จากคำบอกเล่าของพระอาจารย์สมชาย ฐิตวิริโย
หลวงปู่เล่าว่า...สมัยที่บำเพ็ญอยู่ในแถบวัดบ้านหนองโดก-ถ้ำเจ้าผู้ข้า จังหวัดสกลนครนั้นได้มีเหตุการณ์ประหลาดเรื่องหนึ่งเกิดขึ้นและเกิดมาเกี่ยวข้องกับหลวงปู่โดยบังเอิญอย่างไรไม่ทราบได้ ในสมัยนั้นชาวบ้านในแถบภาคอีสานมักจะได้ยินเรื่องของเณรคำกันจนคุ้นเคยเป็นอย่างดี เณรคำจะเป็นใครมาจากไหน รูปร่างหน้าตาที่แท้จริงเป็นอย่างไร ไม่มีใครทราบได้ มีเพียงแต่เล่ากันสืบ ๆ กันมา แต่ก็มีเรื่องมหัศจรรย์เกิดขึ้นกับชาวบ้านอยู่เป็นประจำ..เช่น เณรคำเป็นคนชอบบอกเลขบัตรเบอร์ให้กับชาวบ้านที่ยากจน เณรคำชอบช่วยรักษาคนเจ็บคนป่วย เณรคำมักจะให้คนเห็นไม่ซ้ำกัน เช่น บางคนจะเห็นเป็นหลวงตาแก่ ๆ บางคนเห็นเป็นพระหนุ่ม บางคนเห็นเป็นสามเณรน้อย บางคนเห็นเป็นผ้าขาวเฒ่า บางคนเห็นเป็นผ้าขาวน้อย ต่างคนต่างจะเห็นไม่ตรงกัน แต่ที่เห็นตรงกันอย่างหนึ่งก็คือ เณรคำจะปรากฏในร่างแบบไหนก็ตาม สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้ คือ จะเดินจูงม้าสีขาวไปตามหมู่บ้าน ออกจากหมู่บ้านนี้ก็ไปโผล่ที่หมู่บ้านนั้น เป็นอย่างนี้อยู่เป็นประจำ เดินบอกเลขไปบ้าง บอกยาช่วยคนเจ็บคนป่วยไปบ้าง เป็นอยู่อย่างนี้ ผู้คนในภาคอีสานยุคสมัยนั้นคุ้นเคยกับชื่อของเณรคำเป็นอย่างมาก ใครเป็นอะไรก็มักจะสบถอ้างถึงเณรคำให้มาช่วย เรียกไปเล่น ๆ อย่างนั้นแหละ แต่เดี๋ยวก็มาจริง ๆ เช่นบางคนมักจะบ่นกันเล่น ๆ ว่า...จนเหลือเกินเณรคำอยู่ที่ไหนมาบอกเลขให้ที...
ไม่ช้าไม่นานเณรคำก็จะมา แต่ต้องสังเกตให้ดี บางคนก็หลงลืมไปว่าจะใช่เณรคำหรือเปล่าอย่างนี้ก็มี เณรคำเมื่อมาแล้วก็จะมาบอกเลขให้เลยว่าไปซื้อเลขนี้ ๆ น๊ะ แต่เมื่อถูกแล้วต้องเอาเงินไปทอดผ้าป่าที่วัด ห้าบาท หรือสิบบาท ที่เหลือเป็นของเจ้าของ นี่คือข้อแม้ของเณรคำไม่บอกเฉย ๆ ไม่บอกฟรี ๆ แต่ไม่เอาเอง ให้ไปทำบุญนิดหน่อย บางคนก็ได้เลขพอแก้ขัด แต่บางบ้านก็จะถูกเลขกันทั้งหมู่บ้านเลยก็มี..อีกอย่างหนึ่งบางคนเจ็บป่วยออด ๆ แอด ๆ ก็มักจะบ่นเพล้อว่า...เณรคำอยู่ที่ไหนขอยากินแก้โรคหน่อย...
