ผลิตภัณฑ์'ใยกัญชง'ทำเงิน!!
แปลง 'ใยกัญชง' สู่ผลิตภัณฑ์เด่น อาชีพทำเงินชาวบ้าน 'ห้วยทราย' : โดย...สุรัตน์ อัตตะ
ถึงแม้กัญชง (Hemp) จะมีต้นกำเนิดเดียวกับต้นกัญชา (Marijuana) แต่แตกต่างกันด้วยสารออกฤทธิ์กระตุ้นประสาทในปริมาณที่ต่ำกว่ากัญชามาก จึงเป็นทางออกให้แก่ประเทศต่างๆ ในการสนับสนุนให้มีการปลูกกัญชงอย่างถูกกฎหมาย เช่น ประเทศในแถบยุโรป แคนาดา สหรัฐอเมริกา โดยได้วิจัยพัฒนาสายพันธุ์กัญชงให้มีปริมาณสาร THC ไม่เกินกว่า 0.3%
ด้วยจุดเด่นของใยกัญชงที่ได้จากส่วนเปลือกของลำต้น เป็นเส้นใยที่มีความเหนียว แข็งแรง การดูดซึมความชื้นได้ดีใกล้เคียงกับเส้นใยแฟลกซ์ที่ถูกนำมาผลิตเป็นผ้าผืนลินิน ทำให้ใยกัญชงเป็นทางเลือกของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเย็บปักถักร้อยผลิตภัณฑ์ใยกัญชงบ้านห้วยทราย ต.ห้วยทราย อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ภายใต้การนำของประธานกลุ่ม "นวลศรี พร้อมใจ" ในฐานะผู้บุกเบิกการแปรรูปผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าจากใยกัญชงเมื่อกว่า 10 ปีก่อน
"ชาวบ้านที่นี่มีอาชีพหลักคือการทำไร่ ทำนา แต่ก็มีความรู้ด้านเย็บปักถักร้อยอยู่แล้ว จะเห็นว่า เมื่อว่างจากทำนา ทำไร่ พวกผู้หญิงก็จะจับเข็มโครเชต์ หรือไม่ก็ไม้ถักนิตติ้ง โดยมีเชือกฟางและไหมพรมเป็นวัตถุดิบ อย่างหน้าหนาวก็ถักหมวก ถักผ้าพันคอ ให้ลูกหลานและสมาชิกในครอบครัวใช้”
กระทั่งปี 2544 มีหน่วยงานภาครัฐ โดยเกษตรอำเภอแม่ริม และสหกรณ์การเกษตร เล็งเห็นว่า การผลิตผลงานดังกล่าวสามารถนำสู่ตลาดได้ จึงพูดคุยให้คำแนะนำพร้อมจัดตั้งกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเย็บปักถักร้อยบ้านห้วยทรายขึ้นมา โดยมีคุณนวลศรี เป็นประธานกลุ่ม มีธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) สาขาแม่ริม ให้การสนับสนุนเรื่องของแหล่งทุน
นวลศรี เผยต่อว่า วัตถุดิบใยกัญชง ขณะนี้ยังไม่สามารถปลูกเองได้ จึงจำเป็นต้องสั่งซื้อจากโครงการหลวงประมาณ 30% ส่วนอีก 70% สั่งมาจากชางม้งใน จ.พะเยา ซึ่งนำเข้ามาจากประเทศเพื่อนบ้านในราคากิโลกรัมละ 300-400 บาท โดยใยกัญชง 1 กิโลกรัม สามารถถักเสื้อขนาดเล็กได้ประมาณ 4 ตัว หรือถ้าเป็นหมวกก็ราว 5-6 ใบ
เส้นใยกัญชงที่กลุ่มรับซื้อจะอยู่ในลักษณะเป็นไจ เช่นเดียวกับไหมพรม โดยจ้างผู้แก่ผู้เฒ่าในหมู่บ้านให้ช่วยม้วนเส้นใยกัญชงเป็นก้อน เพื่อง่ายต่อกระบวนการผลิต จากนั้นก็กระจายไปให้สมาชิก ซึ่งปัจจุบันมีอยู่กว่า 70 คน ถักออกมาเป็นผลงานหลากหลายชนิด อาทิ เสื้อ กระโปรง กางเกง กระเป๋า หมวก ซองใส่โทรศัพท์ กระเป๋าใส่เศษสตางค์ ผ้าคลุมไหล่ ผ้าปูโต๊ะ เป็นต้น
“การทำงานค่อนข้างใช้เวลาพอสมควร เพราะอาศัยฝีมือเท่านั้น อย่างเสื้อ 1 ตัว ต้องใช้เวลาถักแบบเต็มวันประมาณ 3 วัน ส่วนค่าจ้างก็จะให้เป็นรายชิ้น เริ่มตั้งแต่ชิ้นละ 5 บาท จนถึง 500 บาท ส่วนราคาขายก็ต้องนำค่าแรงบวกกับค่าใยกัญชง แล้วบวกเพิ่มอีกเท่าตัว จึงสรุปออกมาเป็นราคาขายต่ำสุด 20 บาทไปจนถึงหลักพัน ผลกำไรก็ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ ส่วนยอดขายตอนนี้เฉลี่ยเดือนละ 4-5 หมื่นบาท”
