เมื่อเด็กมีน้ำมูก ควรใช้ยาลดน้ำมูกในเด็กอย่างไร
ยาลดน้ำมูกในเด็ก
ถาม เมื่อเด็กมีน้ำมูก ควรใช้ยาลดน้ำมูกในเด็กอย่างไร
อาการน้ำมูกไหล คัดจมูก และจาม หรือที่ชาวบ้าน เรียกว่า หวัด พบได้บ่อยในเด็ก เกิดจาก 2 สาเหตุใหญ่ คือ กลุ่มโรคไข้หวัด และกลุ่มโรคภูมิแพ้ในโพรงจมูก
กลุ่มโรคไข้หวัด ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส มักมีอาการไข้ ตัวร้อน ปวดหัว ร่วมกับอาการหวัด คือ อาการน้ำมูกไหล คัดจมูก และจาม ในการรักษาจึงเป็นการรักษาตามอาการพร้อมกับการรักษาร่างกายให้แข็งแรง ไม่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ เนื่องจากยาปฏิชีวนะไม่ได้ผลต่อเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคหวัด
ส่วนกลุ่มโรคภูมิแพ้ในโพรงจมูก เป็นความผิดปกติ ของระบบภูมิคุ้มกันที่มีการตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้ที่มากกว่าปกติ ทำให้มีอาการน้ำมูกไหล คัดจมูก คันจมูกและจาม โดยไม่มีอาการของการติดเชื้อ เช่น ไข้ ตัวร้อน ปวดหัว เป็นต้น ในเด็กโตถ้ามีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล และจาม เพียงเล็กๆ น้อยๆ อาจทำให้เกิดความรำคาญเท่านั้น แต่ในเด็กเล็กเมื่อมีอาการน้ำมูกไหล คัดจมูก และจาม มักเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เด็กหายใจไม่สะดวก ร้องไห้ กวน โยเย นอนไม่หลับ และทำให้ดื่มนมได้น้อยลง
ในการรักษาอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล และจาม มี ทั้งชนิดที่ต้องใช้ยาและชนิดที่ไม่ต้องใช้ยาในการรักษา ยาที่ใช้ในการรักษา
อาการคัดจมูก น้ำมูกไหล และจาม มี 2 กลุ่มใหญ่
1. ยาแก้แพ้ หรือ ยาต้านฮิสตามีน (antihistamines)
2. ยาลดการคั่งของน้ำมูก (decongestants)
ยาแก้แพ้ หรือยาต้านฮิสตามีน (antihistamines)
เป็นยาที่มีการใช้กันมานานแล้ว มีฤทธิ์ทำให้น้ำมูกแห้งแก้คันจมูก คันตา ลมพิษ และอาการแพ้ทางผิวหนัง โดยยารุ่นเก่า เช่น คลอร์เฟนิรามีน (chlorpheniramine) ที่เป็น เม็ดเล็กสีเหลือง เป็นยาที่
ใช้รักษาอาการเหล่านี้ได้ผลดี แต่มีผลทำให้ง่วงนอน จึงไม่เหมาะสำหรับการใช้ในเวลาทำงาน โดยเฉพาะทำงานเครื่องจักรหรือขับขี่รถ เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายได้ แต่เหมาะสำหรับให้กับผู้ป่วยตอนก่อนนอน ที่ต้องการให้ง่วงนอน นอกจากนี้ยากลุ่มนี้ยังมีระยะเวลาการออกฤทธิ์ที่สั้นทำให้ต้องใช้วันละ 3-4 ครั้ง และมีผลข้างเคียงทำให้ปากแห้ง คอแห้ง เสมหะเหนียวข้นมากขึ้นด้วยจึงได้มีการพัฒนายาต้านฮิสตามีนรุ่นใหม่ที่ไม่ทำให้เกิด ผลข้างเคียงเรื่องง่วงนอนเช่นยารุ่นเก่า ทั้งยังออกฤทธิ์ได้นาน ทำให้ใช้ยาเพียงวันละ 1-2 ครั้งเท่านั้น ทำให้สะดวกสบาย ในการใช้ยา โดยไม่ส่งผลกระทบกับการทำงานตามปกติมีการใช้ยากลุ่มนี้กันอย่างแพร่หลายในกลุ่มโรคไข้หวัด และกลุ่มโรคภูมิแพ้ในโพรงจมูก เพื่อบรรเทาอาการน้ำมูกไหลในเด็ก แต่ไม่มีหลักฐานยืนยันว่าได้ผลดีในโรคไข้หวัดในเด็ก ทั้งยังอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง ง่วง ซึม และชักได้ ดังนั้นในเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 1 ขวบ จึงไม่แนะนำให้ใช้ยากลุ่มนี้ และแนะนำให้การดูแลในการกำจัดน้ำมูกออกพร้อมทั้งทำให้โล่งจมูกชนิดอื่นๆ แทนจะปลอดภัยกว่า