ไม่ช้าไม่นานเดี๋ยวก็จะมีคนลักษณะคล้ายคนไม่เต็มบาทเอายารากไม้มาให้กิน แต่บางคนก็ไม่กล้ากินเพราะไม่มั่นใจว่าจะใช่เณรคำหรือเปล่า เพราะคนที่กำลังฝนยารากไม้อยู่นั้นแต่งกายสกปรกเลอะเทอะ ดูไม่เต็มบาท ขาด ๆ เกิน ๆ ทำนองนั้น แต่ก็มีบางรายมั่นใจว่า นี่แหละคือเอกลักษณ์ของเณรคำ กินยาที่ตาเฒ่าฝนมาให้แล้วก็หาย ไม่เคยป่วยจนตลอดชีวิตก็มี โยมวัดเราที่ได้กินยาเณรคำมาแล้วก็ยังมี คือโยมเจ๋ง ทวีธรรม เมื่อก่อนโยมเจ๋งป่วยออด ๆ แอด ๆ อยู่เรื่อย พอบ่นถึงเณรคำได้ไม่กี่วันเท่านั้นเอง ก็มีตาเฒ่าเลอะเทอะคนหนึ่ง มาถามหาโยมเจ๋งว่า อยู่กุฏิหลังไหนจะเอายามาให้ เสร็จแล้วก็ไปนั่งฝนยาให้โยมเจ๋ง ๑ ถ้วย บอกให้โยมเจ๋งกินให้หมดถ้วยแล้วจะไม่ป่วยอีกตลอดชีวิต โยมเจ๋งมองเห็นสารรูปของตาเฒ่าที่กำลังนั่งฝนยานั้นแล้วแทบเป็นลม ฝนยาไปน้ำหมากน้ำลายหกไปเช็ดโน่นเกานี่ไปแล้วก็ชอบกล..จะกินดีหรือไม่กินดีสองจิตสองใจ...พอตาเฒ่าเผลอโยมเจ๋งก็แอบเทยาทิ้งใต้ถุนเหลือติดก้นถ้วยอยู่หน่อยหนึ่งก็ทำท่าเป็นยกใส่ปากแล้วก็ส่งถ้วยคืน.ให้ยาโยมเจ๋งเสร็จแล้วตาเฒ่าคนนั้นก็ล่ำลาโยมเจ๋งกลับ โยมเจ๋งจะให้เงินค่ารถก็ไม่เอา..แค่เศษยาที่เหลือติดก้นถ้วยแค่นั้น ดูซิ๊!ตั้งแต่บัดนั้นจนมาถึงเดี๋ยวนี้โยมเจ๋งอายุ ๙๐ ปีกว่าแล้ว ไม่เคยเจ็บไม่เคยป่วยอีกเลย ถ้าตอนนั้นโยมเจ๋งกินยาหมดถ้วยจริง ๆ คงอยู่ถึงสองร้อยปี หรือไม่ก็เป็นสาวยิ่งกว่าเก่าก็ได้..
อีกอย่างหนึ่งถ้าเณรคำไม่ไปฝนยาให้กินก็จะไปบอกตำราให้ไปหาตัวยามาทำเองเช่น ตำรายาของเณรคำจะมีอยู่ว่า ถ้าอยากหายให้ไปหาตัวยา ๔ อย่างนี้มาต้มกินแล้วจะหาย คือ ผักหนึ่งอยู่หนอง ผักสองอยู่นา ผักสามอยู่ป่าช้า ผักสี่อยู่วัด ซึ่งเป็นยาปริศนาหรือยาเทวดาบอก ใครตีปริศนาออกก็จะไปหามาต้มกินแล้วก็หายโรคภัยไข้เจ็บจริง ๆ อย่างที่เณรคำบอก..เณรคำชอบไปปรากฏตัวที่นั่นที่นี่ ชอบทำอะไรแผลง ๆ และทำไปทำมาก็เข้ามาเกี่ยวข้องกับผมตั้งแต่สมัยผมอยู่ถ้ำเจ้าผู้ข้าจนถึงทุกวันนี้
ที่มาเกี่ยวข้องกับผมก็คือ เรื่องธรรมาสน์ ธรรมาสน์ที่พระใช้นั่งเทศธรรมดา ๆ นี่แหละ แต่กว่าจะสร้างเสร็จนั้นพิสดารพอสมควร คือวันหนึ่งชาวบ้าน บ้านโคกเสาขวัญ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากบ้านหนองโดกเท่าไรนัก ได้มีศรัทธาที่จะสร้างธรรมาสน์สำหรับพระขึ้นนั่งเทศน์เพื่อถวายวัด ขณะที่กำลังนั่งปรึกษาหารือกันว่าจะได้ทุนจากที่ไหนมาซื้อสิ่งของประดับธรรมาสน์เล็ก ๆ น้อย ๆ ส่วนเรื่องไม้และเรื่องแรงงานนั้นไม่มีปัญหา ใครมีความสามารถด้านช่างไม้ ก็จะมาช่วยกันทำ ช่วยกันแกะสลัก ขาดแต่เงินที่จะต้องซื้อสิ่งของบางอย่างเท่านั้นเอง ในขณะที่ชาวบ้านกำลังล้อมวงปรึกษาหารือกันอยู่นั่นเอง ก็มีคนหนึ่งเอ่ยขึ้นว่าเอาอย่างนี้ซี! อธิษฐานให้เณรคำมาบอกหวย ถ้าถูกก็จะได้มีเงินซื้อสิ่งของได้ง่าย ๆ...
