เห็นการชุมนุมประท้วงของกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยาง ที่ปักหลักปิดถนนและทางรถไฟบริเวณบ้านควนหนองหงษ์ อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช ในช่วง 4-5 วันที่ผ่านมา
คงไม่ใช่เรื่องล้อเล่นหรือรวมตัวชั่วคราวแล้วแยกย้ายกันไป หรือเป็นเพียงการสร้างสัญลักษณ์อะไรบางอย่างเสียแล้ว
ม็อบไป..ม็อบมา ดูเหมือนจะยกระดับการชุมนุมแรงขึ้นทุกวัน เพราะเริ่มปิดถนนสายเอเซีย 41 แล้วพัฒนาไปถึงขั้นปิดเส้นทางรถไฟช่วงบ้านตูล-ชะอวด ทำเอารถไฟสายใต้ถึงขั้นอัมพาต ต้องหยุดวิ่งหลายขบวน
มานั่งคิดๆ ดูว่า ทำไม? ผู้ชุมนุมจึงมีข้อเรียกร้องให้รัฐบาลอุดหนุนราคายางพารา ถึงกิโลกรัมละ 120 บาท คิดเท่าไหร่ก็คิดไม่ออก เพราะในภาวะที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัว ประเทศผู้นำเข้าใช้ผลิตภัณฑ์ยางลดลง แน่นอนว่า ที่จะขายราคาสูงๆได้ คงเป็นเรื่องยาก
ยิ่งเห็นข้อมูลล่าสุด ตลาดกลางยางพาราสงขลา เมื่อวานนี้ (28ส.ค.2556) ยางแผ่นดิบอยู่ที่กิโลกรัมละ 76 บาทกว่าๆ ยางแผ่นรมควันชั้น 3 อยู่ที่ 79 บาทเศษๆ น้ำยางสด ณ โรงงานอยู่ที่ 71 บาท เศษยาง ณ โรงงาน อยู่ที่ 69.50 บาทต่อกิโลกรัม
ทำให้คิดหนักอีกว่า แล้วที่ม็อบสวนยางขอ 120 บาทต่อกิโลกรัม มันจะได้จริงหรือ? ตัวเลขนี้มาจากไหน? ใครเป็นผู้ก่อกำเนิดราคานี้ขึ้นมา ควานหาข้อมูลเรื่องนี้อยู่นานพอสมควร จนพบว่า เมื่อวันที่ 25 ม.ค.2555 ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เข้ารับตำแหน่ง รมช.เกษตรและสหกรณ์ อย่างเป็นทางการ และได้รับมอบหมายจาก รมว.เกษตรฯ ให้ดูแลงาน 4 กรม กับ 3 รัฐวิสาหกิจในกระทรวงเกษตรฯ ซึ่งในหน่วยงานเหล่านี้ ก็ต้องรับผิดชอบ องค์การสวนยางและสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
วันนั้น ณัฐวุฒิ ให้สัมภาษณ์สื่อชัดเจน บอกว่า งานแรก..จะเร่งหารือกับอธิบดีแต่ละกรมโดยเร็ว เพื่อรวบรวมข้อมูลแผนงานโครงการที่สำคัญของแต่ละหน่วยงาน รวมถึงประเด็นปัญหาต่างๆ เพื่อกำหนดเป็นนโยบายให้การดำเนินงานต่างๆ เกิดความต่อเนื่องและแก้ปัญหาให้กับเกษตรกรให้เกิดขึ้นโดยเร็วที่สุด "โดยเฉพาะปัญหาราคายาง ครม.ได้อนุมัติงบฯเพิ่ม1.5 หมื่นล้านบาท สำหรับรับซื้อยางเก็บเข้าสต็อกของรัฐบาล เพื่อแก้ปัญหาราคาตกต่ำช่วงที่ผ่านมาและยกระดับราคายางให้อยู่ที่กิโลกรัมละ 120 บาท"
ขณะให้สัมภาษณ์ ณัฐวุฒิ บอกด้วยว่า ภายใน 1-2 วันนี้ จะเรียกประชุมกับผู้ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และเกษตรกรผู้ปลูกยาง เพื่อเร่งผลักดันมาตรการให้เกิดขึ้นทันที
ย้อนกลับไปก่อนหน้านั้น 17 ม.ค.2555 ก็ยังพบว่า กิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พาณิชย์ ในขณะนั้น นั่งหัวโต๊ะประชุมคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ ก็บอกชัดถึงมาตรการเร่งด่วน ให้ ธ.ก.ส.อนุมัติสินเชื่อ 2,000 ล้านบาท ดอกเบี้ย 5% ให้เกษตรกรสวนยาง โดยใช้ยางที่อยู่ในสต็อกเป็นหลักประกันในการกู้ คิดราคากิโลกรัมละ 120 บาท
