ผมหมายความตามหัวกระทู้จริงๆนะ คือไม่จำเป็นหรอกครับที่เป็นคนไทยแล้วต้องใช้แต่ ปตท น่ะ เพราะถ้าใช้ตรรกะนี้จริง
โทรทัศน์สียี่ห้อธานินทร์ ก็คงไม่เจ๊งหรอกจริงไหม (แหมบอกถึงความแก่กันเลยทีเดียวเชียว รู้จักยี่ห้อ
"ธานินทร์-THANIN" ด้วยวุ้ย)
เท่าที่จับความรู้สึกคนไม่เติมที่ประกาศตัวโต้งๆว่า
"ไม่เติม ปตท / แวะขี้แวะเยี่ยวต้อง ปตท / พักรถ ซื้อของกิน ต้อง ปตท / บลาๆๆๆ" ผมว่าเหตุผลหลักคือ
"ความเกลียด" ครับ ผมเอ็งก็ไม่รู้ว่าเกลียดอะไรกันหนักหนากับ ปตท นะ
ที่มาตั้งกระทู้ก็
ไม่ได้จะมาชวนให้รัก ปตท แต่อย่างใด เพราะโดยส่วนตัวผมเองก็ไม่ใคร่จะชอบอุดหนุนอะไรของสินค้าผู้เป็นแบรนด์อันดับ 1 ในตลาด (market share) สักเท่าไร แบบว่าเป็นคนชอบมวยรองอ่ะ
ที่มาตั้งกระทู้นี่เหตุผลหลักของผมเลยคือ
มาปรับแก้ความเข้าใจผิดของบางท่าน เกี่ยวกับเรื่องไม่เติมน้ำมัน ปตท นี่ล่ะ จากที่อ่านเหตุผลของหลายๆท่านที่ไม่เติม ผมว่าท่านยังมีความเข้าใจที่ผิดกันอยู่พอสมควรครับ อ่านจบแล้วก็หวังว่าจะเอาไปปรับแก้ความเข้าใจผิดเหล่านั้น ส่วนจะแค่แวะขี้ แวะเยี่ยว แวะซื้อของกิน ปั๊ม ปตท เหมือนเดิม เชิญตามสบายครับ
สิ่งแรกที่ผมอยากให้ทำความเข้าใจ คือ อยากให้ท่าน
แยกความแตกต่างให้ได้ก่อนระหว่าง ธุรกิจโรงกลั่น กับ ธุรกิจผู้ค้าปลีกน้ำมัน สองรายนี้ถึงจะชื่อเดียวกัน แต่ถ้าว่ากันในทางบัญชีต้องดูแยกกันเป็นคนละส่วนครับ ลองดูในโครงสร้างราคาน้ำมันนะครับ
http://www.eppo.go.th/petro/price/index.html
จากตารางผมไฮไลต์สีเขียวไว้นั้นเขาเรียกว่า
"ราคาหน้าโรงกลั่น" ซึ่งอันนี้เป็นรายได้ของธุรกิจโรงกลั่นครับ
จากตารางผมไฮไลต์สีฟ้าไว้นั้นเขาเรียกว่า
"ค่าการตลาด" ซึ่งอันนี้เป็นรายได้ของธุรกิจผู้ค้าปลีกน้ำมันครับ
..............................................................................................................................................................
