรายปี และ เงินปันผลที่สะสมอยู่จากรอบที่ผ่านๆมา มันเหมือนกับการที่เราได้ซื้อที่ราคาปัจจุบัน และ ซื้อความจริงว่าเราซื้อได้ใกล้เคียงราคาที่ถูกที่สุดในระดับหนึ่ง และ เราไม่ห่วงเรื่องการเสียโอกาสในการสร้างผลตอบแทนก่อนหน้าที่เราจะซื้อ เรายินดีรอรับผลตอบแทนในรอบถัดไปได้ เพราะเรามองที่กระแสเงินสดจากเงินปันผลในอนาคตเท่านั้น
ไม่ได้สนใจราคาที่ ขึ้น-ลง รายวันเพื่อเก็งกำไรแค่ในวันนี้ เรามองว่าเมื่อเรามั่นใจว่าของถูกมันมี เพียงแต่ไม่ใช่ตอนนี้ แล้ววันนี้เราจะยอมซื้อแพงไปทำไม อีกทั้งไม่รู้อนาคต ว่า DCA ไปแล้วราคาจะไปในทิศทางใด เราคิดว่ารอเวลาว่าได้ของถูกแน่ๆ จึงดีที่สุด ไม่ต้องมาคอยกังวลว่า
- ถัวราคาแพงไปมั้ย? (ถ้าแพงแล้วราคาไปต่อก็ถือว่ายังโอเค สำหรับการเก็งกำไร แต่คนที่ชอบเงินปันผลวิธีนี้จะทำให้ต้นทุนสูงขึ้น) หรือ
- ทำไมยิ่งถัวราคายิ่งลด? (อันนี้หนักเลยไม่รู้ว่าราคาจะปรับตัวขึ้นมาเพื่อสร้างกำไรได้อีกที เมื่อไหร่ นานแค่ไหน สำหรับการเก็งกำไร แต่คนชอบเงินปันผลวิธีนี้จะทำให้ต้นทุนเฉลี่ยค่อยๆ ต่ำลงไป)
สรุปแล้วมันมีผลกับจิตวิทยาการลงทุนของเราเป็นการส่วนตัว เราเลยไม่ใช้วิธีการ DCA
ถ้าสนใจปลายทางเพื่ิอสร้างอิสระภาพทางการเงิน คราวนี้ก็อยู่ที่ว่าจะเริ่มจากการสะสมหน่วยลงทุนจากกองทุนหุ้นปันผลตั้งแต่แรกเลย หรือ
จะลงทุนในกองทุนหุ้นที่ไม่จ่ายเงินปันผลเพื่อสร้างกำไรสะสมไว้ก่อน แล้วค่อยไปลงทุนในกองทุนหุ้นปันผลที่ปลายทางก็ได้
คนเรา Active กับการลงทุนได้ก็ช่วงที่ยังพอมีกำลัง ร่างกายเอื้ออำนวย และ ยังพอรับความเสี่ยงได้ตามช่วงอายุ แต่ในอนาคตเมื่ออายุมากขึ้น ก็คงจะทำเช่นนั้นได้ลำบากขึ้นทุกที จึงควรสร้างความมั่นคง ความมั่งคั่ง สะสมไว้ให้เพียงพอในปลายทาง ที่เหลืออยู่ ทั้งของตนเอง และ ครอบครัว
อันนี้ยกตัวอย่างจากกองทุนหุ้น แต่การลงทุนมีหลายประเภท ควรเลือกให้เหมาะสมกับความต้องการ และ ความเสี่ยง ของตนเองที่ยอมรับได้จริงๆ
สรุปแนวคิดของกองทุนหุ้นปันผลก็คือ การมองกระแสเงินสดจากเงินปันผลเป็นหลัก ที่เกิดจากการสะสมหน่วยลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนในอนาคต ไม่ใช่การมองตัวเลขราคากองทุน รายวัน รายเดือน หรือ รายปี แต่ระยะเวลาควรมากกว่านั้น เพราะถ้าให้ระยะเวลาในการลงทุนน้อยเกินไป อาจจะไม่เพียงพอ หรือ อาจจะน้อยกว่าช่วงเวลาที่ต้องเผชิญกับช่วงเวลาของตลาดขาลง มีผลทำให้ความอดทนลดลง