สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 8
sub แปลว่า ใต้, ต่ำกว่า
prime แปลว่า หลักๆ, กลุ่มหลัก เช่น ช่วงเวลา prime time ที่ชอบๆพูดๆกันใช้เรียกช่วงเวลาที่น่าจะมีคนดูทีวีมากที่สุด
sub-prime ก็คือ ลูกหนี้ห่วยๆ ที่ไม่น่าจะมีความสามารถใช้หนี้ได้ แต่กู้บ้าระห่ำ เช่น ประมาณปี 2007 ก่อนจะเกิดวิกฤติที่เรียกว่า sub-prime crisis ในนิตยสาร TIME (ถ้าจำไม่ผิดนะ) ไปสัมภาษณ์คนหนุ่มอายุ 26 แต่เป็นเจ้าของบ้าน 5 หลัง ซื้อแบบไม่ต้องวางดาวน์ ปล่อยเช่า หวังเอาค่าเช่ามาผ่อน แล้วฝันว่าสักวันหนึ่งบ้านก็จะเป็นของเรา จับเสือมือเปล่า ไม่ต้องลงทุนอะไร แต่ธนาคารก็สะเออะปล่อยกู้ออกไป เพราะตลาดกลุ่มลูกค้าดีๆอิ่มตัวไปแล้ว จะทำไงที่จะสร้างรายได้เพิ่ม ให้ตัวเลขสินทรัพย์ในงบดุลเพิ่มขึ้นน่าประทับใจ ราคาหุ้นจะได้พุ่งตาม คิดว่าอย่างน้อยมันจ่ายไม่ไหวก็ยึดบ้านมา รู้ว่าเสี่ยงมากแต่ก็จะทำ ก็ไปดันให้เกิดฟองสบู่อสังหา ราคาบ้านพุ่ง เกิดอุปสงค์เทียม โครงการใหม่ผุดเป็นดอกเห็ด นี่คือ เปลาะที่ 1
เปลาะที่ 2 เมื่อธนาคารปล่อยกู้ออกไปแล้ว เสี่ยง ก็คิดวิธีว่าจะทำไงจะลดความเสี่ยง ก็คือกำจัดมันออกไปจากงบการเงินเราสิ! โอ้ว บร้ะะะเจ้า ไอเดียบรรเจิดมาก! เอาสัญญากู้บ้านเป็นหมื่นๆหลังมายำรวมกันเป็นก้อน แล้วแบ่งออกมาเป็นหน่วยลงทุนย่อยๆ เรียกว่าให้ไพเราะว่า หลักทรัพย์/ตราสารหนี้/พันธบัตรที่มีสัญญาจำนองบ้านหนุนหลัง (MBS - Mortgage-backed Securities) ขายให้กับ "นักลงทุน" ที่สนใจที่จะรับรายได้จากเงินผ่อนบ้านจากพวกลูกหนี้ sub-prime ธนาคารก็ได้ผลักความเสี่ยงออกไป นักลงทุนก็แฮปปี้ ทีนี้ "นักลงทุน" ที่ว่านี่ไม่ใช่คนทั่วไป แต่เป็นธนาคารด้วยกันเอง กองทุน บริษัทประกัน สถาบันการเงินสารพัดรูปแบบแล้วแต่จะเรียกชื่อ ก็มีการเอา "กระดาษ" ที่เรียกว่า MBS ไปซื้อขาย เปลี่ยนมือไปมา เรียกราคา เก็งกำไรกระดาษ เกิดเป็นตลาดซื้อขายคึกคัก ธนาคารต้นทางก็ไปปล่อยกู้ให้กับพวกลูกหนี้ sub-prime เพิ่มไปอีก เพราะปล่อยเสร็จ ก็ขายมันออกไปในรูปของ MBS ต่อ มากๆเข้าก็ไปกระตุ้นอสังหาให้มันโต แพง ขึ้นไปอีก คนที่เครดิตเน่าๆก็ยิ่งเข้ามาร่วมจับซื้อมือเปล่า กู้แบ๊งก์ หวังปล่อยเช่าเอามาผ่อนบ้านหลายๆหลัง และพอมันแข่งกันออกมากๆเข้า ก็มีการปรับแต่งเงื่อนไขแปลกๆเข้าไปในกระดาษ ให้ดูหวือหวา น่าลงทุนไปซื้อ มีบริษัทจัดเรตติ้งมาช่วยกันจัดความน่าเชื่อถือ โห ดีนี่หว่า
