คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
หน้าที่หลักก็ตามชื่อตำแหน่งครับ คือ เดินทางออกไปสำรวจภัย ซึ่งภัยที่ว่านี้ก็คือ สถานที่เอาประกันของลูกค้านั่นเอง จะเป็นอะไรก็แล้วแต่ มีได้ตั้งแต่ พวกทรัพย์สินเชิงพาณิชย์เช่น คอนโด โรงแรม รีสอร์ท ห้างสรรพสินค้า สนามกอล์ฟ ถ้าเป็นกลุ่มพวกอุตสาหกรรมก็โรงงานทั้งหลายแหล่ เช่น โรงงานผลิต เม็ดพลาสติก กระดาษ เหล็ก ยาง ขวดน้ำ เสื้อผ้า เส้นใย ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิค ชิ้นส่วนรถยนต์ ชิ้นส่วนพลาสติก อาหารแช่แข็ง ผลไม้กระป๋อง ฯลฯ อีกประเภทเป็นพวกสถานที่ก่อสร้าง งานสร้างอาคาร ถนน สะพาน เขื่อน อุโมงค์ ฯลฯ อย่างตอนนี้โปรเจครถไฟฟ้าใต้ดิน พวกบริษัทประกันก็ต้องรับความเสี่ยงเอาไว้ในกรณีที่เกิดเหตุต่างๆ ครับ พวกวิศวกรสำรวจภัยก็มีหน้าที่เดินทางลงไปในอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดิน เพื่อประเมินความเสี่ยงของภัยเหล่านั้น
เมื่อเดินทางไปถึงแล้ว หน้าที่ต่อมาก็เก็บข้อมูลและประเมินความเสี่ยง แต่ละภัยจะมีหลักการประเมินที่แตกต่างกัน อันนี้จะอ้างอิงตามมาตรฐานต่างๆ ที่ทางบริษัทกำหนดมาให้ วิธีการประเมินก็ใช้การสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง ตรวจสอบเอกสาร และท้ายที่สุดคือเดินดูสถานที่จริง วิศวกรประเมินความเสี่ยงภัยที่ประสบการณ์สูงๆ เห็นหน้างานจะสามารถเข้าใจได้เลยว่า กิจการนั้นๆ มีความเสี่ยงระดับไหน ตรงไหนที่เป็นจุดเสี่ยง เพราะพวกเขามีประสบการณ์เห็นกิจการลักษณะเดียวกันนั้นๆ มาเยอะ ทั้งจากลูกค้าคนอื่นๆ บางครั้งถ้าเป็นงานใหญ่ๆ ยาก วิศวกรสำรวจภัยจะเป็นผู้เชี่ยวชาญชาวต่างประเทศเขาก็จะเปรียบเทียบโครงการของเรากับโครงการที่ต่างประเทศว่ามาตรฐานของเราอยู่ในขั้นไหน
เมื่อเก็บข้อมูลจากสถานที่เอาประกันมาหมดแล้ว หลังจากนี้ก็คือการเขียนรายงานประเมินความเสี่ยงภัย ส่วนมากต้องเขียนเป็นภาษาอังกฤษเพราะจะต้องใช้ส่งต่อในการทำ ประกันภัยต่อ (Reinsurance) กับต่างประเทศ รายงานฉบับนี้ ทางผู้พิจารณารับประกันภัย (Underwriter) จะเป็นผู้อ่าน และจะถูกใช้อ้างอิงในการกำหนดราคาเบี้ยประกัน ถ้าภัยไหนเป็นภัยที่ดี มีการจัดการความเสี่ยงที่ดี ผลก็คือจะทำให้เบี้ยประกันถูกลงและเงื่อนไขการรับประกันต่างๆ สามารถครอบคลุมได้มากขึ้น ถ้าภัยไหนเป็นภัยที่แย่ มีแต่จุดเสี่ยงเต็มไปหมด ระบบป้องกันอะไรก็ไม่มี ประวัติที่ผ่านมาก็มีแต่อุบัติเหตุ มีแต่การเรียกร้องสินไหม ผลก็คือต้องปฏิเสธการให้ความคุ้มครอง คือไม่รับประกัน
