น้ำหนักตัวโดยเฉลี่ยของทารกวัยแรกเกิด – 1 ขวบ

พ่อแม่หลายคนเวลาเจอเด็กทารกคนอื่นที่รูปร่างอวบอ้วน จ้ำม้ำน่าหยิก ก็อาจจะกังวลว่า ลูกของเรานั้นมีน้ำหนักตัวน้อยเกินไปหรือเปล่า หรือบางคนก็กังวลว่าลูกของเราจะกินนมน้อยไปไหมทำให้น้ำหนักตัวน้อย วันนี้เราจะแนะนำเกณฑ์น้ำหนักมาตราฐานของเด็กในวัยแรกเกิดจนอายุ 1 ปีเพื่อเป็นแนวทางให้กับคุณพ่อคุณแม่ค่ะ

ปล. เราแอบกังวลเรื่องน้ำหนักลูกตัวเองที่ต่ำกว่าเกณฑ์ ทั้งๆที่กินค่อนข้างเยอะ
เลยเอามาฝากคุณพ่อและคุณแม่ ที่กังวลเรื่องน้ำหนักเจ้าตัวน้อยเหมือนกัน ไว้จะได้รุ้การเติบโตของเขาที่ควรจะเป็นค่ะ ^^

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก babytrick.com


เด็กวัยแรกเกิดควรมีน้ำหนักตัวประมาณเท่าไร?
โดยปกติเด็กวัยแรกเกิดที่คลอดตามปกติ (ไม่ได้คลอดก่อนกำหนด) จะมีน้ำหนักตัวเฉลี่ยประมาณ 3,000 กรัม (3 กิโลกรัม) แต่ก็มีไม่น้อยที่เด็กเกิดมาแล้วมีน้ำหนักตัวถึง 4,000 กรัม (ทีมงานเราท่านหนึ่งเกิดมาน้ำหนักตัวตั้ง 4,200 กรัม แหนะ) ดังนั้นหากลูกของเรามีน้ำหนักตัวระหว่าง 3,000 – 4,000 กรัมก็ถือว่าเป็นปกติสำหรับเด็กแล้วค่ะ ไม่ต้องกังวลไป แต่หากลูกของเราเป็นเด็กที่คลอดก่อนกำหนด โดยมากน้ำหนักตัวจะไม่ถึง 3,000 กรัม แต่ไม่ต้องห่วงค่ะ เมื่อเขาเติบโตขึ้นน้ำหนักตัวของเขาก็จะเพิ่มไวกว่าเด็กทั่วไปเช่นกันค่ะ

เมื่อทารกแรกเกิดเข้าสู่วัย 3 เดือน
น้ำหนักตัวหลักจากแรกเกิดนั้น โดยเฉลี่ยจะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 700 – 800 กรัมต่อเดือน ดังนั้นเมื่อลูกของเรามีอายุครบ 3 เดือน น้ำหนักตัวของลูกก็ควรจะเพิ่มขึ้นประมาณ 2,100 – 2,400 กรัม นับจากตอนแรกเกิด แต่ทั้งนี้เด็กบางคนก็อาจจะมีเกณฑ์เพิ่มมากหรือน้อยกว่าเกณฑ์ได้ค่ะ

เมื่อทารกเข้าสู่วัย 4 – 6 เดือน
น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยในแต่ละเดือนในช่วงนี้จะอยู่ที่ 500 – 600 กรัมต่อเดือน ซึ่งจะน้อยกว่าในช่วง 1 – 3 เดือน คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกังวลไปนะค่ะ แต่หากเด็กบางคนที่น้ำหนักตัวเพิ่มมากกว่าเกณฑ์นี้ ก็ต้องดูว่าลูกกินอะไรไปเป็นพิเศษหรือเปล่านะค่ะ

เมื่อทารกเข้าสู้วัย 7 – 9 เดือน
น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นในแต่ละเดือนจะอยู่ที่ประมาณ 400 กรัมต่อเดือน อาจมีมากหรือน้อยกว่านี้นิดหน่อยค่ะ

เมื่อทารกเข้าสู่วัย 9 – 12 เดือน
น้ำหนักตัวที่เพิ่มในแต่ละเดือนจะลดลงอีก เหลือเพียงเดือนละประมาณ 300 กรัมต่อเดือนค่ะ

เมื่อทารกเข้าสู่วัย 1 ขวบ
ช่วงนี้น้ำหนักตัวจะเพิ่มเพียงเดือนละ 200 กรัม ซึ่งมีปัจจัยหลายอย่างที่จะทำให้ลูกมีน้ำหนักตัวเพิ่มมากหรือน้อยในแต่ละเดือนด้วย

ซึ่งการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัวนั้นบางครั้งอาจจะเพิ่มหรือลดเพราะมีปัจจัยอื่นที่ทำให้น้ำหนักตัวของลูกเปลี่ยนแปลง เช่น

ฟันกำลังจะขึ้น
ไม่สบายหรือมีอาการเจ็บป่วย
เพิ่งกินนมหรืออาหารเสร็จ
เพิ่งถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะไป
ถอดหรือใส่เสื้อผ้าหรือผ้าอ้อมสำเร็จรูป
แล้วเราควรจะชั่งน้ำหนักลูกบ่อยแค่ไหน?
หากที่บ้านมีเครื่องชั่งที่เหมาะสมอยู่แล้วก็สามารถชั่งน้ำหนักได้ทุกวันค่ะ แต่หากไม่มีก็ชั่งตอนที่เราพาลูกไปพบคุณหมอตามนัดปกติก็ได้ หากน้ำหนักตัวของลูกต่ำกว่าเกณฑ์เล็กน้อย แต่เขายังคงกินนมได้ตามปกติ ร่าเริง นอนหลับได้ตามปกติแม้น้ำหนักตัวจะเพิ่มน้อยกว่าเกณฑ์เล็กน้อยก็ยังไม่ต้องกังวลมากเกินไปนะค่ะ แต่หากต่ำกว่าเกณฑ์มากๆ ก็อาจจะขอคำแนะนำจากคุณหมอตอนที่เราพาลูกไปฉีดวัคซีนก็ได้ค่ะ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่