credit :
http://thai-hybridinvestors.blogspot.com/2013/06/technical-analysis-edition.html
-----
บทความนี้กระผมจึงขอแชร์ประสบการณ์ในแบบ Technical Analysis ในสภาวะหุ้นลงหนัก ซึ่งขอออกตัวก่อนว่า ผมไม่ใช่เชียน Technical Analysis ความรู้เชิงเทคนิคคอลของกระผมอยู่ในระดับ “กากมาก” ดังนั้นพี่น้องนักลงทุนอ่านแล้ว ควรหาข้อมูลอื่นๆเพิ่มเติมก่อนการตัดสินใจ
เส้น EMA : ปราการด่านของนักลงทุนรายย่อย
เส้น EMA (Exponential Moving Average) คือข้อมูลเทคนิคชนิดหนึ่งที่นักลงทุนนิยมใช้เป็น “แนวรับ” อันหมายถึง เมื่อราคาหุ้นลดต่ำเข้าใกล้เส้น EMA บางครั้งราคาจะดีดสูงกลับไปยืนเหนือเส้น EMAได้ นั่นก็คือสามารถ “รับ”ไม่ให้ราคาหุ้นต่ำไปกว่าเส้น EMA นี้
เส้น EMA เปรียบเสมือนป้อมปราการด่านในสนามรบ
ถ้าเราเปรียบหุ้นของเราเป็นกองทัพ เมื่อกองทัพถูกรุกต้อนอุตลุตจนถอยหนีไปจนชนป้อมปราการด่าน ป้อมปราการนี้แหละคือจุดสวนหมัดเพื่อรุกกลับได้ ก็เหมือนหนังสงครามที่เราดูในทีวีนั่นแหละครับ หากพระเอกถูกโจมตีสามารถหนีไปเจอป้อมปราการของฝ่ายเดียวกันได้ ก็จะมีพลธนูโผล่จากกำแพง มีหอกมีก้อนหินระดมยิงใส่ศัตรูอย่างหนัก มีทหารออกจากกำแพงเป็นกองหนุนช่วยเราได้ ฉันใดก็ฉันนั้น แนวรับเส้น EMA จึงควรเป็นจุดที่เรา “รุกกลับ” มากกว่าขายตัดขาดทุน เพราะมีโอกาสที่ราคาหุ้นจะดีดกลับยืนเหนือเส้นนั้นได้
เส้น EMA เท่าไหร่จึงจะเป็นป้อมปราการที่ดี
ในส่วนตัวต้องตอบว่า “แล้วแต่หุ้นตัวนั้นมันชอบเส้น EMA ไหน ” หรือพูดง่ายๆก็คือ หุ้นแต่ละตัวมีแนวรับไม่เหมือนกัน บางตัว EMA15แบบDayเป็นแนวรับแข็งแกร่ง บางตัวต้องลึกถึง EMA50 แบบDayจึงรับได้เหนียวแน่น บางตัวยังหาแนวรับไม่เจอเลยก็มี ดังนั้นเส้นEMAแนวรับของหุ้นแต่ละตัวจึงไม่จำเป็นต้องเท่ากันหรือเหมือนกันแต่อย่างใด
แล้วจะหายังไงล่ะว่าเส้น EMA เท่าไหร่ วิธีการคือ เราก็เปิดกราฟในหุ้นที่เราสนใจ ลองใส่ EMA หลายๆเส้น แล้วดูย้อนหลัง 3 -5 ปี เราจะสังเกตุเห็นเองว่าเส้น EMA ใดราคาหุ้นไม่เคยต่ำกว่าสักที หรือต่ำกว่าแล้วกลับขึ้นมายืนเหนือเส้น EMA นั้นได้อย่างรวดเร็ว เราก็จะอนุมานได้ว่า นี่แหละคือเส้น EMA แนวรับที่แข็งแกร่งของหุ้นเรา
ป้อมปราการถูกทำลายได้ไหม ??
