ทุกวันนี้เราต้องกินอาหารเป็นประจำ วันละ 2-3 มื้อ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารและพลังงานที่เพียงพอ แต่เชื่อหรือไม่ว่าอาหารที่เรากินกันอยู่นั้นสามารถทำให้เราอ่อนล้าและหมดแรงได้ ถ้าเราแบ่งอาหารตามผลทางปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นหลังจากขบวนการย่อย เราจะแบ่งได้เป็นได้เป็นอาหารที่เป็นกรดต่อร่างกาย กับ อาหารที่เป็นด่างต่อร่างกาย
ซึ่งค่าความเป็นกรด-ด่างนั้นไม่ได้วัดจากความเปรี้ยวหรือรสชาติของอาหารที่ลิ้นเราสัมผัสได้ แต่หมายถึงสิ่งที่หลงเหลืออยู่ขั้นสุดท้ายหลังจากขบวนการย่อย ยกตัวอย่างเช่น ผลไม้ซึ่งมีรสเปรี้ยวเช่น ส้ม มะนาว สับปะรด แต่เมื่อเรารับประทานเข้าไปแล้ว หลังจากย่อยแล้วส่วนที่เหลือจะมีค่าเป็นด่าง เราจึงจัดให้ผลไม้เหล่านี้อยู่ในกลุ่มอาหารที่ทำให้ร่างกายเป็นด่าง ทั้งนี้เราจะจำแนกให้อาหารชนิดนั้นอยู่ในจำพวกไหนขึ้นอยู่กับผลสุดท้ายที่เกิดขึ้นหลังจากอาหารเหล่านั้นผ่านขบวนการย่อยเรียบร้อยแล้.
ขบวนการต่างๆในร่างกาย ทั้งการหายใจ การย่อยอาหาร การไหลเวียนโลหิต การผลิตฮอร์โมน โดยทุกระบบจะทำงานประสานกันเพื่อควบคุมสมดุลกรด-ด่าง(pH) ภายในร่างกาย เราสามารถทดสอบได้ง่ายๆว่าอาหารชนิดใดเป็นกรด หรือเป็นด่างได้ง่ายๆ โดยนำอาหารนั้นไปเผา(เปรียบได้กับการเผาผลาญอาหารในร่างกาย) แล้วจึงนำขี้เถ้าที่เหลือจากการเผามาเติมน้ำ จากนั้นนำไปวัดค่า pH อาหารที่มีแคลเซียม โพทัสเซียม เหล็ก แมกนีเซียม โซเดียม แมงกานีสในปริมาณสูงจะให้ค่า pH เป็นด่าง ในขณะทีอาหารที่ประกอบด้วยฟอสฟอรัส คลอรีน ซัลเฟอร์ ซิลิกอน ไอโอดีน ฟลูออไรด์สูงจะให้ค่า pH เป็นกรด
อาหารที่ดีต่อสุขภาพคืออาหารที่ทำให้เกิดของเสียที่มีค่าเป็นกรดน้อยที่สุด หรือประกอบด้วยสารที่สามารถลดความเป็นกรดได้ในปริมาณมาก อาหารที่ปรุงขายทั่วไป อาหารสำเร็จรูปที่ขายกันอยู่ส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่ทำให้ร่างกายเกิดสภาวะเป็นกรด และถ้าประกอบกับการบริโภคผัก-ผลไม้ในปริมาณน้อยด้วยแล้วยิ่งทำให้ภาวะกรดในร่างกายมากขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของความเจ็บปวดตามส่วนต่างๆของร่างกาย ตลอดจนโรคเรื้อรังต่างๆ
ภาวะที่ร่างกายเป็นกรดมากเกินไปจะส่งผลทำให้ปริมาณออกซิเจนที่เซลล์ควรได้รับน้อยลงไปด้วย เมื่อเซลล์ขาดออกซิเจนนานๆจะก่อให้เกิดความผิดปกติในร่างกายส่วนต่างๆ ทำให้ไม่สบาย ก่อให้เกิดความเสื่อม จนถึงการเกิดมะเร็ง (เซลล์ในร่างกายที่แข็งแรงจะมีค่าเป็นด่างเล็กน้อย ในขณะที่เซลล์มะเร็งจะทำงานได้ดีในสภาพที่มีค่าเป็นกรด)
Cr.
