01 กันยายน 2556 สื่งที่ TOT ต้องการประธานบอร์ดสไตล์เอกชน กล้าคิดกล้านำกล้าตัดสินใจ เพราะธุรกิจโทรคมนาคมมีการแข่งขันสูง คู่แข่งปรับตัวเร็ว
ประเด็นหลัก
ประธานบอร์ดอุดม เป็นข้าราชการเกษียณ ย่อมมั่นใจได้ว่าสไตล์การทำงานต้องตั้งการ์ดสูง ไม่กล้าตัดสินใจอะไรง่ายๆ พิจารณาแล้วพิจารณาอีก ซึ่งไม่เหมาะกับทีโอที ที่ต้องการประธานบอร์ดสไตล์เอกชน กล้าคิดกล้านำกล้าตัดสินใจ เพราะธุรกิจโทรคมนาคมมีการแข่งขันสูง คู่แข่งปรับตัวเร็ว แค่เลือกประธานบอร์ดก็เดาไม่ยากแล้วว่าทีโอทีกำลังเดินไปสู่อะไร ประธานบอร์ดอุดม เข้ามาในช่วงทีโอทีกำลังเข้าสู่ภาวะวิกฤตในหลายๆเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องจะไม่มีรายได้จากสัญญาสัมปทานที่ต้องส่งให้รัฐบาลตั้งแต่เดือนธ.ค.ปี 2556 ตามพ.ร.บ. กสทช.ซึ่งถือเป็นเรื่องใหญ่เพราะจะส่งผลให้องค์กรขาดทุนในทันทีหากไม่เตรียมการรับมือ
http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9560000108775
______________________________________
ทีโอทีจะรอดมั้ย !!!(Cyber Weekend)
ถือว่าเป็นรัฐมนตรีที่ใช้ประธานบอร์ดเปลืองคนหนึ่ง ไม่ใช่ใครที่ไหน น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.ไอซีที คนนี้นี่เอง หลังเข้ารับตำแหน่งเมื่อเดือนส.ค.2554 บริษัท ทีโอที ก็ได้ พันธ์เทพ จำรัสโรมรัน เป็นประธานบอร์ดทีโอที คนแรกในสมัยรมต.อนุดิษฐ์ ในเดือนพ.ย.2554 แต่ทำงานไม่ครบปีก็ต้องลาออกไปเมื่อเดือนก.ย.2555 ถัดมาได้อุดม พัวสกุล หลังเกษียณอายุราชการจากอธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง เจ๊ ด.ก็ส่งเข้ามาเป็นประธานบอร์ด แต่อยู่ได้แค่ 9 เดือนก็เตรียมทิ้งเก้าอี้ และคงต้องหาประธานบอร์ดคนใหม่
เท่ากับ 1 รมว.ไอซีที กำลังจะมีประธานบอร์ดทีโอทีถึง 3 คน มันเกิดอะไรขึ้น !!!
ความไม่เป็นเอกภาพของบอร์ด ที่รู้กันดีว่า การเมืองแต่ละสายก็ส่งตัวแทนมาเป็นบอร์ด มาหาลู่ทางทำกิน หรือ ความไม่มีประสิทธิภาพของประธานบอร์ด จนไม่สามารถนำพาองค์กรนี้ให้ไปรอดได้ ในเมื่อเห็นเหวอยู่ข้างหน้าสู้กระโดดหนีตอนนี้ดีกว่า หรือ ปัญหาภายในทีโอทีที่ผู้บริหารฟัดกันเอง ไม่มีใครยอมใคร จนหมดปัญญาที่จะหย่าศึก หรือ คำถามสำคัญที่รมว.ไอซีทีต้องตอบให้ได้ว่า มีอำนาจจริงมากน้อยแค่ไหน หรือ ได้แค่เก๊กหล่อ แต่ไม่มีอำนาจตัดสินใจได้จริง ทำให้ปัญหาต่างๆไม่ถูกสะสาง สั่งใครก็ไม่ได้ รวมทั้งเสียงลือว่าคนรอบข้างมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับองค์กรนี้
เพราะต้องไม่ลืมว่าปีหน้า ทีโอที จะไม่มีส่วนแบ่งรายได้จากเอไอเอสที่ถือว่าเป็นเส้นเลือดใหญ่หล่อเลี้ยงทีโอทีมายาวนาน จะมี cash flow พอจ่ายเงินเดือนพนักงานหรือไม่ เป็นคำถามที่พนักงาน 2 หมื่นคนค้างคาใจ
