***สวัสดีครับเพื่อนๆชาวพันทิปที่เคารพรักทุกท่าน***
เมื่อเร็วๆนี้ผมได้มีโอกาสอ่านหนังสือในชุด "พ่อรวยสอนลูก" ของคุณ "โรเบิร์ต ที. คิโยซากิ" ไปหลายเล่มครับ โดยเฉพาะเล่มที่โด่งดังที่สุดของเขานั่นคือ "พ่อรวยสอนลูก" และ "เงินสี่ด้าน" ที่หลายคนต่างรู้จักกันดี ซึ่งในหนังสือทั้งสองนั้นต่างบอกให้เราทำลายความเชื่อที่เคยเรียนรู้กันมาด้วยคำสอน ข้อคิด และประโยคเด็ดๆหลายอย่างอาทิเช่น "บ้านไม่ใช่ทรัพย์สินแต่เป็นหนี้สิน" "คนจนทำงานเพื่อเงินแต่คนรวยใช้เงินทำงาน" "การกระจายความเสี่ยงเป็นสิ่งไม่ดี" "ตาราง E S B I" "เกมส์กระแสเงินสด" "สนามแข่งหนู" ฯลฯ
ผมเองพออ่านจบแล้วก็มีความคิดในมุมหนึ่งว่าคำแนะนำของเขาช่วยเปิดประสบการณ์ใหม่ๆในเรื่องของการลงทุนได้ แต่ในอีกแง่หนึ่งก็มาคิดทบทวนว่าไอ้เรื่องที่เขาแนะนำนั้นมันจะทำได้จริงๆหรือเปล่า? ยกตัวอย่างคือเรื่องที่เขาเน้นย้ำตลอดเลยคือ "บ้านไม่ใช่ทรัพย์สิน" เพราะเราทุกคนต่างถูกปลูกฝังกันมาด้วยความเชื่อที่ว่าการมีบ้านมีที่ดินนั้นเป็นการถือครองทรัพย์สินที่จะทวีมูลค่าเพิ่มขึ้นในระยะยาวเพราะที่ดินกับบ้านนั้นยิ่งเวลาผ่านไปจะยิ่งมีราคาสูงขึ้น
อีกทั้งเมื่อลองศึกษาข้อมูลให้มากขึ้นผมกลับสงสัยว่า "พ่อรวย" ที่เขานำมาอ้างในหนังสือเหล่านั้นมีตัวตนจริงหรือไม่และเป็นใคร ทำอาชีพอะไร และประสบความสำเร็จมากมายขนาดไหน หรือแท้ที่จริงแล้ว "พ่อรวย" อาจจะเป็นเพียงตัวละครสมมุติที่ถูกอุปโลกน์เพื่อใช้เสริมความน่าสนใจในงานเขียนของเขากันแน่ และถ้าเป็นเช่นนั้นจริงก็น่าสนใจว่าคำแนะนำของเขานั้นสามารถเอาไปใช้ได้จริงทุกเรื่องหรือไม่ เพราะดูแล้วคำแนะนำหลายเรื่องของเขาก็อาจจะต้องปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับสถาพเศรษฐกิจ กฏหมาย และวัฒนธรรมของแต่ละท้องที่นั้นๆมากกว่าครับ
ป.ล. เรื่องที่เขาปล่อยให้บริษัทหนึ่งของตนเองล้มไปนั้นผมทราบแล้วนะครับ และพอจะมองออกว่ามันเป็นกลยุทธ์หนึ่งที่เขานำมาใช้เพื่อหวังตัดขาดกับบริษัทผู้ดูแล แม้โดยส่วนตัวแล้วผมจะไม่ชอบวิธีดังกล่าวที่เขาทำเลยก็ตามที
(May the Spoil be with you)
ขอสปอยล์จงสถิตย์อยู่กับท่าน