ความผิดหวังมากขึ้น จนอาจลืมเป้าหมายของตนเองที่ตั้งใจไว้ในตอนแรก ความรู้สึกดังกล่าวจึงมีผลต่อการตัดสินใจ ความรู้สึก และ ก่อให้เกิดความสับสน เช่น ยอมขายขาดทุน บ่นติดดอย ความผันผวนของตลาดเกิดขึ้นตลอดเวลา ดังนั้นในการสะสมเพื่อหวังผลในอนาคต หรือ เป้าหมายในระยะยาว ย่อมต้องการสะสมในราคาที่ใกล้ค่าที่ต่ำที่สุด ดังนั้นควรใช้เวลาที่คนส่วนมาก หมดความอดทน หมดหวัง หรือ สับสน นำมาเป็นโอกาสทองในการเก็บสะสม เพื่อเก็บเกี่ยวดอกผล ในอนาคต
การลงทุนในกองทุนหุ้นปันผลไม่ได้ยากอะไร แค่มีความอดทน และ คิดต่างจากจากคนส่วนมาก อย่างรู้จังหวะ ที่สำคัญควรเป็นเงินเย็นที่สามารถเก็บไว้ในระบบของกองทุน ได้อย่างไม่สะทกสะท้าน ในทุกช่วงราคาของธรรมชาติของตลาด
อันนี้เป็นวิธีที่เราใช้กับกองทุนหุ้นปันผล สนใจก็ลองดู ไม่สนใจก็ผ่านเลยไป เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัวเท่านั้น
ไม่ได้ยาก หรือ ซับซ้อนอะไร เน้นความเรียบง่าย คือ
1. มองการลงทุนในกองทุนเป็นการออมเงินในระยะยาว และ ต้องนำเงินเย็นจริงๆเท่านั้นเพื่อมาลงทุน เพราะมันคือหุ้น ความผันผวนสูง
2. สะสมหน่วยลงทุนแบบทบต้นไปเรื่อยๆ จากงบที่เตรียมไว้ในแต่ละปี และ จากเงินปันผลที่ได้รับกลับไปลงทุนต่อ (Re-Investment) โดยที่ไม่ขายหน่วยลงทุน (เพราะถือว่าเงินส่วนนี้เป็นเงินเย็นตั้งแต่แรกเพื่อการออมเงิน ตามที่เราตกลงกับตัวเองไว้)
3. มันก็จะช่วยลดต้นทุนของ NAV ตัวเองโดยอัตโนมัติ เราขอเรียกว่าการ Cost Reduction เมื่อทำตาม ข้อ 2 อย่างต่อเนื่อง ซึ่งระยะยาวแล้วหน่วยลงทุนจะมากขึ้น
4. ประโยชน์จากข้อ 3 มัน จะเกิดส่วนต่างของราคาต้นทุนเรา กับ ราคากลางของกองทุน ซึ่งขอเรียกมันว่าส่วนเผื่อความปลอดภัย มันจะช่วยให้เรามีผลกระทบน้อย หรือ มีเวลาถอนตัวทัน ในสภาวะที่ตลาดตกลงอย่างรุนแรง จากราคาหุ้นที่กองทุนไปซื้อไว้ (เช่นต้มยำกุ้งถ้ามันจะเกิดขึ้นอีก) เราจะมีเวลาขายคืนทันมากกว่าคนอื่นซึ่งยังพอได้กำไรบางส่วนกลับมา หรือ ที่เลวร้ายที่สุดก็คือยังได้ทุนคืน
***ทุกวันนี้จึงให้ความสำคัญกับข้อ 4 นี้มากที่สุด***
5. สุดท้ายเมื่อหน่วยลงทุนเรามากขึ้น เงินปันผลของเราก็จะมากขึ้น เมื่อเงินปันผลของเรามากขึ้น เราก็จะมีเงินไปลงทุนทบต้นต่อมากขึ้น จนเราไม่จำเป็นต้องนำเงินต้นเพื่อนำมาลงทุนอีกต่อไป เพียงแต่เรานำเงินปันผลกลับไปลงทุนต่อทั้งหมด หรือ ใช้บางส่วน และ ลงทุนทบต้นต่อบางส่วน จนเราได้เงินต้นทุนคืนทั้งหมด หรือ เรียกว่า ต้นทุนเป็น 0 หลังจากนั้นเท่ากับว่าเราถือหน่วยลงทุน **ฟรี**
