อยากทราบครับว่า "รัฐ" ต่างๆ 50 กว่ารัฐ ในประเทศอเมริกา จะเปรียบเทียบคำว่า รัฐ ได้กับคำว่าอะไรครับ???

อยากทราบครับว่า "รัฐ" ต่างๆ 50 กว่ารัฐ ในประเทศอเมริกา จะเปรียบเทียบคำว่า รัฐ ได้กับคำว่าอะไรครับ???

คือผมถามผมยัง งง งง กับคำถามผมเองครับ เลยอยากจะอธิบายให้เข้าใจหน่อยครับว่า ผมอยากทราบว่า คำว่า รัฐ ต่างๆที่อยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา 50 กว่า รัฐ เนี่ยครับ คำว่า รัฐเนี่ยนะครับ จะเปรียบได้กับว่า เป็นจังหวัดรึเปล่าครับ หรือว่ารัฐก็คือรัฐครับ งง ครับ ผมขอยกตัวอย่างนะครับเช่น คำว่าอำเภอเมือง ตามต่างจังหวัดในบ้านเรา ที่ไม่ใช่ในกรุงเทพ  ต่างจังหวัดเรียกว่า = อำเภอเมือง  
ส่วนในกรุงเทพ เรียกอำเภอเมืองว่า = เขต   แบบนี้หน่ะครับ

ผมก็เลยอยากรู้ว่า แล้วคำว่ารัฐ ในประเทศสหรัฐอเมริกา ที่มีตั้ง 50 กว่ารัฐเนี่ยครับ ถ้าให้เปรียบเทียบกับของบ้านเราจะเรียกว่าอะไรดีครับ ของผมเดาเอาว่า เปรียบคำว่า รัฐ ได้กับเป็นจังหวัด รึเปล่าครับ  
รัฐ = จังหวัด (คือผมเดาเอาหน่ะครับ ผมไม่แน่ใจ ผมไม่รู้ แต่ผมอยากทราบครับ เลยมาถามผู้ที่รู้และอธิบายให้ผมฟังครับ ^^)

ยังไงใครที่ทราบช่วยบอก ช่วยตอบทีนะครับ ผมจะมาเข้ามาติดตามกระทู้ของผม เรื่อยๆเลยครับ ขอบคุณมากครับผม อมยิ้ม17อมยิ้ม04
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 1
รัฐในอเมริการัฐหนึ่งๆก็เปรียบเหมือนประเทศหนึ่ง แต่ว่า ๕๐ ประเทศมารวมกันขึ้นเป็นสหรัฐอม้ริกา ดังภาษาอังกฤษที่ระบุไว้ชัดเจน The United State of America

รัฐแต่ละรัฐจะมีธรรมนูญหรือกฏหมายบัญญัติของรัฐตนเองขึ้นมาใช้ (State law)    แต่ทุกรัฐต้องเคารพและยึดถือกฏหมายของรัฐบาลกลาง ( Federal law) ซึ่งเป็นกฏหมายที่ผ่านสภาคองเกรส ซึ่งทุกรัฐต้องปฏิบัติตาม
ความคิดเห็นที่ 10
สวัสดีค่ะ ทุกๆ คน เราขอแสดงความคิดเห็นคำว่า "รัฐ" ด้วยคนค่ะ

คำว่ารัฐ และ คำว่าจังหวัด เป็นรูปแบบการปกครองที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง แต่จะใช้เทียบเคียงให้เป็นระดับเดียวกัน
ในการทำธุรกรรมต่างๆ กับหน่วยงานของทางราชการ หรือธนาคารค่ะ


รัฐในที่นี้คือ 50 รัฐ (มลรัฐ) ซึ่งมีการปกครองแบบสหพันธรัฐ ในประเทศอเมริกา (รัฐรวม)

ส่วนคำว่าจังหวัด เป็นรูปแบบการปกครองส่วนภูมิภาค ในประเทศไทย (รัฐเดี่ยว)

ความแตกต่างที่เห็นเด่นชัดมากที่สุดในเรื่องโครงสร้างการปกครองคือ

ผู้ว่าการมลรัฐ (Governor) มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน โดยทั่วไปผู้ว่าการมลรัฐมีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี
ส่วนผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นข้าราชการประจำ มาจากการคัดเลือกของกระทรวงมหาดไทย เกษียณราชการ เมื่ออายุครบ 60 ปี