ว่าแล้วโยมกลุ่มหนึ่งในจำนวนนั้นจึงได้อธิษฐานขอให้เณรคำมาบอกหวยช่วยสร้างธรรมาสน์ พูดกันไปเล่น ๆ อย่างนั้นเองแต่เกิดเป็นจริงขึ้นมาจนได้ ครู่ต่อมาไม่นานนักเณรคำก็เดินจูงม้าผ่านมา แล้วจึงเอ่ยขึ้นมาว่า เออ!นี่พ่อออก(โยมผู้ชาย) ต้องการเงินซื้อสิ่งของเท่าไร? ให้ซื้อเลขกันคนละบาท เมื่อถูกแล้วจะได้มีเงินไปซื้อสิ่งของมาทำธรรมาสน์ต่อไป แต่เมื่อทำเสร็จแล้วต้องนำไปถวายอาจารย์สมชาย ที่บ้านหนองโดกน๊ะ เพราะจะได้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจท่าน ท่านจะได้ไม่ทิ้งพวกเราไปไหน ถ้าไม่มีเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจแล้ว ท่านก็จะไม่ได้อยู่กับพวกเราท่านคงจะเดินธุดงค์ไปเรื่อย ๆ ชาวบ้านก็ตกปากรับคำว่า ถ้าสร้างธรรมาสน์เสร็จแล้วจะนิมนต์ผมไปรับที่บ้านโคกเสาขวัญ งวดนั้นหวยก็ออกมาตรงกับที่เณรคำบอกนั่นเอง ชาวบ้านก็ถูกเบอร์กันทั้งหมู่บ้าน จึงมีเงินไปซื้อสิ่งของเพื่อเอามาจัดสร้างธรรมาสน์กันต่อไป
ขณะที่กำลังสร้างกันอยู่นั้นก็มีแต่เรื่องแปลกประหลาดเกิดขึ้น ตั้งแต่เริ่มสร้างจนสร้างเสร็จ ตัวอย่างเช่นขั้นบันไดที่จะขึ้นธรรมาสน์ ครั้งแรกตกลงกันว่าจะทำบันได ๙ ขั้น ก็มีเสียงม้าเณรคำร้องพร้อมทั้งมีเสียงฝีเท้าม้าควบไปรอบ ๆ บ้าน โยมกองจึงร้องถามออกไปว่า ๘ ขั้นเอาไหม? เสียงม้าก็ยังร้องและควบต่อไปอีก ๗ ขั้นเอาไหม? เสียงม้าก็ร้องต่อไปอีก จนถามต่อมาถึง ๕ ขั้นเอาไหม? เสียงม้าร้องและเสียงฝีเท้าม้าก็เงียบลง ในครั้งแรกก็จะเอาเป็นแค่ไม้กระดานทำเป็นขั้น เสียงม้าก็ร้องไปควบไปรอบบ้านอีกโยมกองจึงร้องถามไปว่า จะเอาเป็นรูปอะไร? รูปกระต่ายเอาไหม? เสียงม้าร้องต่อไปอีก รูปพญานาคเอาไหม? เสียงม้าก็ร้องต่อไปอีก รูปม้าเอาไหม? เงียบทันที ! จึงสรุปกันว่าขั้นบันไดต้องแกะสลักเป็นรูปม้า ดังที่เห็น เมื่อสร้างเสร็จแล้วชาวบ้านก็มานิมนต์ผมไปรับ เสร็จแล้วผมก็ถวายไว้ที่วัดบ้านโคกเสาขวัญ มอบให้ชาวบ้านช่วยดูแลรักษา ภายหลังจากนั้นผมก็แวะเวียนไปเยี่ยมเยียนชาวบ้านเป็นประจำ ธรรมาสน์ก็ยังอยู่ที่วัดโดยปกติ ต่อมาผมเดินธุดงค์ไม่ได้กลับไปบ้านโคกเสาขวัญหลายปี กลับไปคราวนี้ปรากฏว่าธรรมาสน์ได้หายไป สอบถามชาวบ้านทราบว่าเจ้าอาวาสรูปใหม่ ได้ยกธรรมาสน์ลงมาไว้ที่ใต้ถุนศาลา เนื่องจากมีคนกรุงเทพนำธรรมาสน์ประดับกระจกสีมาถวาย บังเอิญมีเจ้าอาวาสวัดแห่งหนึ่งผ่านมาเห็น เข้าใจว่าไม่ได้ใช้แล้วจึงขอ เจ้าอาวาสอนุญาตให้ไปแต่โดยดี หลังจากนั้นก็ไม่ทราบข่าวคราวอีกเลยว่าไปอยู่ที่วัดไหน
จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๐ ได้มีคนมาบอกว่า ได้พบธรรมาสน์หลังนี้อยู่ที่วัดบ้านสองพี่น้อง (บ้านอีเตี้ย) อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด เขาถ่ายรูปมาให้ดูปรากฏว่า ใช่ธรรมาสน์ของเณรคำจริง ๆ ขาดการดูแลรักษา ถูกปล่อยทิ้งอย่างน่าเสียดาย จึงได้ให้คนไปติดต่อขอผาติกรรมโดยทอดเป็นกฐินไปถวาย ๑ กอง แล้วขอธรรมาสน์ของผมคืน เพื่อเอามาเก็บรักษาไว้ที่นี่ (วัดเขาสุกิม) ไม่สวยแต่มีความหมายต่อชีวิตของผม ผมรักธรรมาสน์นี้มากเพราะเณรคำเป็นผู้สร้างถวายผม...
(หลวงปู่เล่าเรื่องนี้ภายหลังจากสรงน้ำประจำวันเสร็จแล้ว
ปัจจุบันธรรมาสน์เก็บรักษาไว้ที่วัดเขาสุกิม)
ที่มา ...
http://intimate13.blogspot.com/2013/07/blog-post_1243.html
ตำนานเณรคำ
หลวงปู่เล่าว่า...สมัยที่บำเพ็ญอยู่ในแถบวัดบ้านหนองโดก-ถ้ำเจ้าผู้ข้า จังหวัดสกลนครนั้นได้มีเหตุการณ์ประหลาดเรื่องหนึ่งเกิดขึ้นและเกิดมาเกี่ยวข้องกับหลวงปู่โดยบังเอิญอย่างไรไม่ทราบได้ ในสมัยนั้นชาวบ้านในแถบภาคอีสานมักจะได้ยินเรื่องของเณรคำกันจนคุ้นเคยเป็นอย่างดี เณรคำจะเป็นใครมาจากไหน รูปร่างหน้าตาที่แท้จริงเป็นอย่างไร ไม่มีใครทราบได้ มีเพียงแต่เล่ากันสืบ ๆ กันมา แต่ก็มีเรื่องมหัศจรรย์เกิดขึ้นกับชาวบ้านอยู่เป็นประจำ..เช่น เณรคำเป็นคนชอบบอกเลขบัตรเบอร์ให้กับชาวบ้านที่ยากจน เณรคำชอบช่วยรักษาคนเจ็บคนป่วย เณรคำมักจะให้คนเห็นไม่ซ้ำกัน เช่น บางคนจะเห็นเป็นหลวงตาแก่ ๆ บางคนเห็นเป็นพระหนุ่ม บางคนเห็นเป็นสามเณรน้อย บางคนเห็นเป็นผ้าขาวเฒ่า บางคนเห็นเป็นผ้าขาวน้อย ต่างคนต่างจะเห็นไม่ตรงกัน แต่ที่เห็นตรงกันอย่างหนึ่งก็คือ เณรคำจะปรากฏในร่างแบบไหนก็ตาม สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้ คือ จะเดินจูงม้าสีขาวไปตามหมู่บ้าน ออกจากหมู่บ้านนี้ก็ไปโผล่ที่หมู่บ้านนั้น เป็นอย่างนี้อยู่เป็นประจำ เดินบอกเลขไปบ้าง บอกยาช่วยคนเจ็บคนป่วยไปบ้าง เป็นอยู่อย่างนี้ ผู้คนในภาคอีสานยุคสมัยนั้นคุ้นเคยกับชื่อของเณรคำเป็นอย่างมาก ใครเป็นอะไรก็มักจะสบถอ้างถึงเณรคำให้มาช่วย เรียกไปเล่น ๆ อย่างนั้นแหละ แต่เดี๋ยวก็มาจริง ๆ เช่นบางคนมักจะบ่นกันเล่น ๆ ว่า...จนเหลือเกินเณรคำอยู่ที่ไหนมาบอกเลขให้ที...
