เชื่อว่าหลายคนคงยังไม่หายฟินจากการทัวร์เอเชียร์ในการแข่งปรีซีซั่นของทีมเมื่อเดือนกรกฏาคมที่ผ่านมา แม้จะมีเหตุการณ์ให้น่าหงุดหงิดใจเกิดขึ้นบ้าง เช่น ความผิดหวังที่นักเตะขวัญใจคนอื่นๆไม่ได้มาร่วมในการทัวร์ครั้งนี้ หรือ ปัญหาการจัดงานที่ค่อนข้างไม่ได้เป็นอย่างที่หวังไว้เท่าไร แต่ก็ไม่ใช่ปัญหาใหญ่อะไรนักสำหรับแฟนบอลหลายๆท่าน
สิ่งหนึ่งที่ดูเหมือนจะกลายเป็นประเด็นทางสังคมและโด่งดังในแวดวงโซเชียลเน็ตเวิร์คอย่างมาก กลับเกิดขึ้นในการแข่งปรีซีซั่นของสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล เมื่อมีกลุ่มคนบางกลุ่มนำป้ายที่เขียนข้อความดูถูก เซอร์อเล็ก เฟอร์กูสัน และยังพาดพิงถึงเหตุการณ์ Munich 58 ด้วย
มันเลยกลายเป็นข่าวดังในชั่วข้ามคืน
แม้เหตุการณ์ถือป้ายนี้จะเกิดขึ้นในประเทศไทย จากคนไม่กี่คน แต่นี่ก็กลายเป็นข่าวที่กระจายไปทั่วโลกในยุคที่โซเชี่ยลเน็ตเวิร์คเป็นกลไลสำคัญของการดำเนินชีวิต ภาพถูกแชร์และส่งต่อ จนกลายเป็นข่าวในทุกเว็ปไซต์ และนำมาซึ่งการถกเถียงอย่างมาก ทั้งกับแฟนบอลแมนฯยู และแฟนบอลลิเวอร์พูล ไม่มีใครรับได้กับการกระทำเช่นนี้ แม้จะเป็นที่รู้กันดีว่า ทั้งสองสโมสรนั้นเป็นคู่แค้นคู่อาฆาตกันมาแต่ไหนแต่ไร แต่เมื่อมีการยกเหตุการณ์โศกนาฏกรรมมาล้อเลียนอย่างสนุกสนานเช่นนี้ ย่อมไม่มีใครเห็นด้วยและเป็นการล้อเลียนที่เลยเถิดอย่างไม่น่าให้อภัย เหตุการณ์ Munich 58 ไม่ได้เป็นแค่ความสูญเสียของชาวเมืองแมนเชสเตอร์ หรือของทีมแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดเท่านั้น แต่มันเป็นความสูญเสียครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์การกีฬาของอังกฤษ
นักฟุตบอล ผู้สื่อข่าว แฟนบอล และบุคลากรทางกีฬา เสียชีวิตอย่างน่าเศร้าในเหตุการณ์นี้
เมื่อปี 2011 สถานีโทรทัศน์ BBC ได้หยิบเอาเหตุการณ์ Munich 58 มาทำเป็นภาพยนตร์ฉายทีวี โดยเรื่องราวจะเน้นไปที่การเล่าเรื่องผ่านตัวละคร บ๊อบบี้ ชาร์ลตัน หนึ่งในผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์การสูญเสียอันยิ่งใหญ่นั้น ...
