แบดมินตันแม้จะเป็นกีฬาเก่าแก่ถึงร้อยกว่าปี แต่"ชิงแชมป์โลก" เพิ่งถือกำเนิดอย่างเป็นทางการเมื่อ ค.ศ.1977 (พ.ศ.2520)
ก่อนหน้านั้น ถือเอาทัวร์นาเมนต์ ออลอิงแลนด์ เป็นเสมือนการชิงแชมป์โลก เพราะเป็นทัวร์นาเมนต์ที่ขลังและเก่าแก่ที่สุด (เริ่มตั้งแต่ค.ศ.1899) ...อารมณ์เดียวกับเทนนิสวิมเบิลดัน
** ออลอิงแลนด์ คือทัวร์นาเมนต์ที่อังกฤษเป็นเจ้าภาพจัดแข่ง ทำนองเดียวกับ ไทยแลนด์โอเพ่น ไชน่าโอเพ่น เพียงแต่ไม่ได้ใช้ชื่อ อิงแลนด์โอเพ่น
** ถึงแม้จะสถาปนา "ชิงแชมป์โลก" ขึ้นมาแล้ว แต่ออลอิงแลนด์ก็ยังเดินไปตามปกติของมัน จัดแข่งต่อเนื่องมาทุกปี จวบจนปัจจุบัน
ความคิดริเริ่มในการจัดแข่ง "ชิงแชมป์โลก" นั้นติดปัญหาอยู่ที่ขาดทุนทรัพย์ จึงได้ทดลองจัดทัวร์นาเมนต์ขึ้นมาหยั่งท่าทีเมื่อ 12-15 พฤศจิกายน 1972 ณ จาการ์ตา อินโดนีเซีย
โดยเชิญผู้เล่น 24 คน จาก 12 ประเทศ มาร่วมแข่งขันในประเภทชายเดี่ยว กับ ชายคู่ (ไม่มีประเภทหญิง) ปรากฏว่าได้รับการตอบรับอย่างดี
ค.ศ.1975 สหพันธ์แบดมินตันโลกจึงได้มีมติ 64 ต่อ 0 เสียง อนุมัติให้จัด "ชิงแชมป์โลก" ขึ้นในอีก 2 ปีข้างหน้า
"ชิงแชมป์โลก" แรกเริ่มจัดแข่งทุกๆ 3 ปี / ต่อมาก็เป็นทุกๆ 2 ปี / แล้วก็ทุกปี (โดยยกเว้น ไม่จัดในปีที่มีโอลิมปิก)
ค.ศ.1977 เจ้าภาพ Malmo, Sweden ► แชมป์ = เลเน่ ค็อปเป้น (เดนมาร์ก) ► รองแชมป์ = จิลเลี่ยน จิ๊ลค์ (อังกฤษ)
ค.ศ.1980 เจ้าภาพ Jakarta, Indonesia ► แชมป์ = เวราวาตี วิหารโย ฟัจริน (อินโดนีเซีย) ► รองแชมป์ = อิวาน่า หลี่อิงหัว (อินโดนีเซีย)
ค.ศ.1983 เจ้าภาพ Copenhagen, Denmark ► แชมป์ = หลี่หลิงเว่ย ► รองแชมป์ = หันไอ้ผิง
ค.ศ.1985 เจ้าภาพ Calgary, Canada ► แชมป์ = หันไอ้ผิง ► รองแชมป์ = อู๋เจี้ยนชิว
ค.ศ.1987 เจ้าภาพ Beijing, China ► แชมป์ = หันไอ้ผิง ► รองแชมป์ = หลี่หลิงเว่ย
ค.ศ.1989 เจ้าภาพ Jakarta, Indonesia ► แชมป์ = หลี่หลิงเว่ย ► รองแชมป์ = หวงหัว
ค.ศ.1991 เจ้าภาพ Copenhagen, Denmark ► แชมป์ = ถังจิ่วหง ► รองแชมป์ = ซาเวนด้าห์ กุสุมาวรธานี (อินโดนีเซีย)
ค.ศ.1993 เจ้าภาพ Birmingham, England ► แชมป์ = ซูซี่ ซูซานติ (อินโดนีเซีย) ► รองแชมป์ = บังซูเยือน (เกาหลีใต้)
ค.ศ.1995 เจ้าภาพ Lausanne, Switzerland ► แชมป์ = เย่จาวอิ่ง ► รองแชมป์ = หันจิงน่า
ค.ศ.1997 เจ้าภาพ Glasgow, Scotland ► แชมป์ = เย่จาวอิ่ง ► รองแชมป์ = กงจื้อเชา
ค.ศ.1999 เจ้าภาพ Brondby, Denmark ► แชมป์ = คามิลล่า มาร์ติน (เดนมาร์ก) ► รองแชมป์ = ไต้ยุ่น
ค.ศ.2001 เจ้าภาพ Sevilla, Spain ► แชมป์ = กงรุ่ยน่า ► รองแชมป์ = โจวมี่