ประธานกลุ่มคนเดิมระบุอีกว่า ในส่วนของผลิตภัณฑ์นั้น นอกจากเสื้อแล้ว ยังมีกระเป๋า หมวก ปลอกหมอนและผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ โดยลูกค้าหลักมีทั้งคนไทยและต่างชาติ ซึ่งตลาดหลักนอกจากวางจำหน่ายตามงานเทศกาลต่างๆ ทั้งในเชียงใหม่และกรุงเทพฯ แล้ว ยังส่งไปจำหน่ายต่างประเทศด้วย โดยเฉพาะญี่ปุ่นและสวีเดน ซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักในขณะนี้
ผลิตภัณฑ์จากเส้นใยกัญชงไม่เพียงเป็นผลิตภัณฑ์สิ่งทออินทรีย์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังสร้างงานสร้างรายได้ให้แก่สมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเย็บปักถักร้อยบ้านห้วยทรายได้เป็นอย่างดี สนใจผลิตภัณฑ์ใยกัญชงติดต่อประธานกลุ่ม 08-1289-4744 ได้ตลอดเวลา
http://www.komchadluek.net/detail/20130110/149030/%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B9%8C%E0%B9%83%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8A%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99!!.html#.UiGfHtLwb3U
===========================
http://ppantip.com/topic/30572618
ข้อมูลนี้ค้นพบโดยบังเอิญ 555
กัญชง พืชเศรษฐกิจอีกตัวหนึ่งที่น่าจับตามอง
ผลิตภัณฑ์'ใยกัญชง'ทำเงิน!!
แปลง 'ใยกัญชง' สู่ผลิตภัณฑ์เด่น อาชีพทำเงินชาวบ้าน 'ห้วยทราย' : โดย...สุรัตน์ อัตตะ
ถึงแม้กัญชง (Hemp) จะมีต้นกำเนิดเดียวกับต้นกัญชา (Marijuana) แต่แตกต่างกันด้วยสารออกฤทธิ์กระตุ้นประสาทในปริมาณที่ต่ำกว่ากัญชามาก จึงเป็นทางออกให้แก่ประเทศต่างๆ ในการสนับสนุนให้มีการปลูกกัญชงอย่างถูกกฎหมาย เช่น ประเทศในแถบยุโรป แคนาดา สหรัฐอเมริกา โดยได้วิจัยพัฒนาสายพันธุ์กัญชงให้มีปริมาณสาร THC ไม่เกินกว่า 0.3%
ด้วยจุดเด่นของใยกัญชงที่ได้จากส่วนเปลือกของลำต้น เป็นเส้นใยที่มีความเหนียว แข็งแรง การดูดซึมความชื้นได้ดีใกล้เคียงกับเส้นใยแฟลกซ์ที่ถูกนำมาผลิตเป็นผ้าผืนลินิน ทำให้ใยกัญชงเป็นทางเลือกของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเย็บปักถักร้อยผลิตภัณฑ์ใยกัญชงบ้านห้วยทราย ต.ห้วยทราย อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ภายใต้การนำของประธานกลุ่ม "นวลศรี พร้อมใจ" ในฐานะผู้บุกเบิกการแปรรูปผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าจากใยกัญชงเมื่อกว่า 10 ปีก่อน
"ชาวบ้านที่นี่มีอาชีพหลักคือการทำไร่ ทำนา แต่ก็มีความรู้ด้านเย็บปักถักร้อยอยู่แล้ว จะเห็นว่า เมื่อว่างจากทำนา ทำไร่ พวกผู้หญิงก็จะจับเข็มโครเชต์ หรือไม่ก็ไม้ถักนิตติ้ง โดยมีเชือกฟางและไหมพรมเป็นวัตถุดิบ อย่างหน้าหนาวก็ถักหมวก ถักผ้าพันคอ ให้ลูกหลานและสมาชิกในครอบครัวใช้”