ประเทศสหรัฐอเมริกา (The United States of America) มีรูปแบบการปกครองแบบสหพันธรัฐ (Federal Republic)

ประกอบด้วยมลรัฐต่างๆ 50 มลรัฐ แบ่งการปกครอง หรือมีโครงสร้างภายนอกเป็นสามส่วน (Three – tier system) คือ

1. การปกครองส่วนกลาง (Federal Government)
2. การปกครองในมลรัฐ (State Government)
3. การปกครองท้องถิ่น (Local Government)

การปกครองส่วนกลาง (Federal Government) แบ่งออกเป็น

1. Executive Branch
มีรัฐบาลกลาง คณะรัฐมนตรี Cabinet (Department Directors) ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการปกครองทั่วทั้งประเทศ คือ
เป็นหน่วยการปกครองสูงสุด และมีรัฐธรรมนูญของสหพันธ์ มีฝ่ายบริหารซึ่งมีประธานาธิบดี (President) เป็นผู้นำ

2. Legislative Branch
มีรัฐสภา (Congress) ประกอบด้วยสองสภาได้แก่สภาสูงหรือวุฒิสภา (House of Senate)
จำนวน 100 คนมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนมลรัฐละ 2 คน และสภาล่างหรือสภาผู้แทนราษฎร (House of Representative)
ซึ่งมาจากการเลือกตั้งจากประชาชนเช่นกัน จำนวนของสมาชิกสภาขึ้นอยู่กับจำนวนของประชาชนในแต่ละมลรัฐ

3. Judicial Branch
ประกอบด้วย Supreme Court (ศาลสูง) และ Other Federal Courts (ศาลรัฐบาลกลางอื่น ๆ)
ศาลสูง (Supreme Court) ทำหน้าที่ฝ่ายตุลาการในกรณีที่มีการอุทธรณ์มาจากศาลอุทธรณ์ หรือทำหน้าที่ตัดสินความขัดแย้งใน
เรื่องอำนาจระหว่างรัฐบาลแต่ละรัฐบาล หัวหน้าศาลสูงจะมาจากการแต่งตั้งของประธานาธิบดี

การปกครองในระดับมลรัฐ (State Government)

มลรัฐมีรัฐธรรมนูญเป็นของตนเองเพื่อกำหนดรูปแบบการปกครอง หรือความสัมพันธ์ของอำนาจต่างๆ การปกครอง ในมลรัฐจะแยก
อำนาจในการปกครองออกเป็น 3 ฝ่าย เช่นเดียวกับรัฐบาลกลาง (Federal Government) คือ

1. ฝ่ายบริหาร – ผู้ว่าการมลรัฐ (Governor) มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนเป็นหัวหน้าสูงสุด
2. ฝ่ายนิติบัญญัติหรือ สภามลรัฐ ก็มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ทำหน้าที่ในการออกกฎหมายต่างๆ
3. ฝ่ายตุลาการ ประกอบด้วยผู้พิพากษา มาจากการเลือตั้งของประชาชน ทำหน้าที่ในการตัดสินคดีต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในมลรัฐ

การปกครองท้องถิ่น (Local Government)

การปกครองท้องถิ่นเป็นผลผลิตของรัฐบาลมลรัฐ กฎหมายต่างๆ ที่บังคับใช้เกี่ยวการปกครอง
ท้องถิ่นขึ้นอยู่กับแต่ละมลรัฐ หน่วยการปกครองท้องถิ่นทั้งซิตี้ (City) ทาวน์และทาวน์ชิพ (Town
and Township) เคาน์ตี้ (County) เขตพิเศษ (Special District) และเขตโรงเรียน (School District)
ถูกจัดตั้งขึ้นโดยมลรัฐ มลรัฐจะเป็นผู้กำหนดขอบเขตอำนาจ เป็นผู้กำหนด รูปแบบของหน่วยการ
ปกครองท้องถิ่น กระทั่งเป็นผู้ยกเลิกหน่วยการปกครองท้องถิ่น แต่ในความเป็นจริงองค์กร
ปกครองท้องถิ่นจำนวนมากเกิดขึ้นหรือถูกจัดตั้งขึ้นจากการเรียกร้องของประชาชน มลรัฐเป็นเพียง
ผู้ทำหน้าที่รับรองสถานภาพเท่านั้น

