จากชนชาติที่ถูกกระทำอย่างเจ็บปวดที่สุดเท่าที่มนุษยชาติพึงจะกระทำต่อกันในประวัติศาสตร์โลก ชาวยิวเดินฝ่าความขมขื่นเพื่อร่วมกันสร้างดินแดนในแผ่นดินที่ยึดถือว่าเป็นพันธสัญญาของพระเจ้าภายใต้ชื่ออิสราเอล แต่ลมฝนจากทะลเมดิเตอร์เรเนียนก็ไม่อาจบรรเทาความแห้งแล้งจากเบื้องบน เมื่อทะเลทรายกินพื้นที่เกือบครึ่งประเทศ และอีกด้านคือทะเลสาบเดดซี ทะเลแห่งความตายที่ไม่มีสิ่งมีชีวิตใดๆ อยู่รอด ซ้ำยังถูกขนาบข้างด้วยปัญหาการแบ่งแยกดินแดนปาเลสไตน์และพื้นที่ฉนวนกาซาที่ยืดเยื้อยาวนาน ถึงอย่างนั้นก็กลับไม่มีข้อกังขาใดในผลิตผลทางปัญญาของชาวยิว เพราะในดินแดนที่เต็มไปด้วยอุปสรรคนี้ เทคโนโลยีการเกษตรและระบบชลประทานสมัยใหม่ได้แผ้วถางความกันดารและนำความอุดมสมบูรณ์มาสู่ผืนทราย จากดินแดนที่มีพันธะต่อพระเจ้า สู่พันธสัญญาใหม่เพื่อหล่อเลี้ยงผู้คนบนโลกใบนี้
ที่พึ่งหลังสุดท้ายแห่งศรัทธา
อิสราเอลเป็นประเทศที่เผชิญหน้ากับความขัดแย้งมาโดยตลอด ทันทีที่สหประชาชาติได้แบ่งแยกดินแดนปาเลสไตน์ออกเป็น 2 ส่วน เมื่อปี 1947 โดยส่วนหนึ่งให้เป็นที่อาศัยของชาวยิว และอีกส่วนเป็นพื้นที่ของชาวอาหรับ หนึ่งปีต่อมาชาวยิวได้สถาปนารัฐอิสราเอลขึ้น และเป็นเหตุที่ทำให้ความขัดแย้งระหว่างชาวยิวกับชาวอาหรับทวีความรุนแรงขึ้น กลุ่มอาหรับ ที่ประกอบด้วยอียิปต์ ซีเรีย จอร์แดน และเลบานอนได้สนับสนุนการตั้งองค์การเพื่อปลดปล่อยปาเลสไตน์ (Palestine LiberationOrganization: PLO) และเมื่อยัสเซอร์ อาราฟัต เข้ามาเป็นผู้นำพร้อมนโยบายแข็งกร้าว ดีกรีความขัดแย้งก็ยิ่งเข้มข้นขึ้น เขาพยายามอย่างยิ่งในการแสดงให้ชาวโลกยอมรับการมีตัวตนของชาวปาเลสไตน์และพยายามแสดงให้เห็นถึงความชอบธรรมในการกอบกู้ดินแดนของชาวปาเลสไตน์คืนจากอิสราเอล ในปี1972 กลุ่มนักรบปาเลสไตน์ได้ลงมือในปฏิบัติการที่เขย่าขวัญคนทั้งโลกในขณะที่มหกรรมโอลิมปิกเกิดขึ้น ณ เมืองมิวนิก ประเทศเยอรมนี ด้วยการบุกเข้าหอพักนักกีฬาโอลิมปิก และจับตัวนักกีฬาชาวอิสราเอลจำนวน 11 คนเป็นตัวประกัน เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลอิสราเอลปล่อยตัวนักโทษการเมืองชาวปาเลสไตน์ 234 คน และอีก 2 คนที่ถูกคุมขังอยู่ที่เยอรมนี เหตุการณ์ครั้งนั้นจบลงที่ความสูญเสีย และปัญหาระหว่างทั้งสองฝ่ายก็ยิ่งลุกลามขึ้นไปอีก และแม้นานาชาติจะได้พยายามทุเลาความเลวร้ายต่างๆ ผ่านเวทีเจรจาสันติภาพอย่างต่อเนื่องนานหลายสิบปี รวมถึงมีโครงการพัฒนาความร่วมมือมากมายที่หลั่งไหลเข้าไปเพื่อกอบกู้และเยียวยาด้านมนุษยธรรมแก่ทั้งสองฝ่าย แต่ก็ทำได้แค่เพียงบรรเทาเท่านั้น เพราะเหตุการณ์รุนแรงมักจะปะทุขึ้นเสมอๆ