กระทั่งปี 2544 มีหน่วยงานภาครัฐ โดยเกษตรอำเภอแม่ริม และสหกรณ์การเกษตร เล็งเห็นว่า การผลิตผลงานดังกล่าวสามารถนำสู่ตลาดได้ จึงพูดคุยให้คำแนะนำพร้อมจัดตั้งกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเย็บปักถักร้อยบ้านห้วยทรายขึ้นมา โดยมีคุณนวลศรี เป็นประธานกลุ่ม มีธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) สาขาแม่ริม ให้การสนับสนุนเรื่องของแหล่งทุน
นวลศรี เผยต่อว่า วัตถุดิบใยกัญชง ขณะนี้ยังไม่สามารถปลูกเองได้ จึงจำเป็นต้องสั่งซื้อจากโครงการหลวงประมาณ 30% ส่วนอีก 70% สั่งมาจากชางม้งใน จ.พะเยา ซึ่งนำเข้ามาจากประเทศเพื่อนบ้านในราคากิโลกรัมละ 300-400 บาท โดยใยกัญชง 1 กิโลกรัม สามารถถักเสื้อขนาดเล็กได้ประมาณ 4 ตัว หรือถ้าเป็นหมวกก็ราว 5-6 ใบ
เส้นใยกัญชงที่กลุ่มรับซื้อจะอยู่ในลักษณะเป็นไจ เช่นเดียวกับไหมพรม โดยจ้างผู้แก่ผู้เฒ่าในหมู่บ้านให้ช่วยม้วนเส้นใยกัญชงเป็นก้อน เพื่อง่ายต่อกระบวนการผลิต จากนั้นก็กระจายไปให้สมาชิก ซึ่งปัจจุบันมีอยู่กว่า 70 คน ถักออกมาเป็นผลงานหลากหลายชนิด อาทิ เสื้อ กระโปรง กางเกง กระเป๋า หมวก ซองใส่โทรศัพท์ กระเป๋าใส่เศษสตางค์ ผ้าคลุมไหล่ ผ้าปูโต๊ะ เป็นต้น
“การทำงานค่อนข้างใช้เวลาพอสมควร เพราะอาศัยฝีมือเท่านั้น อย่างเสื้อ 1 ตัว ต้องใช้เวลาถักแบบเต็มวันประมาณ 3 วัน ส่วนค่าจ้างก็จะให้เป็นรายชิ้น เริ่มตั้งแต่ชิ้นละ 5 บาท จนถึง 500 บาท ส่วนราคาขายก็ต้องนำค่าแรงบวกกับค่าใยกัญชง แล้วบวกเพิ่มอีกเท่าตัว จึงสรุปออกมาเป็นราคาขายต่ำสุด 20 บาทไปจนถึงหลักพัน ผลกำไรก็ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ ส่วนยอดขายตอนนี้เฉลี่ยเดือนละ 4-5 หมื่นบาท”
ประธานกลุ่มคนเดิมระบุอีกว่า ในส่วนของผลิตภัณฑ์นั้น นอกจากเสื้อแล้ว ยังมีกระเป๋า หมวก ปลอกหมอนและผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ โดยลูกค้าหลักมีทั้งคนไทยและต่างชาติ ซึ่งตลาดหลักนอกจากวางจำหน่ายตามงานเทศกาลต่างๆ ทั้งในเชียงใหม่และกรุงเทพฯ แล้ว ยังส่งไปจำหน่ายต่างประเทศด้วย โดยเฉพาะญี่ปุ่นและสวีเดน ซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักในขณะนี้
ผลิตภัณฑ์จากเส้นใยกัญชงไม่เพียงเป็นผลิตภัณฑ์สิ่งทออินทรีย์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังสร้างงานสร้างรายได้ให้แก่สมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเย็บปักถักร้อยบ้านห้วยทรายได้เป็นอย่างดี สนใจผลิตภัณฑ์ใยกัญชงติดต่อประธานกลุ่ม 08-1289-4744 ได้ตลอดเวลา
http://www.komchadluek.net/detail/20130110/149030/%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B9%8C%E0%B9%83%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8A%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99!!.html#.UiGfHtLwb3U
===========================
http://ppantip.com/topic/30572618
ข้อมูลนี้ค้นพบโดยบังเอิญ 555