หนังได้รับทั้งกระแสบวกและลบ และกระแสลบนั้นมันมาจาก บุคคลที่มีความเกี่ยวเนื่องกับสโมสรแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดเสียด้วย
เซอร์อเล็ก เฟอร์กูสัน บอกว่า เขาจะไม่ดูหนังเรื่องนี้ และพวกคนคิดจะทำหนังเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่ไม่เข้าท่าเอามากๆ ไม่จำเป็นต้องมีการบอกเล่าประวัติความเป็นมาของสโมสรด้วยหนังแบบนี้ ที่หนักสุดเห็นจะเป็นทางตระกูล บัสบี้ที่ออกมาแสดงความโกรธเกรี้ยวอย่างชัดเจน โดย แซนดี้บุตรชายของเซอร์แมตบัสบี้ ได้ออกมาต่อว่าอย่างรุนแรงที่ทีมงานผู้ผลิตภาพยนตร์ไม่เคยขออณุญาติหรือถามความเห็นจากครอบครัวเขาแม้แต่นิด ทั้งที่มันก็พูดถึงเรื่องราวของพ่อโดยตรง รวมไปถึงเหล่า “บัสบี้ เบบส์” ด้วย หนังถูกกล่าวว่ามีการบิดเบือนข้อมูลไปบางส่วน ทำให้หนังได้รับการตอบรับที่ไม่ค่อยดีนัก จากบรรดาชาวเมืองแมนเชสเตอร์
ในหนังมีคำพูดหนังของ บ็อบบี้ ชาร์ลตัน ที่บอกว่า “เขาจะส่งบอลให้กับคนอื่นที่ไม่ใช่ ดังค์(ดันแคน เอ็ดเวิร์ด) ได้ยังไง” บ็อบบี้ที่ดูเหมือนยังช็อคกับเหตุการณ์ดังกล่าวอยู่ จึงได้หยุดเล่นฟุตบอลไปพักหนึ่ง ท่ามกลางการแข่งขันตามตารางที่ไม่ได้หยุดตามไปด้วย นั่นเป็น ยุคหายนะของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดอย่างแท้จริง
พวกเขาแทบไม่เหลือตัวผู้เล่นในทีมเลย
จิมมี่ เมอร์ฟี่ โค้ชของทีมต้องพยายามปลุกปั้นทีมขึ้นมาใหม่ทั้งหมด ในตอนนั้นเอง สโมสรลิเวอร์พูล คู่แข่งตลอดกาลของแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ก็ได้หยิบยื่นความช่วยเหลือเข้ามา พวกเขายื่นข้อเสนอในการเป็นนักเตะจากทีมหลักให้ยูไนเต็ดยืมถึง 5 ตัว แม้สุดท้ายแล้วยูไนเต็ดจะไม่ได้รับข้อเสนอนั้นก็ตามที จิมมี่เลือกปลุกปั้นทีมขึ้นมาใหม่จากนักเตะเยาวชนและผู้เล่นทีมสำรองแทน
ต่อมาในปี 1989 ลิเวอร์พูลต้องพบกับ โศกนาฎกรรมครั้งใหญ่ จากเหตุอัฒจรรย์ถล่ม ทำให้แฟนบอลลิเวอร์พูลเสียชีวิต 96 คน ซึ่งต่อมาเหตุการณ์นี้ถูกเรียกว่า “ภัยพิบัติที่ฮิลโบโร่” นั่นนับเป็นความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์สโมสรลิเวอร์พูล มีการแสดงความเคารพต่อเหตุการณ์ดังกล่าวจาก แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด,เชลซี และ อาเซนอลด้วยการสวมปลอกแขนสีดำในการแข่งยูฟ่าแชมเปี้ยนลีกส์ ...
ดังคำกล่าวของแชงคลีย์ “แม้ยูไนเต็ดกับลิเวอร์พูลจะเป็นคู่แข่งกัน แต่พวกเราไม่ได้เกลียดชังกัน”
ถึงอย่างนั้นเหตุโศกนาฏกรรมจากทั้ง 2 ทีม กลับนำมาซึ่งการ “ล้อเลียน” ในหมู่แฟนบอล ทั้งแฟนบอลลิเวอร์พูล และ แฟนบอลยูไนเต็ด ล้วนเคยนำเหตุการณ์เหล่านี้มาแต่งเพลงล้อเลียนกันอย่างสนุกสนาน กลายเป็นเรื่องดราม่าไม่จบสิ้น
จนกระทั่งในปี 2012 ที่ผ่านมา ได้มีการสนับสนุนให้แฟนบอลทั้ง 2 ทีม “หยุดร้องเพลง” ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเหตุการณ์ ฮิลโบโร่และมิวนิค โดยสิ้นเชิง การรณรงค์นี้เริ่มต้นจากกลุ่ม The Manchester United Supporters Trust (Must) และ Stretford End Flags เพื่อกระตุ้นให้แฟนบอลทั้ง 2 ทีมหยุดนำเหตุการณ์โศกนาฏกรรมมาล้อเลียน ไม่ว่ามันจะเกิดกับใครก็ตาม โดยการรณรงค์นี้เริ่มต้นครั้งแรกใน แมตแดงเดือดที่ แมนฯยู พบ ลิเวอร์พูล ในแอนด์ฟิลด์ โดยเป็นการร่วมมือกันจากแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด และลิเวอร์พูล มีการปล่อยลูกโป่ง 96 ลูกโดยกัปตันทีมของทั้งสองทีม เนมานย่า วีดิค และ สตีเวน เจอร์ราร์ดด้วย
(เนื้อข่าวเป็นเฮียวี แต่รูปประกอบหาได้แค่น้ากิ๊กนะเคอะ)
“ทุกอย่างต้องจบลงที่นี่ ไม่ว่าจะฮิลโบโร่หรือมิวนิค หรือ โศกนาฏกรรมใด เราจะไม่พูดถึงมันอีก”
นั่นเป็นคำปฏิญาณที่แฟนบอลทั้งสองทีมได้แสดงจุดยืนร่วมกันในวันนั้น
ย้อนกลับมาที่เมืองไทย แม้ภาพของป้ายที่มีข้อความไล่เฟอร์กี้ไปลงนรกพร้อมกับผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์มิวนิค 58 จะยังคงแจ่มชัด และอาจจะถูกพูดถึงไปอีกนาน ว่า “แฟนบอลลิเวอร์พูลเคยได้ทำเรื่องราวแย่ๆ” ไว้ แต่มันก็เป็นเรื่องที่แม้แต่แฟนลิเวอร์พูลด้วยกันเองยังไม่อาจยอมรับกับการกระทำเช่นนี้ได้ ..