ว่ากันที่ธุรกิจโรงกลั่นก่อนนะครับ อย่างที่บอกรายได้ของเขามาจากการขายราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่น ถามว่าขายให้ใครก็ขายให้ธุรกิจผู้ค้าปลีกน้ำมัน ว่าง่ายๆก็คือขายให้ปั๊มต่างๆนั่นล่ะ ซึ่งต้นทุนวัตถุดิบของธุรกิจโรงกลั่นนี้ก็คือน้ำมันดิบที่นำมากลั่นนั่นเอง
ธุรกิจโรงกลั่นในบ้านเรานั่นมีอยู่ด้วยกัน 6 รายครับ (นับเฉพาะที่ยังเปิดดำเนินการอยู่) ผมจะไล่เลียงตามกำลังการกลั่นของแต่ละรายลงไป พร้อมแจกแจงให้ดูว่า ปตท ถือหุ้นโรงกลั่นเหล่านั้นอยู่เท่าไร (รวมถึงผู้ค้าน้ำมันรายอื่นเช่น คาลเท็กซ์ เอสโซ่ บางจาก)
จากตารางผมอธิบายด้วยภาษาบ้านๆง่ายตามนี้ละกัน
1. ปั๊มที่มีโรงกลั่นเป็นของตัวเอง (แม้จะไม่ได้ใช้ชื่อปั๊มนั้นๆมาตั้งชื่อโรงกลั่น แต่ก็มีการถือหุ้นอยู่ในโรงกลั่น) ได้แก่ ปตท บางจาก เอสโซ่ คาลเท็กซ์ ไทยออยล์ (ผมเคยใช้บริการปั๊มนี้แถวๆถนนสุขุมวิทขาล่องสู่ศรีราชา) ไออาร์พีซี (เคยขับผ่านเห็นมีแถวเส้นมิตรภาพน่าจะแถวๆโรงปูน TPI)
2. ปั๊มที่ไม่มีโรงกลั่นเป็นของตัวเอง (เอาเท่าที่ผมนึกออกนะ) เชลล์ ซัสโก้ เปโตรนาส เป็นต้น
ทั้งปั๊มตามข้อ 1 และ 2 ต่างก็ต้องซื้อน้ำมันสำเร็จรูปจากโรงกลั่นทั้ง 6 นั่นล่ะครับ ก็แล้วแต่ว่าโรงกลั่นไหนที่มีน้ำมันเหลือ (ผมใช้คำว่าเหลือ เพราะ โรงกลั่นที่มีปั๊มในข้อ 1 ถือหุ้นอยู่ เขาก็ต้องขายน้ำมันที่กลั่นได้ให้ปั๊มพวกนี้ก่อน)
ยกตัวอย่างนะครับ สมมติคุณบอกว่าคุณชอบปั๊มเชลล์ ดังนั้นน้ำมันที่คุณเติมในปั๊มเชลล์นั้นหลักๆก็คือน้ำมันที่กลั่นมาจากโรงกลั่น PTTGC ดังนั้นการเติมน้ำมันในปั๊มเชลล์ของคุณแม้ปั๊มน้ำมันที่ชือ ปตท จะไม่ได้เงินจากคุณ แต่บริษัท ปตท ใหญ่ ก็ได้เงินจากคุณทางอ้อม (ตามสัดส่วนการถือหุ้น) เพราะน้ำมันที่ขายในปั๊มเชลล์นั้นเขาก็ซื้อมาจากโรงกลั่น PTTGC นั่นเอง
..............................................................................................................................................................
ขอก๊อปตารางเดิมลงมาตรงนี้เพื่อความสะดวกในการอ่านครับ
ธุรกิจผู้ค้าปลีกน้ำมัน เรียกง่ายๆว่า
"ปั๊มน้ำมัน" ละกัน อย่างที่ผมบอกไว้แล้วว่า
ธุรกิจโรงกลั่น กับ ธุรกิจผู้ค้าปลีกน้ำมัน (ปั๊มน้ำมัน) สองรายนี้ถึงจะชื่อเดียวกัน แต่ถ้าว่ากันในทางบัญชีต้องดูแยกกันเป็นคนละส่วน ปั๊มน้ำมันมีรายได้มาจากการขายน้ำมันให้กับพวกเราตามราคาขายปลีกนั้น
ปั๊มน้ำมันมีต้นทุนราคาน้ำมัน ได้แก่ ราคาหน้าโรงกลั่น + ภาษีต่างๆ + เงินเข้ากองทุน สุดท้ายเงินที่เรียกว่า
"ค่าการตลาด (ที่ผมไฮไลต์สีฟ้าไว้)" นั้นก็ยังไม่ใช่กำไรสุทธิที่ปั๊มน้ำมันได้ในการขายน้ำมันให้กับเรา
ในค่าการตลาดนี้
ปั๊มน้ำมัน (เช่นนาย A เป็นเจ้าของปั๊ม ปตท สาขาโคกอีแหลว) ต้องแบ่งกับ
ผู้ค้าปลีกน้ำมัน (กรณีนี้นาย A ต้องแบ่งกับ ปตท) ก็ขึ้นอยู่กับการเจรจาระหว่างนาย A กับ ปตท ว่าใครจะได้เท่าไร