6. จาก ข้อ1 - ข้อ5 มันคือตัวสรุปของสิ่งที่ทุกคนไขว่คว้า คือ อิสระภาพทางการเงิน (FINANCIAL FREEDOM) ซึ่งหมายถึง
- การมีรายได้แบบไม่ต้องทำงาน
(PASSIVE INCOME) จากกระแสเงินสด (CAST FLOW) ที่ได้มาจากเงินปันผล (DIVIDEND) ที่เพียงพอกับการใช้จ่ายของเรา และ ครอบครัวไปตลอดชีวิต หรือ การมีรายได้มากกว่ารายจ่ายอยู่ตลอดเวลา หรือ
เพียงพอกับการใช้จ่ายที่คาดการณ์ในแต่ละปี
มันเหมือนการทำฟาร์มเลี้ยงวัวนม หรือ การเลี้ยงห่านที่ออกไข่ทองคำ ดั่งที่มีเปรียบเปรยกันทั่วไป เพราะตราบใดที่เรายังไม่ขายแม่วัวนมพันธ์ุดี หรือ แม่ห่านที่ออกไข่ทองคำ เราก็ยังมีนมจากแม่วัวไว้เลี้ยงชีพเป็นระยะ หรือ มีไข่ทองคำเก็บเอาไปขายเป็นระยะ โดยที่เราไม่ต้องทำงานอีกต่อไป เพียงแต่เราต้องดูแลทั้งแม่วัว และ แม่ห่าน ให้อยู่กับเราให้นานที่สุดเท่านั้นเอง
มันยากตรงที่เราจะมีวินัยกับตัวเองได้นานเพียงใด และ ควบคุมความโลภ ความกลัวของตนเองได้มากเพียงใด เท่านั้นเอง
"วิธีของเรา คือ อดเปรี้ยวไว้กินหวาน" เน้นอึด สงบนิ่ง และ คอยปรับตัวให้ทันตามสถานะการณ์ เท่านั้นพอ
เราไม่มีเทคนิคการคำนวนทางตัวเลข ไม่ใช่เซียน ไม่มีความรู้เรื่องหุ้น ไม่มีปรัชญา จึงคิดว่าควรลงทุนกับกองทุนรวมน่าจะเหมาะสมกับจริตตนเองมากที่สุด โดยกำหนดวางแนวความคิดของตนเองแบบนี้ เพื่อให้อยู่ในตลาดได้อย่างปลอดภัย มีความสุข และ มีอนาคตที่สดใส ยั่งยืน ไม่ลำบาก ทุกอย่างเราว่ามันเริ่มที่แนวคิดก่อนว่ามันเหมาะกับเราหรือไม่ และ มันสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการลงทุนได้หลายประเภท ขอให้ลงทุนแบบ Win Win ซึ่งหมายถึง ตลาดหมีมาก็ดี(หุ้นแดง) , ตลาดกระทิงมาก็ดี(หุ้นเขียว)
ขอให้มองข้อดีของตลาดหุ้นในทุกช่วงเวลา และ นำมาเป็นประโยชน์สำหรับตัวเรา เพราะส่วนมากคนในตลาดหุ้นมีความสุขในช่วงตลาดขาขึ้นแค่ 30% ส่วนอีก 70% ต้องกังวล และ ไม่มีความสุขกับช่วงตลาดขาลง
แต่ถ้าเป็นเรา ตลาดสีแดง หมีมาตะปบแล้ว
เรามองเป็นแดงทับทิมที่มีค่ามาก ก็จะได้เวลาซื้อของดีราคาถูก ถ้าตลาดสีเขียว กระทิงขวิดเสยแล้ว ก็เป็นสัญญาณดีเพื่อเตรียมรับเงินปันผล เพื่อนำกลับไปลงทุนทบต้นต่อไป
จากสถิติตลาดหุ้นมีคนกำไรมีเพียง 10% นอกนั้นขาดทุนหรือเสมอตัว จงลงทุนแบบคิดให้ต่าง ให้ตนเองอยู่ใน 10% นั้นให้ได้นะ
