สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 5
Par ลดลงได้ 2 กรณีฮะ
1. ลด Par เพื่อล้างขาดทุนสะสม เช่น ตอนแรกเริ่มก่อตั้งบริษัท เจ้าของลงไปหุ้นละ 10 บาท 1 ล้านหุ้น ก็จะมีทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท ทำไปทำมาขาดทุนมันทุกปีซะงั้น สมมติขาดทุนไปซัก 3 ล้านในเวลา 5 ปี มันก็จะแสดงในงบดุลว่าบริษัทนี้มีขาดทุนสะสม 3 ล้านบาทนะ แล้วทีนี้อยากไปกู้แบงค์ หรือให้คนอื่นดูแล้วสะเทือนใจ ก็จะทำการลดทุนเหลือเพื่อเอาทุนไปล้างขาดทุนสะสมได้ เช่น ทุน 10 ล้านบาท ขาดทุนสะสม 3 ล้านบาท ก็ทำการลดทุนเหลือ 7 ล้าน แล้วขาดทุนสะสมเหลือ 0 บาทได้ฮะ (แต่ธนาคารก็เช็คงบย้อนหลังได้อยู่ดี) เจ้าของมาเห็นงบก็สบายใจ ว่าไม่มีขาดทุนสะสมแล้วนะ (หลอกตัวเอง)
ซึ่งการลดทุนจาก 10 ล้านเหลือ 7 ล้าน ทำได้สองแบบคือลดจำนวนหุ้นไปเลย จาก 1 ล้านหุ้น เหลือ 7 แสนหุ้นๆ ละ 10 บาท ก็จะได้ทุนเป็น 7 ล้านบาท หรือ ลด Par จาก 10 บาท เหลือ 7 บาทจำนวน 1 ล้านหุ้นเท่าเดิม
2. Split Par หรือ แตกพาร์ อันนี้ไม่ทำให้กำไรขาดทุนสะสมเพิ่มหรือลดฮะ... แต่ทำให้จำนวนหุ้นเปลี่ยนไปเพื่อเป็นการเพิ่มสภาพคล่องให้หุ้นฮะ..... เช่น เดิม Par 10 บาทมี 1 ล้านหุ้น เท่ากับทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท ถ้าแตกพาร์จาก 10 บาท เป็น 1 บาท ก็จะมีหุ้น 10 ล้านหุ้น ทุนจดทะเบียนก็เท่าเดิม ในตลาดหุ้น สมมติเรามี 100 หุ้นราคาหุ้นละ 20 บาท หลังแตกพาร์เราก็จะมี 1,000 หุ้น ราคาหุ้นละ 2 บาทฮะ...
นอกจากแตกพาร์แล้วยังมีรวมพาร์ด้วยนะฮะ
เช่นตอนนี้ N-Park มีจำนวนหุ้น 180,000 ล้านหุ้น Par 1 บาท ราคาหุ้น 0.08 บาท วันดีคืนดีเจ้าของ (ผู้บริหาร) อาจจะบอกว่า เรามารวมพาร์เพื่อให้หุ้นเราดูแพงกันเหอะ... ก็อาจจะรวม Par จาก 1 บาทเป็น 100 บาท จำนวนหุ้นก็ลดลงเหลือ 1/100 คือ 1,800 ล้านหุ้นในราคา Par 100 บาท ราคาในกระดานพรุ่งนี้ก็จะกลายเป็น 8 บาท แต่หุ้นเรา สมมติมี 1 ล้านหุ้น ก็จะเหลือ 1 หมื่นหุ้น คือมีมูลค่า 80,000 บาทเท่าเดิม
งงหรือเปล่าฮะ...