การที่ทีโอทีเป็นองค์กรขนาดใหญ่ ทำให้มีการขัดแย้งทางผลประโยชน์ และแบ่งพรรคแบ่งพวกในการทำงานมาโดยตลอดทำให้การทำงาน และโครงการต่างๆที่เป็นนโยบายระดับบอร์ดมีความล่าช้า รวมไปถึงกรณีการแต่งตั้งโยกย้ายผู้บริหารในตำแหน่งต่างๆ ซึ่งสุดท้ายก็ไม่ได้อยู่ในอำนาจของบอร์ดทีโอทีแต่อย่างใด แต่กลับอยู่ภายใต้อำนาจมืดของการเมือง ที่สำคัญรมว.ไอซีทีในฐานะผู้กำกับดูแลกลับไม่มีการเข้าไปจัดการแก้ไขปัญหาเรื้อรังดังกล่าวทั้งๆที่เจ้าตัวรู้ดีว่าปัญหามันเกิดจากอะไร แต่กลับนิ่งเงียบพูดได้เพียงว่า 'เป็นปัญหาพื้นฐานที่องค์กรขนาดใหญ่อื่นๆก็ประสบพบเจอเช่นเดียวกัน และเชื่อว่าการลาออกของประธานบอร์ดก็ไม่เกี่ยวกับปัญหาภายในองค์กรแต่อย่างใด'
ย้อนกลับไปในสมัยประธานบอร์ดพันธ์เทพ ได้จุดประกายความหวังให้พนักงานทีโอทีเริ่มมั่นใจในระดับหนึ่งว่าทีโอที อาจมีโอกาสรอด หากร่วมแรงรวมใจเป็นหนึ่ง และเดินตามยุทธศาสตร์ที่วางไว้ งานแรกที่ถือว่าสำคัญมากคือการจัดการปัญหาโครงการโทรศัพท์มือถือ 3G เฟส 1 ที่เรียกได้ว่าพอรับตังค์เปลี่ยนขั้ว ขยะก็เริ่มส่งกลิ่น เพราะปัญหาเรื่องการใช้โครงข่ายร่วมหรือโคไซต์ ส่งผลให้ทุกวันนี้โครงการ 3G เฟส 1 ติดตั้งไม่เสร็จสักทีล่าช้ามาเกือบ 2 ปีก็ว่าได้
ไม่ใช่แค่พยายามแก้ปัญหาการติดตั้ง 5,320 สถานีฐานของ 3G เฟส 1 ให้เสร็จโดยเร็ว แต่ยังวางกรอบ แนวคิดและวิธีการสำหรับโครงการ 3G เฟส 2 ไว้ด้วย โดยเริ่มจากการประเมินจำนวนสถานีฐานที่จะต้องติดตั้งไว้ประมาณ 1.5-2 หมื่นสถานีฐาน ในวงเงินประมาณ 3 หมื่นล้านบาท รวมทั้งวางแนวคิดขอใช้สถานที่ราชการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสถานศึกษา อนามัยจังหวัด อบต. อบจ.เพื่อตัดปัญหาเรื่องสถานที่ติดตั้งโครงข่าย และปฏิเสธการโคไซต์ ทุกรูปแบบ เพราะรู้ว่าเป็นจุดตายของโครงการ ซึ่งการเลือกใช้สถานที่ราชการน่าจะได้รับความร่วมมือด้วยดี เพราะทีโอทีสามารถใช้เป็นจุดกระจายสินค้าและบริการ รวมทั้งแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่างกันได้ด้วย
รวมทั้งยังเข้ามาจัดการแก้ปัญหาเรื่อง MVNO 3G ที่เดิมมีข้อจำกัดต่างๆมากมาย จากวิชันของผู้บริหารทีโอที ที่ล้าหลังถนัดแต่กินหัวคิว เห็นพาร์ตเนอร์ที่จะมาช่วยขายช่วยทำตลาด เหมือนทาสในเรือนเบี้ย ต้องกำหนดกฎเกณฑ์ เก็บค่าธรรมเนียมต่างๆ จนเอกชนยากจะแข่งขันในตลาด ประธานบอร์ดพันธ์เทพ ถือว่าเข้ามาปลดพ่วงทาส MVNO
นอกจากนี้ยังมีโครงการ ICT Free Wi-fi by TOT ตามนโยบายของรัฐบาล ซึ่งในเฟสแรกตั้งเป้าจะติดตั้งให้ได้จำนวน 200,000 จุดซึ่งมีแผนดำเนินการโดยเน้นการเช่าใช้แทนการติดตั้งเองเพราะต้องใช้งบประมาณเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังได้ร่วมมือกับบริษัท โซเน็ต ซึ่งเป็น ISP อันดับ 2 ของญี่ปุ่นในเครือโซนี่ ที่พร้อมนำเงินกว่า 50 ล้านเหรียญมาลงทุนกับทีโอที ในการให้บริการด้านแอปพลิเคชัน
แต่เรื่องสำคัญที่สุด คือ การเจรจากับคู่สัญญาร่วมการงานอย่างเอไอเอส เพื่อยกเลิกสัญญาสัมปทานก่อนกำหนดในปี 2558 เพื่อมาดำเนินการจัดตั้งบริษัทร่วมกันในการให้บริการทาวเวอร์โค รวมทั้งไฟเบอร์โค โดยทีโอทีนำเสาสัญญาณโทรคมนาคม และทรัพย์สินที่รับมอบจากเอไอเอส ตามสัญญาบีทีโอ มาลงในบริษัทร่วมทุน ในขณะที่เอไอเอส ก็จะได้สิทธิในการเช่าใช้บริการเป็นรายแรก โดยส่วนแบ่งรายได้ที่สิ้นสุดตามการยกเลิกสัญญา ก็จะเปลี่ยนรูปแบบเป็นค่าเช่าโครงข่าย พนักงานทีโอทีส่วนหนึ่งก็จะย้ายออกจากบริษัทแม่ เพื่อมาทำงานในบริษัทร่วมทุนนี้ รวมทั้งยังมีแผนที่จะนำไปไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯในลักษณะกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน หรือ อินฟราสตรักเจอร์ฟันด์ โดยการเจรจาคืบหน้าไปมากและได้ไฟเขียวให้ดำเนินการได้
