An Open Letter to Chuan Leekphai
On Anarchy and Democracy
เรื่อง ประชาธิปไตย กับ อนาธิปไตย
เรียน ฯพณฯ ชวน หลีกภัย สส. ปชป กก. สภา มธ
และ อดีต นรม อดีต หัวหน้าพรรคฯ
สืบเนื่องจากสถานการณ์
ป่วนสภา ป่วนถนน และการป่วนอื่นๆ
ซึ่งน่าจะเป็นส่วนหนึ่ง ที่สร้างสถานการณ์ อนาธิปไตย anarchy
อันจะนำไปสู่ การรัฐประหาร ยึดอำนาย โดย นายทหาร และ/หรือ นายศาล
เรื่องทำนองนี้ ได้เกิดมาแล้ว เมื่อ พ.ศ. 2490 แล้วก็เกิดอีก เมื่อ พ.ศ. 2549
ปวศ อาจซ้ำรอยอีก และเมื่อถึงตอนนั้น กาลียุค ก็จะบังเกิดในสยามประเทศไทย
ครั้งหนึ่ง ฯพณฯ ปรีดี พนมยงค์ อดีตผู้นำปฎิวัติสยาม ผู้ประศาสน์การ มธก รัฐบุรุษอาวุโส และ อดีต นรม ได้เตือนเราไว้ และน่าที่ เราๆ ท่านๆ ในยุคสมัยอันสับสน เช่นนี้ จักได้สำเนียก เรียนรู้ และสร้าง "การเมืองดี" ให้กับชาติบ้านเมือง
เมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ปี พ.ศ. 2489 กว่าครึ่งศตวรรษมาแล้ว ในขณะที่สังคมไทยกำลังค้นหาให้ได้มาซึ่งระบอบ "ประชาธิปไตย" ฯพณฯ ปรีดี ซึ่งในตอนนั้นดำรงตำแหน่ง นรม ได้กล่าวปิดประชุมสภาเมื่อ 7 พฤษภา ด้วยคำเตือนเรื่อง "ประชาธิปไตย" กับ "อนาธิปไตย" ดังนี้
"ระบอบประชาธิปไตยนั้น เราหมายถึงประชาธิปไตย อันมีระเบียบตามกฎหมายและศีลธรรม และความซื่อสัตย์สุจริต ไม่ใช่ประชาธิปไตยอันไม่มีระเบียบ หรือประชาธิปไตยที่ไร้ศีลธรรม เช่น การใช้สิทธิเสรีภาพอันมีแต่จะให้เกิดความปั่นป่วน ความไม่สงบเรียบร้อย ความเสื่อมศีลธรรม ระบอบชนิดนี้เรียกว่าอนาธิปไตย หาใช่ประชาธิปไตยไม่ ขอให้ระวัง อย่าปนประชาธิปไตยกับอนาธิปไตย"
ท่านปรีดี กล่าวต่อว่า "ข้าพเจ้าไม่พึงประสงค์ที่จะให้มีระบอบเผด็จการในประเทศไทย ในการนี้ก็จำเป็นต้องป้องกันหรือขัดขวางมิให้มีอนาธิปไตย อันเป็นทางที่ระบอบเผด็จการจะอ้างได้ ข้าพเจ้าเชื่อว่าถ้าเราช่วยกันประคองใช้ให้ระบอบประชาธิปไตยนี้ได้เป็นไปตามระเบียบเรียบร้อย .... ระบอบเผด็จการย่อมมีขึ้นไม่ได้"
ท่านปรีดีกล่าวอย่างน่าสนใจอีกว่า "การใช้สิทธิตามระบอบประชาธิปไตย ต้องทำโดยความบริสุทธิ์ใจ มุ่งหวังผลส่วนรวมจริงๆ ไม่ใช่มุ่งหวังส่วนตัว หรือมีความอิจฉาริษยากันเป็นมูลฐาน เนื่องมาจากความเห็นแก่ตัว (เอ็กโกอีสม์)"
แล้วท่านปรีดี ก็เข้าสู่ไคลแมกซ์ด้วยการกล่าวว่า "โดยมีอุดมคติซื่อสัตย์ต่อองค์พระมหากษัตริย์ ข้าพเจ้าเคารพในความซื่อสัตย์ ซึ่งมีตัวอย่างอยู่มากหลายที่ผู้ซื่อสัตย์เหล่านี้ได้ร่วมกิจการรับใช้ชาติกับข้าพเจ้า... แต่ผู้ซึ่งแสดงว่าซื่อสัตย์ต่อองค์พระมหากษัตริย์ในภายนอก ส่วนภายในหวังผลส่วนตน หรือมูลสืบเนื่องมาแต่ความไม่พอใจเป็นส่วนตัวเช่นนี้แล้ว ก็เกรงว่าผู้นั้นก็อาจหันเหไปได้ สุดแต่ว่าตนจะได้รับประโยชน์ส่วนตนอย่างไรมากกว่า"