คำตอบคือ ได้ครับ แม้แนวรับเส้น EMA ที่แข็งแกร่งจะมีแรงซื้อจาก Trader หลายคนเข้ามามากตามรายละเอียดข้างบน แต่ก็จะมี Trader อีกหลายคน นักลงทุนหลายท่าน หรือ ขาใหญ่ที่มีหุ้นและเงินปริมาณมหาศาลที่คิดแตกต่างและกำลังขายหุ้นตัวนี้อยู่ อุปมาเหมือนในสงคราม เมื่อ2ฝ่ายเผชิญหน้าที่ป้อมปราการ จะมีการสู้รบตะลุมบอนกันอย่างดุเดือด ถ้าข้าศึกมีมากมายมหาศาลเกินกว่าจะต้านไหว ป้อมปราการก็จะ “แตก” ครับ หุ้นก็เหมือนกัน นั่นก็คือ เส้นEMAแนวรับก็เหมือนป้อมปราการของราคาหุ้น ถ้าหุ้นมีแรงขายมากเกินกว่าแรงซื้อ ราคาก็จะทะลุแนวรับเส้น EMA ลงไปได้(ป้อมปราการแตก)
ซึ่งวีดีโอที่อธิบายการพังทลายของแนวรับที่น่าสนใจในความคิดผมก็คือ “การถูกทำลายทาง Technical “ ของพี่ณัฐวัฒน์ อ้นรัตน์ ตามวีดีโอข้างล่าง พี่น้องท่านใดสนใจสามารถเสพได้ตามสะดวก
“แตกแล้ว” เป็นไงและทำไงดี
จากประสบการณ์ผม เมื่อป้อมปราการหัวเมืองแตก ข้าศึกก็จะบุกตลุยเข้ามาเพื่อยึดป้อมปราการชั้นในถัดไป นั่นหมายถึงเมื่อราคาหุ้นต่ำกว่าแนวรับเส้น EMA ก็มักจะลงต่อเพื่อมาทดสอบแนวรับเส้น EMA ถัดไปนั่นเอง นั่นหมายถึงหากพี่น้องขาดทุนแล้วยังไม่ขายออก มันมีโอกาสจะขาดทุนเพิ่มมากขึ้นอีกในวันหน้า
ส่วนแตกแล้วทำไงดี พี่น้องต้องตัดสินใจครับว่าจะ "อยู่หรือไป" แต่ถ้าเป็นผมก็ต้องใช้คำว่า “แตก...แล้วแยกทาง(ชั่วคราว)นะจ๊ะ”
สรุป: รวบรวมข้อมูลแล้วตัดสินใจ
โดยสรุปจากข้อมูลทั้งหมดก็คือ " EMA เป็นจุดที่มีแรงซื้อจากTrader เข้ามาสู้กับกับแรงขาย หากแรงซื้อชนะราคาจะดีดสูงขึ้น แต่หากแพ้ราคาจะต่ำกว่าเส้น EMA และมีโอกาสลงไปทดสอบเส้น EMA ถัดไป "
เมื่อทราบข้อมูลแล้ว ก็ใช้มันเพื่อตัดสินใจในเวลาหุ้นตกหนัก โดยเริ่มกระบวนการดังนี้
1.ตรวจสอบว่าหุ้นเราอยู่ใกล้แนวรับเส้น EMA ที่มีสถิติรับได้อย่างแข็งแกร่งหรือไม่ ถ้าอยู่ใกล้ก็ปล่อยให้แนวรับทำงานเป็นตัวช่วยของเรา การขายหุ้นในราคาที่ใกล้เส้นแนวรับ เปรียบเสมือนแม่ทัพที่อดทนสูญเสียมาตั้งนาน แต่พอถึงป้อมปราการที่มีตัวช่วยเพียบ กลับชิงฆ่าตัวตาย (เป็นหุ้นก็คือขายขาดทุน) ซะดื้อๆ ซึ่งเป็นสิ่งน่าเสียดายอย่างยิ่ง
2.ถ้าเฝ้ามองแล้วแน่ใจว่าแนวรับนี้ “เอาอยู่” นี้แหละคือโอกาสดีในการ “รุกคืน” เพราะ ณ ราคานี้มีโอกาสเป็นจุดต้นทุนต่ำและมีแนวโน้มราคาจะสูงกว่าแนวรับในอนาคต
3.อย่างไรก็ตาม ความแน่นอนคือความไม่แน่นอน ถ้าแนวรับเอาไม่อยู่หรือวันต่อๆมาราคาป้วนเปี้ยนแถวแนวรับและหลุดต่ำกว่าจนได้ ณ จุดนี้พี่น้องต้องตัดสินใจ แต่ถ้าเป็นผมก็ต้องบอกว่า “ แตกแล้วแยกทาง(ชั่วคราว)นะจ๊ะ
