ช่วยวิเคราะห์ถ้อยคำเหล่านี้หน่อยครับ

กระทู้คำถาม


ถ้อยคำนี้สนใจแค่เฉพาะเรื่องของตัวเองหรือไม่
แปลว่าถ้าเราสร้างความเดือดร้อนให้ใครด้วยเหตุผลใดเราก็แค่ทำไปแล้วบอกตัวเองว่า
"ชีวิตสั้นนัก อย่าเครียด"อย่างนั้นหรือครับ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
คืองี้นะ ประโยคที่ยกมาข้างบนเรียกว่าปรัชญาชีวิต (Philosophy of life) มันไม่ใช่ประโยคทางวิชาปรัชญาจริงๆ แต่เป็นปรัชญาประยุกต์มากกว่า ปรัชญาประยุกต์หรือ Apply Philosophy ก็คล้ายาๆ กับ Apply Science คือเอาวิชาความรู้หรือบทสรุปไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวัน เหมือนคนรู้สูตรเคมี ก็เอาไปปรับแต่งสูตรทำยาสระผม น้ำยาขัดรองเท้า ฯลฯ อะไรปานนั้น

ปรัชญาก็เหมือนกับวิทยาศาสตร์ที่ต้องการหาบทสรุปสูงสุดเรียกว่า Absolute truth ในวิทยาศาสตร์เรียกว่า Law ซึ่งเป็นความจริงที่มั่นคงกว่าทฤษฎี (Theory) ในขณะที่ทฤษฎีมีความน่าเชื่อถือได้สูงกว่าสมมติฐาน(Assumption) เท่านั้น

พวกนิยมปรัชญามักอ้างความจริงฝ่ายตนสูงกว่าความจริงฝ่ายวิทยาศาสตร์เพราะพวกเขาเล่นกับความรู้ที่เป็นนามธรรม ที่พวกเราได้ยินบ่อยๆ คือ ปรมัติ อันเป็นความรู้ที่เหนือประสาทสัมผัสซึ่งพวกวิทยาศาสตร์จำกัดขอบเขตของตัวเองไว้เท่านี้คือ ที่สามารถวัดค่าได้  

คราวนี้กลับมาพูดถึงประโยคข้างบน

Life's too short to wake up in the morning with regrets ก็คือ ชีวิตนั้นสั้นเกินกว่าที่จะตื่นขึ้นมาซึมเซาเสียใจในวันรุ่ง เป็นปรัชญาประยุกต์จากกฎทองของปรัชญากรีกที่นักศึกษาปรัชญาตรรกะเบื้องต้น ต้องเรียนคือ คนทุกคนต้องตาย (All man are mortal.. Socretes is a man..> Socretes is mortal)

ประโยคที่เหลือไปคิดต่อเอง...

ปัญหาของการค้นหาความจริงทางปรัชญาก็คือ สิ่งที่นักปรัชญาศึกษานั้นกว้างใหญ่ไพศาลเหลือเกิน จนไม่สามารถกำหนดตัวแปร และปัจจัยต่างๆได้ เมื่อไม่สามารถกำหนดตัวแปรได้ ความจริงที่ได้จึงผันแปรไปตามสถานการณ์ เหมือนที่ จขกท เข้ามาถามนี้แหละ จุดอ่อนนี้เองที่นักวิทยาศาสตร์เข้ามาสวมบทบาทเล่นแทน

นักปรัชญารุ่นใหม่ได้ค้นพบศัพท์หนึ่งที่ทำให้ความจริงทางปรัชญามีสารถะ (Concrete) มากขึ้นก็คือ การตีความหมาย (interpretation meaning ) การตีความหมายก็คือการปะฉะดะ (Meeting) จุดพบกันระหว่างวัตถุภายนอกกับผู้รับรู้ (Subject)  ผู้รับรู้นั้นจะรับสิ่งที่พบเห็นมาเทียบเคียงกับประสบการณ์ในอดีตมาสรุปเป็นกฎทอง เช่น การเกิดแก่เจ็บตาย เพื่อนล้มหายตายจากไปทีละคนสองคน จึงสรุปได้ว่า ชีวิตนั้นสั้นเกินกว่าจะมาซึมเซากับเรื่องในอดีต ในวันรุ่งที่เริ่มต้นชีวิตใหม่ได้ทุกวัน การปะทะระหว่างวัตถุประสบการณ์กับผู้รู้ถ้าตรงกับกฎธรรมชาติ คือ คนทุกคนต้องตาย ก็ถือเป็นบทสรุปที่มักเห็นด้วย แต่ ถ้าเป็นบทสรุปที่อาจผันแปรได้ ก็อาจมีคำถามหรือไม่เห็นด้วย เช่นประโยคที่ว่า Love the people who treat you right, Forget about the one’s who don’t. ประโยคนี้ถ้าไปใช้กับกฎของศาสนาคริสต์ จะขัดแย้งโต้เถียงกันได้ ที่ว่าให้รักศตรูของท่าน...

Luke 6:27-36. English Standard Version (ESV)
Love Your Enemies
27 “But I say to you who hear, Love your enemies, do good to those who hate you, 28 bless those who curse you, pray for those who abuse you. 29 To one who strikes you on the cheek, offer the other also, and from one who takes away your cloak do not withhold your tunic[a] either. 30 Give to everyone who begs from you, and from one who takes away your goods do not demand them back. 31 And as you wish that others would do to you, do so to them.

การตีความหมายมีบทบาทสำคัญมากในโลกปัจจุบัน เพราะมันต้นธารแห่งจินตนาการ และการสืบค้นความเป็นไปได้ใหม่ๆ หรือนวัตกรรมใหม่
แสดงความคิดเห็น
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ  ปรัชญา
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่