เหมือนกับทีโอที ไม่ได้สูญเสียส่วนแบ่งรายได้จากสัญญาสัมปทานเลย เพียงแต่เปลี่ยนรูปแบบเป็นค่าเช่า
แต่ยุทธศาสตร์ดังกล่าวกลายเป็นฝันสลาย หลังจากประธานบอร์ดพันธ์เทพลาออก และทุกอย่างไม่มีการสานต่อจากประธานบอร์ดอุดม และ ฝ่ายบริหารทีโอที
หากเป็นสมัยก่อนที่การเมืองแถวแรกเป็น รมต.จะมีอำนาจเบ็ดเสร็จ ทำงานเป็นไม่ปล่อยให้กรรมการบอร์ดคนอื่นๆ ตั้งโต๊ะแผลงฤทธิ์ จนแม้แต่ประธานบอร์ดก็ไม่สามารถเข้าไปจัดการอะไรได้ เพราะรมต.แถวหลังไม่ขยับนั่งบนดอยปล่อยให้กรรมการบอร์ดสายต่างๆอาละวาดเต็มที่
ประธานบอร์ดอุดม เป็นข้าราชการเกษียณ ย่อมมั่นใจได้ว่าสไตล์การทำงานต้องตั้งการ์ดสูง ไม่กล้าตัดสินใจอะไรง่ายๆ พิจารณาแล้วพิจารณาอีก ซึ่งไม่เหมาะกับทีโอที ที่ต้องการประธานบอร์ดสไตล์เอกชน กล้าคิดกล้านำกล้าตัดสินใจ เพราะธุรกิจโทรคมนาคมมีการแข่งขันสูง คู่แข่งปรับตัวเร็ว แค่เลือกประธานบอร์ดก็เดาไม่ยากแล้วว่าทีโอทีกำลังเดินไปสู่อะไร ประธานบอร์ดอุดม เข้ามาในช่วงทีโอทีกำลังเข้าสู่ภาวะวิกฤตในหลายๆเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องจะไม่มีรายได้จากสัญญาสัมปทานที่ต้องส่งให้รัฐบาลตั้งแต่เดือนธ.ค.ปี 2556 ตามพ.ร.บ. กสทช.ซึ่งถือเป็นเรื่องใหญ่เพราะจะส่งผลให้องค์กรขาดทุนในทันทีหากไม่เตรียมการรับมือ
แม้จะเข้ามาเป็นประธานบอร์ดได้กว่า 9 เดือน แต่ก็ยังไม่สามารถทำให้โครงการ 3G เฟส 1 ติดตั้งได้แล้วเสร็จ แม้กระทั่งเรื่อง MVNO ถึงบอร์ดจะอนุมัติให้สามารถ ไอ-โมบายได้ทำตลาดจำนวน 2.88 ล้านเลขหมาย หรือ 40% จากปริมาณความจุโครงข่ายทั้งหมดของทีโอทีจำนวน 7.2 ล้านเลขหมาย ภายใต้เงื่อนไขประกันรายได้ขั้นต่ำ 2 ปี ก็ยังอยู่ในขั้นตอนรออัยการสูงสุดตรวจสอบสัญญา ยังไม่ได้เซ็นสักที ในขณะที่ 3 ค่ายมือถือ ขาย 3G จนฝุ่นตลบ แต่ทีโอที ทั้งๆที่ติดตั้งโครงข่ายก่อนเป็นปี ก็ได้แต่ทำตาปริบๆ เพราะความไร้ประสิทธิภาพตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ
แต่ก่อนประธานอุดมจะลาออก ยังได้อนุมัติ 2 โครงการใหญ่รวมเกือบ 4หมื่นล้านบาท ประกอบด้วย 1. โครงการอินเทอร์เน็ตผ่านสายเคเบิลใยแก้ว (FTTx) มูลค่า 32,550 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี ตั้งแต่ปี 2557-2559 และ 2. โครงการเคเบิลใยแก้วใต้น้ำ มูลค่า 5,979 ล้านบาท โดยโครงการ FTTx นั้นจะเป็นการขยายโครงข่ายเคเบิลใยแก้วเพื่อรองรับอินเทอร์เน็ตจำนวน 2 ล้านเลขหมาย และรองรับการเติบโตของ 3G และ 4G ในอนาคต ส่วนเคเบิลใต้น้ำจะลงทุนที่ จ.สตูล และสงขลา ซึ่งเป็นการขยายจุดเชื่อมต่อออกไปเชื่อมกับสถานีเคเบิลใต้น้ำของนานาชาติที่ มีอยู่ คือระบบเคเบิลใต้น้ำอาเซียนอินโดนีเซีย-สิงคโปร์ ระบบเคเบิลใต้น้ำอาเซียนฟิลิปปินส์-สิงคโปร์ ระบบเคเบิลใต้น้ำอาเซียนมาเลเซีย-สิงคโปร์-ไทย และระบบเคเบิลใต้น้ำเอเชียอาคเนย์-ตะวันออกกลาง-ยุโรปตะวันตก