ถัดมา ที่ประชุมครม.เมื่อ 24 ม.ค.2555 ได้อนุมัติสินเชื่อ ส่วนการแก้ปัญหาระยะต่อไป ก็บอกว่าจะเสนอ ครม.อนุมัติงบฯ ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบให้มีการเสนอ ครม.ในวันที่ 24 ม.ค.เพื่อขออนุมัติสินเชื่อวงเงิน 15,000 ล้านบาท ผ่านการจัดสรรของ ธ.ก.ส. แบ่งวงเงินให้กับองค์การสวนยาง 10,000 ล้านบาท และสถาบันเกษตรกร 5,000 ล้านบาท แก้ปัญหาราคายางแผ่นรมควันที่มีความเหมาะสม คืออยู่ที่กิโลกรัมละ 120 บาท ซึ่งขณะนั้นราคายางในตลาด อยู่ที่กิโลกรัมละ 97 บาท และยังมีการระบุด้วยว่าราคามีทิศทางปรับเพิ่มขึ้นตามกลไกตลาด แต่ตอบไม่ได้ว่าเมื่อไหร่ราคาจะถึง 120 บาท
ที่น่าสนใจ เวลานั้น แผนของรัฐบาล มีการอนุมัติกรอบวงเงินแทรกแซงราคายางไว้ 4.5 หมื่นล้านบาท แต่มีการอนุมัติครั้งละ 5,000 ล้านบาท เบ็ดเสร็จมีการใช้เงินซื้อยางเก็บสต็อกไปราวๆ 20,000 ล้านบาท และมียางอยู่ในสต็อก กว่า 2แสนตัน
ฉะนั้น จึงไม่แปลกใจ เมื่อมาถึงตอนนี้ กลุ่มผู้เรียกร้องต้องการ ราคายางที่กิโลกรัมละ 120 บาท เพราะใครๆ ก็รู้ว่า รัฐบาลยังเหลือเงินอีกไม่ต่ำกว่า 2.5 หมื่นล้านบาท ที่จะนำมาแทรกแซงราคาได้
ที่สำคัญ ใคร? กัน ที่บอกว่า จะยกระดับราคายางให้ถึง 120 บาท ตรงนี้ใช่หรือไม่ ที่เป็นเหตุว่า ทำไมชาวสวนยางต้องได้ 120 บาท และตรงนี้ใช่หรือไม่ คือการทวงสัญญาจากรัฐมนตรีเพื่อไทย
ส่วนการออกมาเรียกร้อง.. จะแฝงด้วยอะไร ใครอยู่เบื้องหน้า เบื้องหลัง เป็นหน้าที่รัฐบาลที่จะตรวจสอบความจริง แต่ต้องไม่อยู่บนพื้นฐานของการใช้ความรุนแรง
จาก
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/opinion/politic-view/20130829/526124/%E0%B9%83%E0%B8%84%E0%B8%A3--%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%87120%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%97.html
โดย เฉลา กาญจนา kanchanatuk@hotmail.com
ใคร? สัญญาราคายาง"120บาท" จาก กรุงเทพธุรกิจ
คงไม่ใช่เรื่องล้อเล่นหรือรวมตัวชั่วคราวแล้วแยกย้ายกันไป หรือเป็นเพียงการสร้างสัญลักษณ์อะไรบางอย่างเสียแล้ว
ม็อบไป..ม็อบมา ดูเหมือนจะยกระดับการชุมนุมแรงขึ้นทุกวัน เพราะเริ่มปิดถนนสายเอเซีย 41 แล้วพัฒนาไปถึงขั้นปิดเส้นทางรถไฟช่วงบ้านตูล-ชะอวด ทำเอารถไฟสายใต้ถึงขั้นอัมพาต ต้องหยุดวิ่งหลายขบวน
มานั่งคิดๆ ดูว่า ทำไม? ผู้ชุมนุมจึงมีข้อเรียกร้องให้รัฐบาลอุดหนุนราคายางพารา ถึงกิโลกรัมละ 120 บาท คิดเท่าไหร่ก็คิดไม่ออก เพราะในภาวะที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัว ประเทศผู้นำเข้าใช้ผลิตภัณฑ์ยางลดลง แน่นอนว่า ที่จะขายราคาสูงๆได้ คงเป็นเรื่องยาก
ยิ่งเห็นข้อมูลล่าสุด ตลาดกลางยางพาราสงขลา เมื่อวานนี้ (28ส.ค.2556) ยางแผ่นดิบอยู่ที่กิโลกรัมละ 76 บาทกว่าๆ ยางแผ่นรมควันชั้น 3 อยู่ที่ 79 บาทเศษๆ น้ำยางสด ณ โรงงานอยู่ที่ 71 บาท เศษยาง ณ โรงงาน อยู่ที่ 69.50 บาทต่อกิโลกรัม
ทำให้คิดหนักอีกว่า แล้วที่ม็อบสวนยางขอ 120 บาทต่อกิโลกรัม มันจะได้จริงหรือ? ตัวเลขนี้มาจากไหน? ใครเป็นผู้ก่อกำเนิดราคานี้ขึ้นมา ควานหาข้อมูลเรื่องนี้อยู่นานพอสมควร จนพบว่า เมื่อวันที่ 25 ม.ค.2555 ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เข้ารับตำแหน่ง รมช.เกษตรและสหกรณ์ อย่างเป็นทางการ และได้รับมอบหมายจาก รมว.เกษตรฯ ให้ดูแลงาน 4 กรม กับ 3 รัฐวิสาหกิจในกระทรวงเกษตรฯ ซึ่งในหน่วยงานเหล่านี้ ก็ต้องรับผิดชอบ องค์การสวนยางและสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