ลักษณะงานวิศวกรสำรวจภัย โดยธรรมชาติจะไม่อยู่กับที่ จะต้องเดินทางบ่อยๆ มาก อาทิตย์นึงอาจจะได้นั่งออฟฟิสแค่ 1-2 วัน ที่เหลือ 3-4 วันต้องออกไปทำงานข้างนอก และจะต้องพบปะกับคนมากหน้าหลายตา ในทุกระดับทุกกิจการ จะต้องมีความเข้าใจในลักษณะการดำเนินงานของแต่ละกิจการว่ามีความเสี่ยงตรงไหน เวลาไปสำรวจจะได้เข้าไป ประเมินตรงจุดเสี่ยงได้ถูกต้อง วิศวกรสำรวจภัยเป็นตัวแปรที่สำคัญมากในธุรกิจประกันวินาศภัย เบี้ยจะถูกหรือแพง จะรับหรือไม่รับประกัน ทุกอย่างขึ้นอยู่กับผลการประเมินความเสี่ยงของวิศวกรสำรวจภัย
เรื่องสวัสดิการและรายได้ก็อยู่ในระดับกลางๆ ไม่สูงไม่ต่ำ ถ้าเทียบกับพวกบริษัทน้ำมัน-ปิโตรเคมี ก็จะน้อยกว่า ถ้าประสบการณ์น้อยๆ เพิ่งเริ่มงานก็คงได้ 20-25K ประสบการณ์สูงขึ้นมาหน่อยก็ 50-60K แต่พวกที่ประสบการณ์สูงๆ มีชื่อเสียงในวงการเงินเดือนเป็นแสนก็มี วงการวิชาชีพนี้ในเมืองไทยแคบมาก ส่วนมากจะรู้จักกันหมด เพราะเวลาไปสำรวจภัย ทางลูกค้าก็จะนัดหลายๆ บริษัทประกันเข้าไปพร้อมๆ กันทีเดียว จะได้เจอกันบ่อย
ไม่ต้องห่วงว่า ทางบริษัทจะให้คุณต้องไปขายประกันให้คนรู้จักหรือญาติ เพราะเป็นคนละหน้าที่ คนละส่วนงานกัน แค่คุณทำหน้าที่หลักคือประเมินความเสี่ยงให้ดี คัดสรรภัยที่ความเสี่ยงต่ำๆ มาได้ คุณก็สามารถทำกำไรให้บริษัทได้มากกว่าไปขายประกันเสียอีก ธุรกิจประกันวินาศภัยไม่เหมือนประกันชีวิตตรงที่ ในบางครั้งอยู่เฉยๆ ไม่ทำอะไรเลย อาจจะดีกว่าไปรับเบี้ยประกันเข้ามาแล้วมีเหตุเสียหายต้องจ่ายค่าเคลมเป็นร้อยล้าน
ที่ต้องประกาศรับบ่อยๆ เพราะว่าคนส่วนมากยังไม่เข้าใจว่า ธุรกิจประกัน ก็เหมือนธุรกิจอื่นทั่วๆ ไป คือจะมีพนักงานขายสินค้าอย่างเดียวไม่ได้ ต้องมีคนทำหน้าที่อื่นๆ ด้วย มักจะเหมาเอาว่า ต้องไปเป็นตัวแทนขายประกันเสียทั้งหมด ผลก็คือ หาคนเก่งๆ มีความสามารถมาทำงานด้วยยาก ส่วนมากใช้วิธีดึงตัวจากบริษัทคู่แข่ง
เมื่อเดินทางไปถึงแล้ว หน้าที่ต่อมาก็เก็บข้อมูลและประเมินความเสี่ยง แต่ละภัยจะมีหลักการประเมินที่แตกต่างกัน อันนี้จะอ้างอิงตามมาตรฐานต่างๆ ที่ทางบริษัทกำหนดมาให้ วิธีการประเมินก็ใช้การสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง ตรวจสอบเอกสาร และท้ายที่สุดคือเดินดูสถานที่จริง วิศวกรประเมินความเสี่ยงภัยที่ประสบการณ์สูงๆ เห็นหน้างานจะสามารถเข้าใจได้เลยว่า กิจการนั้นๆ มีความเสี่ยงระดับไหน ตรงไหนที่เป็นจุดเสี่ยง เพราะพวกเขามีประสบการณ์เห็นกิจการลักษณะเดียวกันนั้นๆ มาเยอะ ทั้งจากลูกค้าคนอื่นๆ บางครั้งถ้าเป็นงานใหญ่ๆ ยาก วิศวกรสำรวจภัยจะเป็นผู้เชี่ยวชาญชาวต่างประเทศเขาก็จะเปรียบเทียบโครงการของเรากับโครงการที่ต่างประเทศว่ามาตรฐานของเราอยู่ในขั้นไหน