แต่ทั้ง 2 โครงการดังกล่าวทีโอทียังไม่ได้เสนอไปยังกระทรวงไอซีทีเพื่อส่งต่อให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติแต่อย่างใด รวมไปถึงความชัดเจนว่าทีโอทีจะหาแหล่งเงินกู้เพื่อลงทุนทั้ง 2 โครงการใหญ่มาจากที่ไหนด้วยเช่นเดียวกัน เพราะเท่าที่รู้มาลำพังแค่เงินกู้โครงการ 3G รายได้ที่เกิดขึ้นยังไม่พอจ่ายดอกเบี้ยด้วยซ้ำ
ส่วนการลาออกของประธานอุดม ถือว่าชัดเจนมาก โดยระบุว่า 'ได้เริ่ม พิจารณาตัวเองว่าจะลาออกหลังทำงานได้ครบ 6 เดือน โดยปัญหาการทำงานของทีโอทีที่พบคือระบบการทำงานที่ล่าช้า และทิศทางการทำงานที่ไม่ชัดเจน ดังนั้นหากถ้ายังอยู่ต่อไปจะยิ่งถ่วงองค์กร แทนที่จะเปิดทางให้คนที่มีความสามารถ และเหมาะสมในการบริหารงานตรงนี้เข้ามาทำหน้าที่ให้เร็วที่สุดจะดีกว่า และยังไม่พอใจกับผลการปฏิบัติหน้าที่ของตัวเองตลอดเวลาที่ทำหน้าที่ 9 เดือน โดยให้คะแนนตัวเองแค่ 4 จาก 10 คะแนนเท่านั้น'
เมื่อได้แค่ 4 เต็ม 10 ก็สมควรที่จะลุกจากเก้าอี้ได้แล้ว เพราะเมื่อเหลือบไปดูผลประกอบการทีโอทีไตรมาส2/2556 พบว่า ทีโอทีมีรายได้ไม่รวมสัมปทานอยู่ที่ 14,449 ล้านบาท ขาดทุน 5,986 ล้านบาท แต่หากรวมรายได้จากสัมปทานแล้วมีรายได้ 27,881 ล้านบาท กำไร 6,941 ล้านบาท ส่วนผลประกอบการไตรมาส1/2556 ไม่รวมรายได้จากสัมปทานขาดทุน2,037 ล้านบาท ซึ่งแสดงให้เห็นได้ว่าที่ผ่านมาผลประกอบการของทีโอทีขาดทุนมาโดยตลอดหากไม่มีรายได้จากสัญญาสัมปทาน
*** 'อนุดิษฐ์' คิดว่าทำงานสำเร็จแล้ว
น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.ไอซีที ระบุว่าในเบื้องต้นได้รับทราบถึงการเตรียมการลาออกของอุดม พัวสกุล แล้วจากสื่อต่างๆ ซึ่งต้องให้ความเคารพต่อการตัดสินใจ และเชื่อว่าการลาออกคงมีเหตุผลเพียงพอ ส่วนที่มีกระแสข่าวการลาออกเพราะโดนกดดันจากปัญหาภายในทีโอทีนั้น มองว่าเป็นปัญหาพื้นฐานขององค์กรขนาดใหญ่ที่มีพนักงาน และบุคลากรเป็นจำนวนมากจะต้องเจอปัญหาเรื่องการบริหารทรัพยากรบุคคลซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้บริหารทุกคนต้องให้ความสำคัญ ดังนั้นคงไม่ใช่ปัญหาหลักทำให้ลาออกแต่อย่างใด
'ผมมองว่าประเด็นการลาออกไม่ได้เกิดมาจากปัญหาภายใน แต่ในเมื่อทำงานบรรลุวัตถุประสงค์แล้วก็อยากจะหลีกทางให้คนอื่นขึ้นมาแทน เพื่อต่อยอดกับสิ่งที่ทำไปแล้วก็เท่านั้นเอง'
ทั้งนี้ตลอดระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง 9 เดือน ประธานอุดม ได้มีการผลักดัน และขับเคลื่อนองค์กรทีโอทีมาตลอดซึ่งถือว่าเป็นประโยชน์ของทีโอที โดยเฉพาะแผนการปรับโครงสร้างธุรกิจใหม่ ซึ่งล่าสุดผ่านคณะกรรมการกำกับนโยบายรัฐวิสาหกิจแล้วรวมไปถึงโครงการ 3G เฟส1 ที่แม้ในปัจจุบันจะยังคงติดตั้งสถานีฐานไม่แล้วเสร็จ แต่ปัญหาจริงๆแล้วไม่ได้เกิดจากตัวประธานบอร์ด แต่เกิดจากบอร์ดชุดเก่าๆที่