โดยนาย A มีค่าใช้จ่าย เช่น ค่าเช่าที่สำหรับทำปั๊ม ค่าน้ำ ค่าไฟ ในปั๊ม ค่าจ้างเด็กปั๊ม แม่บ้านทำความสะอาดห้องน้ำให้สะอาดไว้ให้คนที่เติมน้ำมันปั๊มอื่นได้เอาไว้ขี้ ไว้เยี่ยว บลาๆๆ
โดยปตท มีค่าใช้จ่าย เช่น การบริหารคลังน้ำมัน ค่าจ้างพนักงานในคลังน้ำมัน การขนส่งน้ำมันไปปั๊มต่างๆ ค่าจ้างพนักงานขับรถน้ำมัน บลาๆๆ
ในกรณี ปตท เป็นคนทำปั๊มเอง ค่าใช้จ่ายในส่วนของนาย A ปตทก็ต้องจ่ายเองทั้งหมด ซึ่งต้องเอาค่าใช้จ่ายทั้งหมดในย่อหน้านี้ไปลบออกจากค่าการตลาดที่ได้ ถึงจะเป็นกำไรของ
ธุรกิจผู้ค้าปลีกน้ำมัน
..............................................................................................................................................................
จากที่กล่าวมานั้นหวังว่าท่านน่าจะได้ความเข้าใจที่ถูกต้องไปประกอบการเกลียด ปตท บ้างไม่มาก ก็น้อย ผมพอมีตัวเลขที่ต้องบอกว่า
"ยังไม่ใช่กำไรสุทธิ" ของผู้ประกอบการทั้ง 2 กลุ่มมาให้พิจารณากัน (อย่าถามเอาแหล่งอ้างอิงจากผมเลยครับ ถ้ามีผมก็ใส่ให้ แต่อันนี้อ่านๆ จำๆ เขามา ใครเห็นแย้งอะไรยังไงก็เอาหลักฐานมาแสดงได้ครับ ผมจะได้ได้ความรู้ไปด้วย)
รายได้ของธุรกิจโรงกลั่น ที่เรียกว่า
"ค่าการกลั่น" ในบ้านเราเฉลี่อยอยู่ที่
2.XX บาท/ลิตร ครับ
รายได้ของธุรกิจผู้ค้าปลีกน้ำมัน ที่เรียกว่า
"ค่าการตลาด" ในบ้านเราเฉลี่ยอยอยู่ที่
1.5X บาท/ลิตร ครับ
จากตัวเลขดังกล่าวจะเห็นว่า
โดยรวมธุรกิจน้ำมันไม่ได้มีกำไรมากมายมหาศาลอะไร (ในแง่ของผลตอบแทนต่อลิตรเมื่อเทียบกับราคาขาย) แต่เป็นการขายที่เน้นปริมาณเข้าว่า แม้จะกำไรต่อหน่วยน้อยแต่เมื่อขายในปริมาณที่เยอะมันก็ทำให้ได้กำไรมากพอที่จะประกอบธุรกิจกันต่อไป แต่สิ่งที่ต้องแลกมากับการขายเยอะๆนั้นก็คือการลงทุนที่สูงไงครับ ธุรกิจน้ำมันมันต้องลงทุนสูงและตามหลักแล้วอะไรที่มัน high risk มันต้อง high return ในสายตาของนักธุรกิจ ก็ให้เผอิญอย่างที่ผมแจกแจงไปแล้วว่ามันไม่ได้ high return อะไรเลย จึงทำให้ผู้เล่นมากหน้าหลายตา ห่างหายไปจากประเทศไทย ไม่ใช่เพราะไอ้ ปตท มันผูกขาดอะไรหรอกครับ แต่
เพราะเขาขายน้ำมันได้ในปริมาณไม่มากพอที่จะทำธุรกิจอีกต่อไป เขาก็พากันขายธุรกิจแล้วไปทำอย่างอื่นที่มัน higher return ก็แค่นั้นเอง
ยกตัวอย่างที่เห็นได้ชัด ก็ปั๊ม JET นั่นไงครับ ทำไมขายธุรกิจออกไป ก็เพราะคนเข้าปั๊มเขาเยอะครับ แต่ไม่ใช่ไปเติมน้ำมันนะ ก็เพราะหลายๆท่านไป
แวะขี้แวะเยี่ยว / พักรถ ซื้อของกิน นั่นล่ะครับ เขาขายน้ำมันไม่ได้มากพอที่จะทำธุรกิจต่อไปก็เปิดตูดขายให้ ปตท ไป
ล่าสุดก็ PETRONAS ที่เปิดตูดทิ้งธุรกิจค้าน้ำมันในไทยโดยขายให้ SUSCO ไปบริหารงานต่อ อันนี้คนเข้าไม่เยอะเหมือน JET (เพราะคน