ไม่ช้าไม่นานเณรคำก็จะมา แต่ต้องสังเกตให้ดี บางคนก็หลงลืมไปว่าจะใช่เณรคำหรือเปล่าอย่างนี้ก็มี เณรคำเมื่อมาแล้วก็จะมาบอกเลขให้เลยว่าไปซื้อเลขนี้ ๆ น๊ะ แต่เมื่อถูกแล้วต้องเอาเงินไปทอดผ้าป่าที่วัด ห้าบาท หรือสิบบาท ที่เหลือเป็นของเจ้าของ นี่คือข้อแม้ของเณรคำไม่บอกเฉย ๆ ไม่บอกฟรี ๆ แต่ไม่เอาเอง ให้ไปทำบุญนิดหน่อย บางคนก็ได้เลขพอแก้ขัด แต่บางบ้านก็จะถูกเลขกันทั้งหมู่บ้านเลยก็มี..อีกอย่างหนึ่งบางคนเจ็บป่วยออด ๆ แอด ๆ ก็มักจะบ่นเพล้อว่า...เณรคำอยู่ที่ไหนขอยากินแก้โรคหน่อย...
ไม่ช้าไม่นานเดี๋ยวก็จะมีคนลักษณะคล้ายคนไม่เต็มบาทเอายารากไม้มาให้กิน แต่บางคนก็ไม่กล้ากินเพราะไม่มั่นใจว่าจะใช่เณรคำหรือเปล่า เพราะคนที่กำลังฝนยารากไม้อยู่นั้นแต่งกายสกปรกเลอะเทอะ ดูไม่เต็มบาท ขาด ๆ เกิน ๆ ทำนองนั้น แต่ก็มีบางรายมั่นใจว่า นี่แหละคือเอกลักษณ์ของเณรคำ กินยาที่ตาเฒ่าฝนมาให้แล้วก็หาย ไม่เคยป่วยจนตลอดชีวิตก็มี โยมวัดเราที่ได้กินยาเณรคำมาแล้วก็ยังมี คือโยมเจ๋ง ทวีธรรม เมื่อก่อนโยมเจ๋งป่วยออด ๆ แอด ๆ อยู่เรื่อย พอบ่นถึงเณรคำได้ไม่กี่วันเท่านั้นเอง ก็มีตาเฒ่าเลอะเทอะคนหนึ่ง มาถามหาโยมเจ๋งว่า อยู่กุฏิหลังไหนจะเอายามาให้ เสร็จแล้วก็ไปนั่งฝนยาให้โยมเจ๋ง ๑ ถ้วย บอกให้โยมเจ๋งกินให้หมดถ้วยแล้วจะไม่ป่วยอีกตลอดชีวิต โยมเจ๋งมองเห็นสารรูปของตาเฒ่าที่กำลังนั่งฝนยานั้นแล้วแทบเป็นลม ฝนยาไปน้ำหมากน้ำลายหกไปเช็ดโน่นเกานี่ไปแล้วก็ชอบกล..จะกินดีหรือไม่กินดีสองจิตสองใจ...พอตาเฒ่าเผลอโยมเจ๋งก็แอบเทยาทิ้งใต้ถุนเหลือติดก้นถ้วยอยู่หน่อยหนึ่งก็ทำท่าเป็นยกใส่ปากแล้วก็ส่งถ้วยคืน.ให้ยาโยมเจ๋งเสร็จแล้วตาเฒ่าคนนั้นก็ล่ำลาโยมเจ๋งกลับ โยมเจ๋งจะให้เงินค่ารถก็ไม่เอา..แค่เศษยาที่เหลือติดก้นถ้วยแค่นั้น ดูซิ๊!ตั้งแต่บัดนั้นจนมาถึงเดี๋ยวนี้โยมเจ๋งอายุ ๙๐ ปีกว่าแล้ว ไม่เคยเจ็บไม่เคยป่วยอีกเลย ถ้าตอนนั้นโยมเจ๋งกินยาหมดถ้วยจริง ๆ คงอยู่ถึงสองร้อยปี หรือไม่ก็เป็นสาวยิ่งกว่าเก่าก็ได้..
