ครูพีท อยากจะฝากไปถึงครู สพฐ.ทั่วประเทศนะครับ
บรรดาโครงการต่างๆ ของ สพฐ. ที่ร่วมกับวัดพระธรรมกายนั้น ผมเห็นโดยส่วนตัวว่า "ดี" หากมุ่งเน้นไปเพื่อการพัฒนาครู ซึ่งจะส่งผลไปที่การพัฒนา "นักเรียน" และ "สังคม" จะได้รับการพัฒนาไปในทิศทางที่ดีในที่สุด การสัมมนาอบรมเชิงปฏิบัติธรรมนั้น เป็นสิ่งที่ดี มีประโยชน์ ครูได้อยู่กับตนเอง สวดมนต์ รักษาอุโบสถศีล ปฏิบัติธรรม อันเป็นกุศลกรรมบถ
แต่... ครูพีทไม่เห็นด้วยกับการ "บังคับ" ให้ครูใต้บังคับบัญชาของ สพฐ. ต้องไปอบรม ไปปฏิบัติธรรม ที่สาขาของวัดพระธรรมกายเพียงแห่งเดียว สพฐ. อาจจะให้นโยบายบรรดาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาไปว่า "ครูปฏิบัติธรรมที่ใด แนวใด ก็ได้" โดยไม่ต้องบังคับให้ไปเฉพาะของวัดพระธรรมกาย และ สพฐ. เองก็ไม่ควรผูกขาดกับวัดพระธรรมกายมากจนเกินไปขนาดนี้
สำหรับครูที่ถูกผู้บังคับบัญชา "บังคับ" ให้ไปโครงการนี้ ก็ไม่ต้องถึงกับเปลี่ยนศาสนาหนี หรือแจ้งทำบัตรประชาชนใหม่ว่าไม่มีศาสนา หรือพาลเกลียดวัดพระธรรมกายไปนะครับ ครูพีทขอเสนอแนวทางที่พอจะได้ประโยชน์ด้วย ดังนี้
๑. คุณครูก็คิดเสียว่า มีเวลาได้ไปถือศีล ปฏิบัติธรรม และอบรมพัฒนาศักยภาพของตนเองไปด้วย
๒. เมื่อคุณครูไปร่วมกิจกรรมขององค์กรวัดพระธรรมกาย คุณครูอาจจะต้องใช้วิจารณญาณมากพอสมควร หากคุณครูท่านใดมีภูมิรู้ภูมิธรรมบ้างแล้วพอสมควร ก็สามารถแยกแยะอะไรได้พอสมควร เอาตัวรอดได้ก็ดีไป แต่คุณครูที่ไม่ค่อยได้ศึกษาคำสอนทางพระพุทธศาสนา ก็ฟังๆ ไป แล้วกลับมาค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมก็ได้ครับ เพียงแต่ว่า ใช้หลัก "กาลามสูตร" ไม่เชื่ออะไรไปในทันทีที่รับฟังมาเท่านั้น
๓. กอบโกยความรู้ เก็บข้อมูลให้เต็มที่ เพื่อพัฒนาตนเองครับ เลือกเก็บแต่สิ่งที่ดี
๔. อย่าเพิ่งแอนตี้ อย่าเพิ่งต่อต้าน ฟังไว้นิ่งๆ สงบๆ อย่างบัณฑิตนักปราชญ์ แล้วกลับมาก็หาข้อมูลเพิ่มเติม จากทั้งข้อมูลของวัดพระธรรมกาย และของทั้งฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย เพื่อวิเคราะห์วิจัยวิจารณ์ตามเหตุผลด้วยดีครับ
และฝากไปถึงผู้มีบทบาทหน้าที่สำคัญ ทั้งทางสายบังคับบัญชากระทรวงศึกษาธิการ สพฐ. หรือแม้แต่บุคลากรฝ่ายนโยบายของวัดพระธรรมกายก็ดี ก็ควรคำนึงด้วยครับว่า
เรื่องความเชื่อ เรื่องศาสนาและเรื่องการเมือง มัน "บังคับกันไม่ได้" แม้ว่าโครงการต่างๆ เหล่านี้วัดพระธรรมกายจะดูแลค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด (หรือไม่หมดไม่ทราบ ครูพีทไม่มีข้อมูล) งบกระทรวงศึกษาธิการก็มีมากพอที่จะจัดอบรมครูในสำนักปฏิบัติธรรมแห่งอื่น หรือสถานที่อื่น โดยไม่ต้องอุดหนุนวัดพระธรรมกายแต่ฝ่ายเดียว
เพื่อให้ครูไม่ปิดใจ ไม่ต่อต้าน ไม่พาลเกลียดพระพุทธศาสนา และรัฐบาล กระทรวงศึกษาฯ สพฐ. ควรจำไว้ด้วยครับว่า
เรื่องความเชื่อ เรื่องศาสนาและเรื่องการเมือง มัน "บังคับกันไม่ได้"
ด้วยความเคารพ
ครูพีท
๘ สิงหาคม ๒๕๕๖
เวลา ๑๙.๐๕ น.