ขณะที่มหากาพย์แห่งความขัดแย้งรอบเขตแดนดำเนินไป แต่ภายในประเทศ รัฐบาลอิสราเอลยังคงมุ่งมั่นที่จะฟูมฟักความแข็งแกร่งของชาติด้วยวิทยาการทันสมัยทุกแขนง ตั้งแต่การเพาะปลูกเพื่อความอิ่มท้องจนถึงอาวุธยุทโธปกรณ์เพื่อประกาศศักดิ์ศรี นับจากการตั้งประเทศเมื่อปี 1948 อิสราเอลคือรัฐที่เติบโตจากการอพยพเพื่อการตั้งถิ่นฐานอย่างแท้จริง จำนวนประชากรขยายตัวอย่างรวดเร็วถึง 5เท่า เป็นราว 7.3 ล้านคนในปัจจุบัน กว่าร้อยละ 80 คือคนเชื้อสายยิว และอีกราวร้อยละ 20 เป็นเชื้อสายอาหรับ พวกเขาอพยพมาจาก 5ทวีป จากกว่า 100ประเทศ และได้นำเอาวัฒนธรรมเฉพาะถิ่นติดตัวมาด้วย อิสราเอลจึงมีความหลากหลายของการแสดงออกทางวัฒนธรรม ไม่ว่าจะเป็นซิมโฟนีแบบรัสเซีย บทประพันธ์อย่างอังกฤษ หรือกระทั่งสถาปัตยกรรมแบบเบาเฮาส์จากเยอรมนี ที่รวมอยู่ภายใต้ความเป็นอิสราเอลซึ่งให้ความสำคัญกับรากฐานที่แข็งแกร่งของชุมชน เมื่อประกอบกับประวัติศาสตร์บนดินแดนที่ยาวนานกว่า 3 พันปีเช่นเมืองหลวงเยรูซาเล็ม จึงทำให้อิสราเอลมีองค์ประกอบทางวัฒนธรรมที่ทั้งเสื่อมสลายและยังมีชีวิตอยู่ โดยมีเมืองเทลอาวีฟ ศูนย์กลางทางการเงินที่ได้กลายมาเป็นศูนย์กลางแห่งพลังชีวิตของหนุ่มสาว การเริ่มต้นธุรกิจ ความทันสมัย ทั้งแฟชั่น อาหาร และศิลปะ ขณะที่เมืองไฮฟา เมืองท่าสำคัญก็ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางด้านอุตสาหกรรม และเมืองเบเออร์เชวา กลายเป็นเมืองศูนย์กลางธุรกิจทางตอนใต้ของประเทศ และแม้จะอยู่ในภาวะยุ่งเหยิง แต่การท่องเที่ยว ก็ถือเป็นหนึ่งในรายได้หลักของประเทศ โดยในปี 2011 มีนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกเดินทางไปอิสราเอลถึงกว่า 3.45 ล้านคน
อิสราเอล พันธสัญญาเหนือผืนทราย
ที่พึ่งหลังสุดท้ายแห่งศรัทธา
อิสราเอลเป็นประเทศที่เผชิญหน้ากับความขัดแย้งมาโดยตลอด ทันทีที่สหประชาชาติได้แบ่งแยกดินแดนปาเลสไตน์ออกเป็น 2 ส่วน เมื่อปี 1947 โดยส่วนหนึ่งให้เป็นที่อาศัยของชาวยิว และอีกส่วนเป็นพื้นที่ของชาวอาหรับ หนึ่งปีต่อมาชาวยิวได้สถาปนารัฐอิสราเอลขึ้น และเป็นเหตุที่ทำให้ความขัดแย้งระหว่างชาวยิวกับชาวอาหรับทวีความรุนแรงขึ้น กลุ่มอาหรับ ที่ประกอบด้วยอียิปต์ ซีเรีย จอร์แดน และเลบานอนได้สนับสนุนการตั้งองค์การเพื่อปลดปล่อยปาเลสไตน์ (Palestine LiberationOrganization: PLO) และเมื่อยัสเซอร์ อาราฟัต เข้ามาเป็นผู้นำพร้อมนโยบายแข็งกร้าว ดีกรีความขัดแย้งก็ยิ่งเข้มข้นขึ้น เขาพยายามอย่างยิ่งในการแสดงให้ชาวโลกยอมรับการมีตัวตนของชาวปาเลสไตน์และพยายามแสดงให้เห็นถึงความชอบธรรมในการกอบกู้ดินแดนของชาวปาเลสไตน์คืนจากอิสราเอล