ยาลดการคั่งของน้ำมูก (decongestants)
ยากลุ่มนี้มีฤทธิ์ลดการคัดจมูก จึงทำให้โล่งจมูก และยาบางชนิดอาจมีฤทธิ์ขยายหลอดลมด้วย จึงทำให้หายใจสะดวกยิ่งขึ้น ยากลุ่มนี้ที่มีใช้กันมี 2 ชนิด คือ
- ชนิดกิน และชนิดทาภายนอกโดยการเช็ดจมูก
- ยาลดการคั่งของน้ำมูกชนิดกิน เช่น phenylephrine, pseudoephedrine เป็นต้น เป็นยาที่ได้ผลดี ทำให้โล่งจมูก หายใจได้สะดวก แต่ในเด็กบางคนที่ไวต่อยากลุ่มนี้ อาจมีอาการข้างเคียงทำให้หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น ร้องกวน โยเยได้
ยาลดการคั่งของน้ำมูกอีกชนิดหนึ่งเป็นชนิดทาภายนอก เช่น ephedrine เป็นต้น เป็นยาที่ได้ผลดี ทำให้โล่งจมูก หายใจได้สะดวก ถ้าใช้อย่างถูกวิธีและไม่ควร
ใช้ติดต่อกันเกิน 3-5 วัน เพราะถ้าใช้ติดต่อกันนานๆ อาจทำให้เกิดอาการกลับมาคัดจมูกได้ (rebound congestion) อันเนื่องจากอาการข้างเคียงที่เกิดจากการใช้ยานานเกินไป
อนึ่งในเด็กเล็กที่อายุน้อยกว่า 1 ขวบ ไม่ควรใช้ยาในการลดน้ำมูก แก้คัดจมูก ที่เกิดจากกลุ่มโรคไข้หวัด เนื่องจากข้อควรระวังเรื่องผลข้างเคียงของยาดังที่ได้กล่าวมาแล้ว แต่แนะนำให้แก้ไขปัญหาอาการหวัดได้ด้วยการดูแลรักษาเบื้องต้น
การดูแลเบื้องต้นเมื่อเด็กเป็นหวัด คัดจมูก น้ำมูกไหล
1.ถ้าน้ำมูกมาก แนะนำให้ใช้ไม้พันสำลีหรือผ้านุ่มๆ ที่ม้วนปลาย ค่อยๆ สอดเข้าไปในรูจมูก เพื่อซับน้ำมูกออกมา หรือใช้ลูกยางแดง (ที่ดูดน้ำมูกสำหรับเด็ก) ค่อยๆ ดูดน้ำมูก ออกทีละน้อยๆ อย่างสม่ำเสมอ จะช่วยลดการอุดตันของรูจมูก เด็กจะหายใจได้ดีขึ้น ถ้าเป็นเด็กโตก็ควรแนะนำหรือ สอนวิธี การสั่งน้ำมูก เพื่อช่วยให้ทางเดินหายใจในจมูกโล่งดียิ่งขึ้นได้ด้วยตนเอง
2.ถ้ามีการอุดตันของรูจมูก หรือน้ำมูกแห้งกรัง แนะนำให้ใช้ไม้พันสำลีหรือผ้านุ่มๆ ที่ม้วนปลายชุบน้ำเกลือ ร้อยละ 9 (Normal saline solution) เช็ดหรือหยดในรูจมูกให้ชุ่ม แล้วทิ้งไว้สักพัก เพื่อช่วยให้น้ำมูกที่แห้งกรัง ค่อยๆ อ่อนนุ่มลง แล้วจึงใช้ไม้พันสำลีค่อยๆ เช็ดออกไป นอกจากนี้ ควรแนะนำให้เด็กดื่มน้ำมากๆ กินอาหาร ตามปกติ และพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง และสร้างภูมิต้านทานมาต่อสู้กับโรคเหล่านี้ ในเด็กที่มีเคยมีประวัติโรคหืด หูชั้นกลางอักเสบ และไซนัสอักเสบ ควรระวังมากขึ้นเมื่อเป็นหวัด เพราะอาจทำให้กลับมาเป็นโรคเหล่านี้ได้อีกหรือทำให้โรคลุกลามรุนแรงมากขึ้น
หากท่านมีข้อสงสัยเกี่ยวข้องกับเรื่องยาลดน้ำมูก หรือการดูแลโรคหวัดในเด็กควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรชุมชน (ที่ประจำอยู่ที่ร้านยา) ที่พร้อมให้คำปรึกษาในเรื่องสุขภาพทุกด้านแก่ท่าน
