สะพานเชียงของ-ท่าทราย เปิดประตูรับ AEC

การรวมตัวของอาเซียนมีวัตถุประสงค์เพื่อการค้าการลงทุนระหว่างกันเป็นหลักเพราะฉะนั้นการขนส่งเพื่อกระจายสินค้ารวมไปจนถึงการดำเนินธุรกิจ จึงเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้น ๆ การขนส่งทางบกด้วยรถยนต์จึงเป็นทางเลือกที่เป็นไปได้สูงมากเพราะเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วและขั้นตอนการขนส่งเรียบง่ายที่สุดซึ่งนั่นก็หมายถึงต้นทุนที่ต่ำ เพียงแค่เปิดพรมแดนให้เชื่อมต่อกันเท่านั้นเองซึ่งนั่นก็คือเส้นทาง R3A ซึ่งเชื่อมต่อจากจีน สิบสองปันนา เข้าสู่ลาว เข้าสู่ไทยที่อำเภอเชียงของจังหวัดเชียงราย สภาพถนนเส้นนี้นับว่ามีสภาพดีพอสมควร จึงถูกคาดหมายให้เป็นถนนสายสำคัญเชื่อมระหว่างไทยและอาเซียนสำหรับประเทศที่มีแผนดินติดต่อกันการขนส่งทางบกจึงเป็นวิธีการที่น่าสนใจมากที่สุด
          จุดเชื่อมต่อข้ามพรมแดนไทยลาวแห่งที่ 4 ก็คือสะพานข้ามแม่น้ำโขงเชียงของ-ห้วยทราย ซึ่งเป็นความร่วมมือของกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง ระหว่างไทย-จีน คนละ 50% โดยว่าจ้าง กลุ่มซีอาร์ 5-เคที จอยท์เวนเจอร์ ภายใต้งบประมาณ 1,486.5 ล้านบาท ซึ่ง ณ ปัจจุบันคืบหน้าจนใกล้แล้วเสร็จ ซึ่งผมมีภาพถ่ายสะพานแห่งนี้ ถ่ายในวันที่วันที่ 12 สิงหาคม 2556 มา Update ให้ดูกัน

ชมภาพการเริ่มก่อสร้างก่อนจะถึงวันนี้กันซักนิด


ภาพประกอบ : เส้นสีเขียวคือตัวแทนตำแหน่งสะพาน เส้นโค้ง ๆ รูปเกือกม้าที่ลูกศรเขียวซ้ายมือ คือจุดกลับรถใต้สะพานในปัจจุบัน ภาพจาก Google Earth


ภาพประกอบ : ระหว่างการวางตอหม้อสะพานเริ่มเป็นรูปเป็นร่าง ภาพจาก Google Earth


ภาพประกอบ : สะพานเชียงของ-ห้วยทราย ความร่วมมือไทย-จีน เพื่อรับ AEC


ภาพประกอบ : มุมบนขณะกำลังดำเนินการก่อสร้างสะพานขนาด 2 ช่องจราจร


ภาพประกอบ : สะพานแห่งนี้ถูกสร้างในจุดที่ระยะแคบสุดของแม่น้ำโขง เชียงของ-ห้วยทราย


ภาพประกอบ : คนงานก่อสร้างกำลังเร่งมือหล่อแบบบันไดใต้สะพาน


ภาพประกอบ : มีคนตื่นตัวสนใจมาดูสะพานแห่งนี้อย่างคึกคักตลอดทั้งวัน

         
ภาพประกอบ : ด่านศุลกากรแห่งใหม่สร้างควบคู่ไปกับสะพาน


ภาพประกอบ :  มีการสร้างด่านศุลกากรแห่งใหม่มองใกล้ ๆ เรียกได้ว่าใหญ่โตอลังการเลยทีเดียว