ในปี1972 กลุ่มนักรบปาเลสไตน์ได้ลงมือในปฏิบัติการที่เขย่าขวัญคนทั้งโลกในขณะที่มหกรรมโอลิมปิกเกิดขึ้น ณ เมืองมิวนิก ประเทศเยอรมนี ด้วยการบุกเข้าหอพักนักกีฬาโอลิมปิก และจับตัวนักกีฬาชาวอิสราเอลจำนวน 11 คนเป็นตัวประกัน เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลอิสราเอลปล่อยตัวนักโทษการเมืองชาวปาเลสไตน์ 234 คน และอีก 2 คนที่ถูกคุมขังอยู่ที่เยอรมนี เหตุการณ์ครั้งนั้นจบลงที่ความสูญเสีย และปัญหาระหว่างทั้งสองฝ่ายก็ยิ่งลุกลามขึ้นไปอีก และแม้นานาชาติจะได้พยายามทุเลาความเลวร้ายต่างๆ ผ่านเวทีเจรจาสันติภาพอย่างต่อเนื่องนานหลายสิบปี รวมถึงมีโครงการพัฒนาความร่วมมือมากมายที่หลั่งไหลเข้าไปเพื่อกอบกู้และเยียวยาด้านมนุษยธรรมแก่ทั้งสองฝ่าย แต่ก็ทำได้แค่เพียงบรรเทาเท่านั้น เพราะเหตุการณ์รุนแรงมักจะปะทุขึ้นเสมอๆ
ขณะที่มหากาพย์แห่งความขัดแย้งรอบเขตแดนดำเนินไป แต่ภายในประเทศ รัฐบาลอิสราเอลยังคงมุ่งมั่นที่จะฟูมฟักความแข็งแกร่งของชาติด้วยวิทยาการทันสมัยทุกแขนง ตั้งแต่การเพาะปลูกเพื่อความอิ่มท้องจนถึงอาวุธยุทโธปกรณ์เพื่อประกาศศักดิ์ศรี นับจากการตั้งประเทศเมื่อปี 1948 อิสราเอลคือรัฐที่เติบโตจากการอพยพเพื่อการตั้งถิ่นฐานอย่างแท้จริง จำนวนประชากรขยายตัวอย่างรวดเร็วถึง 5เท่า เป็นราว 7.3 ล้านคนในปัจจุบัน กว่าร้อยละ 80 คือคนเชื้อสายยิว และอีกราวร้อยละ 20 เป็นเชื้อสายอาหรับ พวกเขาอพยพมาจาก 5ทวีป จากกว่า 100ประเทศ และได้นำเอาวัฒนธรรมเฉพาะถิ่นติดตัวมาด้วย อิสราเอลจึงมีความหลากหลายของการแสดงออกทางวัฒนธรรม ไม่ว่าจะเป็นซิมโฟนีแบบรัสเซีย บทประพันธ์อย่างอังกฤษ หรือกระทั่งสถาปัตยกรรมแบบเบาเฮาส์จากเยอรมนี ที่รวมอยู่ภายใต้ความเป็นอิสราเอลซึ่งให้ความสำคัญกับรากฐานที่แข็งแกร่งของชุมชน เมื่อประกอบกับประวัติศาสตร์บนดินแดนที่ยาวนานกว่า 3 พันปีเช่นเมืองหลวงเยรูซาเล็ม จึงทำให้อิสราเอลมีองค์ประกอบทางวัฒนธรรมที่ทั้งเสื่อมสลายและยังมีชีวิตอยู่ โดยมีเมืองเทลอาวีฟ ศูนย์กลางทางการเงินที่ได้กลายมาเป็นศูนย์กลางแห่งพลังชีวิตของหนุ่มสาว การเริ่มต้นธุรกิจ ความทันสมัย ทั้งแฟชั่น อาหาร และศิลปะ ขณะที่เมืองไฮฟา เมืองท่าสำคัญก็ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางด้านอุตสาหกรรม และเมืองเบเออร์เชวา กลายเป็นเมืองศูนย์กลางธุรกิจทางตอนใต้ของประเทศ และแม้จะอยู่ในภาวะยุ่งเหยิง แต่การท่องเที่ยว ก็ถือเป็นหนึ่งในรายได้หลักของประเทศ โดยในปี 2011 มีนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกเดินทางไปอิสราเอลถึงกว่า 3.45 ล้านคน