สื่งที่ TOT ต้องการประธานบอร์ดสไตล์เอกชน กล้าคิดกล้านำกล้าตัดสินใจ เพราะธุรกิจโทรคมนาคมมีการแข่งขันสูงคู่แข่งปรับตัวเร็ว
ประเด็นหลัก
ประธานบอร์ดอุดม เป็นข้าราชการเกษียณ ย่อมมั่นใจได้ว่าสไตล์การทำงานต้องตั้งการ์ดสูง ไม่กล้าตัดสินใจอะไรง่ายๆ พิจารณาแล้วพิจารณาอีก ซึ่งไม่เหมาะกับทีโอที ที่ต้องการประธานบอร์ดสไตล์เอกชน กล้าคิดกล้านำกล้าตัดสินใจ เพราะธุรกิจโทรคมนาคมมีการแข่งขันสูง คู่แข่งปรับตัวเร็ว แค่เลือกประธานบอร์ดก็เดาไม่ยากแล้วว่าทีโอทีกำลังเดินไปสู่อะไร ประธานบอร์ดอุดม เข้ามาในช่วงทีโอทีกำลังเข้าสู่ภาวะวิกฤตในหลายๆเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องจะไม่มีรายได้จากสัญญาสัมปทานที่ต้องส่งให้รัฐบาลตั้งแต่เดือนธ.ค.ปี 2556 ตามพ.ร.บ. กสทช.ซึ่งถือเป็นเรื่องใหญ่เพราะจะส่งผลให้องค์กรขาดทุนในทันทีหากไม่เตรียมการรับมือ
http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9560000108775
______________________________________
ทีโอทีจะรอดมั้ย !!!(Cyber Weekend)
ถือว่าเป็นรัฐมนตรีที่ใช้ประธานบอร์ดเปลืองคนหนึ่ง ไม่ใช่ใครที่ไหน น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.ไอซีที คนนี้นี่เอง หลังเข้ารับตำแหน่งเมื่อเดือนส.ค.2554 บริษัท ทีโอที ก็ได้ พันธ์เทพ จำรัสโรมรัน เป็นประธานบอร์ดทีโอที คนแรกในสมัยรมต.อนุดิษฐ์ ในเดือนพ.ย.2554 แต่ทำงานไม่ครบปีก็ต้องลาออกไปเมื่อเดือนก.ย.2555 ถัดมาได้อุดม พัวสกุล หลังเกษียณอายุราชการจากอธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง เจ๊ ด.ก็ส่งเข้ามาเป็นประธานบอร์ด แต่อยู่ได้แค่ 9 เดือนก็เตรียมทิ้งเก้าอี้ และคงต้องหาประธานบอร์ดคนใหม่
เท่ากับ 1 รมว.ไอซีที กำลังจะมีประธานบอร์ดทีโอทีถึง 3 คน มันเกิดอะไรขึ้น !!!
ความไม่เป็นเอกภาพของบอร์ด ที่รู้กันดีว่า การเมืองแต่ละสายก็ส่งตัวแทนมาเป็นบอร์ด มาหาลู่ทางทำกิน หรือ ความไม่มีประสิทธิภาพของประธานบอร์ด จนไม่สามารถนำพาองค์กรนี้ให้ไปรอดได้ ในเมื่อเห็นเหวอยู่ข้างหน้าสู้กระโดดหนีตอนนี้ดีกว่า หรือ ปัญหาภายในทีโอทีที่ผู้บริหารฟัดกันเอง ไม่มีใครยอมใคร จนหมดปัญญาที่จะหย่าศึก หรือ คำถามสำคัญที่รมว.ไอซีทีต้องตอบให้ได้ว่า มีอำนาจจริงมากน้อยแค่ไหน หรือ ได้แค่เก๊กหล่อ แต่ไม่มีอำนาจตัดสินใจได้จริง ทำให้ปัญหาต่างๆไม่ถูกสะสาง สั่งใครก็ไม่ได้ รวมทั้งเสียงลือว่าคนรอบข้างมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับองค์กรนี้
เพราะต้องไม่ลืมว่าปีหน้า ทีโอที จะไม่มีส่วนแบ่งรายได้จากเอไอเอสที่ถือว่าเป็นเส้นเลือดใหญ่หล่อเลี้ยงทีโอทีมายาวนาน จะมี cash flow พอจ่ายเงินเดือนพนักงานหรือไม่ เป็นคำถามที่พนักงาน 2 หมื่นคนค้างคาใจ
