วันนี้มารู้จักโรคฉี่หนูที่ระบาดมากช่วงหน้าฝนดีกว่าค่ะ เพราะคนเลี้ยงสุนัขและแมวบางคนอาจมองข้ามเพราะคิดว่าเป็นมากในชาวไร่ชาวนา
แต่ความจริงแล้วแค่แมวหรือสุนัขไปกัดหนูที่มีเชื้อฉี่หนู สัตว์เลี้ยงของเราก็ได้รับเชื้อและติดต่อสู่เจ้าของสัตว์ได้แล้วค่ะ ดังนั้นแมวหรือสุนัขที่ไล่จับหนูเก่งๆอาจไม่ใช่เรื่องที่น่ายินดีอีกต่อไปเพราะหนูสามารถแพร่เชื้อฉี่หนูได้โดยที่ตัวหนูไม่ป่วย แต่สัตว์เลี้ยงที่ได้รับเชื้อกลับป่วยถึงตาย นอกจากสุนัขและแมวแล้วสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและสัตว์ป่าหลายชนิดสามารถแพร่เชื้อและเจ็บป่วยจนเสียชีวิตได้
การติดต่อ
1.เชื้อไชเข้าสู่บาดแผล เช่น สุนัข หรือแมวไปกัดกับหนู แมวกับสุนัขได้รับเชื้อ เชื้อจะปะปนอยู่ในเลือด ในปัสสาวะ หากมือเจ้าของมีบาดแผลเวลาจับหรือสัมผัสเลือดหรือปัสสาวะสัตว์ก็ติดได้
2.สุนัขและแมว กินน้ำหรืออาหารที่มีเชื้อปนเปื้อน เช่น อาหารแมวหรือสุนัขที่วางไว้ กลางคืนมีหนูมากิน สัตว์พวกหนูจะกินไป อึไป ฉี่ไป
3.เชื้อไชเข้าทางผิวหนัง กรณีที่แช่อยู่ในน้ำนานๆ
โรคฉี่หนูเกิดจากเชื้อแบคทีเรียรูปเกลียว ชื่อเล็บโตสไปร่า เรียกกันสั้นๆว่า เล็ปโต
เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายของสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข แมว จะเกิดอาการดังนี้
1.มีไข้ อาเจียน ซึม
2.ตัวเหลือง ตาขาวซีดออกเหลือง เหงือกชมพูออกเหลืองถ้าเป็นหนักเหงือกจะสีเหลืองเข้ม บางตัวมีเลือดซึมออกทางเหงือก เลือดออกจมูก ผิวหนังบริเวณที่ไม่มีขนจะสังเกตได้ชัดเช่น ใบหูด้านใน ใต้ท้องออกเหลืองๆ ปัสสาวะออกมาปนเลือด หรือบางตัวช่วงแรกๆอาจแสดงอาการปัสสาวะกะปริบกะปรอย คือ ฉี่ไม่ค่อยออก ทำให้สับสนกับโรคนิ่ว หรือโรคพยาธิในเม็ดเลือดได้ เพราะพยาธิในเม็ดเลือดก็แสดงอาการดังกล่าวได้
3.ที่มีอาการดังกล่าวเนื่องจาก เชื้อเล็ปโต เข้าไปฟักอยู่ที่ไต ทำให้ไตอักเสบ ไตวาย เม็ดเลือดแดงแตก เกิดสารสีเหลืองสะสม ตับโต ม้ามโต ดีซ่าน
4.บางตัวมีอาการทางระบบประสาทร่วมด้วย บางตัวมีอาการตาบอดเนื่องจากจอประสาทตาอักเสบ
หากสัตว์เริ่มมีอาการซึม ตัวเหลือง มีปัญหาทางเดินปัสสาวะ ไม่ควรมองข้ามโรคฉี่หนู ยิ่งช่วงหน้าฝนด้วยแล้วควรระวัง การตรวจวินิจฉัย อาจต้องตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ หรือวินิจฉัยอย่างอื่นเพิ่มเติม หากตรวจเจอแต่เนิ่นๆรีบรักษาการรอดชีวิตจะมาก ประหยัดค่าใช้จ่ายได้ดีกว่าป่วยเรื้อรังก่อนถึงมือหมอค่ะ
ในคน จะมีอาการ ทั้งแสดงอาการตัวเหลืองเนื่องจากดีซ่าน เป็นไข้ ปวดหัว ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ บางคนก็แค่มีไข้นำ แต่ไม่แสดงอาการตัวเหลือง ตับโต ม้ามโต ไอ ไตวาย เยื่อหุ้มสมองอักเสบ หากไม่ตรวจเช็คให้ละเอียดจะมีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
ปัจจุบันมีวัคซีนที่สามารถป้องกันโรคฉี่หนู ควรพาสัตว์เลี้ยงไปกระตุ้นวัคซีนรวมซึ่งจะสามารถป้องกันโรคฉี่หนูได้