แผนผังการจัดโครงสร้างหรือจัดชั้นในการปกครองของสหรัฐอเมริกา


การปกครองประเทศไทย

การแบ่งเขตการปกครอง แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบคือ

1. การปกครองส่วนกลาง
จะมีลักษณะการปกครองแบบรวมอำนาจ (รัฐเดี่ยว) เป็นการรวมอำนาจในการสั่งการ การกำหนดนโยบายการวางแผน การควบคุมตรวจสอบ และการบริหารราชการสำคัญ ๆ ไว้ที่นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี และกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ตามหลักการรวมอำนาจ

2. การปกครองส่วนภูมิภาค (จังหวัด,อำเภอ)
เจ้าหน้าที่ของทางราชการส่วนกลาง ได้รับแต่งตั้งออกไปประจำตามเขตการปกครองต่าง ๆ ในส่วนภูมิภาคเพื่อบริหารราชการภายใต้การบังคับบัญชาของราชการส่วนกลาง การบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็นการบริหารราชการตามหลักการแบ่งอำนาจ โดยส่วนกลางแบ่งอำนาจในการบริหารราชการให้แก่ภูมิภาค (จังหวัด) มีอำนาจในการดำเนินกิจการในท้องที่แทนการบริหารราชการส่วนกลาง

3. การปกครองส่วนท้องถิ่น
ราชการส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย มี 2 รูปแบบใหญ่ ๆ คือ

3.1 การปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบทั่วไป เป็นรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีอยู่ทั่วประเทศทุกจังหวัด มี 3 ประเภทได้แก่ เทศบาล
องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)

3.2 การปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ มีการบริหารจัดการไม่เหมือนกับรูปแบบทั่วไป จะมีขึ้นเป็นกรณีๆ ไป ส่วนใหญ่จะเป็นเขตเมืองใหญ่ เช่น เมืองหลวงหรือเมืองท่องเที่ยว ซึ่งไม่เหมาะสมที่จะใช้รูปแบบทั่วไปมาใช้ในการปกครอง ปัจจุบันมีกรุงเทพมหานครและเมืองพัทยาที่เป็นประเภทนี้
ความคิดเห็นที่ 3
รัฐ = ประเทศ แต่ละรัฐ มีรัฐบาล มีสภา มีศาล มีกฎหมายของตนเอง เวลาเก็บภาษีแยกคนละกระเป๋า กระเป๋าของรัฐอันนึง กระเป๋าของรัฐบาลกลางกระเป๋านึง รัฐบาลกลางของสหรัฐถ้าให้เทียบก็คล้ายๆ กับ สหภาพโซเวียต หรือ สหภาพยุโรป หรือ อาเซียน ที่เป็นการรวมตัวกันของแต่ละประเทศย่อยๆ แต่ในกรณีของรัฐบาลกลางสหรัฐ รัฐธรรมนูญของสหรัฐให้อำนาจปกครอง ควบคุม ประเทศในสังกัด มากกว่าของ EU กับอาเซียน เท่านั้นเอง เช่น ห้ามไม่ให้แต่ละรัฐมีกองกำลังทหารของตนเอง บังคับให้ต้องส่งภาษีให้รัฐบาลกลาง บังคับให้แต่ละรัฐต้องทำตามกฎหมายของรัฐบาลกลาง

กฎหมายของแต่ละรัฐบางทีก็แตกต่างกันมากจนอย่างกับเป็นคนละประเทศกัน เช่น รัฐแมสซาชูเซสไม่มีโทษประหารชีวิต แต่รัฐเท็กซัสมี บางรัฐมีโสเภณีได้ บางรัฐไม่ได้ บางรัฐคนเพศเดียวกันแต่งงานกันได้ บางรัฐไม่ได้ การเก็บภาษีแต่ละรัฐก็ไม่เท่ากัน บางอันมากบางอันน้อย ค่าแรงขั้นต่ำ สวัสดิการสาธารณะ นอกจากนี้ยังมีกฎรายละเอียดยิบย่อยอีกมากมาย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่