แวะขี้แวะเยี่ยว / พักรถ ซื้อของกิน กันที่ ปตท หมดแล้ว) เคยสงสัยกันไหมครับว่า ถ้าน้ำมันที่มาเลเซียมันราคาถูกจริงๆ ทำไหม PETRONAS ธุรกิจเชื้อสายมาเลเซียรายนี้ไม่เอาน้ำมันจากมาเลเซีย (ธุรกิจค้าน้ำมันเป็นธุรกิจเสรี สามารถเอาน้ำมันจากไหนก็ได้มาขายในประเทศ) มาดั้มราคาแข่งกับ ปตท? (ลองไปหาคำตอบกันดูเองครับ เดี๋ยวจะนอกประเด็นกระทู้นี้ไปไกล) ผมตอบให้ก็ได้
เพราะเขาขายน้ำมันได้ในปริมาณไม่มากพอที่จะทำธุรกิจอีกต่อไป เขาก็พากันขายธุรกิจแล้วไปทำอย่างอื่นที่มัน higher return ก็แค่นั้นเอง
..............................................................................................................................................................
May The Energy Be With You - ขอพลังงานจงสถิตย์แด่ท่านครับ
Citation
1. กำลังการกลั่นของแต่ละโรง
http://www.eppo.go.th/info/2petroleum_stat.htm
2. สัดส่วนการถือหุ้น
http://www.settrade.com
3. การผูกขาดธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันของปตท.?
http://www.dailynews.co.th/article/825/202074
พอดีใน Citation3 มีคำพูดของอาจารย์มนูญที่ผมชอบ ขออนุญาตนำมาทิ้งท้ายในกระทู้นี้นะครับ
ไม่เติม ปตท ไม่ว่ากันครับ แต่มาทำความเข้าใจให้ถูกต้องก่อนดีไหม?
เท่าที่จับความรู้สึกคนไม่เติมที่ประกาศตัวโต้งๆว่า "ไม่เติม ปตท / แวะขี้แวะเยี่ยวต้อง ปตท / พักรถ ซื้อของกิน ต้อง ปตท / บลาๆๆๆ" ผมว่าเหตุผลหลักคือ "ความเกลียด" ครับ ผมเอ็งก็ไม่รู้ว่าเกลียดอะไรกันหนักหนากับ ปตท นะ
ที่มาตั้งกระทู้ก็ไม่ได้จะมาชวนให้รัก ปตท แต่อย่างใด เพราะโดยส่วนตัวผมเองก็ไม่ใคร่จะชอบอุดหนุนอะไรของสินค้าผู้เป็นแบรนด์อันดับ 1 ในตลาด (market share) สักเท่าไร แบบว่าเป็นคนชอบมวยรองอ่ะ
ที่มาตั้งกระทู้นี่เหตุผลหลักของผมเลยคือ มาปรับแก้ความเข้าใจผิดของบางท่าน เกี่ยวกับเรื่องไม่เติมน้ำมัน ปตท นี่ล่ะ จากที่อ่านเหตุผลของหลายๆท่านที่ไม่เติม ผมว่าท่านยังมีความเข้าใจที่ผิดกันอยู่พอสมควรครับ อ่านจบแล้วก็หวังว่าจะเอาไปปรับแก้ความเข้าใจผิดเหล่านั้น ส่วนจะแค่แวะขี้ แวะเยี่ยว แวะซื้อของกิน ปั๊ม ปตท เหมือนเดิม เชิญตามสบายครับ
สิ่งแรกที่ผมอยากให้ทำความเข้าใจ คือ อยากให้ท่านแยกความแตกต่างให้ได้ก่อนระหว่าง ธุรกิจโรงกลั่น กับ ธุรกิจผู้ค้าปลีกน้ำมัน สองรายนี้ถึงจะชื่อเดียวกัน แต่ถ้าว่ากันในทางบัญชีต้องดูแยกกันเป็นคนละส่วนครับ ลองดูในโครงสร้างราคาน้ำมันนะครับ
http://www.eppo.go.th/petro/price/index.html
จากตารางผมไฮไลต์สีเขียวไว้นั้นเขาเรียกว่า "ราคาหน้าโรงกลั่น" ซึ่งอันนี้เป็นรายได้ของธุรกิจโรงกลั่นครับ
จากตารางผมไฮไลต์สีฟ้าไว้นั้นเขาเรียกว่า "ค่าการตลาด" ซึ่งอันนี้เป็นรายได้ของธุรกิจผู้ค้าปลีกน้ำมันครับ
..............................................................................................................................................................