1. ลด Par เพื่อล้างขาดทุนสะสม เช่น ตอนแรกเริ่มก่อตั้งบริษัท เจ้าของลงไปหุ้นละ 10 บาท 1 ล้านหุ้น ก็จะมีทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท ทำไปทำมาขาดทุนมันทุกปีซะงั้น สมมติขาดทุนไปซัก 3 ล้านในเวลา 5 ปี มันก็จะแสดงในงบดุลว่าบริษัทนี้มีขาดทุนสะสม 3 ล้านบาทนะ แล้วทีนี้อยากไปกู้แบงค์ หรือให้คนอื่นดูแล้วสะเทือนใจ ก็จะทำการลดทุนเหลือเพื่อเอาทุนไปล้างขาดทุนสะสมได้ เช่น ทุน 10 ล้านบาท ขาดทุนสะสม 3 ล้านบาท ก็ทำการลดทุนเหลือ 7 ล้าน แล้วขาดทุนสะสมเหลือ 0 บาทได้ฮะ (แต่ธนาคารก็เช็คงบย้อนหลังได้อยู่ดี) เจ้าของมาเห็นงบก็สบายใจ ว่าไม่มีขาดทุนสะสมแล้วนะ (หลอกตัวเอง)
ซึ่งการลดทุนจาก 10 ล้านเหลือ 7 ล้าน ทำได้สองแบบคือลดจำนวนหุ้นไปเลย จาก 1 ล้านหุ้น เหลือ 7 แสนหุ้นๆ ละ 10 บาท ก็จะได้ทุนเป็น 7 ล้านบาท หรือ ลด Par จาก 10 บาท เหลือ 7 บาทจำนวน 1 ล้านหุ้นเท่าเดิม
2. Split Par หรือ แตกพาร์ อันนี้ไม่ทำให้กำไรขาดทุนสะสมเพิ่มหรือลดฮะ... แต่ทำให้จำนวนหุ้นเปลี่ยนไปเพื่อเป็นการเพิ่มสภาพคล่องให้หุ้นฮะ..... เช่น เดิม Par 10 บาทมี 1 ล้านหุ้น เท่ากับทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท ถ้าแตกพาร์จาก 10 บาท เป็น 1 บาท ก็จะมีหุ้น 10 ล้านหุ้น ทุนจดทะเบียนก็เท่าเดิม ในตลาดหุ้น สมมติเรามี 100 หุ้นราคาหุ้นละ 20 บาท หลังแตกพาร์เราก็จะมี 1,000 หุ้น ราคาหุ้นละ 2 บาทฮะ...
นอกจากแตกพาร์แล้วยังมีรวมพาร์ด้วยนะฮะ
เช่นตอนนี้ N-Park มีจำนวนหุ้น 180,000 ล้านหุ้น Par 1 บาท ราคาหุ้น 0.08 บาท วันดีคืนดีเจ้าของ (ผู้บริหาร) อาจจะบอกว่า เรามารวมพาร์เพื่อให้หุ้นเราดูแพงกันเหอะ... ก็อาจจะรวม Par จาก 1 บาทเป็น 100 บาท จำนวนหุ้นก็ลดลงเหลือ 1/100 คือ 1,800 ล้านหุ้นในราคา Par 100 บาท ราคาในกระดานพรุ่งนี้ก็จะกลายเป็น 8 บาท แต่หุ้นเรา สมมติมี 1 ล้านหุ้น ก็จะเหลือ 1 หมื่นหุ้น คือมีมูลค่า 80,000 บาทเท่าเดิม
งงหรือเปล่าฮะ...
ความคิดเห็นที่ 1
เคยตอบมานานแล้วที่กระทู้นี้ฮะ....
http://ppantip.com/topic/30676687/comment1
ขอยกมาตอบอีกทีนะฮะ...
ราคา Par พูดง่ายๆ ก็คือเงินที่เจ้าของกิจการลงเพื่อให้ได้หุ้น 1 หุ้นฮะ
เช่น หุ้น Par 1 บาท ก็คือเจ้าของจ่ายไป 1 บาท (ตั้งแต่เมื่อไหร่ก็ไปดูประวัติบริษัทเอา) เพื่อให้ได้มา 1 หุ้น ส่วนเราผู้มาทีหลังจ่ายในราคา IPO แต่ราคา Par ก็ยังสะท้อน IPO ได้ไม่ทั้งหมด เพราะยังมีผลดำเนินงานก่อน IPO หรือ"กำไรสะสม" นั่นเอง ที่จะทำให้ Book Value ของบริษัทว่าเหมาะสมกับราคา IPO หรือไม่