http://www.goodhealth.co.th/new_page_103.htm
อาหารด่างสำหรับร่างกาย
ทุกวันนี้เราต้องกินอาหารเป็นประจำ วันละ 2-3 มื้อ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารและพลังงานที่เพียงพอ แต่เชื่อหรือไม่ว่าอาหารที่เรากินกันอยู่นั้นสามารถทำให้เราอ่อนล้าและหมดแรงได้ ถ้าเราแบ่งอาหารตามผลทางปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นหลังจากขบวนการย่อย เราจะแบ่งได้เป็นได้เป็นอาหารที่เป็นกรดต่อร่างกาย กับ อาหารที่เป็นด่างต่อร่างกาย
ซึ่งค่าความเป็นกรด-ด่างนั้นไม่ได้วัดจากความเปรี้ยวหรือรสชาติของอาหารที่ลิ้นเราสัมผัสได้ แต่หมายถึงสิ่งที่หลงเหลืออยู่ขั้นสุดท้ายหลังจากขบวนการย่อย ยกตัวอย่างเช่น ผลไม้ซึ่งมีรสเปรี้ยวเช่น ส้ม มะนาว สับปะรด แต่เมื่อเรารับประทานเข้าไปแล้ว หลังจากย่อยแล้วส่วนที่เหลือจะมีค่าเป็นด่าง เราจึงจัดให้ผลไม้เหล่านี้อยู่ในกลุ่มอาหารที่ทำให้ร่างกายเป็นด่าง ทั้งนี้เราจะจำแนกให้อาหารชนิดนั้นอยู่ในจำพวกไหนขึ้นอยู่กับผลสุดท้ายที่เกิดขึ้นหลังจากอาหารเหล่านั้นผ่านขบวนการย่อยเรียบร้อยแล้.
ขบวนการต่างๆในร่างกาย ทั้งการหายใจ การย่อยอาหาร การไหลเวียนโลหิต การผลิตฮอร์โมน โดยทุกระบบจะทำงานประสานกันเพื่อควบคุมสมดุลกรด-ด่าง(pH) ภายในร่างกาย เราสามารถทดสอบได้ง่ายๆว่าอาหารชนิดใดเป็นกรด หรือเป็นด่างได้ง่ายๆ โดยนำอาหารนั้นไปเผา(เปรียบได้กับการเผาผลาญอาหารในร่างกาย) แล้วจึงนำขี้เถ้าที่เหลือจากการเผามาเติมน้ำ จากนั้นนำไปวัดค่า pH อาหารที่มีแคลเซียม โพทัสเซียม เหล็ก แมกนีเซียม โซเดียม แมงกานีสในปริมาณสูงจะให้ค่า pH เป็นด่าง ในขณะทีอาหารที่ประกอบด้วยฟอสฟอรัส คลอรีน ซัลเฟอร์ ซิลิกอน ไอโอดีน ฟลูออไรด์สูงจะให้ค่า pH เป็นกรด
อาหารที่ดีต่อสุขภาพคืออาหารที่ทำให้เกิดของเสียที่มีค่าเป็นกรดน้อยที่สุด หรือประกอบด้วยสารที่สามารถลดความเป็นกรดได้ในปริมาณมาก อาหารที่ปรุงขายทั่วไป อาหารสำเร็จรูปที่ขายกันอยู่ส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่ทำให้ร่างกายเกิดสภาวะเป็นกรด และถ้าประกอบกับการบริโภคผัก-ผลไม้ในปริมาณน้อยด้วยแล้วยิ่งทำให้ภาวะกรดในร่างกายมากขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของความเจ็บปวดตามส่วนต่างๆของร่างกาย ตลอดจนโรคเรื้อรังต่างๆ
ภาวะที่ร่างกายเป็นกรดมากเกินไปจะส่งผลทำให้ปริมาณออกซิเจนที่เซลล์ควรได้รับน้อยลงไปด้วย เมื่อเซลล์ขาดออกซิเจนนานๆจะก่อให้เกิดความผิดปกติในร่างกายส่วนต่างๆ ทำให้ไม่สบาย ก่อให้เกิดความเสื่อม จนถึงการเกิดมะเร็ง (เซลล์ในร่างกายที่แข็งแรงจะมีค่าเป็นด่างเล็กน้อย ในขณะที่เซลล์มะเร็งจะทำงานได้ดีในสภาพที่มีค่าเป็นกรด)
Cr.http://www.goodhealth.co.th/new_page_103.htm