ตัวอย่างหุ้นโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง
ตัวอย่างหุ้นธนาคารแห่งหนึ่ง
ทั้งหมดนี้ก็คือประสบการณ์ของกระผม พี่น้องคนใดเห็นว่ามีประโยชน์สามารถเสพได้ตามสะดวก
ขอบพระคุณครับ
นักเก็งกำไรด้วยปัจจัยพื้นฐาน
-------
หุ้นตกเยอะต้องทำไง (Technical Analysis Edition)
-----
บทความนี้กระผมจึงขอแชร์ประสบการณ์ในแบบ Technical Analysis ในสภาวะหุ้นลงหนัก ซึ่งขอออกตัวก่อนว่า ผมไม่ใช่เชียน Technical Analysis ความรู้เชิงเทคนิคคอลของกระผมอยู่ในระดับ “กากมาก” ดังนั้นพี่น้องนักลงทุนอ่านแล้ว ควรหาข้อมูลอื่นๆเพิ่มเติมก่อนการตัดสินใจ
เส้น EMA : ปราการด่านของนักลงทุนรายย่อย
เส้น EMA (Exponential Moving Average) คือข้อมูลเทคนิคชนิดหนึ่งที่นักลงทุนนิยมใช้เป็น “แนวรับ” อันหมายถึง เมื่อราคาหุ้นลดต่ำเข้าใกล้เส้น EMA บางครั้งราคาจะดีดสูงกลับไปยืนเหนือเส้น EMAได้ นั่นก็คือสามารถ “รับ”ไม่ให้ราคาหุ้นต่ำไปกว่าเส้น EMA นี้
เส้น EMA เปรียบเสมือนป้อมปราการด่านในสนามรบ
ถ้าเราเปรียบหุ้นของเราเป็นกองทัพ เมื่อกองทัพถูกรุกต้อนอุตลุตจนถอยหนีไปจนชนป้อมปราการด่าน ป้อมปราการนี้แหละคือจุดสวนหมัดเพื่อรุกกลับได้ ก็เหมือนหนังสงครามที่เราดูในทีวีนั่นแหละครับ หากพระเอกถูกโจมตีสามารถหนีไปเจอป้อมปราการของฝ่ายเดียวกันได้ ก็จะมีพลธนูโผล่จากกำแพง มีหอกมีก้อนหินระดมยิงใส่ศัตรูอย่างหนัก มีทหารออกจากกำแพงเป็นกองหนุนช่วยเราได้ ฉันใดก็ฉันนั้น แนวรับเส้น EMA จึงควรเป็นจุดที่เรา “รุกกลับ” มากกว่าขายตัดขาดทุน เพราะมีโอกาสที่ราคาหุ้นจะดีดกลับยืนเหนือเส้นนั้นได้
เส้น EMA เท่าไหร่จึงจะเป็นป้อมปราการที่ดี
ในส่วนตัวต้องตอบว่า “แล้วแต่หุ้นตัวนั้นมันชอบเส้น EMA ไหน ” หรือพูดง่ายๆก็คือ หุ้นแต่ละตัวมีแนวรับไม่เหมือนกัน บางตัว EMA15แบบDayเป็นแนวรับแข็งแกร่ง บางตัวต้องลึกถึง EMA50 แบบDayจึงรับได้เหนียวแน่น บางตัวยังหาแนวรับไม่เจอเลยก็มี ดังนั้นเส้นEMAแนวรับของหุ้นแต่ละตัวจึงไม่จำเป็นต้องเท่ากันหรือเหมือนกันแต่อย่างใด
แล้วจะหายังไงล่ะว่าเส้น EMA เท่าไหร่ วิธีการคือ เราก็เปิดกราฟในหุ้นที่เราสนใจ ลองใส่ EMA หลายๆเส้น แล้วดูย้อนหลัง 3 -5 ปี เราจะสังเกตุเห็นเองว่าเส้น EMA ใดราคาหุ้นไม่เคยต่ำกว่าสักที หรือต่ำกว่าแล้วกลับขึ้นมายืนเหนือเส้น EMA นั้นได้อย่างรวดเร็ว เราก็จะอนุมานได้ว่า นี่แหละคือเส้น EMA แนวรับที่แข็งแกร่งของหุ้นเรา
ป้อมปราการถูกทำลายได้ไหม ??