เช่น หุ้น Par 1 บาท อาจมี Book Value 4 บาท เพราะมีกำไรสะสมที่ดำเนินงานมา 3 บาทต่อหุ้นรวมเข้าไปอีก เวลาตั้ง IPO อาจตั้งที่ 4-5 บาทก็ดูไม่น่าเกลียดอะไร
แต่ที่ทางเจ้าของและ Underwrite จะพูดถึงมาก และมีผลกับราคา IPO มากกว่า Book Value หรือ Par ก็คือความสามารถในการทำกำไรปีล่าสุดและโปรเจคชั่นในปีต่อไป เช่นปีนี้ได้กำไรหุ้นละ 0.5 บาท แล้วก็เอาไปคูณกับ P/E กลุ่ม สมมติอยู่ที่ 14 เท่า ก็จะบอกว่าราคาหุ้นควรจะเป็น 7 บาทนะ แต่เราขายแค่ 5 บาท มี Discount ตั้งเกือบ 30% แน่ะ แต่พอไปดู Book Value อาจจะแค่ 3 บาท Par 0.5 บาท อะไรทำนองนี้
เพราะฉะนั้นก่อนที่จะเอาหุ้นเข้าตลาด บริษัทและ Underwrite จะใช้เวลาทำตัวเลขกำไรให้ดูดี 1 ปีก่อนแล้วค่อยเอาเข้าตลาดฮะ โดยใช้เทคนิคต่างๆ เช่น เอารายได้มาลงให้ได้เร็วๆ เลื่อนรายจ่ายออกไปก่อน อะไรทำนองนี้ หลังจากหุ้นเข้าตลาดและได้ราคาที่พอใจแล้วกำไรขาดทุนจริงก็จะแสดงออกมาทีหลังเอง ซึ่งโดยทั่วไปกำไรจะลดลงหลัง IPO ฮะ
ไม่รู้จะงงหรือเปล่า????
http://ppantip.com/topic/30676687/comment1
ขอยกมาตอบอีกทีนะฮะ...
ราคา Par พูดง่ายๆ ก็คือเงินที่เจ้าของกิจการลงเพื่อให้ได้หุ้น 1 หุ้นฮะ
เช่น หุ้น Par 1 บาท ก็คือเจ้าของจ่ายไป 1 บาท (ตั้งแต่เมื่อไหร่ก็ไปดูประวัติบริษัทเอา) เพื่อให้ได้มา 1 หุ้น ส่วนเราผู้มาทีหลังจ่ายในราคา IPO แต่ราคา Par ก็ยังสะท้อน IPO ได้ไม่ทั้งหมด เพราะยังมีผลดำเนินงานก่อน IPO หรือ"กำไรสะสม" นั่นเอง ที่จะทำให้ Book Value ของบริษัทว่าเหมาะสมกับราคา IPO หรือไม่
เช่น หุ้น Par 1 บาท อาจมี Book Value 4 บาท เพราะมีกำไรสะสมที่ดำเนินงานมา 3 บาทต่อหุ้นรวมเข้าไปอีก เวลาตั้ง IPO อาจตั้งที่ 4-5 บาทก็ดูไม่น่าเกลียดอะไร
แต่ที่ทางเจ้าของและ Underwrite จะพูดถึงมาก และมีผลกับราคา IPO มากกว่า Book Value หรือ Par ก็คือความสามารถในการทำกำไรปีล่าสุดและโปรเจคชั่นในปีต่อไป เช่นปีนี้ได้กำไรหุ้นละ 0.5 บาท แล้วก็เอาไปคูณกับ P/E กลุ่ม สมมติอยู่ที่ 14 เท่า ก็จะบอกว่าราคาหุ้นควรจะเป็น 7 บาทนะ แต่เราขายแค่ 5 บาท มี Discount ตั้งเกือบ 30% แน่ะ แต่พอไปดู Book Value อาจจะแค่ 3 บาท Par 0.5 บาท อะไรทำนองนี้
เพราะฉะนั้นก่อนที่จะเอาหุ้นเข้าตลาด บริษัทและ Underwrite จะใช้เวลาทำตัวเลขกำไรให้ดูดี 1 ปีก่อนแล้วค่อยเอาเข้าตลาดฮะ โดยใช้เทคนิคต่างๆ เช่น เอารายได้มาลงให้ได้เร็วๆ เลื่อนรายจ่ายออกไปก่อน อะไรทำนองนี้ หลังจากหุ้นเข้าตลาดและได้ราคาที่พอใจแล้วกำไรขาดทุนจริงก็จะแสดงออกมาทีหลังเอง ซึ่งโดยทั่วไปกำไรจะลดลงหลัง IPO ฮะ
ไม่รู้จะงงหรือเปล่า????
แสดงความคิดเห็น
ราคา IPO (บาท) 13.00 @พาร์5.00 บาท หมายถึงอะไรครับ
ขอบคุณครับ