รัฐบาลถวายโครงการฝากท้องทุกที่ฟรีทุกสิทธิ์ เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวันแม่แห่งชาติ ประจำปี 2556 ให้หญิงตั้งครรภ์คนไทยทุกคนที่มีประมาณ 800,000 คน ฝากท้องได้ที่สถานพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ฟรีทุกสิทธิ์ เพิ่มมาตรฐานบริการแม่และเด็ก สร้างคุณภาพประชากรที่อาศัยในประเทศเริ่มตั้งแต่อยู่ใน ครรภ์ สุขภาพแข็งแรง ปลอดโรคพันธุกรรม ไร้พิการ อีคิว ไอคิวเกิน 100 มีผลตั้งแต่ 14 สิงหาคม 2556 เป็นต้นไป โดยหญิงตั้งครรภ์จะมีบัตร ประจำตัวสีชมพู และระบุวันคลอดชัดเจน ได้รับบริการฝากครรภ์ 5 ครั้ง ส่วนบัตรเด็กใช้สีเหลือง ดูแลต่อเนื่องฟรีถึงอายุ 6ปี
ตามโครงการนี้ หญิงตั้งครรภ์ทุกคน ทุกสิทธิ์ไม่ว่าจะเป็นโครงการ 30 บาท ประกันสังคม และข้าราชการ สามารถฝากครรภ์ที่สถานพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ จากเดิมที่หญิงตั้งครรภ์ในโครงการ 30 บาท และประกันสังคม ต้องฝากครรภ์ที่สถานพยาบาลที่ระบุในสัญญา หากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขก็จะต้องเสียเงินเอง ทำให้ไปฝากท้องเมื่ออายุครรภ์น้อยกว่าหรือเท่ากับ 12 สัปดาห์ มีเพียงร้อยละ 53 ซึ่งการฝากครรภ์ช้า จะไม่สามารถค้นหาแก้ไขความผิดปกติได้ทัน ส่งผลให้เด็กไทยแรกเกิดมีต้นทุนชีวิตต่ำ เกิดมาไม่สมบูรณ์ โครงการนี้จึงเป็นการลงทุนสร้างต้นทุนชีวิตเด็กไทยตั้งแต่อยู่ในครรภ์ให้มีสุขภาพแข็งแรง ปลอดโรคพันธุกรรม ไร้พิการ อีคิว ไอคิวเกิน 100 มีผลตั้งแต่ 14 สิงหาคม 2556 เป็นต้นไป โดยหญิงตั้งครรภ์จะได้รับบริการฝากครรภ์ 5 ครั้งตามมาตรฐานสากล ส่วนเด็กจะได้รับการดูแลต่อเนื่องจนถึงอายุ 6 ปี ได้รับวัคซีนป้องกันโรค การติดตามพัฒนาการ ไอคิว และอีคิว
ด้านนายแพทย์ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในการพัฒนาระบบการฝากครรภ์ครั้งนี้ จะเน้นให้หญิงเริ่มฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ มีระบบการดูแลตรวจคัดกรองความเสี่ยงต่างๆ ซึ่งที่ผ่านมาพบปัญหาจากแม่ที่ส่งผลการพัฒนาเด็ก ได้แก่ แม่มีอัตราการขาดสารไอโอดีนร้อยละ 53 ภาวะโลหิตจางร้อยละ 18 พบทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยกว่า 2,500 กรัมร้อยละ 8 ทารกแรกเกิดมีภาวะดาวน์ซินโดรม 1.25:1,000 การเกิดมีชีพ เป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง 6:1,000 การเกิดมีชีพ ภาวะพร่องธัยรอยด์แต่กำเนิด 6:1,000 การเกิดมีชีพ เด็กติดเชื้อ เอช ไอวีจากแม่สู่ลูกร้อยละ 2.2 เด็กกินนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน เพียงร้อยละ 54 หรือประมาณ 430,000 คน และเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี มีพัฒนาการสมวัยเพียงร้อยละ 70 ในการดูแลดังกล่าวจะมีจ่ายยาที่มีแร่ธาตุ 