เมืองเชียงของห้องรับแขก AEC        
           เมืองเชียงของนั้นปัจจุบันสภาวะเศรษกิจซบเซาการท่องเที่ยวเงียบเหงา มีร้านค้าร้านอาหารที่เคยรุ่งเรืองปิดตัวกันไปหลายร้าน เดิมแถวนี้เป็นศูนย์กลางการเดินทางไปมาหาสู่กันสองฝั่งโขง แต่ถ้าหากว่าการเปิดใช้จุดข้ามแดนแห่งใหม่ซึ่งอยู่ห่างออกไปจากตลาดพอสมควร นั้น อาจมีผลทำให้ตลาดคึกคักขึ้นบ้าง แต่ท่าเรือแห่งนี้อาจปิดตัวลงก็เป็นได้ แต่ตลาดและจะไปเติบโตตรงจุดของสะพานข้ามแม่น้ำโขงแทนที่สิ่งสำคัญที่ชาวเชียงของต้องไม่ลืมนั้น ก็คือการปรับตัว เพราะท่าคือหน้าบ้านที่สำคัญมากแห่งหนึ่ง


ภาพประกอบ : ท่าเรือเชียงของ เดิมมุมมองดาวเทียม Google Earth


ภาพประกอบ : ฝั่งประเทศลาวตรงข้ามท่าเรือเชียงของเดิม มุมมองตากล้องเอง


ภาพประกอบ : ท่าเรือเชียงของ ซ้ายมือคือด่านศุลกากรเดิม จุดนี้จะเป็นจุดต่อรถสองแถว



ภาพประกอบ : ถนนเข้าสู่ตลาดเชียงของมุ่งหน้าไปท่าเรือ

         การเลือกจุดนี้เป็นจุดสร้างสะพานเชื่อมต่อมีผลทำให้ที่ราคาที่ดินจากเดิมนั้นเป็นเพียงไร่ข้าวโพด ไร่ มันสำปะหลังนอกชานเมืองเชียงของ พุงทะยานสูงขึ้นเป็นการเล็งเห็นถึงมูลค่าทางการลงทุนที่จะ ได้รับผลตอบแทนในอนาคต มีห้าง Lotus สร้างใหม่นับเป็นห้างแห่งเดียวในเขตอำเภอเชียงของ และอำเภอใกล้เคียงอย่าง เทิง ซึ่งเท่าที่สังเกตุการตื่นตัวของนายทุนจากที่อื่นจะมีสูงกว่าชาวบ้านทั่วไป ที่เรียกได้ว่า แทบไม่ได้เตรียมพร้อมเพื่อรับกับการเปลี่ยนแปลงเลยก็ว่าได้

         สำหรับเส้นทางสายนี้นอกเหนือจากเหมาะสมด้านการขนส่งแล้วยังเป็นถนนสายการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เพราะผ่านสถานที่ท่องเที่ยวอันสวยงาม ธรรมชาติสมบูรณ์ รวมถึงวิวทิวทัศน์ต่าง ๆ ทำให้มีนักธุรกิจต่างชาติเข้ามาลงทุนในลาว ในด้านโรงแรม รีสอร์ท สนามกอล์ฟ สถานีน้ำมันเชื้องเพลง ร้านอาหาร ถนนเส้นนี้ มีส่วนร่วมกันสามชาติ คือ ไทย ลาว จีน แต่ผู้ร่วมใช้ถนนในระบบโลจิสติคนั้น มากกว่า 3 ชาติแน่นอน ส่วนถนนหมายถเลข 1020 เชียงของ-เทิง ก็กำลังปรับเป็นถนนต่างระดับ ขยายผิวถนนอยู่เพื่อรองรับการเปิดประชาคมเรียกได้ว่าความเจริญ กำลังเบ่งบานสวยงามเลยทีเดียวนอกจากนี้ถนนสายนี้ยังเชื่อมต่อไปถึงมาเลเซียได้อีกด้วย  เส้นทาง R3A เป็นเส้นทางที่ถักเชื่อมร้อยเศรษฐกิจอาเซียนเข้าด้วยกันเป็นเสมือนเส้นเลือดใหญ่เส้นหนึ่งที่ทำให้เศรษฐกิจขับเคลื่อนประสานกันจึงนับว่าเป็นถนนสายสำคัญของ AEC ในอนาคต

***แก้ไขรูปภาพ ถนนสู่ตลาดเชียงของ
***ย่อหน้าแรก
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่