การที่ทีโอทีเป็นองค์กรขนาดใหญ่ ทำให้มีการขัดแย้งทางผลประโยชน์ และแบ่งพรรคแบ่งพวกในการทำงานมาโดยตลอดทำให้การทำงาน และโครงการต่างๆที่เป็นนโยบายระดับบอร์ดมีความล่าช้า รวมไปถึงกรณีการแต่งตั้งโยกย้ายผู้บริหารในตำแหน่งต่างๆ ซึ่งสุดท้ายก็ไม่ได้อยู่ในอำนาจของบอร์ดทีโอทีแต่อย่างใด แต่กลับอยู่ภายใต้อำนาจมืดของการเมือง ที่สำคัญรมว.ไอซีทีในฐานะผู้กำกับดูแลกลับไม่มีการเข้าไปจัดการแก้ไขปัญหาเรื้อรังดังกล่าวทั้งๆที่เจ้าตัวรู้ดีว่าปัญหามันเกิดจากอะไร แต่กลับนิ่งเงียบพูดได้เพียงว่า 'เป็นปัญหาพื้นฐานที่องค์กรขนาดใหญ่อื่นๆก็ประสบพบเจอเช่นเดียวกัน และเชื่อว่าการลาออกของประธานบอร์ดก็ไม่เกี่ยวกับปัญหาภายในองค์กรแต่อย่างใด'
ย้อนกลับไปในสมัยประธานบอร์ดพันธ์เทพ ได้จุดประกายความหวังให้พนักงานทีโอทีเริ่มมั่นใจในระดับหนึ่งว่าทีโอที อาจมีโอกาสรอด หากร่วมแรงรวมใจเป็นหนึ่ง และเดินตามยุทธศาสตร์ที่วางไว้ งานแรกที่ถือว่าสำคัญมากคือการจัดการปัญหาโครงการโทรศัพท์มือถือ 3G เฟส 1 ที่เรียกได้ว่าพอรับตังค์เปลี่ยนขั้ว ขยะก็เริ่มส่งกลิ่น เพราะปัญหาเรื่องการใช้โครงข่ายร่วมหรือโคไซต์ ส่งผลให้ทุกวันนี้โครงการ 3G เฟส 1 ติดตั้งไม่เสร็จสักทีล่าช้ามาเกือบ 2 ปีก็ว่าได้
ไม่ใช่แค่พยายามแก้ปัญหาการติดตั้ง 5,320 สถานีฐานของ 3G เฟส 1 ให้เสร็จโดยเร็ว แต่ยังวางกรอบ แนวคิดและวิธีการสำหรับโครงการ 3G เฟส 2 ไว้ด้วย โดยเริ่มจากการประเมินจำนวนสถานีฐานที่จะต้องติดตั้งไว้ประมาณ 1.5-2 หมื่นสถานีฐาน ในวงเงินประมาณ 3 หมื่นล้านบาท รวมทั้งวางแนวคิดขอใช้สถานที่ราชการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสถานศึกษา อนามัยจังหวัด อบต. อบจ.เพื่อตัดปัญหาเรื่องสถานที่ติดตั้งโครงข่าย และปฏิเสธการโคไซต์ ทุกรูปแบบ เพราะรู้ว่าเป็นจุดตายของโครงการ ซึ่งการเลือกใช้สถานที่ราชการน่าจะได้รับความร่วมมือด้วยดี เพราะทีโอทีสามารถใช้เป็นจุดกระจายสินค้าและบริการ รวมทั้งแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่างกันได้ด้วย
รวมทั้งยังเข้ามาจัดการแก้ปัญหาเรื่อง MVNO 3G ที่เดิมมีข้อจำกัดต่างๆมากมาย จากวิชันของผู้บริหารทีโอที ที่ล้าหลังถนัดแต่กินหัวคิว เห็นพาร์ตเนอร์ที่จะมาช่วยขายช่วยทำตลาด เหมือนทาสในเรือนเบี้ย ต้องกำหนดกฎเกณฑ์ เก็บค่าธรรมเนียมต่างๆ จนเอกชนยากจะแข่งขันในตลาด ประธานบอร์ดพันธ์เทพ ถือว่าเข้ามาปลดพ่วงทาส MVNO
นอกจากนี้ยังมีโครงการ ICT Free Wi-fi by TOT ตามนโยบายของรัฐบาล ซึ่งในเฟสแรกตั้งเป้าจะติดตั้งให้ได้จำนวน 200,000 จุดซึ่งมีแผนดำเนินการโดยเน้นการเช่าใช้แทนการติดตั้งเองเพราะต้องใช้งบประมาณเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังได้ร่วมมือกับบริษัท โซเน็ต ซึ่งเป็น ISP อันดับ 2 ของญี่ปุ่นในเครือโซนี่ ที่พร้อมนำเงินกว่า 50 ล้านเหรียญมาลงทุนกับทีโอที ในการให้บริการด้านแอปพลิเคชัน
แต่เรื่องสำคัญที่สุด คือ การเจรจากับคู่สัญญาร่วมการงานอย่างเอไอเอส เพื่อยกเลิกสัญญาสัมปทานก่อนกำหนดในปี 2558 เพื่อมาดำเนินการจัดตั้งบริษัทร่วมกันในการให้บริการทาวเวอร์โค รวมทั้งไฟเบอร์โค โดยทีโอทีนำเสาสัญญาณโทรคมนาคม และทรัพย์สินที่รับมอบจากเอไอเอส ตามสัญญาบีทีโอ มาลงในบริษัทร่วมทุน ในขณะที่เอไอเอส ก็จะได้สิทธิในการเช่าใช้บริการเป็นรายแรก โดยส่วนแบ่งรายได้ที่สิ้นสุดตามการยกเลิกสัญญา ก็จะเปลี่ยนรูปแบบเป็นค่าเช่าโครงข่าย พนักงานทีโอทีส่วนหนึ่งก็จะย้ายออกจากบริษัทแม่ เพื่อมาทำงานในบริษัทร่วมทุนนี้ รวมทั้งยังมีแผนที่จะนำไปไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯในลักษณะกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน หรือ อินฟราสตรักเจอร์ฟันด์ โดยการเจรจาคืบหน้าไปมากและได้ไฟเขียวให้ดำเนินการได้