คำตอบคือ ได้ครับ แม้แนวรับเส้น EMA ที่แข็งแกร่งจะมีแรงซื้อจาก Trader หลายคนเข้ามามากตามรายละเอียดข้างบน แต่ก็จะมี Trader อีกหลายคน นักลงทุนหลายท่าน หรือ ขาใหญ่ที่มีหุ้นและเงินปริมาณมหาศาลที่คิดแตกต่างและกำลังขายหุ้นตัวนี้อยู่ อุปมาเหมือนในสงคราม เมื่อ2ฝ่ายเผชิญหน้าที่ป้อมปราการ จะมีการสู้รบตะลุมบอนกันอย่างดุเดือด ถ้าข้าศึกมีมากมายมหาศาลเกินกว่าจะต้านไหว ป้อมปราการก็จะ “แตก” ครับ หุ้นก็เหมือนกัน นั่นก็คือ เส้นEMAแนวรับก็เหมือนป้อมปราการของราคาหุ้น ถ้าหุ้นมีแรงขายมากเกินกว่าแรงซื้อ ราคาก็จะทะลุแนวรับเส้น EMA ลงไปได้(ป้อมปราการแตก)
ซึ่งวีดีโอที่อธิบายการพังทลายของแนวรับที่น่าสนใจในความคิดผมก็คือ “การถูกทำลายทาง Technical “ ของพี่ณัฐวัฒน์ อ้นรัตน์ ตามวีดีโอข้างล่าง พี่น้องท่านใดสนใจสามารถเสพได้ตามสะดวก
“แตกแล้ว” เป็นไงและทำไงดี
จากประสบการณ์ผม เมื่อป้อมปราการหัวเมืองแตก ข้าศึกก็จะบุกตลุยเข้ามาเพื่อยึดป้อมปราการชั้นในถัดไป นั่นหมายถึงเมื่อราคาหุ้นต่ำกว่าแนวรับเส้น EMA ก็มักจะลงต่อเพื่อมาทดสอบแนวรับเส้น EMA ถัดไปนั่นเอง นั่นหมายถึงหากพี่น้องขาดทุนแล้วยังไม่ขายออก มันมีโอกาสจะขาดทุนเพิ่มมากขึ้นอีกในวันหน้า
ส่วนแตกแล้วทำไงดี พี่น้องต้องตัดสินใจครับว่าจะ "อยู่หรือไป" แต่ถ้าเป็นผมก็ต้องใช้คำว่า “แตก...แล้วแยกทาง(ชั่วคราว)นะจ๊ะ”
สรุป: รวบรวมข้อมูลแล้วตัดสินใจ
โดยสรุปจากข้อมูลทั้งหมดก็คือ " EMA เป็นจุดที่มีแรงซื้อจากTrader เข้ามาสู้กับกับแรงขาย หากแรงซื้อชนะราคาจะดีดสูงขึ้น แต่หากแพ้ราคาจะต่ำกว่าเส้น EMA และมีโอกาสลงไปทดสอบเส้น EMA ถัดไป "
เมื่อทราบข้อมูลแล้ว ก็ใช้มันเพื่อตัดสินใจในเวลาหุ้นตกหนัก โดยเริ่มกระบวนการดังนี้
1.ตรวจสอบว่าหุ้นเราอยู่ใกล้แนวรับเส้น EMA ที่มีสถิติรับได้อย่างแข็งแกร่งหรือไม่ ถ้าอยู่ใกล้ก็ปล่อยให้แนวรับทำงานเป็นตัวช่วยของเรา การขายหุ้นในราคาที่ใกล้เส้นแนวรับ เปรียบเสมือนแม่ทัพที่อดทนสูญเสียมาตั้งนาน แต่พอถึงป้อมปราการที่มีตัวช่วยเพียบ กลับชิงฆ่าตัวตาย (เป็นหุ้นก็คือขายขาดทุน) ซะดื้อๆ ซึ่งเป็นสิ่งน่าเสียดายอย่างยิ่ง
2.ถ้าเฝ้ามองแล้วแน่ใจว่าแนวรับนี้ “เอาอยู่” นี้แหละคือโอกาสดีในการ “รุกคืน” เพราะ ณ ราคานี้มีโอกาสเป็นจุดต้นทุนต่ำและมีแนวโน้มราคาจะสูงกว่าแนวรับในอนาคต
3.อย่างไรก็ตาม ความแน่นอนคือความไม่แน่นอน ถ้าแนวรับเอาไม่อยู่หรือวันต่อๆมาราคาป้วนเปี้ยนแถวแนวรับและหลุดต่ำกว่าจนได้ ณ จุดนี้พี่น้องต้องตัดสินใจ แต่ถ้าเป็นผมก็ต้องบอกว่า “ แตกแล้วแยกทาง(ชั่วคราว)นะจ๊ะ
ตัวอย่างหุ้นโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง
ตัวอย่างหุ้นธนาคารแห่งหนึ่ง
ทั้งหมดนี้ก็คือประสบการณ์ของกระผม พี่น้องคนใดเห็นว่ามีประโยชน์สามารถเสพได้ตามสะดวก
ขอบพระคุณครับ
นักเก็งกำไรด้วยปัจจัยพื้นฐาน
-------