การเชียร์ทีมรักด้วยเยาะเย้ยด้วยความสูญเสีย มันไม่ใช่วิถีของแฟนบอลที่แท้จริง
อย่าลืมว่าก่อนเริ่มเกมการแข่งขันทุกครั้ง กัปตันทีมต้องจับมือและแลกธง นั่นหมายถึงการเริ่มต้นด้วยมิตรภาพ ... อย่าทำให้มิตรภาพกลายเป็นเรื่องของความเกลียดชัง เพียงเพราะเราใส่เสื้อกันคนละสี
ปล่อยให้ “แดงเดือด” เป็นเรื่องแค่ในสนาม
เพราะ
.. ฟุตบอล คือ ความสวยงาม ไม่ใช่ความเกลียดชัง ..
ข้อเท็จจริง
เคยมีการพูดถึงกันอย่างมาก เรื่องที่ลิเวอร์พูล เคยให้แมนฯยูยืมนักเตะตัวหลักในทีมถึง 5 คนในช่วงเหตุการณ์มิวนิค 58 แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไม่เคยมีนักเตะลิเวอร์พูลคนไหนเคยย้ายไปเล่นให้กับแมนฯยูในฤกูกาลดังกล่าว หรือ หลังจากนั้นเลย
ปัจจุบันยังคงมีการพูดถึงเรื่องนี้อยู่ว่า "ลิเวอร์พูลเคยให้นักเตะยูไนเต็ดยืมตัวผู้เล่นจนจบฤดูกาล"
ซึ่งข้อมูลนี้อาจเป็นความผิดเพี้ยน จากการฟังปาถกฐาของ บิล แชงคลีย์ ที่เคยกล่าวว่า ลิเวอร์พูลเคยเสนอนักเตะให้ยูไนเต็ดยืมตัวในเหตุการณ์มิวนิค 58 จริง โดยปาถกฐานั้นมีเนื้อหาพูดถึงมิตรภาพของทั้งสองทีม แต่โค้ชในตอนนั้นอย่างจิมมี่ เมอร์ฟี่ ได้ปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าว รวมทั้งข้อเสนอการนอตติงแฮม ฟอเรสต์ด้วย
มีนักเตะชื่อดังที่เคยเล่นให้กับทั้งสองทีม แต่ไม่เคยเกิดในช่วงเวลาของโศกนาฎกรรมมิวนิคเลย หลายคนอาจรู้จักทั้ง ปีเตอร์ แบรดลีส์, พอล อินซ์ หรือไมเคิล โอเว่น แท้จริงแล้วยังมีนักเตะอีกหลายคนที่เคยเล่นให้กับทั้ง 2 สโมสรอีก
โดยในประวัติการย้ายทีม "โดยตรง" คือ จากอีกทีม ไปอีกทีม มีรายชื่อดังนี้
จาก Liverpool ย้ายไป United
1912 Tom Chorlton
1920 Tom Miller
1929 Tommy Reid
1938 Ted Savage
1938 Allenby Chilton
ย้ายจาก United ไป Liverpool
1913 John Sheldon
1921 Fred Hopkin
1954 Tommy McNulty
1964 Phil Chisnall
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้CREDIT :
EXCLUSIVE: A foot in both camps... Chisnall on playing for Busby and Shankly
http://www.dailymail.co.uk/sport/football/article-2261134/Phil-Chisnall-playing-Liverpool-Manchester-United.html
Gerrard and Vidic to release 96 red balloons to honour Hillsborough victims in Man United's to Liverpool
http://www.dailymail.co.uk/sport/football/article-2205268/Liverpool-Manchester-United-unite-Hillsborough-tribute.html
Liverpool united: Clubs and fans pay their respects to Hillsborough victims in first emotional game at Anfield since bombshell report
http://www.dailymail.co.uk/sport/football/article-2207419/Liverpool-v-Manchester-United--tributes-Hillsborough.html
“มิตรภาพ” ที่เริ่มต้นจากความสูญเสียของ ยูไนเต็ดและลิเวอร์พูล
สิ่งหนึ่งที่ดูเหมือนจะกลายเป็นประเด็นทางสังคมและโด่งดังในแวดวงโซเชียลเน็ตเวิร์คอย่างมาก กลับเกิดขึ้นในการแข่งปรีซีซั่นของสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล เมื่อมีกลุ่มคนบางกลุ่มนำป้ายที่เขียนข้อความดูถูก เซอร์อเล็ก เฟอร์กูสัน และยังพาดพิงถึงเหตุการณ์ Munich 58 ด้วย
มันเลยกลายเป็นข่าวดังในชั่วข้ามคืน
แม้เหตุการณ์ถือป้ายนี้จะเกิดขึ้นในประเทศไทย จากคนไม่กี่คน แต่นี่ก็กลายเป็นข่าวที่กระจายไปทั่วโลกในยุคที่โซเชี่ยลเน็ตเวิร์คเป็นกลไลสำคัญของการดำเนินชีวิต ภาพถูกแชร์และส่งต่อ จนกลายเป็นข่าวในทุกเว็ปไซต์ และนำมาซึ่งการถกเถียงอย่างมาก ทั้งกับแฟนบอลแมนฯยู และแฟนบอลลิเวอร์พูล ไม่มีใครรับได้กับการกระทำเช่นนี้ แม้จะเป็นที่รู้กันดีว่า ทั้งสองสโมสรนั้นเป็นคู่แค้นคู่อาฆาตกันมาแต่ไหนแต่ไร แต่เมื่อมีการยกเหตุการณ์โศกนาฏกรรมมาล้อเลียนอย่างสนุกสนานเช่นนี้ ย่อมไม่มีใครเห็นด้วยและเป็นการล้อเลียนที่เลยเถิดอย่างไม่น่าให้อภัย เหตุการณ์ Munich 58 ไม่ได้เป็นแค่ความสูญเสียของชาวเมืองแมนเชสเตอร์ หรือของทีมแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดเท่านั้น แต่มันเป็นความสูญเสียครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์การกีฬาของอังกฤษ
นักฟุตบอล ผู้สื่อข่าว แฟนบอล และบุคลากรทางกีฬา เสียชีวิตอย่างน่าเศร้าในเหตุการณ์นี้
เมื่อปี 2011 สถานีโทรทัศน์ BBC ได้หยิบเอาเหตุการณ์ Munich 58 มาทำเป็นภาพยนตร์ฉายทีวี โดยเรื่องราวจะเน้นไปที่การเล่าเรื่องผ่านตัวละคร บ๊อบบี้ ชาร์ลตัน หนึ่งในผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์การสูญเสียอันยิ่งใหญ่นั้น ...