ค.ศ.2003 เจ้าภาพ Birmingham, England ► แชมป์ = จางหนิง ► รองแชมป์ = กงรุ่ยน่า
ค.ศ.2005 เจ้าภาพ Anaheim, USA ► แชมป์ = เซี่ยซิ่งฟัง ► รองแชมป์ = จางหนิง
ค.ศ.2006 เจ้าภาพ Madrid, Spain ► แชมป์ = เซี่ยซิ่งฟัง ► รองแชมป์ = จางหนิง
ค.ศ.2007 เจ้าภาพ Kuala Lumpur, Malaysia ► แชมป์ = จูหลิน ► รองแชมป์ = หวังเฉิน (ฮ่องกง)
ค.ศ.2009 เจ้าภาพ Hyderabad, India ► แชมป์ = หลูหลาน ► รองแชมป์ = เซี่ยซิ่งฟัง
ค.ศ.2010 เจ้าภาพ Paris, France ► แชมป์ = หวังหลิน ► รองแชมป์ = วังซิน
ค.ศ.2011 เจ้าภาพ London, England ► แชมป์ = หวังอี้หาน ► รองแชมป์ = เจิ้งเสาเจี๋ย (ไต้หวัน)
ค.ศ.2013 เจ้าภาพ Guangzhou, China ► แชมป์ = รัชนก อินทนนท์ ► รองแชมป์ = หลีเสวี่ยรุ่ย
แบดมินตันชิงแชมป์โลก สะกดเป็นภาษาอังกฤษว่า World Championship เท่านั้น เหตุที่ต้องย้ำคำนี้เพราะ...
เพราะได้มีทัวร์นาเมนต์ที่จัดตามอย่างขึ้นภายหลัง ใช้ชื่อว่า World Cup ซึ่งคนที่ไม่รู้ก็จะหลงแปลเป็นไทยว่า ชิงแชมป์โลก ปนเปกันไป
World Cup จัดแข่งทุกปี เริ่มตั้งแต่ ค.ศ.1981 และเลิกจัดไปเมื่อ ค.ศ.1997 (ตัวเลข ค.ศ. อาจผิดเพี้ยนไปบ้าง) ด้วยวัตถุประสงค์เชิงพาณิชย์ของสปอนเซอร์รายหนึ่ง (จากความทรงจำอันลางเลือนของตนเอง)
จึงต่างจาก World Championship ซึ่งเป็นศึกแห่งศักดิ์ศรี ไม่มีเงินรางวัลการแข่งขัน ดำเนินการโดยสหพันธ์แบดมินตันโลก
ตำแหน่งแชมป์และรองแชมป์ของ World Cup ก็คนหน้าเดิมกับ World Championship นั่นเอง เพียงแต่ผลัดตำแหน่งกันบ้าง
นอกเรื่อง...ขอเปรียบเทียบกับกรณีวอลเลย์บอล ที่มีทัวร์นาเมนต์ระดับโลกอยู่ 4 รายการ คือ
World Championship = ชิงแชมป์โลกตัวจริง เป็นถ้วยเก่าแก่ที่สุด
World Cup = ชิงแชมป์โลกถ้วยใหม่
World Grand Prix Final ตั้งขึ้นหลังสุด เป็นทัวร์นาเมนต์ที่อึดที่สุด แข่งกัน 4 สัปดาห์ ย้ายเมืองแข่งโคจรไป 3 ทวีป ทำให้มีปัญหาเรื่องเส้นแบ่งเขตเวลา
World Grand Champion Cup ชื่อยาวกว่าเพื่อน ฟังดูเหมือนใหญ่ แต่จริงๆแล้ว เล็กที่สุด
จะเห็นว่ามีคำว่า World เหมือนๆกัน ซึ่งถ้าหากแปลเป็นไทยแล้ว ก็จะกลายเป็นชิงแชมป์โลกไปเสียทั้งหมด
อันที่จริง แต่ละทัวร์นาเมนต์จะมีกลไกเลือกเฟ้นทีม(ประเทศ)เข้าร่วมแตกต่างกัน, เกณฑ์การประกบคู่แข่งขันก็ต่างกัน, ผลการคัดทีมผ่านเข้ารอบก็แตกต่างกัน
แต่ถ้าไม่คิดอะไรมาก จะเหมาเรียกรวมเป็นชิงแชมป์โลกเหมือนกันไปหมด ก็ไม่ได้เสียหายอะไรนัก เพียงแต่คนอาจจะงงว่า ทำไมถึงชิงแชมป์โลกกันทุกปี ปีละ 2 หน
...จบเรื่องของวอลเลย์บอล เดี๋ยวไปเรื่องแบดมินตันกันต่อ