ว่ากันที่ธุรกิจโรงกลั่นก่อนนะครับ อย่างที่บอกรายได้ของเขามาจากการขายราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่น ถามว่าขายให้ใครก็ขายให้ธุรกิจผู้ค้าปลีกน้ำมัน ว่าง่ายๆก็คือขายให้ปั๊มต่างๆนั่นล่ะ ซึ่งต้นทุนวัตถุดิบของธุรกิจโรงกลั่นนี้ก็คือน้ำมันดิบที่นำมากลั่นนั่นเอง
ธุรกิจโรงกลั่นในบ้านเรานั่นมีอยู่ด้วยกัน 6 รายครับ (นับเฉพาะที่ยังเปิดดำเนินการอยู่) ผมจะไล่เลียงตามกำลังการกลั่นของแต่ละรายลงไป พร้อมแจกแจงให้ดูว่า ปตท ถือหุ้นโรงกลั่นเหล่านั้นอยู่เท่าไร (รวมถึงผู้ค้าน้ำมันรายอื่นเช่น คาลเท็กซ์ เอสโซ่ บางจาก)
จากตารางผมอธิบายด้วยภาษาบ้านๆง่ายตามนี้ละกัน
1. ปั๊มที่มีโรงกลั่นเป็นของตัวเอง (แม้จะไม่ได้ใช้ชื่อปั๊มนั้นๆมาตั้งชื่อโรงกลั่น แต่ก็มีการถือหุ้นอยู่ในโรงกลั่น) ได้แก่ ปตท บางจาก เอสโซ่ คาลเท็กซ์ ไทยออยล์ (ผมเคยใช้บริการปั๊มนี้แถวๆถนนสุขุมวิทขาล่องสู่ศรีราชา) ไออาร์พีซี (เคยขับผ่านเห็นมีแถวเส้นมิตรภาพน่าจะแถวๆโรงปูน TPI)
2. ปั๊มที่ไม่มีโรงกลั่นเป็นของตัวเอง (เอาเท่าที่ผมนึกออกนะ) เชลล์ ซัสโก้ เปโตรนาส เป็นต้น
ทั้งปั๊มตามข้อ 1 และ 2 ต่างก็ต้องซื้อน้ำมันสำเร็จรูปจากโรงกลั่นทั้ง 6 นั่นล่ะครับ ก็แล้วแต่ว่าโรงกลั่นไหนที่มีน้ำมันเหลือ (ผมใช้คำว่าเหลือ เพราะ โรงกลั่นที่มีปั๊มในข้อ 1 ถือหุ้นอยู่ เขาก็ต้องขายน้ำมันที่กลั่นได้ให้ปั๊มพวกนี้ก่อน)
ยกตัวอย่างนะครับ สมมติคุณบอกว่าคุณชอบปั๊มเชลล์ ดังนั้นน้ำมันที่คุณเติมในปั๊มเชลล์นั้นหลักๆก็คือน้ำมันที่กลั่นมาจากโรงกลั่น PTTGC ดังนั้นการเติมน้ำมันในปั๊มเชลล์ของคุณแม้ปั๊มน้ำมันที่ชือ ปตท จะไม่ได้เงินจากคุณ แต่บริษัท ปตท ใหญ่ ก็ได้เงินจากคุณทางอ้อม (ตามสัดส่วนการถือหุ้น) เพราะน้ำมันที่ขายในปั๊มเชลล์นั้นเขาก็ซื้อมาจากโรงกลั่น PTTGC นั่นเอง
..............................................................................................................................................................