ท่านปรีดี จบคำปราศัย ฝากฝังไว้กับ สส. ในสภาว่า "ข้าพเจ้าหวังว่าท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหลาย คงจะใช้สิทธิของท่านด้วยความบริสุทธิ์ใจ และอาศัยกฏหมายและศีลธรรมความสุจริตเป็นหลัก ไม่ช่วยกันส่งเสริมให้มีระบอบอนาธิปไตย
ข้าพเจ้าขอฝากความคิดไว้ต่อท่านผู้แทนราษฎรทั้งหลาย โดยเป็นห่วงถึงอนาคตของชาติ ข้าพเจ้าปรารถนาที่จะได้เห็นประเทศชาติปลอดจากระบอบเผด็จการ และปลอดจากระบอบอนาธิปไตย คงมีแต่ระบอบประชาธิปไตยอันพรั่งพร้อมไปด้วยสามัคคีธรรม
ระบอบประชาธิปไตยอันพรั่งพร้อมด้วยสามัคคีธรรมนี้เป็นวัตถุประสงค์ของคณะราษฎร ที่ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญ และเป็นพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวที่พระราชทานรัฐธรรมนูญ"
ท่านปรีดีฝากฝังอะไรไว้มากมายเมื่อ 7 พฤษภา พ.ศ. 2489 ต่อมาอีก 2 วัน คือ 9 พฤษภา ท่านปรีดี ก็ถวายรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ให้ในหลวงอานันท์ รัชกาลที่ 8 ลงพระปรมาภิไธย แต่อีก 1 เดือนต่อมา คือ ในวันที่ 9 มิถุนา ในหลวงอานันท์ ก็ต้องพระแสงปืนเสด็จสวรรคต
และแล้ววิกฤตก็บังเกิด อำนาจเก่าบารมีเก่า ใส่ร้ายป้ายสี "ปรีดี ฆ่าในหลวง" ท่านปรีดีแสดงความรับผิดชอบ ลาออกจาก นรม และหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ก็ขึ้นเป็นแทน รัฐบาลหลวงธำรงฯ ถูกพรรคฝ่ายค้าน คือ ประชาธิปัตย์ นำโดยนายควง อภัยวงศ์ เปิดอภิปรายในสภาฯ ไม่ไว้วางใจหลายวันหลายคืน และเมื่อล้มรัฐบาลด้วยวิถีทางรัฐสภาไม่ได้ นายควง หัวหน้าพรรคฯ ก็ร่วมมือกับ "ระบอบทหาร" ที่นำโดยพลโทผิน ชุณหะวัณ ทำ "การรัฐประหาร" ยึดอำนาจเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2490
จากนั้นสยามประเทศ(ไทย) ของเรา ก็เข้าสู่ "ยุดมืดบอดทางการเมือง" กลายเป็น "ระบอบเผด็จการครึ่งใบ" อยู่ 10 ปีภายใต้ "ระบอบพิบูลสงคราม" ระหว่าง พ.ศ. 2491-2500 แล้วก็ต้องตกอยู่ภายใต้ "ระบอบเผด็จการเต็มใบ" ของ "ระบอบสฤษดิ์-ถนอม-ประภาส" อีก 15 ปี ระหว่าง พ.ศ. 2501-2516 รวมแล้วกว่าจะถูกโค่นล้มไปเมื่อ "14 ตุลา" พ.ศ. 2516 ก็กินเวลาถึง 26 ปี
ท่านปรีดีของเราต้องกลายเป็น "พ่อกู นามระบือ ชื่อปรีดี แต่คนดี เมืองไทย ไม่ต้องการ" (เช่นเดียวกับ ดร. ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ฯลฯ) ท่านต้องลี้ภัยการเมือง ลี้ภัยจาก "อนาธิปไตย" และ "เผด็จการทหารและอนุรักษ์นิยม" ไปอยู่เมืองจีนถึง 21 ปี แล้วก็จะไปจบชีวิตลงที่ปารีสเมื่อปี พ.ศ. 2526
ครับ ท่านปรีดีและคำเตือนว่าด้วย "อนาธิปไตย" กับ "ประชาธิปไตย" ทำให้เราต้องคิดใคร่ครวญหนักต่อสถานการณ์ปัจจุบัน นับตั้งแต่ "ระบอบพันธมิตร" กับการ "ล้มรัฐบาลสมัคร/สมชาย" ตลอดจน "โค่นระบอบทักษิณ" รวมทั้งสภาพการ "ป่วน" ทั้งหลาย ทั้งปวง เราจะแก้วิกฤตครั้งนี้ได้อย่างไร เราจะทำอย่างไรที่จะไม่ให้เกิด "อนาธิไตย" อันนำมาสู่ "รัฐประหารโดยนายทหาร/นายศาล" หรือบานปลายไปจนเป็น "สงครามกลางเมือง" กลายเป็น "กาลียุค"