อีกอย่างหนึ่งถ้าเณรคำไม่ไปฝนยาให้กินก็จะไปบอกตำราให้ไปหาตัวยามาทำเองเช่น ตำรายาของเณรคำจะมีอยู่ว่า ถ้าอยากหายให้ไปหาตัวยา ๔ อย่างนี้มาต้มกินแล้วจะหาย คือ ผักหนึ่งอยู่หนอง ผักสองอยู่นา ผักสามอยู่ป่าช้า ผักสี่อยู่วัด ซึ่งเป็นยาปริศนาหรือยาเทวดาบอก ใครตีปริศนาออกก็จะไปหามาต้มกินแล้วก็หายโรคภัยไข้เจ็บจริง ๆ อย่างที่เณรคำบอก..เณรคำชอบไปปรากฏตัวที่นั่นที่นี่ ชอบทำอะไรแผลง ๆ และทำไปทำมาก็เข้ามาเกี่ยวข้องกับผมตั้งแต่สมัยผมอยู่ถ้ำเจ้าผู้ข้าจนถึงทุกวันนี้
ที่มาเกี่ยวข้องกับผมก็คือ เรื่องธรรมาสน์ ธรรมาสน์ที่พระใช้นั่งเทศธรรมดา ๆ นี่แหละ แต่กว่าจะสร้างเสร็จนั้นพิสดารพอสมควร คือวันหนึ่งชาวบ้าน บ้านโคกเสาขวัญ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากบ้านหนองโดกเท่าไรนัก ได้มีศรัทธาที่จะสร้างธรรมาสน์สำหรับพระขึ้นนั่งเทศน์เพื่อถวายวัด ขณะที่กำลังนั่งปรึกษาหารือกันว่าจะได้ทุนจากที่ไหนมาซื้อสิ่งของประดับธรรมาสน์เล็ก ๆ น้อย ๆ ส่วนเรื่องไม้และเรื่องแรงงานนั้นไม่มีปัญหา ใครมีความสามารถด้านช่างไม้ ก็จะมาช่วยกันทำ ช่วยกันแกะสลัก ขาดแต่เงินที่จะต้องซื้อสิ่งของบางอย่างเท่านั้นเอง ในขณะที่ชาวบ้านกำลังล้อมวงปรึกษาหารือกันอยู่นั่นเอง ก็มีคนหนึ่งเอ่ยขึ้นว่าเอาอย่างนี้ซี! อธิษฐานให้เณรคำมาบอกหวย ถ้าถูกก็จะได้มีเงินซื้อสิ่งของได้ง่าย ๆ...
ว่าแล้วโยมกลุ่มหนึ่งในจำนวนนั้นจึงได้อธิษฐานขอให้เณรคำมาบอกหวยช่วยสร้างธรรมาสน์ พูดกันไปเล่น ๆ อย่างนั้นเองแต่เกิดเป็นจริงขึ้นมาจนได้ ครู่ต่อมาไม่นานนักเณรคำก็เดินจูงม้าผ่านมา แล้วจึงเอ่ยขึ้นมาว่า เออ!นี่พ่อออก(โยมผู้ชาย) ต้องการเงินซื้อสิ่งของเท่าไร? ให้ซื้อเลขกันคนละบาท เมื่อถูกแล้วจะได้มีเงินไปซื้อสิ่งของมาทำธรรมาสน์ต่อไป แต่เมื่อทำเสร็จแล้วต้องนำไปถวายอาจารย์สมชาย ที่บ้านหนองโดกน๊ะ เพราะจะได้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจท่าน ท่านจะได้ไม่ทิ้งพวกเราไปไหน ถ้าไม่มีเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจแล้ว ท่านก็จะไม่ได้อยู่กับพวกเราท่านคงจะเดินธุดงค์ไปเรื่อย ๆ ชาวบ้านก็ตกปากรับคำว่า ถ้าสร้างธรรมาสน์เสร็จแล้วจะนิมนต์ผมไปรับที่บ้านโคกเสาขวัญ งวดนั้นหวยก็ออกมาตรงกับที่เณรคำบอกนั่นเอง ชาวบ้านก็ถูกเบอร์กันทั้งหมู่บ้าน จึงมีเงินไปซื้อสิ่งของเพื่อเอามาจัดสร้างธรรมาสน์กันต่อไป