ภก.วิรัตน์ ทองรอด
การให้ยาลดน้ำมูกในเด็กเล็ก
ยาลดน้ำมูกในเด็ก
ถาม เมื่อเด็กมีน้ำมูก ควรใช้ยาลดน้ำมูกในเด็กอย่างไร
อาการน้ำมูกไหล คัดจมูก และจาม หรือที่ชาวบ้าน เรียกว่า หวัด พบได้บ่อยในเด็ก เกิดจาก 2 สาเหตุใหญ่ คือ กลุ่มโรคไข้หวัด และกลุ่มโรคภูมิแพ้ในโพรงจมูก
กลุ่มโรคไข้หวัด ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส มักมีอาการไข้ ตัวร้อน ปวดหัว ร่วมกับอาการหวัด คือ อาการน้ำมูกไหล คัดจมูก และจาม ในการรักษาจึงเป็นการรักษาตามอาการพร้อมกับการรักษาร่างกายให้แข็งแรง ไม่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ เนื่องจากยาปฏิชีวนะไม่ได้ผลต่อเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคหวัด
ส่วนกลุ่มโรคภูมิแพ้ในโพรงจมูก เป็นความผิดปกติ ของระบบภูมิคุ้มกันที่มีการตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้ที่มากกว่าปกติ ทำให้มีอาการน้ำมูกไหล คัดจมูก คันจมูกและจาม โดยไม่มีอาการของการติดเชื้อ เช่น ไข้ ตัวร้อน ปวดหัว เป็นต้น ในเด็กโตถ้ามีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล และจาม เพียงเล็กๆ น้อยๆ อาจทำให้เกิดความรำคาญเท่านั้น แต่ในเด็กเล็กเมื่อมีอาการน้ำมูกไหล คัดจมูก และจาม มักเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เด็กหายใจไม่สะดวก ร้องไห้ กวน โยเย นอนไม่หลับ และทำให้ดื่มนมได้น้อยลง
ในการรักษาอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล และจาม มี ทั้งชนิดที่ต้องใช้ยาและชนิดที่ไม่ต้องใช้ยาในการรักษา ยาที่ใช้ในการรักษา
อาการคัดจมูก น้ำมูกไหล และจาม มี 2 กลุ่มใหญ่
1. ยาแก้แพ้ หรือ ยาต้านฮิสตามีน (antihistamines)
2. ยาลดการคั่งของน้ำมูก (decongestants)
ยาแก้แพ้ หรือยาต้านฮิสตามีน (antihistamines)
เป็นยาที่มีการใช้กันมานานแล้ว มีฤทธิ์ทำให้น้ำมูกแห้งแก้คันจมูก คันตา ลมพิษ และอาการแพ้ทางผิวหนัง โดยยารุ่นเก่า เช่น คลอร์เฟนิรามีน (chlorpheniramine) ที่เป็น เม็ดเล็กสีเหลือง เป็นยาที่
ใช้รักษาอาการเหล่านี้ได้ผลดี แต่มีผลทำให้ง่วงนอน จึงไม่เหมาะสำหรับการใช้ในเวลาทำงาน โดยเฉพาะทำงานเครื่องจักรหรือขับขี่รถ เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายได้ แต่เหมาะสำหรับให้กับผู้ป่วยตอนก่อนนอน ที่ต้องการให้ง่วงนอน นอกจากนี้ยากลุ่มนี้ยังมีระยะเวลาการออกฤทธิ์ที่สั้นทำให้ต้องใช้วันละ 3-4 ครั้ง และมีผลข้างเคียงทำให้ปากแห้ง คอแห้ง เสมหะเหนียวข้นมากขึ้นด้วยจึงได้มีการพัฒนายาต้านฮิสตามีนรุ่นใหม่ที่ไม่ทำให้เกิด ผลข้างเคียงเรื่องง่วงนอนเช่นยารุ่นเก่า ทั้งยังออกฤทธิ์ได้นาน ทำให้ใช้ยาเพียงวันละ 1-2 ครั้งเท่านั้น ทำให้สะดวกสบาย ในการใช้ยา โดยไม่ส่งผลกระทบกับการทำงานตามปกติมีการใช้ยากลุ่มนี้กันอย่างแพร่หลายในกลุ่มโรคไข้หวัด และกลุ่มโรคภูมิแพ้ในโพรงจมูก เพื่อบรรเทาอาการน้ำมูกไหลในเด็ก แต่ไม่มีหลักฐานยืนยันว่าได้ผลดีในโรคไข้หวัดในเด็ก ทั้งยังอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง ง่วง ซึม และชักได้ ดังนั้นในเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 1 ขวบ จึงไม่แนะนำให้ใช้ยากลุ่มนี้ และแนะนำให้การดูแลในการกำจัดน้ำมูกออกพร้อมทั้งทำให้โล่งจมูกชนิดอื่นๆ แทนจะปลอดภัยกว่า