หากเราตระหนักในคำเตือนล่วงหน้าก่อนกาล ของท่านปรีดี ที่ท่านให้เรายึดมั่นใน "ประชาธิปไตย" ไม่นำไป "สับสน" หรือ "ปนเปื้อน" กับ "อนาธิปไตย/ป่วน" อันจะนำเราไปสู่ "ระบอบเผด็จการ" เมื่อนั้นแหละ ที่บ้านเมืองของเราจะพอมีอนาคตกันบ้าง
หรือว่าทุกอย่างจะสายเกินแก้ไปแล้ว และ ในกาลียุคสมัย "พระอิศวรศิวะเทพ" ก็จะปรากฏกายเป็น "ศิวะนาฏราช" เหนือปราสาทเขาพระวิหารและปราสาทเขาพนมรุ้ง เพื่อทำลายล้างทุกสิ่งทุกอย่างให้สิ้นซาก แล้วให้ "พระนารายณ์วิษณุเทพ" บันดาลให้ดอกบัวผุดขึ้นมาจากพระนาภี เผย "องค์ท้าวมหาพรหม" ที่จะทรงสร้างโลกใหม่ ที่มี "สิทธิ เสรีภาพ และภราดรภาพ" มีความเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริงเสียที
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
ณ เจ้าพระยา ท่าพระจันทร์
http://www.go6tv.com/
ประวัติ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ชาญวิทย์ เกิดเมื่อวันอังคารที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 ที่บ้านห้องแถว ถนนทรงพล อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี เกิดและเติบโตจากครอบครัวชนชั้นกลาง คุณพ่อชื่อ เชิญ (เปลี่ยนนามสกุลเดิมจาก "แก่นแก้ว" เป็น "เกษตรศิริ") จบการศึกษาชั้นมัธยม 8 จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย คุณพ่อรับราชการเป็นเทศมนตรี อำเภอบ้านโป่ง และทำการค้าขายมี "ร้านขายปืนบ้านโป่ง" คุณแม่ชื่อ ฉวีรัตน์ (สกุลเดิม "เอี่ยมโอภาส") จบการศึกษาจากโรงเรียนพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มีอาชีพเป็นพยาบาลและผดุงครรภ์
เมื่อ ศ.พิเศษ ดร.ชาญวิทย์ อายุได้เพียง 7 เดือน เกิดเหตุการณ์กองทัพญี่ปุ่นบุกไทย (8 ธันวาคม 2484) และใช้บริเวณสถานีรถไฟหนองปลาดุก ซึ่งใกล้กับอำเภอบ้านโป่ง เป็นที่ตั้งค่ายทหารญี่ปุ่นเพื่อควบคุมการสร้างทางรถไฟสายมรณะ จนก่อให้เกิด "เหตุการณ์บ้านโป่ง" ภายหลังเหตุการณ์ดังกล่าว และเมื่อถึงช่วงปรายสงคราม ซึ่งเครื่องบินฝ่ายสัมพันธมิตรทิ้งระเบิดอย่างหนักที่หนองปลาดุก คุณแม่ฉวีรัตน์ จึงได้พา ศ.พิเศษ ดร.ชาญวิทย์ (อายุ 3 ขวบ) หนีหลบภัยสงครามไปยังบ้านญาติในคลองบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
ศ.พิเศษ ดร.ชาญวิทย์ เริ่มเรียน ก ไก่ ข ไข่ จากโรงเรียนเฉลิมวิทยา ที่วัดกลางปากน้ำ จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งคุณตาคุณยายเป็นเจ้าของโรงเรียน จากนั้นกลับมาเรียนที่บ้านโป่งอีกครั้ง โดยเข้าศึกษาต่อระดับประถม 3 - 4 และมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3 (ระหว่าง พ.ศ. 2493 - 2497 เป็นเวลา 5 ปี) ที่โรงเรียนสารสิทธิ์พิทยาลัย ซึ่งเป็นโรงเรียนในเครือคณะนักบวชซาเลเซียน โดยเป็นโรงเรียนเดียวกับที่ธนินท์ เจียรวนนท์ ผู้บริหารสูงสุดของเครือเจริญโภคภัณฑ์ เคยเข้าศึกษา เมื่อปี พ.ศ. 2492