วนเวียนกันไปแบบนี้จนกระทั่งวันหนึ่ง ลูกหนี้มันหมดปัญญาจ่ายจริงๆแล้ว เพราะมันเป็นลูกหนี้ห่วยๆแต่แรก คนที่ถือกระดาษ MBS อยู่ก็ถามหาว่า อ้าว เงินปันผล/ดอกเบี้ยไปไหน ทำไมไม่มาตามนัด เอาเงินต้นกรูคืนมานะ ไปถามคนขายกระดาษมาให้ มันก็บอก กรูก็ไม่รู้เหมือนกัน เพราะมันถูกซื้อขายเปลี่ยนมือมาไม่รู้กี่ทอด ใครคือลูกหนี้ที่ผ่อนบ้านกับแบงก์ไหนอยู่ที่อยู่หลังกระดาษ MBS ก็ไม่รู้ ไล่เบี้ยกันไม่ถูก พอมันอยู่ในงบการเงิน ก็ถูกบันทึกเป็น "สินทรัพย์ที่มีค่า" กันหมด ซึ่งมันคือ "กระดาษ" ไม่ใช่ "หลักทรัพย์" อะไรอย่างที่คุยโวไว้ งานเข้าละสิ เจ๊งทั้งระบบ แล้วยังลามไปถึงต่างประเทศ โดยเฉพาะแบ๊งก์ในยุโรปที่สนใจไปซื้อกระดาษมาไว้อีก ก็กลายเป็นถูกดึงให้เจ๊งไปด้วย ตลาดอสังหาก็พังครืน ราคาอสังหาพังตามลงมา หนี้เสียพุ่งกระฉูด แบ๊งก์เจ๊ง พอแบ๊งก์เจ๊งก็หยุดปล่อยกู้ หยุดปล่อยกู้ ก็ทำให้คนที่ต้องการเงิน ทำมาหากินจริงๆก็ขาดสภาพคล่องไปด้วย เจ๊ง คนตกงาน อิรุงตุงนัง
prime แปลว่า หลักๆ, กลุ่มหลัก เช่น ช่วงเวลา prime time ที่ชอบๆพูดๆกันใช้เรียกช่วงเวลาที่น่าจะมีคนดูทีวีมากที่สุด
sub-prime ก็คือ ลูกหนี้ห่วยๆ ที่ไม่น่าจะมีความสามารถใช้หนี้ได้ แต่กู้บ้าระห่ำ เช่น ประมาณปี 2007 ก่อนจะเกิดวิกฤติที่เรียกว่า sub-prime crisis ในนิตยสาร TIME (ถ้าจำไม่ผิดนะ) ไปสัมภาษณ์คนหนุ่มอายุ 26 แต่เป็นเจ้าของบ้าน 5 หลัง ซื้อแบบไม่ต้องวางดาวน์ ปล่อยเช่า หวังเอาค่าเช่ามาผ่อน แล้วฝันว่าสักวันหนึ่งบ้านก็จะเป็นของเรา จับเสือมือเปล่า ไม่ต้องลงทุนอะไร แต่ธนาคารก็สะเออะปล่อยกู้ออกไป เพราะตลาดกลุ่มลูกค้าดีๆอิ่มตัวไปแล้ว จะทำไงที่จะสร้างรายได้เพิ่ม ให้ตัวเลขสินทรัพย์ในงบดุลเพิ่มขึ้นน่าประทับใจ ราคาหุ้นจะได้พุ่งตาม คิดว่าอย่างน้อยมันจ่ายไม่ไหวก็ยึดบ้านมา รู้ว่าเสี่ยงมากแต่ก็จะทำ ก็ไปดันให้เกิดฟองสบู่อสังหา ราคาบ้านพุ่ง เกิดอุปสงค์เทียม โครงการใหม่ผุดเป็นดอกเห็ด นี่คือ เปลาะที่ 1