ส่วนตัวแล้ว จะสนใจกระแสเงินสดที่เข้ามาเป็นระยะจากเงินปันผล ราคาที่ขึ้นลงจึงไม่ค่อยมีผลกับแนวคิดนี้เท่าไหร่นัก เพราะตนเองไม่ได้ต้องการทำกำไรจากส่วนต่างราคาแบบเก็งกำไร เราจึงชอบบอกว่าแนวทางการรับผลตอบแทนมันคนละรูปแบบกัน นำมาเปรียบเทียบกันไม่ได้ ราคาจะมีผลกับเราอีกทีที่ทำให้ตัดสินใจก็คือช่วงที่กองทุนประกาศวัน XD ว่าเรายอมรับราคาและพร้อมจะเข้าลงทุนต่อหรือไม่ ส่วนราคาที่ขึ้นไปตามตลาด จะถือว่าเป็นหน้าที่ของ ผจก.กองทุนในการตัดสินใจแทนเราเพื่อทำราคาและนำเงินปันผลมาจ่ายให้เราเป็นระยะตามคอนเซ็ปกองทุน เราถือว่าในเมื่อเรายอมรับในการเข้าลงทุนกองทุนใดแล้วก็ควรเชื่อใจในระดับหนึ่ง
เรื่องลดความเสี่ยงของเรานั้นจะหมายถึง ต้นทุนจากการทบต้นในระยะยาว ต่ำกว่าราคาตลาดมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งอุ่นใจ จากวิกฤตในอนาคต (ถ้ามี)
ทั้งนี้การรับเงินปันผลเพื่อหวังเป็นรายได้ในอนาคต ควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงไปสินทรัพย์อื่นที่มีความเสี่ยงในระดับที่แตกต่างกันด้วย เพราะอนาคตไม่มีความแน่นอน ต้มยำกุ้งครั้งก่อนราคากองทุนเหลือเพียง 50% ก็มีให้เห็นมาแล้ว ดังนั้น ณ ปัจจุบัน จึงควรเตรียมแนวทางไว้แต่เนิ่นๆ ทั้งการเตรียมตัวตั้งรับ สังเกตุการณ์ หรือ เตรียมเผ่น อย่างน้อยการมีส่วนต่างราคาต้นทุนของเรากับราคากลางมากๆนั้น การเผ่นของเราอย่างน้อยก็ยังได้กำไรบ้าง หรือ อย่างเลวร้ายที่สุดก็ได้ทุนคืน แบบถอนตัวทัน ทั้งนี้อยู่ที่จังหวะการตัดสินใจของแต่ละคนในช่วงนั้นแล้วหล่ะนะ
เรามองการสะสมจำนวนหน่วยลงทุนที่มากขึ้นเป็นหลัก เพื่อสร้างกระแสเงินสดจากเงินปันผลที่มากขึ้นในอนาคต จึงมีแต่ซื้อนะ ไม่เคยขายออก เงินเท่ากันแต่ถ้าซื้อได้ถูก จำนวนหน่วยก็จะมากกว่า คนที่ซื้อราคาสูงกว่าเรา
ส่วนการเลือกลงทุนว่าจะเลือกกองทุนแบบจ่ายปันผล หรือ ไม่จ่ายปันผลนั้น แบบไหนดีกว่ากัน
เราคิดว่ามันก็สุดแล้วแต่ความชอบ ความพึงพอใจ ของแต่ละคน ในกรณีกองทุนที่ไม่จ่ายเงินปันผลบางท่านก็จะมีการคำนวนตัวเลขส่วนต่างราคาแล้วนำมาเปรียบเทียบกับกองทุนหุ้นปันผลว่าผลตอบแทนดีกว่าเนื่ิองจากไม่ต้องเสียภาษี 10% ส่วนตัวมองว่าไม่จริงเสมอไป เพราะ ผจก.