หนังได้รับทั้งกระแสบวกและลบ และกระแสลบนั้นมันมาจาก บุคคลที่มีความเกี่ยวเนื่องกับสโมสรแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดเสียด้วย
เซอร์อเล็ก เฟอร์กูสัน บอกว่า เขาจะไม่ดูหนังเรื่องนี้ และพวกคนคิดจะทำหนังเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่ไม่เข้าท่าเอามากๆ ไม่จำเป็นต้องมีการบอกเล่าประวัติความเป็นมาของสโมสรด้วยหนังแบบนี้ ที่หนักสุดเห็นจะเป็นทางตระกูล บัสบี้ที่ออกมาแสดงความโกรธเกรี้ยวอย่างชัดเจน โดย แซนดี้บุตรชายของเซอร์แมตบัสบี้ ได้ออกมาต่อว่าอย่างรุนแรงที่ทีมงานผู้ผลิตภาพยนตร์ไม่เคยขออณุญาติหรือถามความเห็นจากครอบครัวเขาแม้แต่นิด ทั้งที่มันก็พูดถึงเรื่องราวของพ่อโดยตรง รวมไปถึงเหล่า “บัสบี้ เบบส์” ด้วย หนังถูกกล่าวว่ามีการบิดเบือนข้อมูลไปบางส่วน ทำให้หนังได้รับการตอบรับที่ไม่ค่อยดีนัก จากบรรดาชาวเมืองแมนเชสเตอร์
ในหนังมีคำพูดหนังของ บ็อบบี้ ชาร์ลตัน ที่บอกว่า “เขาจะส่งบอลให้กับคนอื่นที่ไม่ใช่ ดังค์(ดันแคน เอ็ดเวิร์ด) ได้ยังไง” บ็อบบี้ที่ดูเหมือนยังช็อคกับเหตุการณ์ดังกล่าวอยู่ จึงได้หยุดเล่นฟุตบอลไปพักหนึ่ง ท่ามกลางการแข่งขันตามตารางที่ไม่ได้หยุดตามไปด้วย นั่นเป็น ยุคหายนะของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดอย่างแท้จริง
พวกเขาแทบไม่เหลือตัวผู้เล่นในทีมเลย
จิมมี่ เมอร์ฟี่ โค้ชของทีมต้องพยายามปลุกปั้นทีมขึ้นมาใหม่ทั้งหมด ในตอนนั้นเอง สโมสรลิเวอร์พูล คู่แข่งตลอดกาลของแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ก็ได้หยิบยื่นความช่วยเหลือเข้ามา พวกเขายื่นข้อเสนอในการเป็นนักเตะจากทีมหลักให้ยูไนเต็ดยืมถึง 5 ตัว แม้สุดท้ายแล้วยูไนเต็ดจะไม่ได้รับข้อเสนอนั้นก็ตามที จิมมี่เลือกปลุกปั้นทีมขึ้นมาใหม่จากนักเตะเยาวชนและผู้เล่นทีมสำรองแทน