ขณะที่กำลังสร้างกันอยู่นั้นก็มีแต่เรื่องแปลกประหลาดเกิดขึ้น ตั้งแต่เริ่มสร้างจนสร้างเสร็จ ตัวอย่างเช่นขั้นบันไดที่จะขึ้นธรรมาสน์ ครั้งแรกตกลงกันว่าจะทำบันได ๙ ขั้น ก็มีเสียงม้าเณรคำร้องพร้อมทั้งมีเสียงฝีเท้าม้าควบไปรอบ ๆ บ้าน โยมกองจึงร้องถามออกไปว่า ๘ ขั้นเอาไหม? เสียงม้าก็ยังร้องและควบต่อไปอีก ๗ ขั้นเอาไหม? เสียงม้าก็ร้องต่อไปอีก จนถามต่อมาถึง ๕ ขั้นเอาไหม? เสียงม้าร้องและเสียงฝีเท้าม้าก็เงียบลง ในครั้งแรกก็จะเอาเป็นแค่ไม้กระดานทำเป็นขั้น เสียงม้าก็ร้องไปควบไปรอบบ้านอีกโยมกองจึงร้องถามไปว่า จะเอาเป็นรูปอะไร? รูปกระต่ายเอาไหม? เสียงม้าร้องต่อไปอีก รูปพญานาคเอาไหม? เสียงม้าก็ร้องต่อไปอีก รูปม้าเอาไหม? เงียบทันที ! จึงสรุปกันว่าขั้นบันไดต้องแกะสลักเป็นรูปม้า ดังที่เห็น เมื่อสร้างเสร็จแล้วชาวบ้านก็มานิมนต์ผมไปรับ เสร็จแล้วผมก็ถวายไว้ที่วัดบ้านโคกเสาขวัญ มอบให้ชาวบ้านช่วยดูแลรักษา ภายหลังจากนั้นผมก็แวะเวียนไปเยี่ยมเยียนชาวบ้านเป็นประจำ ธรรมาสน์ก็ยังอยู่ที่วัดโดยปกติ ต่อมาผมเดินธุดงค์ไม่ได้กลับไปบ้านโคกเสาขวัญหลายปี กลับไปคราวนี้ปรากฏว่าธรรมาสน์ได้หายไป สอบถามชาวบ้านทราบว่าเจ้าอาวาสรูปใหม่ ได้ยกธรรมาสน์ลงมาไว้ที่ใต้ถุนศาลา เนื่องจากมีคนกรุงเทพนำธรรมาสน์ประดับกระจกสีมาถวาย บังเอิญมีเจ้าอาวาสวัดแห่งหนึ่งผ่านมาเห็น เข้าใจว่าไม่ได้ใช้แล้วจึงขอ เจ้าอาวาสอนุญาตให้ไปแต่โดยดี หลังจากนั้นก็ไม่ทราบข่าวคราวอีกเลยว่าไปอยู่ที่วัดไหน
จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๐ ได้มีคนมาบอกว่า ได้พบธรรมาสน์หลังนี้อยู่ที่วัดบ้านสองพี่น้อง (บ้านอีเตี้ย) อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด เขาถ่ายรูปมาให้ดูปรากฏว่า ใช่ธรรมาสน์ของเณรคำจริง ๆ ขาดการดูแลรักษา ถูกปล่อยทิ้งอย่างน่าเสียดาย จึงได้ให้คนไปติดต่อขอผาติกรรมโดยทอดเป็นกฐินไปถวาย ๑ กอง แล้วขอธรรมาสน์ของผมคืน เพื่อเอามาเก็บรักษาไว้ที่นี่ (วัดเขาสุกิม) ไม่สวยแต่มีความหมายต่อชีวิตของผม ผมรักธรรมาสน์นี้มากเพราะเณรคำเป็นผู้สร้างถวายผม...
(หลวงปู่เล่าเรื่องนี้ภายหลังจากสรงน้ำประจำวันเสร็จแล้ว
ปัจจุบันธรรมาสน์เก็บรักษาไว้ที่วัดเขาสุกิม)
ที่มา ...
http://intimate13.blogspot.com/2013/07/blog-post_1243.html