รบกวนผู้มีความรู้ มาลองวิเคราะห์เหตุผล 12 ข้อ ที่ไม่ควรสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นดูนะครับ

กระทู้สนทนา
เห็นจ่าพิชิตแชร์มา แต่ไม่มีความรู้ เลยลองเอามาวิเคราะห์กันหน่อยครับ
ผมตัดประเด็นที่น่าสนใจฟังขึ้นมาโพสบางข้อนะครับ
สำหรับตัวเต็มก็ดูได้ ที่นี่

1. ไม่คุ้มทุน ข้อสรุปจากงานวิจัยของสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เนื่องจากแก่งเสือเต้นเป็นเขื่อนในโครงการผันน้ำกก-อิง-ยม-น่าน สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้เพียง 48 เมกะวัตต์

2. แก้ปัญหาภัยแล้งไม่ได้ เพราะเขื่อนนี้เปรียบเสมือนโอ่งใหญ่ที่มีก๊อกอยู่สูง ในฤดูแล้งไม่สามารถปล่อยน้ำเพื่อการชลประทานได้ เพราะต้องเก็บไว้ผลิตกระแสไฟฟ้าและป้องกันผลเสียเรื่องการบริหารน้ำในเขื่อนของปีต่อๆ ไป ส่วนหน้าฝนก็ป้องกันน้ำท่วมไม่ได้เพราะเขื่อนมีน้ำอยู่แล้ว 2 ใน 3 ของความจุอ่าง

3. ป้องกันน้ำท่วมลุ่มน้ำยมและกรุงเทพฯ ไม่ได้ จากการศึกษาขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และธนาคารโลก ระบุในรายงานการศึกษาความเหมาะสมของโครงการแก่งเสือเต้นว่า เขื่อนแก่งเสือเต้นสามารถป้องกันน้ำท่วมได้ร้อยละ 8 ต่อปี มูลค่า 3.2 ล้านบาท และระบุในหัวข้อ 9.4 ว่า “โครงการแก่งเสือเต้นจะควบคุมและลดระดับน้ำท่วมในพื้นที่ตอนล่าง ในพื้นที่ราบลุ่มหรือที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึงริมฝั่งน้ำยมเฉพาะพื้นที่ระหว่างสบงาวกับเด่นชัยเท่านั้น ส่วนพื้นที่ล่างลงมาปัญหาน้ำท่วมไม่ได้เกิดจากแม่น้ำยม แต่เกิดลำน้ำสาขาและแม่น้ำน่าน

4. พื้นที่ชลประทานไม่เป็นจริง เพราะเป็นพื้นที่ชลประทานเดิมเกือบทั้งหมด จากพื้นที่ 385,400 ไร่ ของเขื่อนแก่งเสือเต้น เป็นพื้นที่ชลประทานของโครงการแม่ยม 1 แสนไร่ และโครงการสูบน้ำด้วยพลังงานไฟฟ้าของกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน 26 โครงการรวม 72,800 ไร่ พื้นที่ชลประทานส่วนที่เหลืออยู่ในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนบนที่อยู่ห่างไปกว่า 300 กิโลเมตร และไม่ได้มีคลองส่งน้ำจากเขื่อนแก่งเสือเต้นเลย

5. กระทบต่อระบบนิเวศป่าไม้ เพราะน้ำเขื่อนที่ระดับเก็บกักปกติจะท่วมป่าไม้ใจกลางอุทยานแห่งชาติแม่ยม 53.85 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นป่าเบญจพรรณที่มีสักทองหนาแน่น ไม้สืบพันธ์ตามธรรมชาติได้ดี และมีสักทองอยู่ทั่วไป
จากการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดลที่เสนอต่อธนาคารโลกระบุว่า ป่าสักทองที่จะน้ำท่วมนี้เป็นป่าสักทองที่สมบูรณ์ที่สุดเพียงแห่งเดียวของไทย โดย ศ.ดร.วรเรณ บรอคเคลเมน อาจารย์ด้านชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ป่าแม่ยมเป็นป่าสักที่ดีที่สุด ใหญ่ที่สุด และหายากที่สุดในประเทศไทย มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง มีสัตว์ที่หายากและใกล้สูญพันธุ์หลายชนิด เช่น นกลุมพู นกยูงพันธุ์ไทย มีคุณค่าที่ไม่สามารถประเมินเป็นเงินได้

รายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระบุว่า การสูญเสียป่าไม้จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศเฉพาะถิ่น โดยเฉพาะอุณหภูมิ ความชื้น และรูปแบบการตกของฝน การสูญเสียแหล่งต้นน้ำยม

นอกจากนี้นักชีววิทยายังระบุว่า จะเกิดการสูญเสียแหล่งพันธุกรรมที่หลากหลายทางชีวภาพที่ประเมินค่าไม่ได้ โดยเฉพาะการสูญเสียโอกาสการใช้ประโยชน์ทางพันธุกรรมของพืชสมุนไพรกว่า 135 ชนิดง

6. กระทบต่อระบบนิเวศลุ่มน้ำยมตอนล่าง เพราะการสร้างเขื่อนจะทำให้สูญเสียที่ราบลุ่มแม่น้ำยม ซึ่งเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่ใหญ่ที่สุดในประเทศกว่า 3 แสนไร่ ที่ขึ้นทะเบียนตามข้อตกลงว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ หรืออนุสัญญาแรมซาร์ และยังทำลายแหล่งความหลากหลายทางชีวภาพโดยเฉพาะถิ่นที่อยู่ของนกน้ำนานาชนิด เช่น เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองน้ำขาว

นอกจากนี้ยังทำให้ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก น้ำท่วมมากขึ้น เพราะน้ำทางตอนบนถูกควบคุม ทำให้เปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานง่ายขึ้น ส่งผลให้ที่ราบลุ่มและหนองน้ำต่างๆ เสื่อมสภาพ และสูญเสียหน้าที่การเป็นบ่อพักน้ำ ดังนั้น จึงเกิดน้ำท่วมในลุ่มน้ำเจ้าพระยาและกรุงเทพฯ มากขึ้น เพราะน้ำไหลลงสู่พื้นที่ตอนล่างได้เร็ว


8. ไม่เกิดความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ เนื่องจากแนวโน้มค่าก่อสร้างเขื่อนที่สูงขึ้นเรื่อยๆ จากในปี 2538 ราคา 3,593.8 ล้านบาท ปี 2539 ราคา 4,083 ล้านบาท ปี 2543 ราคา 6,338.35 ล้านบาท และล่าสุด 12,900 ล้านบาท และหากสร้างจริงราคาจะสูงกว่านี้

ดังตัวอย่างที่เคยเกิดขึ้นกับ 4 เขื่อนใหญ่ ที่ราคาก่อสร้างเกินกว่าที่ ครม. อนุมัติ คือ เขื่อนศรีนครินทร์ จาก 1,800 เป็น 4,623 ล้านบาท เขื่อนเขาแหม จาก 7,711 เป็น 9,100 ล้านบาท เขื่อนบางลาง จาก 1,560 เป็น 2,729.2 ล้านบาท และเขื่อนปากมูล จาก 3,880 เป็น 6,600 ล้านบาท ซึ่งงบประมาณที่เพิ่มขึ้นล้วนมาจากการป้องกันปัญหาทางธรณีวิทยาทั้งสิ้น

9. เขื่อนอายุสั้น เพราะแม่น้ำยมมีอัตราการพังทลายของหน้าดินสูง มีหินที่ถูกกัดเซาะได้ง่าย จึงมีตะกอนสูง อันเป็นสาเหตุให้เกิดตะกอนในเขื่อนมาก ส่งผลให้เขื่อนมีอายุใช้งานสั้นลง

“แม่น้ำยมเป็นแม่น้ำที่มีการตกตะกอนมากกว่า 540 ล้านตันต่อปี ซึ่งจะทำให้เขื่อนแก่งเสือเต้นมีดินเต็มปริมาตรออกแบบเก็บกักตะกอนของเขื่อนภายใน 20 ปี เขื่อนจึงมีอายุสั้นลง 30 ปี” ศ.ดร.ปริญญา นุตาลัย แห่งสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียกล่าว

10. ส่งผลกระทบต่อชาวบ้าน เพราะน้ำจะท่วมที่อยู่อาศัยของชาวบ้านกว่า 2,700 ครัวเรือน ในเขต ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ และแอ่งเชียงม่วน อ.เชียงม่วน จ.พะเยา ในขณะที่กรมชลประทานเสนอตัวเลขชาวบ้านที่อพยพเพียง 620 ครัวเรือนใน 3 หมู่บ้านของ ต.สะเอียบเท่านั้น ซึ่งเป็นตัวเลขที่ศึกษามาตั้งแต่ปี 2535
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่