เมื่อเก็บข้อมูลจากสถานที่เอาประกันมาหมดแล้ว หลังจากนี้ก็คือการเขียนรายงานประเมินความเสี่ยงภัย ส่วนมากต้องเขียนเป็นภาษาอังกฤษเพราะจะต้องใช้ส่งต่อในการทำ ประกันภัยต่อ (Reinsurance) กับต่างประเทศ รายงานฉบับนี้ ทางผู้พิจารณารับประกันภัย (Underwriter) จะเป็นผู้อ่าน และจะถูกใช้อ้างอิงในการกำหนดราคาเบี้ยประกัน ถ้าภัยไหนเป็นภัยที่ดี มีการจัดการความเสี่ยงที่ดี ผลก็คือจะทำให้เบี้ยประกันถูกลงและเงื่อนไขการรับประกันต่างๆ สามารถครอบคลุมได้มากขึ้น ถ้าภัยไหนเป็นภัยที่แย่ มีแต่จุดเสี่ยงเต็มไปหมด ระบบป้องกันอะไรก็ไม่มี ประวัติที่ผ่านมาก็มีแต่อุบัติเหตุ มีแต่การเรียกร้องสินไหม ผลก็คือต้องปฏิเสธการให้ความคุ้มครอง คือไม่รับประกัน
ลักษณะงานวิศวกรสำรวจภัย โดยธรรมชาติจะไม่อยู่กับที่ จะต้องเดินทางบ่อยๆ มาก อาทิตย์นึงอาจจะได้นั่งออฟฟิสแค่ 1-2 วัน ที่เหลือ 3-4 วันต้องออกไปทำงานข้างนอก และจะต้องพบปะกับคนมากหน้าหลายตา ในทุกระดับทุกกิจการ จะต้องมีความเข้าใจในลักษณะการดำเนินงานของแต่ละกิจการว่ามีความเสี่ยงตรงไหน เวลาไปสำรวจจะได้เข้าไป ประเมินตรงจุดเสี่ยงได้ถูกต้อง วิศวกรสำรวจภัยเป็นตัวแปรที่สำคัญมากในธุรกิจประกันวินาศภัย เบี้ยจะถูกหรือแพง จะรับหรือไม่รับประกัน ทุกอย่างขึ้นอยู่กับผลการประเมินความเสี่ยงของวิศวกรสำรวจภัย
เรื่องสวัสดิการและรายได้ก็อยู่ในระดับกลางๆ ไม่สูงไม่ต่ำ ถ้าเทียบกับพวกบริษัทน้ำมัน-ปิโตรเคมี ก็จะน้อยกว่า ถ้าประสบการณ์น้อยๆ เพิ่งเริ่มงานก็คงได้ 20-25K ประสบการณ์สูงขึ้นมาหน่อยก็ 50-60K แต่พวกที่ประสบการณ์สูงๆ มีชื่อเสียงในวงการเงินเดือนเป็นแสนก็มี วงการวิชาชีพนี้ในเมืองไทยแคบมาก ส่วนมากจะรู้จักกันหมด เพราะเวลาไปสำรวจภัย ทางลูกค้าก็จะนัดหลายๆ บริษัทประกันเข้าไปพร้อมๆ กันทีเดียว จะได้เจอกันบ่อย
ไม่ต้องห่วงว่า ทางบริษัทจะให้คุณต้องไปขายประกันให้คนรู้จักหรือญาติ เพราะเป็นคนละหน้าที่ คนละส่วนงานกัน แค่คุณทำหน้าที่หลักคือประเมินความเสี่ยงให้ดี คัดสรรภัยที่ความเสี่ยงต่ำๆ มาได้ คุณก็สามารถทำกำไรให้บริษัทได้มากกว่าไปขายประกันเสียอีก ธุรกิจประกันวินาศภัยไม่เหมือนประกันชีวิตตรงที่ ในบางครั้งอยู่เฉยๆ ไม่ทำอะไรเลย อาจจะดีกว่าไปรับเบี้ยประกันเข้ามาแล้วมีเหตุเสียหายต้องจ่ายค่าเคลมเป็นร้อยล้าน
ที่ต้องประกาศรับบ่อยๆ เพราะว่าคนส่วนมากยังไม่เข้าใจว่า ธุรกิจประกัน ก็เหมือนธุรกิจอื่นทั่วๆ ไป คือจะมีพนักงานขายสินค้าอย่างเดียวไม่ได้ ต้องมีคนทำหน้าที่อื่นๆ ด้วย มักจะเหมาเอาว่า ต้องไปเป็นตัวแทนขายประกันเสียทั้งหมด ผลก็คือ หาคนเก่งๆ มีความสามารถมาทำงานด้วยยาก ส่วนมากใช้วิธีดึงตัวจากบริษัทคู่แข่ง
แสดงความคิดเห็น
Risk Engineer เป็นงานแบบไหนครับ
แต่เห็นรับวิศวกรหลายสาขา แบบไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์ เลยยังสงสัยครับว่าเนื้องานจริงๆแล้วเป็นแบบไหน และความก้าวหน้าในสายอาชีพเป็นอย่างไรบ้างครับ
ขอบคุณทุกท่านล่วงหน้าครับ