ฝากไปถึงครู สพฐ.ทั่วประเทศ เรื่องการอบรมกับวัดพระธรรมกาย
บรรดาโครงการต่างๆ ของ สพฐ. ที่ร่วมกับวัดพระธรรมกายนั้น ผมเห็นโดยส่วนตัวว่า "ดี" หากมุ่งเน้นไปเพื่อการพัฒนาครู ซึ่งจะส่งผลไปที่การพัฒนา "นักเรียน" และ "สังคม" จะได้รับการพัฒนาไปในทิศทางที่ดีในที่สุด การสัมมนาอบรมเชิงปฏิบัติธรรมนั้น เป็นสิ่งที่ดี มีประโยชน์ ครูได้อยู่กับตนเอง สวดมนต์ รักษาอุโบสถศีล ปฏิบัติธรรม อันเป็นกุศลกรรมบถ
แต่... ครูพีทไม่เห็นด้วยกับการ "บังคับ" ให้ครูใต้บังคับบัญชาของ สพฐ. ต้องไปอบรม ไปปฏิบัติธรรม ที่สาขาของวัดพระธรรมกายเพียงแห่งเดียว สพฐ. อาจจะให้นโยบายบรรดาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาไปว่า "ครูปฏิบัติธรรมที่ใด แนวใด ก็ได้" โดยไม่ต้องบังคับให้ไปเฉพาะของวัดพระธรรมกาย และ สพฐ. เองก็ไม่ควรผูกขาดกับวัดพระธรรมกายมากจนเกินไปขนาดนี้
สำหรับครูที่ถูกผู้บังคับบัญชา "บังคับ" ให้ไปโครงการนี้ ก็ไม่ต้องถึงกับเปลี่ยนศาสนาหนี หรือแจ้งทำบัตรประชาชนใหม่ว่าไม่มีศาสนา หรือพาลเกลียดวัดพระธรรมกายไปนะครับ ครูพีทขอเสนอแนวทางที่พอจะได้ประโยชน์ด้วย ดังนี้
๑. คุณครูก็คิดเสียว่า มีเวลาได้ไปถือศีล ปฏิบัติธรรม และอบรมพัฒนาศักยภาพของตนเองไปด้วย
๒. เมื่อคุณครูไปร่วมกิจกรรมขององค์กรวัดพระธรรมกาย คุณครูอาจจะต้องใช้วิจารณญาณมากพอสมควร หากคุณครูท่านใดมีภูมิรู้ภูมิธรรมบ้างแล้วพอสมควร ก็สามารถแยกแยะอะไรได้พอสมควร เอาตัวรอดได้ก็ดีไป แต่คุณครูที่ไม่ค่อยได้ศึกษาคำสอนทางพระพุทธศาสนา ก็ฟังๆ ไป แล้วกลับมาค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมก็ได้ครับ เพียงแต่ว่า ใช้หลัก "กาลามสูตร" ไม่เชื่ออะไรไปในทันทีที่รับฟังมาเท่านั้น
๓. กอบโกยความรู้ เก็บข้อมูลให้เต็มที่ เพื่อพัฒนาตนเองครับ เลือกเก็บแต่สิ่งที่ดี
๔. อย่าเพิ่งแอนตี้ อย่าเพิ่งต่อต้าน ฟังไว้นิ่งๆ สงบๆ อย่างบัณฑิตนักปราชญ์ แล้วกลับมาก็หาข้อมูลเพิ่มเติม จากทั้งข้อมูลของวัดพระธรรมกาย และของทั้งฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย เพื่อวิเคราะห์วิจัยวิจารณ์ตามเหตุผลด้วยดีครับ
และฝากไปถึงผู้มีบทบาทหน้าที่สำคัญ ทั้งทางสายบังคับบัญชากระทรวงศึกษาธิการ สพฐ. หรือแม้แต่บุคลากรฝ่ายนโยบายของวัดพระธรรมกายก็ดี ก็ควรคำนึงด้วยครับว่า เรื่องความเชื่อ เรื่องศาสนาและเรื่องการเมือง มัน "บังคับกันไม่ได้" แม้ว่าโครงการต่างๆ เหล่านี้วัดพระธรรมกายจะดูแลค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด (หรือไม่หมดไม่ทราบ ครูพีทไม่มีข้อมูล) งบกระทรวงศึกษาธิการก็มีมากพอที่จะจัดอบรมครูในสำนักปฏิบัติธรรมแห่งอื่น หรือสถานที่อื่น โดยไม่ต้องอุดหนุนวัดพระธรรมกายแต่ฝ่ายเดียว
เพื่อให้ครูไม่ปิดใจ ไม่ต่อต้าน ไม่พาลเกลียดพระพุทธศาสนา และรัฐบาล กระทรวงศึกษาฯ สพฐ. ควรจำไว้ด้วยครับว่า
เรื่องความเชื่อ เรื่องศาสนาและเรื่องการเมือง มัน "บังคับกันไม่ได้"
ด้วยความเคารพ
ครูพีท
๘ สิงหาคม ๒๕๕๖
เวลา ๑๙.๐๕ น.