เหมือนกับทีโอที ไม่ได้สูญเสียส่วนแบ่งรายได้จากสัญญาสัมปทานเลย เพียงแต่เปลี่ยนรูปแบบเป็นค่าเช่า
แต่ยุทธศาสตร์ดังกล่าวกลายเป็นฝันสลาย หลังจากประธานบอร์ดพันธ์เทพลาออก และทุกอย่างไม่มีการสานต่อจากประธานบอร์ดอุดม และ ฝ่ายบริหารทีโอที
หากเป็นสมัยก่อนที่การเมืองแถวแรกเป็น รมต.จะมีอำนาจเบ็ดเสร็จ ทำงานเป็นไม่ปล่อยให้กรรมการบอร์ดคนอื่นๆ ตั้งโต๊ะแผลงฤทธิ์ จนแม้แต่ประธานบอร์ดก็ไม่สามารถเข้าไปจัดการอะไรได้ เพราะรมต.แถวหลังไม่ขยับนั่งบนดอยปล่อยให้กรรมการบอร์ดสายต่างๆอาละวาดเต็มที่
ประธานบอร์ดอุดม เป็นข้าราชการเกษียณ ย่อมมั่นใจได้ว่าสไตล์การทำงานต้องตั้งการ์ดสูง ไม่กล้าตัดสินใจอะไรง่ายๆ พิจารณาแล้วพิจารณาอีก ซึ่งไม่เหมาะกับทีโอที ที่ต้องการประธานบอร์ดสไตล์เอกชน กล้าคิดกล้านำกล้าตัดสินใจ เพราะธุรกิจโทรคมนาคมมีการแข่งขันสูง คู่แข่งปรับตัวเร็ว แค่เลือกประธานบอร์ดก็เดาไม่ยากแล้วว่าทีโอทีกำลังเดินไปสู่อะไร ประธานบอร์ดอุดม เข้ามาในช่วงทีโอทีกำลังเข้าสู่ภาวะวิกฤตในหลายๆเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องจะไม่มีรายได้จากสัญญาสัมปทานที่ต้องส่งให้รัฐบาลตั้งแต่เดือนธ.ค.ปี 2556 ตามพ.ร.บ. กสทช.ซึ่งถือเป็นเรื่องใหญ่เพราะจะส่งผลให้องค์กรขาดทุนในทันทีหากไม่เตรียมการรับมือ
แม้จะเข้ามาเป็นประธานบอร์ดได้กว่า 9 เดือน แต่ก็ยังไม่สามารถทำให้โครงการ 3G เฟส 1 ติดตั้งได้แล้วเสร็จ แม้กระทั่งเรื่อง MVNO ถึงบอร์ดจะอนุมัติให้สามารถ ไอ-โมบายได้ทำตลาดจำนวน 2.88 ล้านเลขหมาย หรือ 40% จากปริมาณความจุโครงข่ายทั้งหมดของทีโอทีจำนวน 7.2 ล้านเลขหมาย ภายใต้เงื่อนไขประกันรายได้ขั้นต่ำ 2 ปี ก็ยังอยู่ในขั้นตอนรออัยการสูงสุดตรวจสอบสัญญา ยังไม่ได้เซ็นสักที ในขณะที่ 3 ค่ายมือถือ ขาย 3G จนฝุ่นตลบ แต่ทีโอที ทั้งๆที่ติดตั้งโครงข่ายก่อนเป็นปี ก็ได้แต่ทำตาปริบๆ เพราะความไร้ประสิทธิภาพตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ
แต่ก่อนประธานอุดมจะลาออก ยังได้อนุมัติ 2 โครงการใหญ่รวมเกือบ 4หมื่นล้านบาท ประกอบด้วย 1. โครงการอินเทอร์เน็ตผ่านสายเคเบิลใยแก้ว (FTTx) มูลค่า 32,550 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี ตั้งแต่ปี 2557-2559 และ 2. โครงการเคเบิลใยแก้วใต้น้ำ มูลค่า 5,979 ล้านบาท โดยโครงการ FTTx นั้นจะเป็นการขยายโครงข่ายเคเบิลใยแก้วเพื่อรองรับอินเทอร์เน็ตจำนวน 2 ล้านเลขหมาย และรองรับการเติบโตของ 3G และ 4G ในอนาคต ส่วนเคเบิลใต้น้ำจะลงทุนที่ จ.สตูล และสงขลา ซึ่งเป็นการขยายจุดเชื่อมต่อออกไปเชื่อมกับสถานีเคเบิลใต้น้ำของนานาชาติที่ มีอยู่ คือระบบเคเบิลใต้น้ำอาเซียนอินโดนีเซีย-สิงคโปร์ ระบบเคเบิลใต้น้ำอาเซียนฟิลิปปินส์-สิงคโปร์ ระบบเคเบิลใต้น้ำอาเซียนมาเลเซีย-สิงคโปร์-ไทย และระบบเคเบิลใต้น้ำเอเชียอาคเนย์-ตะวันออกกลาง-ยุโรปตะวันตก