ขอก๊อปตารางเดิมลงมาตรงนี้เพื่อความสะดวกในการอ่านครับ
ธุรกิจผู้ค้าปลีกน้ำมัน เรียกง่ายๆว่า "ปั๊มน้ำมัน" ละกัน อย่างที่ผมบอกไว้แล้วว่า ธุรกิจโรงกลั่น กับ ธุรกิจผู้ค้าปลีกน้ำมัน (ปั๊มน้ำมัน) สองรายนี้ถึงจะชื่อเดียวกัน แต่ถ้าว่ากันในทางบัญชีต้องดูแยกกันเป็นคนละส่วน ปั๊มน้ำมันมีรายได้มาจากการขายน้ำมันให้กับพวกเราตามราคาขายปลีกนั้น ปั๊มน้ำมันมีต้นทุนราคาน้ำมัน ได้แก่ ราคาหน้าโรงกลั่น + ภาษีต่างๆ + เงินเข้ากองทุน สุดท้ายเงินที่เรียกว่า "ค่าการตลาด (ที่ผมไฮไลต์สีฟ้าไว้)" นั้นก็ยังไม่ใช่กำไรสุทธิที่ปั๊มน้ำมันได้ในการขายน้ำมันให้กับเรา
ในค่าการตลาดนี้ ปั๊มน้ำมัน (เช่นนาย A เป็นเจ้าของปั๊ม ปตท สาขาโคกอีแหลว) ต้องแบ่งกับ ผู้ค้าปลีกน้ำมัน (กรณีนี้นาย A ต้องแบ่งกับ ปตท) ก็ขึ้นอยู่กับการเจรจาระหว่างนาย A กับ ปตท ว่าใครจะได้เท่าไร
โดยนาย A มีค่าใช้จ่าย เช่น ค่าเช่าที่สำหรับทำปั๊ม ค่าน้ำ ค่าไฟ ในปั๊ม ค่าจ้างเด็กปั๊ม แม่บ้านทำความสะอาดห้องน้ำให้สะอาดไว้ให้คนที่เติมน้ำมันปั๊มอื่นได้เอาไว้ขี้ ไว้เยี่ยว บลาๆๆ
โดยปตท มีค่าใช้จ่าย เช่น การบริหารคลังน้ำมัน ค่าจ้างพนักงานในคลังน้ำมัน การขนส่งน้ำมันไปปั๊มต่างๆ ค่าจ้างพนักงานขับรถน้ำมัน บลาๆๆ
ในกรณี ปตท เป็นคนทำปั๊มเอง ค่าใช้จ่ายในส่วนของนาย A ปตทก็ต้องจ่ายเองทั้งหมด ซึ่งต้องเอาค่าใช้จ่ายทั้งหมดในย่อหน้านี้ไปลบออกจากค่าการตลาดที่ได้ ถึงจะเป็นกำไรของธุรกิจผู้ค้าปลีกน้ำมัน
..............................................................................................................................................................