เมื่ออายุ 14 ปี พ.ศ. 2498 ศ.พิเศษ ดร.ชาญวิทย์ เดินทางเข้ามาเรียนที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 8 จากนั้นสอบเข้าเรียนคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (แผนกการทูต) โดยมีผลการเรียนดีจนได้รับเกียรตินิยมดี และได้รับรางวัลภูมิพล ในปี พ.ศ. 2506 จากนั้นเดินทางไปศึกษาต่อที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยได้รับทุน Rockefeller Foundation ผ่านภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ ไปเรียนในระดับปริญญาโททางการทูตที่ Occidental College รัฐแคลิฟอร์เนีย เป็นเวลา 2 ปี (พ.ศ. 2508 - 2510) จากนั้นให้เรียนต่อระดับปริญญาเอก ด้านประวัติศาสตร์อุษาคเนย์ ที่มหาวิทยาลัยคอร์แนล รัฐนิวยอร์ก เป็นเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2510 - 2515) โดยเขียนวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก เรื่อง The Rise of Ayudhaya
การเป็นนักเรียนนอกในยุค 60s ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญในวิธีคิดและการมองโลกของ ศ.พิเศษ ดร.ชาญวิทย์ ซึ่งที่ประเทศสหรัฐอเมริกาในขณะนั้นเป็นยุคที่เกิดกระแส "ซ้ายใหม่" หรือ New Left ในกลุ่มคนหนุ่มสาวในสหรัฐฯ ที่กบฏต่อทุกอย่างที่เป็นจารีตดั้งเดิม โดยการทุ่มเทชีวิตให้กับการชุมนุนประท้วง ในเรื่องต่างๆ อาทิเช่น สงครามเวียดนาม การแต่งกาย ฯลฯ จนเกิดเป็นค่านิยม Hippies หรือบุปผาชน ประสบการณ์ชีวิตช่วงนี้ส่งผลให้ ศ.พิเศษ ดร.ชาญวิทย์ เกิดจิตวิญญาณที่อิสระเสรี และเกิดจิตสำนึกที่จะเรียนรู้และขุดคุ้ยแสวงหาความจริงความถูกต้อง ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการเป็นนักประวัติศาสตร์ของ ดร.ชาญวิทย์ ในเวลาต่อมา และจากประสบการณ์นี้เองส่งผลให้ ดร.ชาญวิทย์ ผลิตผลงานต่างๆที่ก้าวทันโลกและรักษ์รากเหง้า ด้วยความกล้าหาญทางจริยธรรม เพื่อการต่อสู้ เพื่อความถูกต้อง ความเป็นธรรม และความเสมอภาคในสังคม และในขอบเขตเหนือความเป็นรัฐประชาชาติ ด้วยความมุ่งหวังให้สาธารณชนทั่วไปสามารถเข้าถึงและมีส่วนในกระบวนการเรียนรู้ด้วย จนบางคนเรียก ศ.พิเศษ ดร.ชาญวิทย์ว่า ปัญญาชนสาธารณะ
http://th.wikipedia.org/wiki/ชาญวิทย์_เกษตรศิริ[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
"ศ.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ" ส่งจดหมายเปิดผนึกถึง "ชวน หลีกภัย" เตือนอย่าปลุกปั่นประเทศให้เป็นกลียุค!