ต่อมาในปี 1989 ลิเวอร์พูลต้องพบกับ โศกนาฎกรรมครั้งใหญ่ จากเหตุอัฒจรรย์ถล่ม ทำให้แฟนบอลลิเวอร์พูลเสียชีวิต 96 คน ซึ่งต่อมาเหตุการณ์นี้ถูกเรียกว่า “ภัยพิบัติที่ฮิลโบโร่” นั่นนับเป็นความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์สโมสรลิเวอร์พูล มีการแสดงความเคารพต่อเหตุการณ์ดังกล่าวจาก แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด,เชลซี และ อาเซนอลด้วยการสวมปลอกแขนสีดำในการแข่งยูฟ่าแชมเปี้ยนลีกส์ ...
ดังคำกล่าวของแชงคลีย์ “แม้ยูไนเต็ดกับลิเวอร์พูลจะเป็นคู่แข่งกัน แต่พวกเราไม่ได้เกลียดชังกัน”
ถึงอย่างนั้นเหตุโศกนาฏกรรมจากทั้ง 2 ทีม กลับนำมาซึ่งการ “ล้อเลียน” ในหมู่แฟนบอล ทั้งแฟนบอลลิเวอร์พูล และ แฟนบอลยูไนเต็ด ล้วนเคยนำเหตุการณ์เหล่านี้มาแต่งเพลงล้อเลียนกันอย่างสนุกสนาน กลายเป็นเรื่องดราม่าไม่จบสิ้น
จนกระทั่งในปี 2012 ที่ผ่านมา ได้มีการสนับสนุนให้แฟนบอลทั้ง 2 ทีม “หยุดร้องเพลง” ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเหตุการณ์ ฮิลโบโร่และมิวนิค โดยสิ้นเชิง การรณรงค์นี้เริ่มต้นจากกลุ่ม The Manchester United Supporters Trust (Must) และ Stretford End Flags เพื่อกระตุ้นให้แฟนบอลทั้ง 2 ทีมหยุดนำเหตุการณ์โศกนาฏกรรมมาล้อเลียน ไม่ว่ามันจะเกิดกับใครก็ตาม โดยการรณรงค์นี้เริ่มต้นครั้งแรกใน แมตแดงเดือดที่ แมนฯยู พบ ลิเวอร์พูล ในแอนด์ฟิลด์ โดยเป็นการร่วมมือกันจากแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด และลิเวอร์พูล มีการปล่อยลูกโป่ง 96 ลูกโดยกัปตันทีมของทั้งสองทีม เนมานย่า วีดิค และ สตีเวน เจอร์ราร์ดด้วย
(เนื้อข่าวเป็นเฮียวี แต่รูปประกอบหาได้แค่น้ากิ๊กนะเคอะ)
“ทุกอย่างต้องจบลงที่นี่ ไม่ว่าจะฮิลโบโร่หรือมิวนิค หรือ โศกนาฏกรรมใด เราจะไม่พูดถึงมันอีก”
นั่นเป็นคำปฏิญาณที่แฟนบอลทั้งสองทีมได้แสดงจุดยืนร่วมกันในวันนั้น
ย้อนกลับมาที่เมืองไทย แม้ภาพของป้ายที่มีข้อความไล่เฟอร์กี้ไปลงนรกพร้อมกับผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์มิวนิค 58 จะยังคงแจ่มชัด และอาจจะถูกพูดถึงไปอีกนาน ว่า “แฟนบอลลิเวอร์พูลเคยได้ทำเรื่องราวแย่ๆ” ไว้ แต่มันก็เป็นเรื่องที่แม้แต่แฟนลิเวอร์พูลด้วยกันเองยังไม่อาจยอมรับกับการกระทำเช่นนี้ได้ ..