***คิดว่าคำแนะนำของผู้เขียน "พ่อรวยสอนลูก" เชื่อถือได้หรือไม่ครับ กับคำกล่าวที่บอกว่า บ้านไม่ใช่สินทรัพย์ ฯลฯ*
เมื่อเร็วๆนี้ผมได้มีโอกาสอ่านหนังสือในชุด "พ่อรวยสอนลูก" ของคุณ "โรเบิร์ต ที. คิโยซากิ" ไปหลายเล่มครับ โดยเฉพาะเล่มที่โด่งดังที่สุดของเขานั่นคือ "พ่อรวยสอนลูก" และ "เงินสี่ด้าน" ที่หลายคนต่างรู้จักกันดี ซึ่งในหนังสือทั้งสองนั้นต่างบอกให้เราทำลายความเชื่อที่เคยเรียนรู้กันมาด้วยคำสอน ข้อคิด และประโยคเด็ดๆหลายอย่างอาทิเช่น "บ้านไม่ใช่ทรัพย์สินแต่เป็นหนี้สิน" "คนจนทำงานเพื่อเงินแต่คนรวยใช้เงินทำงาน" "การกระจายความเสี่ยงเป็นสิ่งไม่ดี" "ตาราง E S B I" "เกมส์กระแสเงินสด" "สนามแข่งหนู" ฯลฯ
ผมเองพออ่านจบแล้วก็มีความคิดในมุมหนึ่งว่าคำแนะนำของเขาช่วยเปิดประสบการณ์ใหม่ๆในเรื่องของการลงทุนได้ แต่ในอีกแง่หนึ่งก็มาคิดทบทวนว่าไอ้เรื่องที่เขาแนะนำนั้นมันจะทำได้จริงๆหรือเปล่า? ยกตัวอย่างคือเรื่องที่เขาเน้นย้ำตลอดเลยคือ "บ้านไม่ใช่ทรัพย์สิน" เพราะเราทุกคนต่างถูกปลูกฝังกันมาด้วยความเชื่อที่ว่าการมีบ้านมีที่ดินนั้นเป็นการถือครองทรัพย์สินที่จะทวีมูลค่าเพิ่มขึ้นในระยะยาวเพราะที่ดินกับบ้านนั้นยิ่งเวลาผ่านไปจะยิ่งมีราคาสูงขึ้น
อีกทั้งเมื่อลองศึกษาข้อมูลให้มากขึ้นผมกลับสงสัยว่า "พ่อรวย" ที่เขานำมาอ้างในหนังสือเหล่านั้นมีตัวตนจริงหรือไม่และเป็นใคร ทำอาชีพอะไร และประสบความสำเร็จมากมายขนาดไหน หรือแท้ที่จริงแล้ว "พ่อรวย" อาจจะเป็นเพียงตัวละครสมมุติที่ถูกอุปโลกน์เพื่อใช้เสริมความน่าสนใจในงานเขียนของเขากันแน่ และถ้าเป็นเช่นนั้นจริงก็น่าสนใจว่าคำแนะนำของเขานั้นสามารถเอาไปใช้ได้จริงทุกเรื่องหรือไม่ เพราะดูแล้วคำแนะนำหลายเรื่องของเขาก็อาจจะต้องปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับสถาพเศรษฐกิจ กฏหมาย และวัฒนธรรมของแต่ละท้องที่นั้นๆมากกว่าครับ
ป.ล. เรื่องที่เขาปล่อยให้บริษัทหนึ่งของตนเองล้มไปนั้นผมทราบแล้วนะครับ และพอจะมองออกว่ามันเป็นกลยุทธ์หนึ่งที่เขานำมาใช้เพื่อหวังตัดขาดกับบริษัทผู้ดูแล แม้โดยส่วนตัวแล้วผมจะไม่ชอบวิธีดังกล่าวที่เขาทำเลยก็ตามที
(May the Spoil be with you)
ขอสปอยล์จงสถิตย์อยู่กับท่าน