๒ สำนวนชวนฉงน

สำนวนมาจาก สํ.นิทาน.สุต.๑๔๓

สำนวนแรกมาจาก อริยสัจจากพระโอษฐ์ แปลโดยท่านพุทธทาส

ภิกษุ ท ! กายนี้ ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย และทั้งไม่ใช่ของบุคคล เหล่าอื่น. ภิกษุ
ท ! กรรมเก่า(กาย) นี้ อันเธอทั้งหลาย พึงเห็นว่าเป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งขึ้น
(อภิสงฺขต), เป็นสิ่งที่ปัจจัยทำให้เกิดความรู้สึกขึ้น(อภิสญฺเจตยิต), เป็นสิ่งที่มี
ความรู้สึกต่ออารมณ์ได้
(เวทนีย).

และอีกสำนวนหนึ่ง มาจากพระไตรปิฎกทั่วๆไป ฉบับยังไม่ปรุงแต่งด้วยมหาวิทยาลัยสงฆ์ต่างๆ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายนี้ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย  ทั้งไม่ใช่ของผู้อื่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย  กรรมเก่านี้พึงเห็นว่า อันปัจจัยปรุงแต่ง เกิดขึ้นด้วยความตั้งใจ
เป็นที่ตั้งของเวทนา

ประเด็นคือ ข้อความที่ขีดเส้นไต้ไว้ อ่านแล้ว จะมีความเข้าใจที่เหมือนหรือต่างกันอย่างไร

เป็นสิ่งที่มีความรู้สึกต่ออารมณ์ได้  และ  เป็นที่ตั้งของเวทนา

ท่านๆตีความหมายสองคำนี้ว่าอย่างไร อยากทราบครับ  
ผมยกบาลีสยามรัฐมาด้วย เผื่อบางท่านต้องการบาลี

นายํ  ภิกฺขเว  กาโย  ตุมฺหากํ  นาปิ  อญฺเญสํ ฯ  
ปุราณมิทํ  ภิกฺขเว  กมฺมํ  อภิสงฺขตํ  อภิสญฺเจตยิตํ
เวทนียํ  ทฏฺฐพฺพํ ฯ  

ปล.ไม่ดราม่า ขอหลักการล้วนๆ อ้างอิงคัมภีร์ใดก็ได้ที่ไม่ขัดกับคำสอนดั้งเดิม
      จขกท.ไม่มีอคติต่อแนวทางสอนของท่านพุทธทาส เพียงแต่ พบเจออะไรมา
      ก็เล่าสู่กันฟัง

      เรื่องนี้ มีผู้หลังไมค์มาถามความต่างกับผม ขออนุญาตผู้ที่หลังไมค์มาด้วยครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่