ยาลดการคั่งของน้ำมูก (decongestants)
ยากลุ่มนี้มีฤทธิ์ลดการคัดจมูก จึงทำให้โล่งจมูก และยาบางชนิดอาจมีฤทธิ์ขยายหลอดลมด้วย จึงทำให้หายใจสะดวกยิ่งขึ้น ยากลุ่มนี้ที่มีใช้กันมี 2 ชนิด คือ
- ชนิดกิน และชนิดทาภายนอกโดยการเช็ดจมูก
- ยาลดการคั่งของน้ำมูกชนิดกิน เช่น phenylephrine, pseudoephedrine เป็นต้น เป็นยาที่ได้ผลดี ทำให้โล่งจมูก หายใจได้สะดวก แต่ในเด็กบางคนที่ไวต่อยากลุ่มนี้ อาจมีอาการข้างเคียงทำให้หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น ร้องกวน โยเยได้
ยาลดการคั่งของน้ำมูกอีกชนิดหนึ่งเป็นชนิดทาภายนอก เช่น ephedrine เป็นต้น เป็นยาที่ได้ผลดี ทำให้โล่งจมูก หายใจได้สะดวก ถ้าใช้อย่างถูกวิธีและไม่ควร
ใช้ติดต่อกันเกิน 3-5 วัน เพราะถ้าใช้ติดต่อกันนานๆ อาจทำให้เกิดอาการกลับมาคัดจมูกได้ (rebound congestion) อันเนื่องจากอาการข้างเคียงที่เกิดจากการใช้ยานานเกินไป
อนึ่งในเด็กเล็กที่อายุน้อยกว่า 1 ขวบ ไม่ควรใช้ยาในการลดน้ำมูก แก้คัดจมูก ที่เกิดจากกลุ่มโรคไข้หวัด เนื่องจากข้อควรระวังเรื่องผลข้างเคียงของยาดังที่ได้กล่าวมาแล้ว แต่แนะนำให้แก้ไขปัญหาอาการหวัดได้ด้วยการดูแลรักษาเบื้องต้น
การดูแลเบื้องต้นเมื่อเด็กเป็นหวัด คัดจมูก น้ำมูกไหล
1.ถ้าน้ำมูกมาก แนะนำให้ใช้ไม้พันสำลีหรือผ้านุ่มๆ ที่ม้วนปลาย ค่อยๆ สอดเข้าไปในรูจมูก เพื่อซับน้ำมูกออกมา หรือใช้ลูกยางแดง (ที่ดูดน้ำมูกสำหรับเด็ก) ค่อยๆ ดูดน้ำมูก ออกทีละน้อยๆ อย่างสม่ำเสมอ จะช่วยลดการอุดตันของรูจมูก เด็กจะหายใจได้ดีขึ้น ถ้าเป็นเด็กโตก็ควรแนะนำหรือ สอนวิธี การสั่งน้ำมูก เพื่อช่วยให้ทางเดินหายใจในจมูกโล่งดียิ่งขึ้นได้ด้วยตนเอง
2.ถ้ามีการอุดตันของรูจมูก หรือน้ำมูกแห้งกรัง แนะนำให้ใช้ไม้พันสำลีหรือผ้านุ่มๆ ที่ม้วนปลายชุบน้ำเกลือ ร้อยละ 9 (Normal saline solution) เช็ดหรือหยดในรูจมูกให้ชุ่ม แล้วทิ้งไว้สักพัก เพื่อช่วยให้น้ำมูกที่แห้งกรัง ค่อยๆ อ่อนนุ่มลง แล้วจึงใช้ไม้พันสำลีค่อยๆ เช็ดออกไป นอกจากนี้ ควรแนะนำให้เด็กดื่มน้ำมากๆ กินอาหาร ตามปกติ และพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง และสร้างภูมิต้านทานมาต่อสู้กับโรคเหล่านี้ ในเด็กที่มีเคยมีประวัติโรคหืด หูชั้นกลางอักเสบ และไซนัสอักเสบ ควรระวังมากขึ้นเมื่อเป็นหวัด เพราะอาจทำให้กลับมาเป็นโรคเหล่านี้ได้อีกหรือทำให้โรคลุกลามรุนแรงมากขึ้น
หากท่านมีข้อสงสัยเกี่ยวข้องกับเรื่องยาลดน้ำมูก หรือการดูแลโรคหวัดในเด็กควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรชุมชน (ที่ประจำอยู่ที่ร้านยา) ที่พร้อมให้คำปรึกษาในเรื่องสุขภาพทุกด้านแก่ท่าน
ภก.วิรัตน์ ทองรอด