On Anarchy and Democracy
เรื่อง ประชาธิปไตย กับ อนาธิปไตย
เรียน ฯพณฯ ชวน หลีกภัย สส. ปชป กก. สภา มธ
และ อดีต นรม อดีต หัวหน้าพรรคฯ
สืบเนื่องจากสถานการณ์
ป่วนสภา ป่วนถนน และการป่วนอื่นๆ
ซึ่งน่าจะเป็นส่วนหนึ่ง ที่สร้างสถานการณ์ อนาธิปไตย anarchy
อันจะนำไปสู่ การรัฐประหาร ยึดอำนาย โดย นายทหาร และ/หรือ นายศาล
เรื่องทำนองนี้ ได้เกิดมาแล้ว เมื่อ พ.ศ. 2490 แล้วก็เกิดอีก เมื่อ พ.ศ. 2549
ปวศ อาจซ้ำรอยอีก และเมื่อถึงตอนนั้น กาลียุค ก็จะบังเกิดในสยามประเทศไทย
ครั้งหนึ่ง ฯพณฯ ปรีดี พนมยงค์ อดีตผู้นำปฎิวัติสยาม ผู้ประศาสน์การ มธก รัฐบุรุษอาวุโส และ อดีต นรม ได้เตือนเราไว้ และน่าที่ เราๆ ท่านๆ ในยุคสมัยอันสับสน เช่นนี้ จักได้สำเนียก เรียนรู้ และสร้าง "การเมืองดี" ให้กับชาติบ้านเมือง
เมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ปี พ.ศ. 2489 กว่าครึ่งศตวรรษมาแล้ว ในขณะที่สังคมไทยกำลังค้นหาให้ได้มาซึ่งระบอบ "ประชาธิปไตย" ฯพณฯ ปรีดี ซึ่งในตอนนั้นดำรงตำแหน่ง นรม ได้กล่าวปิดประชุมสภาเมื่อ 7 พฤษภา ด้วยคำเตือนเรื่อง "ประชาธิปไตย" กับ "อนาธิปไตย" ดังนี้
"ระบอบประชาธิปไตยนั้น เราหมายถึงประชาธิปไตย อันมีระเบียบตามกฎหมายและศีลธรรม และความซื่อสัตย์สุจริต ไม่ใช่ประชาธิปไตยอันไม่มีระเบียบ หรือประชาธิปไตยที่ไร้ศีลธรรม เช่น การใช้สิทธิเสรีภาพอันมีแต่จะให้เกิดความปั่นป่วน ความไม่สงบเรียบร้อย ความเสื่อมศีลธรรม ระบอบชนิดนี้เรียกว่าอนาธิปไตย หาใช่ประชาธิปไตยไม่ ขอให้ระวัง อย่าปนประชาธิปไตยกับอนาธิปไตย"
ท่านปรีดี กล่าวต่อว่า "ข้าพเจ้าไม่พึงประสงค์ที่จะให้มีระบอบเผด็จการในประเทศไทย ในการนี้ก็จำเป็นต้องป้องกันหรือขัดขวางมิให้มีอนาธิปไตย อันเป็นทางที่ระบอบเผด็จการจะอ้างได้ ข้าพเจ้าเชื่อว่าถ้าเราช่วยกันประคองใช้ให้ระบอบประชาธิปไตยนี้ได้เป็นไปตามระเบียบเรียบร้อย .... ระบอบเผด็จการย่อมมีขึ้นไม่ได้"
ท่านปรีดีกล่าวอย่างน่าสนใจอีกว่า "การใช้สิทธิตามระบอบประชาธิปไตย ต้องทำโดยความบริสุทธิ์ใจ มุ่งหวังผลส่วนรวมจริงๆ ไม่ใช่มุ่งหวังส่วนตัว หรือมีความอิจฉาริษยากันเป็นมูลฐาน เนื่องมาจากความเห็นแก่ตัว (เอ็กโกอีสม์)"