วันนั้น ณัฐวุฒิ ให้สัมภาษณ์สื่อชัดเจน บอกว่า งานแรก..จะเร่งหารือกับอธิบดีแต่ละกรมโดยเร็ว เพื่อรวบรวมข้อมูลแผนงานโครงการที่สำคัญของแต่ละหน่วยงาน รวมถึงประเด็นปัญหาต่างๆ เพื่อกำหนดเป็นนโยบายให้การดำเนินงานต่างๆ เกิดความต่อเนื่องและแก้ปัญหาให้กับเกษตรกรให้เกิดขึ้นโดยเร็วที่สุด "โดยเฉพาะปัญหาราคายาง ครม.ได้อนุมัติงบฯเพิ่ม1.5 หมื่นล้านบาท สำหรับรับซื้อยางเก็บเข้าสต็อกของรัฐบาล เพื่อแก้ปัญหาราคาตกต่ำช่วงที่ผ่านมาและยกระดับราคายางให้อยู่ที่กิโลกรัมละ 120 บาท"
ขณะให้สัมภาษณ์ ณัฐวุฒิ บอกด้วยว่า ภายใน 1-2 วันนี้ จะเรียกประชุมกับผู้ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และเกษตรกรผู้ปลูกยาง เพื่อเร่งผลักดันมาตรการให้เกิดขึ้นทันที
ย้อนกลับไปก่อนหน้านั้น 17 ม.ค.2555 ก็ยังพบว่า กิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พาณิชย์ ในขณะนั้น นั่งหัวโต๊ะประชุมคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ ก็บอกชัดถึงมาตรการเร่งด่วน ให้ ธ.ก.ส.อนุมัติสินเชื่อ 2,000 ล้านบาท ดอกเบี้ย 5% ให้เกษตรกรสวนยาง โดยใช้ยางที่อยู่ในสต็อกเป็นหลักประกันในการกู้ คิดราคากิโลกรัมละ 120 บาท
ถัดมา ที่ประชุมครม.เมื่อ 24 ม.ค.2555 ได้อนุมัติสินเชื่อ ส่วนการแก้ปัญหาระยะต่อไป ก็บอกว่าจะเสนอ ครม.อนุมัติงบฯ ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบให้มีการเสนอ ครม.ในวันที่ 24 ม.ค.เพื่อขออนุมัติสินเชื่อวงเงิน 15,000 ล้านบาท ผ่านการจัดสรรของ ธ.ก.ส. แบ่งวงเงินให้กับองค์การสวนยาง 10,000 ล้านบาท และสถาบันเกษตรกร 5,000 ล้านบาท แก้ปัญหาราคายางแผ่นรมควันที่มีความเหมาะสม คืออยู่ที่กิโลกรัมละ 120 บาท ซึ่งขณะนั้นราคายางในตลาด อยู่ที่กิโลกรัมละ 97 บาท และยังมีการระบุด้วยว่าราคามีทิศทางปรับเพิ่มขึ้นตามกลไกตลาด แต่ตอบไม่ได้ว่าเมื่อไหร่ราคาจะถึง 120 บาท
ที่น่าสนใจ เวลานั้น แผนของรัฐบาล มีการอนุมัติกรอบวงเงินแทรกแซงราคายางไว้ 4.5 หมื่นล้านบาท แต่มีการอนุมัติครั้งละ 5,000 ล้านบาท เบ็ดเสร็จมีการใช้เงินซื้อยางเก็บสต็อกไปราวๆ 20,000 ล้านบาท และมียางอยู่ในสต็อก กว่า 2แสนตัน
ฉะนั้น จึงไม่แปลกใจ เมื่อมาถึงตอนนี้ กลุ่มผู้เรียกร้องต้องการ ราคายางที่กิโลกรัมละ 120 บาท เพราะใครๆ ก็รู้ว่า รัฐบาลยังเหลือเงินอีกไม่ต่ำกว่า 2.5 หมื่นล้านบาท ที่จะนำมาแทรกแซงราคาได้
ที่สำคัญ ใคร? กัน ที่บอกว่า จะยกระดับราคายางให้ถึง 120 บาท ตรงนี้ใช่หรือไม่ ที่เป็นเหตุว่า ทำไมชาวสวนยางต้องได้ 120 บาท และตรงนี้ใช่หรือไม่ คือการทวงสัญญาจากรัฐมนตรีเพื่อไทย
ส่วนการออกมาเรียกร้อง.. จะแฝงด้วยอะไร ใครอยู่เบื้องหน้า เบื้องหลัง เป็นหน้าที่รัฐบาลที่จะตรวจสอบความจริง แต่ต้องไม่อยู่บนพื้นฐานของการใช้ความรุนแรง
จาก http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/opinion/politic-view/20130829/526124/%E0%B9%83%E0%B8%84%E0%B8%A3--%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%87120%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%97.html
โดย เฉลา กาญจนา kanchanatuk@hotmail.com