กองทุน มีความสามารถในการเลือกหุ้น จังหวะการลงทุน ระยะเวลา การสร้างผลตอบแทน ประกอบกับจังหวะการ เข้า-ออก ตลาดของตัวผู้ลงทุนเองที่มีจำนวนครั้งในรอบปี ที่มีความหลากหลายไม่เหมือนกัน มีผลทำให้มีความแตกต่างทางด้านผลตอบแทน แนวคิดการเปรียบเทียบดังกล่าวเรามองว่าเป็นการมองเพียงด้านเดียว ช่วงตัวเลขเดียว ระยะเวลาเดียว ที่นำมาเปรียบเทียบกันเท่านั้น เรามองว่าการเปรียบเทียบควรมองในภาพรวมในระยะยาวว่าผลตอบแทนในช่วงเวลาเดียวกันในแต่ละรอบปีได้เป็นกี่เปอร์เซนต์ ต่อ ปี น่าจะใกล้เคียงความจริงมากกว่า โดยเปรียบเทียบตัวเลขของกองทุนในประเภทเดียวกันเท่านั้น
กองทุนหุ้นที่ไม่จ่ายเงินปันผล จะดีมาก ถ้าเข้า-ออก ถูกจังหวะ คือ เข้าได้ราคาถูกจริง และ ออกได้ราคาดีจริง ซึ่งมีผลให้ในแต่ละรอบปีผลตอบแทนเมื่อเทียบกับเงินต้นที่ลงทุนก็จะสูงตามไปด้วย ส่วนหนึ่งมั่นใจตนเองในการตัดสินใจขายทำกำไรว่าสามารถทำได้ดี และ ทำได้แม่นยำกว่า ผจก.กองทุน ประเภทกองทุนหุ้นที่จ่ายเงินปันผล
ประเด็น คือ ในความเป็นจริงผู้ลงทุนมีความสามารถในการคาดการณ์ให้ใกล้เคียงค่าที่ดีที่สุดได้ดีเพียงใด และ ผิดพลาดบ่อยแค่ไหน เพราะยิ่งเร่งการสร้างผลตอบแทนให้ได้ตามเป้าหมายในแต่ละปีโดยการเข้า-ออกบ่อยเพียงใด ความถี่ในการนำพาตนเองเข้าหาความเสี่ยงก็จะมาก และ ถี่ขึ้นเป็นเงาตามตัว
ส่วนตัวเรามีกองทุนหุ้นปันผล เรื่องภาษี 10% เราถือว่าเป็นค่าจ้างการสร้างจังหวะการลงทุนของเรา เพราะเราเชื่อ และ ยอมรับว่า ผจก.กองทุน มีความรู้ และ ประสบการณ์ และ สามารถตัดสินใจรอบคอบได้ดีมากกว่าเรา
ภาษี 10% ที่เสียไปอาจจะเสียหายน้อยกว่าการคาดการณ์จังหวะที่ผิดพลาดเพียงครั้งเดียวก็เป็นไปได้
ส่วนเรื่องจังหวะการเข้าลงทุนนั้น ที่เราเข้าใจก็มีอยู่ 3 รูปแบบ คือ
1. ลงทุนวันที่ราคาปรับตัวลดลงมากๆ ตามสถานะการณ์ของตลาด
2. ลงทุนช่วงวัน XD ที่กองทุนพิจารณาตัดจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ลงทุนซึ่งมีผลทำให้ราคาลดลงตามมูลค่าเงินปันผลที่ตัดจ่ายในเบื้องต้น บวก-ลบ ราคาตามตลาด ณ วันดังกล่าวอีกส่วนหนึ่ง
3. ลงทุนแบบถัวเฉลี่ยลงทุนตามจำนวนเงิน และ ระยะเวลาที่เท่าๆ กันอย่างต่อเนื่อง (DCA) เพื่อให้ภาพรวมมูลค่าต้นทุนได้ค่าเฉลี่ยที่ไม่สูงเกินไป แต่ก็จะไม่ได้ค่าเฉลี่ยต้นทุนที่ใกล้เคียงค่าที่ต่ำที่สุด
การลงทุนเราเชื่อว่าต้องใช้ระยะเวลาเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ดี สามารถต้านทานความผันผวนของตลาดได้มากยิ่งขึ้น แต่ระยะเวลาของเราในการเข้าลงทุน คือ จะไม่ใช้ระยะเวลากับวิธีที่ 3 (DCA) ในการเข้าซื้อ