แล้วท่านปรีดี ก็เข้าสู่ไคลแมกซ์ด้วยการกล่าวว่า "โดยมีอุดมคติซื่อสัตย์ต่อองค์พระมหากษัตริย์ ข้าพเจ้าเคารพในความซื่อสัตย์ ซึ่งมีตัวอย่างอยู่มากหลายที่ผู้ซื่อสัตย์เหล่านี้ได้ร่วมกิจการรับใช้ชาติกับข้าพเจ้า... แต่ผู้ซึ่งแสดงว่าซื่อสัตย์ต่อองค์พระมหากษัตริย์ในภายนอก ส่วนภายในหวังผลส่วนตน หรือมูลสืบเนื่องมาแต่ความไม่พอใจเป็นส่วนตัวเช่นนี้แล้ว ก็เกรงว่าผู้นั้นก็อาจหันเหไปได้ สุดแต่ว่าตนจะได้รับประโยชน์ส่วนตนอย่างไรมากกว่า"
ท่านปรีดี จบคำปราศัย ฝากฝังไว้กับ สส. ในสภาว่า "ข้าพเจ้าหวังว่าท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหลาย คงจะใช้สิทธิของท่านด้วยความบริสุทธิ์ใจ และอาศัยกฏหมายและศีลธรรมความสุจริตเป็นหลัก ไม่ช่วยกันส่งเสริมให้มีระบอบอนาธิปไตย
ข้าพเจ้าขอฝากความคิดไว้ต่อท่านผู้แทนราษฎรทั้งหลาย โดยเป็นห่วงถึงอนาคตของชาติ ข้าพเจ้าปรารถนาที่จะได้เห็นประเทศชาติปลอดจากระบอบเผด็จการ และปลอดจากระบอบอนาธิปไตย คงมีแต่ระบอบประชาธิปไตยอันพรั่งพร้อมไปด้วยสามัคคีธรรม
ระบอบประชาธิปไตยอันพรั่งพร้อมด้วยสามัคคีธรรมนี้เป็นวัตถุประสงค์ของคณะราษฎร ที่ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญ และเป็นพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวที่พระราชทานรัฐธรรมนูญ"
ท่านปรีดีฝากฝังอะไรไว้มากมายเมื่อ 7 พฤษภา พ.ศ. 2489 ต่อมาอีก 2 วัน คือ 9 พฤษภา ท่านปรีดี ก็ถวายรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ให้ในหลวงอานันท์ รัชกาลที่ 8 ลงพระปรมาภิไธย แต่อีก 1 เดือนต่อมา คือ ในวันที่ 9 มิถุนา ในหลวงอานันท์ ก็ต้องพระแสงปืนเสด็จสวรรคต
และแล้ววิกฤตก็บังเกิด อำนาจเก่าบารมีเก่า ใส่ร้ายป้ายสี "ปรีดี ฆ่าในหลวง" ท่านปรีดีแสดงความรับผิดชอบ ลาออกจาก นรม และหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ก็ขึ้นเป็นแทน รัฐบาลหลวงธำรงฯ ถูกพรรคฝ่ายค้าน คือ ประชาธิปัตย์ นำโดยนายควง อภัยวงศ์ เปิดอภิปรายในสภาฯ ไม่ไว้วางใจหลายวันหลายคืน และเมื่อล้มรัฐบาลด้วยวิถีทางรัฐสภาไม่ได้ นายควง หัวหน้าพรรคฯ ก็ร่วมมือกับ "ระบอบทหาร" ที่นำโดยพลโทผิน ชุณหะวัณ ทำ "การรัฐประหาร" ยึดอำนาจเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2490