การเชียร์ทีมรักด้วยเยาะเย้ยด้วยความสูญเสีย มันไม่ใช่วิถีของแฟนบอลที่แท้จริง
อย่าลืมว่าก่อนเริ่มเกมการแข่งขันทุกครั้ง กัปตันทีมต้องจับมือและแลกธง นั่นหมายถึงการเริ่มต้นด้วยมิตรภาพ ... อย่าทำให้มิตรภาพกลายเป็นเรื่องของความเกลียดชัง เพียงเพราะเราใส่เสื้อกันคนละสี
ปล่อยให้ “แดงเดือด” เป็นเรื่องแค่ในสนาม
เพราะ
.. ฟุตบอล คือ ความสวยงาม ไม่ใช่ความเกลียดชัง ..
ข้อเท็จจริง
เคยมีการพูดถึงกันอย่างมาก เรื่องที่ลิเวอร์พูล เคยให้แมนฯยูยืมนักเตะตัวหลักในทีมถึง 5 คนในช่วงเหตุการณ์มิวนิค 58 แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไม่เคยมีนักเตะลิเวอร์พูลคนไหนเคยย้ายไปเล่นให้กับแมนฯยูในฤกูกาลดังกล่าว หรือ หลังจากนั้นเลย
ปัจจุบันยังคงมีการพูดถึงเรื่องนี้อยู่ว่า "ลิเวอร์พูลเคยให้นักเตะยูไนเต็ดยืมตัวผู้เล่นจนจบฤดูกาล"
ซึ่งข้อมูลนี้อาจเป็นความผิดเพี้ยน จากการฟังปาถกฐาของ บิล แชงคลีย์ ที่เคยกล่าวว่า ลิเวอร์พูลเคยเสนอนักเตะให้ยูไนเต็ดยืมตัวในเหตุการณ์มิวนิค 58 จริง โดยปาถกฐานั้นมีเนื้อหาพูดถึงมิตรภาพของทั้งสองทีม แต่โค้ชในตอนนั้นอย่างจิมมี่ เมอร์ฟี่ ได้ปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าว รวมทั้งข้อเสนอการนอตติงแฮม ฟอเรสต์ด้วย
มีนักเตะชื่อดังที่เคยเล่นให้กับทั้งสองทีม แต่ไม่เคยเกิดในช่วงเวลาของโศกนาฎกรรมมิวนิคเลย หลายคนอาจรู้จักทั้ง ปีเตอร์ แบรดลีส์, พอล อินซ์ หรือไมเคิล โอเว่น แท้จริงแล้วยังมีนักเตะอีกหลายคนที่เคยเล่นให้กับทั้ง 2 สโมสรอีก
โดยในประวัติการย้ายทีม "โดยตรง" คือ จากอีกทีม ไปอีกทีม มีรายชื่อดังนี้
จาก Liverpool ย้ายไป United
1912 Tom Chorlton
1920 Tom Miller
1929 Tommy Reid
1938 Ted Savage
1938 Allenby Chilton
ย้ายจาก United ไป Liverpool
1913 John Sheldon
1921 Fred Hopkin
1954 Tommy McNulty
1964 Phil Chisnall
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้