แต่จะใช้วิธีที่ 1 และ 2 โดยเราจะรอจนกว่าจะมั่นใจว่าได้ของถูกจริงๆ ถึงจะซื้อ และ จะซื้อมากๆ ตามงบประมาณรายปี และ เงินปันผลที่สะสมอยู่จากรอบที่ผ่านๆมา มันเหมือนกับการที่เราได้ซื้อที่ราคาปัจจุบัน และ ซื้อความจริงว่าเราซื้อได้ใกล้เคียงราคาที่ถูกที่สุดในระดับหนึ่ง และ เราไม่ห่วงเรื่องการเสียโอกาสในการสร้างผลตอบแทนก่อนหน้าที่เราจะซื้อ เรายินดีรอรับผลตอบแทนในรอบถัดไปได้ เพราะเรามองที่กระแสเงินสดจากเงินปันผลในอนาคตเท่านั้น
ไม่ได้สนใจราคาที่ ขึ้น-ลง รายวันเพื่อเก็งกำไรแค่ในวันนี้ เรามองว่าเมื่อเรามั่นใจว่าของถูกมันมี เพียงแต่ไม่ใช่ตอนนี้ แล้ววันนี้เราจะยอมซื้อแพงไปทำไม อีกทั้งไม่รู้อนาคต ว่า DCA ไปแล้วราคาจะไปในทิศทางใด เราคิดว่ารอเวลาว่าได้ของถูกแน่ๆ จึงดีที่สุด ไม่ต้องมาคอยกังวลว่า
- ถัวราคาแพงไปมั้ย? (ถ้าแพงแล้วราคาไปต่อก็ถือว่ายังโอเค สำหรับการเก็งกำไร แต่คนที่ชอบเงินปันผลวิธีนี้จะทำให้ต้นทุนสูงขึ้น) หรือ
- ทำไมยิ่งถัวราคายิ่งลด? (อันนี้หนักเลยไม่รู้ว่าราคาจะปรับตัวขึ้นมาเพื่อสร้างกำไรได้อีกที เมื่อไหร่ นานแค่ไหน สำหรับการเก็งกำไร แต่คนชอบเงินปันผลวิธีนี้จะทำให้ต้นทุนเฉลี่ยค่อยๆ ต่ำลงไป)
สรุปแล้วมันมีผลกับจิตวิทยาการลงทุนของเราเป็นการส่วนตัว เราเลยไม่ใช้วิธีการ DCA
ถ้าสนใจปลายทางเพื่ิอสร้างอิสระภาพทางการเงิน คราวนี้ก็อยู่ที่ว่าจะเริ่มจากการสะสมหน่วยลงทุนจากกองทุนหุ้นปันผลตั้งแต่แรกเลย หรือ
จะลงทุนในกองทุนหุ้นที่ไม่จ่ายเงินปันผลเพื่อสร้างกำไรสะสมไว้ก่อน แล้วค่อยไปลงทุนในกองทุนหุ้นปันผลที่ปลายทางก็ได้
คนเรา Active กับการลงทุนได้ก็ช่วงที่ยังพอมีกำลัง ร่างกายเอื้ออำนวย และ ยังพอรับความเสี่ยงได้ตามช่วงอายุ แต่ในอนาคตเมื่ออายุมากขึ้น ก็คงจะทำเช่นนั้นได้ลำบากขึ้นทุกที จึงควรสร้างความมั่นคง ความมั่งคั่ง สะสมไว้ให้เพียงพอในปลายทาง ที่เหลืออยู่ ทั้งของตนเอง และ ครอบครัว
อันนี้ยกตัวอย่างจากกองทุนหุ้น แต่การลงทุนมีหลายประเภท ควรเลือกให้เหมาะสมกับความต้องการ และ ความเสี่ยง ของตนเองที่ยอมรับได้จริงๆ
