ลองอ่านกันดูครับ
+ + + + +
ทำไมอยู่ๆ ปอท. ก็ออกมาเป็นข่าวเรื่องนี้ อะไรคือมูลเหตุของเรื่องทั้งหมด ???
โดยสรุปสั้นๆ ของเรื่องกรณีการเข้าตรวจสอบการใช้งานแอพแชท Line (อาจรวมถึงแอพอื่นๆ) ของ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ ปอท. นำทีมโดย พล.ต.ต.พิสิษฐ์ เปาอินทร์ ผู้บังคับการ จะเน้นตรวจสอบผู้ที่ใช้โซเชียลมีเดียในทางผิดกฎหมายกระทบต่อความมั่นคง และศีลธรรมอันดี
ทั้งนี้มี 4 กลุ่มประเภทความผิด คือ
1 กลุ่มค้าอาวุธเถื่อน
2 กลุ่มค้ายาเสพติด
3 กลุ่มค้าประเวณี
4 กลุ่มค้าของปลอมและละเมิดลิขสิทธิ์
นั่นคือใจความโดยคร่าวๆ ของการตรวจสอบครั้งนี้ แต่ประเด็นสำคัญคือ สิทธิ์และอำนาจของ ปอท. สามารถดำเนินการอย่างนั้นได้หรือไม่ ซึ่งนักกฎหมายยืนยันว่า ทำไม่ได้ ต้องอาศัยคำสั่งศาลอาญาเท่านั้น ไม่เช่นนั้นมีความผิดตามกฎหมาย
การจะไปขอดูโดยไม่มีคำสั่งศาลนั้นคงไม่ได้แน่นอน จะไปดักข้อมูลก็มีลักษณะเหมือนดักฟังโทรศัพท์ พวกนี้ต้องมีคำสั่งศาลชัดเจนจึงจะทำได้
และมั่นใจได้เลย Line หรือแม้แต่โซเชียลอื่นๆ ไม่เอาด้วยแน่ๆ เพราะเสี่ยงต่อการเป็นข่าวไปทั่วโลกและอาจโดนฟ้องเอาได้ง่ายๆ เพราะต่างประเทศใส่ใจเรื่องสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลมากถึงมากที่สุด
กลับมาคำถามที่ว่า อยู่ๆ ทำไม ปอท. ถึงหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมา ทั้งที่ไม่ได้มีวี่แววว่าจะมีการใช้ Line หรือแอพโซเชียลอื่นใดในทางที่ผิดกฎหมาย
อีกอย่างโดยปกติ ทีมเจ้าหน้าที่ที่ดูแลงานลักษณะนี้ ตรวจสอบ ดักฟัง แอบฟัง มีกันอยู่แล้ว แต่จะทำงานกันเงียบๆ ไม่ออกมาบอกใครต่อใครหรอกว่ากำลังทำงานแบบนี้กันอยู่ (เพราะไม่มีใครชอบให้มาตรวจสอบ และคนตรวจสอบก็คงไม่อยากบอกใคร จริงมั้ย) มีแต่ประเทศไทยนี่แหละที่ประกาศให้โลกรู้กันไปเลยว่า กำลังทำอยู่นะจ๊ะ
จะบอกว่าเป็นการเขียนเสือให้วัวกลัวอย่างนั้นเหรอ เสี่ยงกับการโดนสังคม (โซเชียล) โจมตีกันตลอดทั้งวันแบบนี้ มันคุ้มกันหรือไม่ จะบอกว่า อยากดังก็คงไม่ใช่ เพราะผลงานที่ชัดเจนอะไรก็ยังไม่มี และคงไม่ใช่วิสัยของเจ้าหน้าที่ไทยที่จะอยากดัง (มั้ง)
ลองมามองอีกมุมหนึ่ง การเล่นกับเรื่องของสิทธิเสรีภาพ เป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจอย่างรวดเร็วเสมอในสังคมไทย เพราะหลายคนกลัวการโดนตรวจสอบอยู่แล้ว เป็นไปได้หรือไม่ที่ ประเด็นของ Line ในครั้งนี้ เป็นเพียงเรื่องหลอกๆ ที่ประกาศขึ้นมาเพื่อดึงความสนใจจากเรื่องจริงอีกเรื่องหนึ่ง
แค่คิดก็น่าสนุกแล้ว เพียงแต่เดอะโจ๊กเกอร์ก็ยังไม่รู้ว่า ไอ้เรื่องจริงที่ว่าคืออะไร หรือสุดท้ายอาจไม่มีอะไรในกอไผ่เลยก็เป็นได้
ประเด็นนี้ยังไม่จบ เดี๋ยวมาต่อก๊อก 2
+ + + + +
ที่มา
http://www.itspacebar.com/2013/08/line-crime/
สนใจคลิกไปอ่านกันได้ครับ
มุมมองที่แตกต่าง กรณีการแทรกแซง Line ในไทยของ ปอท.