3 ชนิด ได้แก่ โฟเลตป้องกันความพิการแต่กำเนิด ไอโอดีนป้องกันปัญญาอ่อนและเหล็กป้องกันปัญหาซีด ให้เด็กเจริญเติบโตดี มีพัฒนาการสมวัย และโภชนาการต่างๆ จัดโรงเรียนพ่อแม่สอนการปฏิบัติตัวตามหลักวิชาการ ทั้งแม่มือใหม่และมือเก่า โดยออกบัตรประจำตัวทั้งหญิงตั้งครรภ์สีชมพู ซึ่งจะมีวันกำหนดคลอดเมื่อครบ 40 สัปดาห์ และออกบัตรให้ลูกสีเหลือง ระบุวันเกิดตามบัตรประชาชน ลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ด้านนายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุข ได้วางระบบมาตรฐานของการดูแลหญิง ตั้งครรภ์และบุตร 4 จุดตามมาตรฐานสากล ได้แก่การฝากครรภ์คุณภาพ ต้องครบ 5 ครั้งตามมาตรฐานสากล เริ่มครั้งที่ 1 อายุครรภ์น้อยกว่าหรือเท่ากับ 12 สัปดาห์ และ18, 26, 32 และ 38 สัปดาห์ ระบบห้องคลอด การบริบาลทารกแรกเกิด และการดูแลสุขภาพเด็กแรกเกิดจนถึง 5 ขวบ เพื่อให้เด็กเติบโตสมวัย ได้รับวัคซีนครบถ้วน มีไอคิวมากกว่า 100 และอีคิวมาตรฐาน ในรายที่มีพัฒนาการล่าช้าจะได้รับการแก้ไขทันที
ทางด้านนายแพทย์วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช. กล่าวว่า ในการบันทึกข้อมูลการฝากครรภ์และดูแลสุขภาพเด็ก สปสช. ได้พัฒนาให้เป็นแบบออนไลน์ แพทย์ติดตามประวัติและผลการฝากครรภ์ของแม่และเด็กแม้ว่าจะไม่ใช่สถานฝากครรภ์เดิมก็ตาม เพื่อให้บริการต่อเนื่อง และมีระบบจัดการทางการเงินภายในทั้ง 3 กองทุน ไม่รบกวนผู้ใช้สิทธิ์แต่อย่างใด หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามที่สายด่วน 1330 ตลอด 24 ชั่วโมง
ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพโครงการจาก กระทรวงสาธารณสุข และ FB Fanpage // P.Sintavanarong
มีข่าวมาฝากครับ โครงการฝากท้องทุกที่ ฟรีทุกสิทธิ์
ตามโครงการนี้ หญิงตั้งครรภ์ทุกคน ทุกสิทธิ์ไม่ว่าจะเป็นโครงการ 30 บาท ประกันสังคม และข้าราชการ สามารถฝากครรภ์ที่สถานพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ จากเดิมที่หญิงตั้งครรภ์ในโครงการ 30 บาท และประกันสังคม ต้องฝากครรภ์ที่สถานพยาบาลที่ระบุในสัญญา หากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขก็จะต้องเสียเงินเอง ทำให้ไปฝากท้องเมื่ออายุครรภ์น้อยกว่าหรือเท่ากับ 12 สัปดาห์ มีเพียงร้อยละ 53 ซึ่งการฝากครรภ์ช้า จะไม่สามารถค้นหาแก้ไขความผิดปกติได้ทัน ส่งผลให้เด็กไทยแรกเกิดมีต้นทุนชีวิตต่ำ เกิดมาไม่สมบูรณ์ โครงการนี้จึงเป็นการลงทุนสร้างต้นทุนชีวิตเด็กไทยตั้งแต่อยู่ในครรภ์ให้มีสุขภาพแข็งแรง ปลอดโรคพันธุกรรม ไร้พิการ อีคิว ไอคิวเกิน 100 มีผลตั้งแต่ 14 สิงหาคม 2556 เป็นต้นไป โดยหญิงตั้งครรภ์จะได้รับบริการฝากครรภ์ 5 ครั้งตามมาตรฐานสากล ส่วนเด็กจะได้รับการดูแลต่อเนื่องจนถึงอายุ 6 ปี ได้รับวัคซีนป้องกันโรค การติดตามพัฒนาการ ไอคิว และอีคิว