"แบดมินตันชิงแชมป์โลก" ความเป็นมา-ทำเนียบแชมป์-เกร็ดเรื่องเล่า
ก่อนหน้านั้น ถือเอาทัวร์นาเมนต์ ออลอิงแลนด์ เป็นเสมือนการชิงแชมป์โลก เพราะเป็นทัวร์นาเมนต์ที่ขลังและเก่าแก่ที่สุด (เริ่มตั้งแต่ค.ศ.1899) ...อารมณ์เดียวกับเทนนิสวิมเบิลดัน
** ออลอิงแลนด์ คือทัวร์นาเมนต์ที่อังกฤษเป็นเจ้าภาพจัดแข่ง ทำนองเดียวกับ ไทยแลนด์โอเพ่น ไชน่าโอเพ่น เพียงแต่ไม่ได้ใช้ชื่อ อิงแลนด์โอเพ่น
** ถึงแม้จะสถาปนา "ชิงแชมป์โลก" ขึ้นมาแล้ว แต่ออลอิงแลนด์ก็ยังเดินไปตามปกติของมัน จัดแข่งต่อเนื่องมาทุกปี จวบจนปัจจุบัน
ความคิดริเริ่มในการจัดแข่ง "ชิงแชมป์โลก" นั้นติดปัญหาอยู่ที่ขาดทุนทรัพย์ จึงได้ทดลองจัดทัวร์นาเมนต์ขึ้นมาหยั่งท่าทีเมื่อ 12-15 พฤศจิกายน 1972 ณ จาการ์ตา อินโดนีเซีย
โดยเชิญผู้เล่น 24 คน จาก 12 ประเทศ มาร่วมแข่งขันในประเภทชายเดี่ยว กับ ชายคู่ (ไม่มีประเภทหญิง) ปรากฏว่าได้รับการตอบรับอย่างดี
ค.ศ.1975 สหพันธ์แบดมินตันโลกจึงได้มีมติ 64 ต่อ 0 เสียง อนุมัติให้จัด "ชิงแชมป์โลก" ขึ้นในอีก 2 ปีข้างหน้า
"ชิงแชมป์โลก" แรกเริ่มจัดแข่งทุกๆ 3 ปี / ต่อมาก็เป็นทุกๆ 2 ปี / แล้วก็ทุกปี (โดยยกเว้น ไม่จัดในปีที่มีโอลิมปิก)
ค.ศ.1977 เจ้าภาพ Malmo, Sweden ► แชมป์ = เลเน่ ค็อปเป้น (เดนมาร์ก) ► รองแชมป์ = จิลเลี่ยน จิ๊ลค์ (อังกฤษ)
ค.ศ.1980 เจ้าภาพ Jakarta, Indonesia ► แชมป์ = เวราวาตี วิหารโย ฟัจริน (อินโดนีเซีย) ► รองแชมป์ = อิวาน่า หลี่อิงหัว (อินโดนีเซีย)
ค.ศ.1983 เจ้าภาพ Copenhagen, Denmark ► แชมป์ = หลี่หลิงเว่ย ► รองแชมป์ = หันไอ้ผิง
ค.ศ.1985 เจ้าภาพ Calgary, Canada ► แชมป์ = หันไอ้ผิง ► รองแชมป์ = อู๋เจี้ยนชิว
ค.ศ.1987 เจ้าภาพ Beijing, China ► แชมป์ = หันไอ้ผิง ► รองแชมป์ = หลี่หลิงเว่ย
ค.ศ.1989 เจ้าภาพ Jakarta, Indonesia ► แชมป์ = หลี่หลิงเว่ย ► รองแชมป์ = หวงหัว
ค.ศ.1991 เจ้าภาพ Copenhagen, Denmark ► แชมป์ = ถังจิ่วหง ► รองแชมป์ = ซาเวนด้าห์ กุสุมาวรธานี (อินโดนีเซีย)
ค.ศ.1993 เจ้าภาพ Birmingham, England ► แชมป์ = ซูซี่ ซูซานติ (อินโดนีเซีย) ► รองแชมป์ = บังซูเยือน (เกาหลีใต้)
ค.ศ.1995 เจ้าภาพ Lausanne, Switzerland ► แชมป์ = เย่จาวอิ่ง ► รองแชมป์ = หันจิงน่า
ค.ศ.1997 เจ้าภาพ Glasgow, Scotland ► แชมป์ = เย่จาวอิ่ง ► รองแชมป์ = กงจื้อเชา
ค.ศ.1999 เจ้าภาพ Brondby, Denmark ► แชมป์ = คามิลล่า มาร์ติน (เดนมาร์ก) ► รองแชมป์ = ไต้ยุ่น
ค.ศ.2001 เจ้าภาพ Sevilla, Spain ► แชมป์ = กงรุ่ยน่า ► รองแชมป์ = โจวมี่