แต่ทั้ง 2 โครงการดังกล่าวทีโอทียังไม่ได้เสนอไปยังกระทรวงไอซีทีเพื่อส่งต่อให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติแต่อย่างใด รวมไปถึงความชัดเจนว่าทีโอทีจะหาแหล่งเงินกู้เพื่อลงทุนทั้ง 2 โครงการใหญ่มาจากที่ไหนด้วยเช่นเดียวกัน เพราะเท่าที่รู้มาลำพังแค่เงินกู้โครงการ 3G รายได้ที่เกิดขึ้นยังไม่พอจ่ายดอกเบี้ยด้วยซ้ำ
ส่วนการลาออกของประธานอุดม ถือว่าชัดเจนมาก โดยระบุว่า 'ได้เริ่ม พิจารณาตัวเองว่าจะลาออกหลังทำงานได้ครบ 6 เดือน โดยปัญหาการทำงานของทีโอทีที่พบคือระบบการทำงานที่ล่าช้า และทิศทางการทำงานที่ไม่ชัดเจน ดังนั้นหากถ้ายังอยู่ต่อไปจะยิ่งถ่วงองค์กร แทนที่จะเปิดทางให้คนที่มีความสามารถ และเหมาะสมในการบริหารงานตรงนี้เข้ามาทำหน้าที่ให้เร็วที่สุดจะดีกว่า และยังไม่พอใจกับผลการปฏิบัติหน้าที่ของตัวเองตลอดเวลาที่ทำหน้าที่ 9 เดือน โดยให้คะแนนตัวเองแค่ 4 จาก 10 คะแนนเท่านั้น'
เมื่อได้แค่ 4 เต็ม 10 ก็สมควรที่จะลุกจากเก้าอี้ได้แล้ว เพราะเมื่อเหลือบไปดูผลประกอบการทีโอทีไตรมาส2/2556 พบว่า ทีโอทีมีรายได้ไม่รวมสัมปทานอยู่ที่ 14,449 ล้านบาท ขาดทุน 5,986 ล้านบาท แต่หากรวมรายได้จากสัมปทานแล้วมีรายได้ 27,881 ล้านบาท กำไร 6,941 ล้านบาท ส่วนผลประกอบการไตรมาส1/2556 ไม่รวมรายได้จากสัมปทานขาดทุน2,037 ล้านบาท ซึ่งแสดงให้เห็นได้ว่าที่ผ่านมาผลประกอบการของทีโอทีขาดทุนมาโดยตลอดหากไม่มีรายได้จากสัญญาสัมปทาน
*** 'อนุดิษฐ์' คิดว่าทำงานสำเร็จแล้ว
น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.ไอซีที ระบุว่าในเบื้องต้นได้รับทราบถึงการเตรียมการลาออกของอุดม พัวสกุล แล้วจากสื่อต่างๆ ซึ่งต้องให้ความเคารพต่อการตัดสินใจ และเชื่อว่าการลาออกคงมีเหตุผลเพียงพอ ส่วนที่มีกระแสข่าวการลาออกเพราะโดนกดดันจากปัญหาภายในทีโอทีนั้น มองว่าเป็นปัญหาพื้นฐานขององค์กรขนาดใหญ่ที่มีพนักงาน และบุคลากรเป็นจำนวนมากจะต้องเจอปัญหาเรื่องการบริหารทรัพยากรบุคคลซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้บริหารทุกคนต้องให้ความสำคัญ ดังนั้นคงไม่ใช่ปัญหาหลักทำให้ลาออกแต่อย่างใด
'ผมมองว่าประเด็นการลาออกไม่ได้เกิดมาจากปัญหาภายใน แต่ในเมื่อทำงานบรรลุวัตถุประสงค์แล้วก็อยากจะหลีกทางให้คนอื่นขึ้นมาแทน เพื่อต่อยอดกับสิ่งที่ทำไปแล้วก็เท่านั้นเอง'
ทั้งนี้ตลอดระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง 9 เดือน ประธานอุดม ได้มีการผลักดัน และขับเคลื่อนองค์กรทีโอทีมาตลอดซึ่งถือว่าเป็นประโยชน์ของทีโอที โดยเฉพาะแผนการปรับโครงสร้างธุรกิจใหม่ ซึ่งล่าสุดผ่านคณะกรรมการกำกับนโยบายรัฐวิสาหกิจแล้วรวมไปถึงโครงการ 3G เฟส1 ที่แม้ในปัจจุบันจะยังคงติดตั้งสถานีฐานไม่แล้วเสร็จ แต่ปัญหาจริงๆแล้วไม่ได้เกิดจากตัวประธานบอร์ด แต่เกิดจากบอร์ดชุดเก่าๆที่