การเชิญคนมากล่าวสุนทรพจน์ให้กับบัณฑิตจบใหม่ในวันรับปริญญาเป็นประเพณีประจำมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาที่ทำกันมาช้านาน ผู้ที่ได้รับเชิญมากล่าวสุนทรพจน์มักเป็น “คนนอก” ผู้มีชื่อเสียงในหลากหลายวงการ เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในหมู่นักศึกษา หรือไม่ก็เป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัย “คนใน” ผู้เป็นที่เคารพรักของนักเรียน
สุนทรพจน์วันรับปริญญาอาจเป็นทั้ง “ปัจฉิมกถา” ปิดท้ายชีวิตนึกศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัย และเป็น “ปฐมกถา” ต้อนรับบัณฑิตใหม่เข้าสู่โลกภายนอก
สำหรับนักศึกษาในมหาวิทยาลัยอเมริกัน วันรับปริญญาอาจมีความหมายพิเศษกว่าวันรับปริญญาในบางประเทศ เพราะมหาวิทยาลัยอเมริกันจำนวนมากโดยเฉพาะมหาวิทยาลัยดังๆ เป็นแหล่งรวบรวมนักเรียนจากทั่วทุกสารทิศในประเทศ และนักเรียนนานาชาติอีกจำนวนไม่น้อย
นักเรียนส่วนใหญ่หอบสัมภาระ เดินทางไกลจากบ้านนับพันนับหมื่นกิโลเมตร มาใช้ชีวิตไกลบ้านสี่ปีต้องเรียนรู้ทั้งวิชาและนิสัยใจคอของคนต่างเชื้อชาติต่างภาษา หลังจากเรียนจบ นักเรียนเหล่านี้ก็จะแยกย้ายกันไปทำงาน ทางใครทางมัน จะกลับมาเจอกันก็นานๆ ครั้งในงานเลี้ยงรุ่นเท่านั้น
วันรับปริญญาจึงเป็นวันสุดท้ายที่นักศึกษาปีสี่จะได้อยู่กันอย่างพร้อมหน้าพร้อมตา เป็นวันสุดท้ายของช่วงเวลาอันคุ้นเคย วันพรุ่งนี้จะเป็นวันเริ่มต้น “ชีวิตใหม่” อันเต็มไปด้วยคนแปลกหน้าอย่างแท้จริง
ด้วยเหตุนี้กระมัง ผู้กล่าวสุนทรพจน์จำนวนไม่น้อยจึงเน้นเนื้อหาไปที่การให้คำแนะนำบัณฑิตจบใหม่เกี่ยวกับวิธีบริหารจัดการ “ชีวิตใหม่” ที่พวกเขายังมองไม่เห็นอย่างถนัดชัดเจนนัก
หนังสือเล่มนี้รวบรวมบทแปลสุนทรพจน์วันรับปริญญาที่ผู้แปลคิดว่า “กินใจ” ผู้อ่าน สร้างแรงบันดาลใจให้กับฟัง และมี “ความเป็นสากล” สูงพอที่จะเป็นประโยชน์สำหรับทั้งนักศึกษาและผู้อ่านชาวไทยโดยทั่วไป
สิ่งหนึ่งที่ผู้แปลคิดว่าน่าสนใจคือ ผู้กล่าวสุนทรพจน์ทั้งสิบคนที่รวบรวมไว้ในเล่มนี้ไม่ได้สอน “สูตรสำเร็จ” ของความสำเร็จให้กับนักศึกษา หลายคนเล่าถึงความล้มเหลวของพวกเขาอย่างสนุกสนานด้วยซ้ำไป.....
[CR] แนะนำหนังสือ วิชาสุดท้าย ที่มหาวิทยาลัยไม่ได้สอน ฉบับสมบูรณ์
สุนทรพจน์วันรับปริญญาอาจเป็นทั้ง “ปัจฉิมกถา” ปิดท้ายชีวิตนึกศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัย และเป็น “ปฐมกถา” ต้อนรับบัณฑิตใหม่เข้าสู่โลกภายนอก
สำหรับนักศึกษาในมหาวิทยาลัยอเมริกัน วันรับปริญญาอาจมีความหมายพิเศษกว่าวันรับปริญญาในบางประเทศ เพราะมหาวิทยาลัยอเมริกันจำนวนมากโดยเฉพาะมหาวิทยาลัยดังๆ เป็นแหล่งรวบรวมนักเรียนจากทั่วทุกสารทิศในประเทศ และนักเรียนนานาชาติอีกจำนวนไม่น้อย
นักเรียนส่วนใหญ่หอบสัมภาระ เดินทางไกลจากบ้านนับพันนับหมื่นกิโลเมตร มาใช้ชีวิตไกลบ้านสี่ปีต้องเรียนรู้ทั้งวิชาและนิสัยใจคอของคนต่างเชื้อชาติต่างภาษา หลังจากเรียนจบ นักเรียนเหล่านี้ก็จะแยกย้ายกันไปทำงาน ทางใครทางมัน จะกลับมาเจอกันก็นานๆ ครั้งในงานเลี้ยงรุ่นเท่านั้น
วันรับปริญญาจึงเป็นวันสุดท้ายที่นักศึกษาปีสี่จะได้อยู่กันอย่างพร้อมหน้าพร้อมตา เป็นวันสุดท้ายของช่วงเวลาอันคุ้นเคย วันพรุ่งนี้จะเป็นวันเริ่มต้น “ชีวิตใหม่” อันเต็มไปด้วยคนแปลกหน้าอย่างแท้จริง
ด้วยเหตุนี้กระมัง ผู้กล่าวสุนทรพจน์จำนวนไม่น้อยจึงเน้นเนื้อหาไปที่การให้คำแนะนำบัณฑิตจบใหม่เกี่ยวกับวิธีบริหารจัดการ “ชีวิตใหม่” ที่พวกเขายังมองไม่เห็นอย่างถนัดชัดเจนนัก
หนังสือเล่มนี้รวบรวมบทแปลสุนทรพจน์วันรับปริญญาที่ผู้แปลคิดว่า “กินใจ” ผู้อ่าน สร้างแรงบันดาลใจให้กับฟัง และมี “ความเป็นสากล” สูงพอที่จะเป็นประโยชน์สำหรับทั้งนักศึกษาและผู้อ่านชาวไทยโดยทั่วไป
สิ่งหนึ่งที่ผู้แปลคิดว่าน่าสนใจคือ ผู้กล่าวสุนทรพจน์ทั้งสิบคนที่รวบรวมไว้ในเล่มนี้ไม่ได้สอน “สูตรสำเร็จ” ของความสำเร็จให้กับนักศึกษา หลายคนเล่าถึงความล้มเหลวของพวกเขาอย่างสนุกสนานด้วยซ้ำไป.....