เปลาะที่ 2 เมื่อธนาคารปล่อยกู้ออกไปแล้ว เสี่ยง ก็คิดวิธีว่าจะทำไงจะลดความเสี่ยง ก็คือกำจัดมันออกไปจากงบการเงินเราสิ! โอ้ว บร้ะะะเจ้า ไอเดียบรรเจิดมาก! เอาสัญญากู้บ้านเป็นหมื่นๆหลังมายำรวมกันเป็นก้อน แล้วแบ่งออกมาเป็นหน่วยลงทุนย่อยๆ เรียกว่าให้ไพเราะว่า หลักทรัพย์/ตราสารหนี้/พันธบัตรที่มีสัญญาจำนองบ้านหนุนหลัง (MBS - Mortgage-backed Securities) ขายให้กับ "นักลงทุน" ที่สนใจที่จะรับรายได้จากเงินผ่อนบ้านจากพวกลูกหนี้ sub-prime ธนาคารก็ได้ผลักความเสี่ยงออกไป นักลงทุนก็แฮปปี้ ทีนี้ "นักลงทุน" ที่ว่านี่ไม่ใช่คนทั่วไป แต่เป็นธนาคารด้วยกันเอง กองทุน บริษัทประกัน สถาบันการเงินสารพัดรูปแบบแล้วแต่จะเรียกชื่อ ก็มีการเอา "กระดาษ" ที่เรียกว่า MBS ไปซื้อขาย เปลี่ยนมือไปมา เรียกราคา เก็งกำไรกระดาษ เกิดเป็นตลาดซื้อขายคึกคัก ธนาคารต้นทางก็ไปปล่อยกู้ให้กับพวกลูกหนี้ sub-prime เพิ่มไปอีก เพราะปล่อยเสร็จ ก็ขายมันออกไปในรูปของ MBS ต่อ มากๆเข้าก็ไปกระตุ้นอสังหาให้มันโต แพง ขึ้นไปอีก คนที่เครดิตเน่าๆก็ยิ่งเข้ามาร่วมจับซื้อมือเปล่า กู้แบ๊งก์ หวังปล่อยเช่าเอามาผ่อนบ้านหลายๆหลัง และพอมันแข่งกันออกมากๆเข้า ก็มีการปรับแต่งเงื่อนไขแปลกๆเข้าไปในกระดาษ ให้ดูหวือหวา น่าลงทุนไปซื้อ มีบริษัทจัดเรตติ้งมาช่วยกันจัดความน่าเชื่อถือ โห ดีนี่หว่า
วนเวียนกันไปแบบนี้จนกระทั่งวันหนึ่ง ลูกหนี้มันหมดปัญญาจ่ายจริงๆแล้ว เพราะมันเป็นลูกหนี้ห่วยๆแต่แรก คนที่ถือกระดาษ MBS อยู่ก็ถามหาว่า อ้าว เงินปันผล/ดอกเบี้ยไปไหน ทำไมไม่มาตามนัด เอาเงินต้นกรูคืนมานะ ไปถามคนขายกระดาษมาให้ มันก็บอก กรูก็ไม่รู้เหมือนกัน เพราะมันถูกซื้อขายเปลี่ยนมือมาไม่รู้กี่ทอด ใครคือลูกหนี้ที่ผ่อนบ้านกับแบงก์ไหนอยู่ที่อยู่หลังกระดาษ MBS ก็ไม่รู้ ไล่เบี้ยกันไม่ถูก พอมันอยู่ในงบการเงิน ก็ถูกบันทึกเป็น "สินทรัพย์ที่มีค่า" กันหมด ซึ่งมันคือ "กระดาษ" ไม่ใช่ "หลักทรัพย์" อะไรอย่างที่คุยโวไว้ งานเข้าละสิ เจ๊งทั้งระบบ แล้วยังลามไปถึงต่างประเทศ โดยเฉพาะแบ๊งก์ในยุโรปที่สนใจไปซื้อกระดาษมาไว้อีก ก็กลายเป็นถูกดึงให้เจ๊งไปด้วย ตลาดอสังหาก็พังครืน ราคาอสังหาพังตามลงมา หนี้เสียพุ่งกระฉูด แบ๊งก์เจ๊ง พอแบ๊งก์เจ๊งก็หยุดปล่อยกู้ หยุดปล่อยกู้ ก็ทำให้คนที่ต้องการเงิน ทำมาหากินจริงๆก็ขาดสภาพคล่องไปด้วย เจ๊ง คนตกงาน อิรุงตุงนัง
แสดงความคิดเห็น
เตือน “หนี้ครัวเรือน” ทะลุ 80% ซ้ำรอยวิกฤต “ซับไพรม์
อยากรู้ ปกติถ้าเป็นต่างประเทศ รัฐบาลจะมีวิธีแก้ไขอย่างไรครับ
ขอบคุณครับ(งดดราม่า)
เพิ่มเติมหน่อยครับ การใช้ยาแรง เป็นงัยครับ