+ + + + +
ทำไมอยู่ๆ ปอท. ก็ออกมาเป็นข่าวเรื่องนี้ อะไรคือมูลเหตุของเรื่องทั้งหมด ???
โดยสรุปสั้นๆ ของเรื่องกรณีการเข้าตรวจสอบการใช้งานแอพแชท Line (อาจรวมถึงแอพอื่นๆ) ของ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ ปอท. นำทีมโดย พล.ต.ต.พิสิษฐ์ เปาอินทร์ ผู้บังคับการ จะเน้นตรวจสอบผู้ที่ใช้โซเชียลมีเดียในทางผิดกฎหมายกระทบต่อความมั่นคง และศีลธรรมอันดี
ทั้งนี้มี 4 กลุ่มประเภทความผิด คือ
1 กลุ่มค้าอาวุธเถื่อน
2 กลุ่มค้ายาเสพติด
3 กลุ่มค้าประเวณี
4 กลุ่มค้าของปลอมและละเมิดลิขสิทธิ์
นั่นคือใจความโดยคร่าวๆ ของการตรวจสอบครั้งนี้ แต่ประเด็นสำคัญคือ สิทธิ์และอำนาจของ ปอท. สามารถดำเนินการอย่างนั้นได้หรือไม่ ซึ่งนักกฎหมายยืนยันว่า ทำไม่ได้ ต้องอาศัยคำสั่งศาลอาญาเท่านั้น ไม่เช่นนั้นมีความผิดตามกฎหมาย
การจะไปขอดูโดยไม่มีคำสั่งศาลนั้นคงไม่ได้แน่นอน จะไปดักข้อมูลก็มีลักษณะเหมือนดักฟังโทรศัพท์ พวกนี้ต้องมีคำสั่งศาลชัดเจนจึงจะทำได้
และมั่นใจได้เลย Line หรือแม้แต่โซเชียลอื่นๆ ไม่เอาด้วยแน่ๆ เพราะเสี่ยงต่อการเป็นข่าวไปทั่วโลกและอาจโดนฟ้องเอาได้ง่ายๆ เพราะต่างประเทศใส่ใจเรื่องสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลมากถึงมากที่สุด
กลับมาคำถามที่ว่า อยู่ๆ ทำไม ปอท. ถึงหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมา ทั้งที่ไม่ได้มีวี่แววว่าจะมีการใช้ Line หรือแอพโซเชียลอื่นใดในทางที่ผิดกฎหมาย
อีกอย่างโดยปกติ ทีมเจ้าหน้าที่ที่ดูแลงานลักษณะนี้ ตรวจสอบ ดักฟัง แอบฟัง มีกันอยู่แล้ว แต่จะทำงานกันเงียบๆ ไม่ออกมาบอกใครต่อใครหรอกว่ากำลังทำงานแบบนี้กันอยู่ (เพราะไม่มีใครชอบให้มาตรวจสอบ และคนตรวจสอบก็คงไม่อยากบอกใคร จริงมั้ย) มีแต่ประเทศไทยนี่แหละที่ประกาศให้โลกรู้กันไปเลยว่า กำลังทำอยู่นะจ๊ะ
จะบอกว่าเป็นการเขียนเสือให้วัวกลัวอย่างนั้นเหรอ เสี่ยงกับการโดนสังคม (โซเชียล) โจมตีกันตลอดทั้งวันแบบนี้ มันคุ้มกันหรือไม่ จะบอกว่า อยากดังก็คงไม่ใช่ เพราะผลงานที่ชัดเจนอะไรก็ยังไม่มี และคงไม่ใช่วิสัยของเจ้าหน้าที่ไทยที่จะอยากดัง (มั้ง)
ลองมามองอีกมุมหนึ่ง การเล่นกับเรื่องของสิทธิเสรีภาพ เป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจอย่างรวดเร็วเสมอในสังคมไทย เพราะหลายคนกลัวการโดนตรวจสอบอยู่แล้ว เป็นไปได้หรือไม่ที่ ประเด็นของ Line ในครั้งนี้ เป็นเพียงเรื่องหลอกๆ ที่ประกาศขึ้นมาเพื่อดึงความสนใจจากเรื่องจริงอีกเรื่องหนึ่ง
แค่คิดก็น่าสนุกแล้ว เพียงแต่เดอะโจ๊กเกอร์ก็ยังไม่รู้ว่า ไอ้เรื่องจริงที่ว่าคืออะไร หรือสุดท้ายอาจไม่มีอะไรในกอไผ่เลยก็เป็นได้
ประเด็นนี้ยังไม่จบ เดี๋ยวมาต่อก๊อก 2
+ + + + +
ที่มา http://www.itspacebar.com/2013/08/line-crime/
สนใจคลิกไปอ่านกันได้ครับ