โรคฉี่หนูจากหนูสู่สุนัขและแมว ติดสู่คน
แต่ความจริงแล้วแค่แมวหรือสุนัขไปกัดหนูที่มีเชื้อฉี่หนู สัตว์เลี้ยงของเราก็ได้รับเชื้อและติดต่อสู่เจ้าของสัตว์ได้แล้วค่ะ ดังนั้นแมวหรือสุนัขที่ไล่จับหนูเก่งๆอาจไม่ใช่เรื่องที่น่ายินดีอีกต่อไปเพราะหนูสามารถแพร่เชื้อฉี่หนูได้โดยที่ตัวหนูไม่ป่วย แต่สัตว์เลี้ยงที่ได้รับเชื้อกลับป่วยถึงตาย นอกจากสุนัขและแมวแล้วสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและสัตว์ป่าหลายชนิดสามารถแพร่เชื้อและเจ็บป่วยจนเสียชีวิตได้
การติดต่อ
1.เชื้อไชเข้าสู่บาดแผล เช่น สุนัข หรือแมวไปกัดกับหนู แมวกับสุนัขได้รับเชื้อ เชื้อจะปะปนอยู่ในเลือด ในปัสสาวะ หากมือเจ้าของมีบาดแผลเวลาจับหรือสัมผัสเลือดหรือปัสสาวะสัตว์ก็ติดได้
2.สุนัขและแมว กินน้ำหรืออาหารที่มีเชื้อปนเปื้อน เช่น อาหารแมวหรือสุนัขที่วางไว้ กลางคืนมีหนูมากิน สัตว์พวกหนูจะกินไป อึไป ฉี่ไป
3.เชื้อไชเข้าทางผิวหนัง กรณีที่แช่อยู่ในน้ำนานๆ
โรคฉี่หนูเกิดจากเชื้อแบคทีเรียรูปเกลียว ชื่อเล็บโตสไปร่า เรียกกันสั้นๆว่า เล็ปโต
เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายของสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข แมว จะเกิดอาการดังนี้
1.มีไข้ อาเจียน ซึม
2.ตัวเหลือง ตาขาวซีดออกเหลือง เหงือกชมพูออกเหลืองถ้าเป็นหนักเหงือกจะสีเหลืองเข้ม บางตัวมีเลือดซึมออกทางเหงือก เลือดออกจมูก ผิวหนังบริเวณที่ไม่มีขนจะสังเกตได้ชัดเช่น ใบหูด้านใน ใต้ท้องออกเหลืองๆ ปัสสาวะออกมาปนเลือด หรือบางตัวช่วงแรกๆอาจแสดงอาการปัสสาวะกะปริบกะปรอย คือ ฉี่ไม่ค่อยออก ทำให้สับสนกับโรคนิ่ว หรือโรคพยาธิในเม็ดเลือดได้ เพราะพยาธิในเม็ดเลือดก็แสดงอาการดังกล่าวได้
3.ที่มีอาการดังกล่าวเนื่องจาก เชื้อเล็ปโต เข้าไปฟักอยู่ที่ไต ทำให้ไตอักเสบ ไตวาย เม็ดเลือดแดงแตก เกิดสารสีเหลืองสะสม ตับโต ม้ามโต ดีซ่าน
4.บางตัวมีอาการทางระบบประสาทร่วมด้วย บางตัวมีอาการตาบอดเนื่องจากจอประสาทตาอักเสบ
หากสัตว์เริ่มมีอาการซึม ตัวเหลือง มีปัญหาทางเดินปัสสาวะ ไม่ควรมองข้ามโรคฉี่หนู ยิ่งช่วงหน้าฝนด้วยแล้วควรระวัง การตรวจวินิจฉัย อาจต้องตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ หรือวินิจฉัยอย่างอื่นเพิ่มเติม หากตรวจเจอแต่เนิ่นๆรีบรักษาการรอดชีวิตจะมาก ประหยัดค่าใช้จ่ายได้ดีกว่าป่วยเรื้อรังก่อนถึงมือหมอค่ะ
ในคน จะมีอาการ ทั้งแสดงอาการตัวเหลืองเนื่องจากดีซ่าน เป็นไข้ ปวดหัว ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ บางคนก็แค่มีไข้นำ แต่ไม่แสดงอาการตัวเหลือง ตับโต ม้ามโต ไอ ไตวาย เยื่อหุ้มสมองอักเสบ หากไม่ตรวจเช็คให้ละเอียดจะมีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
ปัจจุบันมีวัคซีนที่สามารถป้องกันโรคฉี่หนู ควรพาสัตว์เลี้ยงไปกระตุ้นวัคซีนรวมซึ่งจะสามารถป้องกันโรคฉี่หนูได้