จากที่กล่าวมานั้นหวังว่าท่านน่าจะได้ความเข้าใจที่ถูกต้องไปประกอบการเกลียด ปตท บ้างไม่มาก ก็น้อย ผมพอมีตัวเลขที่ต้องบอกว่า "ยังไม่ใช่กำไรสุทธิ" ของผู้ประกอบการทั้ง 2 กลุ่มมาให้พิจารณากัน (อย่าถามเอาแหล่งอ้างอิงจากผมเลยครับ ถ้ามีผมก็ใส่ให้ แต่อันนี้อ่านๆ จำๆ เขามา ใครเห็นแย้งอะไรยังไงก็เอาหลักฐานมาแสดงได้ครับ ผมจะได้ได้ความรู้ไปด้วย)
รายได้ของธุรกิจโรงกลั่น ที่เรียกว่า "ค่าการกลั่น" ในบ้านเราเฉลี่อยอยู่ที่ 2.XX บาท/ลิตร ครับ
รายได้ของธุรกิจผู้ค้าปลีกน้ำมัน ที่เรียกว่า "ค่าการตลาด" ในบ้านเราเฉลี่ยอยอยู่ที่ 1.5X บาท/ลิตร ครับ
จากตัวเลขดังกล่าวจะเห็นว่าโดยรวมธุรกิจน้ำมันไม่ได้มีกำไรมากมายมหาศาลอะไร (ในแง่ของผลตอบแทนต่อลิตรเมื่อเทียบกับราคาขาย) แต่เป็นการขายที่เน้นปริมาณเข้าว่า แม้จะกำไรต่อหน่วยน้อยแต่เมื่อขายในปริมาณที่เยอะมันก็ทำให้ได้กำไรมากพอที่จะประกอบธุรกิจกันต่อไป แต่สิ่งที่ต้องแลกมากับการขายเยอะๆนั้นก็คือการลงทุนที่สูงไงครับ ธุรกิจน้ำมันมันต้องลงทุนสูงและตามหลักแล้วอะไรที่มัน high risk มันต้อง high return ในสายตาของนักธุรกิจ ก็ให้เผอิญอย่างที่ผมแจกแจงไปแล้วว่ามันไม่ได้ high return อะไรเลย จึงทำให้ผู้เล่นมากหน้าหลายตา ห่างหายไปจากประเทศไทย ไม่ใช่เพราะไอ้ ปตท มันผูกขาดอะไรหรอกครับ แต่เพราะเขาขายน้ำมันได้ในปริมาณไม่มากพอที่จะทำธุรกิจอีกต่อไป เขาก็พากันขายธุรกิจแล้วไปทำอย่างอื่นที่มัน higher return ก็แค่นั้นเอง
ยกตัวอย่างที่เห็นได้ชัด ก็ปั๊ม JET นั่นไงครับ ทำไมขายธุรกิจออกไป ก็เพราะคนเข้าปั๊มเขาเยอะครับ แต่ไม่ใช่ไปเติมน้ำมันนะ ก็เพราะหลายๆท่านไป แวะขี้แวะเยี่ยว / พักรถ ซื้อของกิน นั่นล่ะครับ เขาขายน้ำมันไม่ได้มากพอที่จะทำธุรกิจต่อไปก็เปิดตูดขายให้ ปตท ไป
ล่าสุดก็ PETRONAS ที่เปิดตูดทิ้งธุรกิจค้าน้ำมันในไทยโดยขายให้ SUSCO ไปบริหารงานต่อ อันนี้คนเข้าไม่เยอะเหมือน JET (เพราะคน แวะขี้แวะเยี่ยว / พักรถ ซื้อของกิน กันที่ ปตท หมดแล้ว) เคยสงสัยกันไหมครับว่า ถ้าน้ำมันที่มาเลเซียมันราคาถูกจริงๆ ทำไหม PETRONAS ธุรกิจเชื้อสายมาเลเซียรายนี้ไม่เอาน้ำมันจากมาเลเซีย (ธุรกิจค้าน้ำมันเป็นธุรกิจเสรี สามารถเอาน้ำมันจากไหนก็ได้มาขายในประเทศ) มาดั้มราคาแข่งกับ ปตท? (ลองไปหาคำตอบกันดูเองครับ เดี๋ยวจะนอกประเด็นกระทู้นี้ไปไกล) ผมตอบให้ก็ได้ เพราะเขาขายน้ำมันได้ในปริมาณไม่มากพอที่จะทำธุรกิจอีกต่อไป เขาก็พากันขายธุรกิจแล้วไปทำอย่างอื่นที่มัน higher return ก็แค่นั้นเอง
..............................................................................................................................................................
May The Energy Be With You - ขอพลังงานจงสถิตย์แด่ท่านครับ
Citation
1. กำลังการกลั่นของแต่ละโรง http://www.eppo.go.th/info/2petroleum_stat.htm
2. สัดส่วนการถือหุ้น http://www.settrade.com
3. การผูกขาดธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันของปตท.? http://www.dailynews.co.th/article/825/202074
พอดีใน Citation3 มีคำพูดของอาจารย์มนูญที่ผมชอบ ขออนุญาตนำมาทิ้งท้ายในกระทู้นี้นะครับ