ด้านนายแพทย์ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในการพัฒนาระบบการฝากครรภ์ครั้งนี้ จะเน้นให้หญิงเริ่มฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ มีระบบการดูแลตรวจคัดกรองความเสี่ยงต่างๆ ซึ่งที่ผ่านมาพบปัญหาจากแม่ที่ส่งผลการพัฒนาเด็ก ได้แก่ แม่มีอัตราการขาดสารไอโอดีนร้อยละ 53 ภาวะโลหิตจางร้อยละ 18 พบทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยกว่า 2,500 กรัมร้อยละ 8 ทารกแรกเกิดมีภาวะดาวน์ซินโดรม 1.25:1,000 การเกิดมีชีพ เป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง 6:1,000 การเกิดมีชีพ ภาวะพร่องธัยรอยด์แต่กำเนิด 6:1,000 การเกิดมีชีพ เด็กติดเชื้อ เอช ไอวีจากแม่สู่ลูกร้อยละ 2.2 เด็กกินนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน เพียงร้อยละ 54 หรือประมาณ 430,000 คน และเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี มีพัฒนาการสมวัยเพียงร้อยละ 70 ในการดูแลดังกล่าวจะมีจ่ายยาที่มีแร่ธาตุ 3 ชนิด ได้แก่ โฟเลตป้องกันความพิการแต่กำเนิด ไอโอดีนป้องกันปัญญาอ่อนและเหล็กป้องกันปัญหาซีด ให้เด็กเจริญเติบโตดี มีพัฒนาการสมวัย และโภชนาการต่างๆ จัดโรงเรียนพ่อแม่สอนการปฏิบัติตัวตามหลักวิชาการ ทั้งแม่มือใหม่และมือเก่า โดยออกบัตรประจำตัวทั้งหญิงตั้งครรภ์สีชมพู ซึ่งจะมีวันกำหนดคลอดเมื่อครบ 40 สัปดาห์ และออกบัตรให้ลูกสีเหลือง ระบุวันเกิดตามบัตรประชาชน ลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ด้านนายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุข ได้วางระบบมาตรฐานของการดูแลหญิง ตั้งครรภ์และบุตร 4 จุดตามมาตรฐานสากล ได้แก่การฝากครรภ์คุณภาพ ต้องครบ 5 ครั้งตามมาตรฐานสากล เริ่มครั้งที่ 1 อายุครรภ์น้อยกว่าหรือเท่ากับ 12 สัปดาห์ และ18, 26, 32 และ 38 สัปดาห์ ระบบห้องคลอด การบริบาลทารกแรกเกิด และการดูแลสุขภาพเด็กแรกเกิดจนถึง 5 ขวบ เพื่อให้เด็กเติบโตสมวัย ได้รับวัคซีนครบถ้วน มีไอคิวมากกว่า 100 และอีคิวมาตรฐาน ในรายที่มีพัฒนาการล่าช้าจะได้รับการแก้ไขทันที
ทางด้านนายแพทย์วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช. กล่าวว่า ในการบันทึกข้อมูลการฝากครรภ์และดูแลสุขภาพเด็ก สปสช. ได้พัฒนาให้เป็นแบบออนไลน์ แพทย์ติดตามประวัติและผลการฝากครรภ์ของแม่และเด็กแม้ว่าจะไม่ใช่สถานฝากครรภ์เดิมก็ตาม เพื่อให้บริการต่อเนื่อง และมีระบบจัดการทางการเงินภายในทั้ง 3 กองทุน ไม่รบกวนผู้ใช้สิทธิ์แต่อย่างใด หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามที่สายด่วน 1330 ตลอด 24 ชั่วโมง
ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพโครงการจาก กระทรวงสาธารณสุข และ FB Fanpage // P.Sintavanarong