จากนั้นสยามประเทศ(ไทย) ของเรา ก็เข้าสู่ "ยุดมืดบอดทางการเมือง" กลายเป็น "ระบอบเผด็จการครึ่งใบ" อยู่ 10 ปีภายใต้ "ระบอบพิบูลสงคราม" ระหว่าง พ.ศ. 2491-2500 แล้วก็ต้องตกอยู่ภายใต้ "ระบอบเผด็จการเต็มใบ" ของ "ระบอบสฤษดิ์-ถนอม-ประภาส" อีก 15 ปี ระหว่าง พ.ศ. 2501-2516 รวมแล้วกว่าจะถูกโค่นล้มไปเมื่อ "14 ตุลา" พ.ศ. 2516 ก็กินเวลาถึง 26 ปี
ท่านปรีดีของเราต้องกลายเป็น "พ่อกู นามระบือ ชื่อปรีดี แต่คนดี เมืองไทย ไม่ต้องการ" (เช่นเดียวกับ ดร. ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ฯลฯ) ท่านต้องลี้ภัยการเมือง ลี้ภัยจาก "อนาธิปไตย" และ "เผด็จการทหารและอนุรักษ์นิยม" ไปอยู่เมืองจีนถึง 21 ปี แล้วก็จะไปจบชีวิตลงที่ปารีสเมื่อปี พ.ศ. 2526
ครับ ท่านปรีดีและคำเตือนว่าด้วย "อนาธิปไตย" กับ "ประชาธิปไตย" ทำให้เราต้องคิดใคร่ครวญหนักต่อสถานการณ์ปัจจุบัน นับตั้งแต่ "ระบอบพันธมิตร" กับการ "ล้มรัฐบาลสมัคร/สมชาย" ตลอดจน "โค่นระบอบทักษิณ" รวมทั้งสภาพการ "ป่วน" ทั้งหลาย ทั้งปวง เราจะแก้วิกฤตครั้งนี้ได้อย่างไร เราจะทำอย่างไรที่จะไม่ให้เกิด "อนาธิไตย" อันนำมาสู่ "รัฐประหารโดยนายทหาร/นายศาล" หรือบานปลายไปจนเป็น "สงครามกลางเมือง" กลายเป็น "กาลียุค"
หากเราตระหนักในคำเตือนล่วงหน้าก่อนกาล ของท่านปรีดี ที่ท่านให้เรายึดมั่นใน "ประชาธิปไตย" ไม่นำไป "สับสน" หรือ "ปนเปื้อน" กับ "อนาธิปไตย/ป่วน" อันจะนำเราไปสู่ "ระบอบเผด็จการ" เมื่อนั้นแหละ ที่บ้านเมืองของเราจะพอมีอนาคตกันบ้าง
หรือว่าทุกอย่างจะสายเกินแก้ไปแล้ว และ ในกาลียุคสมัย "พระอิศวรศิวะเทพ" ก็จะปรากฏกายเป็น "ศิวะนาฏราช" เหนือปราสาทเขาพระวิหารและปราสาทเขาพนมรุ้ง เพื่อทำลายล้างทุกสิ่งทุกอย่างให้สิ้นซาก แล้วให้ "พระนารายณ์วิษณุเทพ" บันดาลให้ดอกบัวผุดขึ้นมาจากพระนาภี เผย "องค์ท้าวมหาพรหม" ที่จะทรงสร้างโลกใหม่ ที่มี "สิทธิ เสรีภาพ และภราดรภาพ" มีความเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริงเสียที
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
ณ เจ้าพระยา ท่าพระจันทร์
http://www.go6tv.com/
ประวัติ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้