ค.ศ.2003 เจ้าภาพ Birmingham, England ► แชมป์ = จางหนิง ► รองแชมป์ = กงรุ่ยน่า
ค.ศ.2005 เจ้าภาพ Anaheim, USA ► แชมป์ = เซี่ยซิ่งฟัง ► รองแชมป์ = จางหนิง
ค.ศ.2006 เจ้าภาพ Madrid, Spain ► แชมป์ = เซี่ยซิ่งฟัง ► รองแชมป์ = จางหนิง
ค.ศ.2007 เจ้าภาพ Kuala Lumpur, Malaysia ► แชมป์ = จูหลิน ► รองแชมป์ = หวังเฉิน (ฮ่องกง)
ค.ศ.2009 เจ้าภาพ Hyderabad, India ► แชมป์ = หลูหลาน ► รองแชมป์ = เซี่ยซิ่งฟัง
ค.ศ.2010 เจ้าภาพ Paris, France ► แชมป์ = หวังหลิน ► รองแชมป์ = วังซิน
ค.ศ.2011 เจ้าภาพ London, England ► แชมป์ = หวังอี้หาน ► รองแชมป์ = เจิ้งเสาเจี๋ย (ไต้หวัน)
ค.ศ.2013 เจ้าภาพ Guangzhou, China ► แชมป์ = รัชนก อินทนนท์ ► รองแชมป์ = หลีเสวี่ยรุ่ย
แบดมินตันชิงแชมป์โลก สะกดเป็นภาษาอังกฤษว่า World Championship เท่านั้น เหตุที่ต้องย้ำคำนี้เพราะ...
เพราะได้มีทัวร์นาเมนต์ที่จัดตามอย่างขึ้นภายหลัง ใช้ชื่อว่า World Cup ซึ่งคนที่ไม่รู้ก็จะหลงแปลเป็นไทยว่า ชิงแชมป์โลก ปนเปกันไป
World Cup จัดแข่งทุกปี เริ่มตั้งแต่ ค.ศ.1981 และเลิกจัดไปเมื่อ ค.ศ.1997 (ตัวเลข ค.ศ. อาจผิดเพี้ยนไปบ้าง) ด้วยวัตถุประสงค์เชิงพาณิชย์ของสปอนเซอร์รายหนึ่ง (จากความทรงจำอันลางเลือนของตนเอง)
จึงต่างจาก World Championship ซึ่งเป็นศึกแห่งศักดิ์ศรี ไม่มีเงินรางวัลการแข่งขัน ดำเนินการโดยสหพันธ์แบดมินตันโลก
ตำแหน่งแชมป์และรองแชมป์ของ World Cup ก็คนหน้าเดิมกับ World Championship นั่นเอง เพียงแต่ผลัดตำแหน่งกันบ้าง
นอกเรื่อง...ขอเปรียบเทียบกับกรณีวอลเลย์บอล ที่มีทัวร์นาเมนต์ระดับโลกอยู่ 4 รายการ คือ
World Championship = ชิงแชมป์โลกตัวจริง เป็นถ้วยเก่าแก่ที่สุด
World Cup = ชิงแชมป์โลกถ้วยใหม่
World Grand Prix Final ตั้งขึ้นหลังสุด เป็นทัวร์นาเมนต์ที่อึดที่สุด แข่งกัน 4 สัปดาห์ ย้ายเมืองแข่งโคจรไป 3 ทวีป ทำให้มีปัญหาเรื่องเส้นแบ่งเขตเวลา
World Grand Champion Cup ชื่อยาวกว่าเพื่อน ฟังดูเหมือนใหญ่ แต่จริงๆแล้ว เล็กที่สุด
จะเห็นว่ามีคำว่า World เหมือนๆกัน ซึ่งถ้าหากแปลเป็นไทยแล้ว ก็จะกลายเป็นชิงแชมป์โลกไปเสียทั้งหมด
อันที่จริง แต่ละทัวร์นาเมนต์จะมีกลไกเลือกเฟ้นทีม(ประเทศ)เข้าร่วมแตกต่างกัน, เกณฑ์การประกบคู่แข่งขันก็ต่างกัน, ผลการคัดทีมผ่านเข้ารอบก็แตกต่างกัน
แต่ถ้าไม่คิดอะไรมาก จะเหมาเรียกรวมเป็นชิงแชมป์โลกเหมือนกันไปหมด ก็ไม่ได้เสียหายอะไรนัก เพียงแต่คนอาจจะงงว่า ทำไมถึงชิงแชมป์โลกกันทุกปี ปีละ 2 หน
...จบเรื่องของวอลเลย์บอล เดี๋ยวไปเรื่องแบดมินตันกันต่อ