สรุปแนวคิดของกองทุนหุ้นปันผลก็คือ การมองกระแสเงินสดจากเงินปันผลเป็นหลัก ที่เกิดจากการสะสมหน่วยลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนในอนาคต ไม่ใช่การมองตัวเลขราคากองทุน รายวัน รายเดือน หรือ รายปี แต่ระยะเวลาควรมากกว่านั้น เพราะถ้าให้ระยะเวลาในการลงทุนน้อยเกินไป อาจจะไม่เพียงพอ หรือ อาจจะน้อยกว่าช่วงเวลาที่ต้องเผชิญกับช่วงเวลาของตลาดขาลง มีผลทำให้ความอดทนลดลง ความผิดหวังมากขึ้น จนอาจลืมเป้าหมายของตนเองที่ตั้งใจไว้ในตอนแรก ความรู้สึกดังกล่าวจึงมีผลต่อการตัดสินใจ ความรู้สึก และ ก่อให้เกิดความสับสน เช่น ยอมขายขาดทุน บ่นติดดอย ความผันผวนของตลาดเกิดขึ้นตลอดเวลา ดังนั้นในการสะสมเพื่อหวังผลในอนาคต หรือ เป้าหมายในระยะยาว ย่อมต้องการสะสมในราคาที่ใกล้ค่าที่ต่ำที่สุด ดังนั้นควรใช้เวลาที่คนส่วนมาก หมดความอดทน หมดหวัง หรือ สับสน นำมาเป็นโอกาสทองในการเก็บสะสม เพื่อเก็บเกี่ยวดอกผล ในอนาคต
การลงทุนในกองทุนหุ้นปันผลไม่ได้ยากอะไร แค่มีความอดทน และ คิดต่างจากจากคนส่วนมาก อย่างรู้จังหวะ ที่สำคัญควรเป็นเงินเย็นที่สามารถเก็บไว้ในระบบของกองทุน ได้อย่างไม่สะทกสะท้าน ในทุกช่วงราคาของธรรมชาติของตลาด
แสดงความคิดเห็น
ทำอย่างใรดีกับ กองทุนรวม เมื่อหุ้นตก
แต่จำเป็นต้องออมเงินมากขึ้นไว้ใช้หลังเกษียน จะได้ไม่ต้องเป็นภาระแก่ลูกหลาน
เห็นว่าคนไม่มีความรู้เรื่องหุ้นก็สามารถลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ได้โดยให้มืออาชีพบริหารผ่านการลงทุนในกองทุนรวม ซึ่งให้
ผลตอบแทนดีกว่าฝากธนาคาร เมื่อต้นปีจึงเริ่มซื้อกองทุนรวมสะสมมาทุกเดือน โดยเลือกกองทุนที่มีผลประกอบการดี มีปันผล
คือ HI-DIV KSFDIV และ KTSE พร้อมๆกับการซื้อ LTF RTF ไว้ลดภาษีเหมือนเคยแต่ปีนี้เลือกกองที่มีปันผลและลงทุนในหุ้นมากหน่อย
แต่โชคไม่ดีช่วงนี้หุ้นตกมาก LTF RTF ที่ซื้อปีนี้ติดลบ สิบกว่า% แต่เมื่อรวมผลตอบแทนจากปีก่อนๆยังมีกำไรอยู่และสิ้นปี
ยังไปลดภาษีได้อีก ไม่น่าห่วงเท่าไหร่
ที่ติดลบมากคือกองทุนปันผลที่เพิ่งจะซื้อเมื่อต้นปี ขาดทุนทุกกองเกือบ 20% แล้ว อ่านในห้องสินธรบางความเห็นบอกให้ถือยาว
ตามวัตถุประสงค์ที่ซื้อเพราะต้องการปันผลไม่ต้องสนใจราคา บางความเห็นบอกให้cut loss
บางคนถัวเฉลี่ยเพราะราคาหน่วยลงทุนต่ำกว่าต้นปีมาก บางคนห้ามถัวเฉลี่ยเพราะเป็นช่วงขาลงจะขาดทุนหนัก
ให้ไปรอซื้อตอนราคาต่ำๆ ..
ช่วงนี้ได้แต่ติดตามข่าวจากห้องสินธรทำอะไรไม่ถูกเพราะไม่มีความรู้เรื่องหุ้นเลย
จึงขอทราบความเห็นจากผู้ลงทุนในกองทุนรวมว่าสภาวะตลาดแบบนี้ควรจะให้ผู้บริหารกองทุนรวมแก้ไขปัญหาไป หรือผู้ซื้อกองทุนรวมควรจะทำอะไรได้บ้าง
ขอบคุณครับ