เลยจุดบิ๊กเซอร์ไพรส์? ...... ไทยรัฐออนไลน์
กลับประเทศไทยรับประเด็นร้อน ช่วงสถานการณ์ไม่ปกติ แนวต้านสารพัด
ม็อบคัดค้านกฎหมายนิรโทษกรรม นำโดยองค์การพิทักษ์สยามรีเทิร์น
ดีเดย์นัดชุมนุมวันที่ 4 ส.ค.นี้
แต่เป็นภารกิจนอกเหนือจากเงื่อนไขตกลงกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ
พี่ชายรับบริหารจัดการเอง “นายกฯปู” ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร คงได้แค่เบี่ยงตัวหลบฉาก
ตีกรรเชียง ชิ่งทุกประเด็น
เมื่อถูกนักข่าวถามเรื่องม็อบต้านนิรโทษ “นายกฯปู” โยนเป็นเรื่อง
ของหน่วยงานด้านความมั่นคงดูแล พอถามเรื่องข้อเสนอของนายอุทัย
พิมพ์ใจชน อดีตประธานรัฐสภาให้ถอนร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม นายกฯ
บอกให้เป็นเรื่องของวิปรัฐบาล และอยากให้ใช้เวทีสภาพิจารณาพูดคุยกัน
ในสถานการณ์ที่ต่างฝ่ายต่างโหมกระแสเร้า “จุดเดือด”
แต่อีกทางหนึ่งต่างฝ่ายต่างก็ต้องคอยดูเชิง
ประเมินหมากเกมเล่ห์กลของฝ่ายตรงข้ามกันช็อตต่อช็อต และที่แปลก
วันนี้ข่าวความเคลื่อนไหวดูจะมาจากฝ่ายตั้งรับ–ฝ่ายถืออำนาจรัฐมากกว่า
ทั้งการประกาศร่าง พ.ร.บ.รักษาความมั่นคงฯล่วงหน้าก่อนวันนัดม็อบ ตามข้อเสนอ
ของคณะทำงานด้านยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย โดยเฉพาะเสียงสำคัญ “เดอะอ๋อย”
จาตุรนต์ ฉายแสง รมว.ศึกษาธิการ กับ “เดอะสตาร์เสื้อแดง” จตุพร พรหมพันธุ์
2 จอมเก๋าประเมิน ไม่ควรประมาทม็อบต้านนิรโทษ โดยเฉพาะ 2 บิ๊กประชาธิปัตย์
“เดิมพันสูง”
ต้องป้องปราม “กางร่มรอฝนตก–เตรียมน้ำไว้ดับไฟ”
ที่เร้ากระแสเข้าไปใหญ่ การเตรียมกำลังตำรวจรับมือม็อบทั้งจากพื้นที่
บช.น.และต่างจังหวัดสแตนด์บายรอรวมแล้วเกือบ 300 กองร้อย ร่วม 3 หมื่น
รอรับม็อบที่หน่วยข่าวประเมินตรงกัน ลอตแรกราวๆ 1 หมื่นคน
ขณะที่คนในรัฐบาลดาหน้าออกมาเปิดข้อมูลการข่าว
มีพรรคการเมืองขนคนมาจากพื้นที่ภาคใต้เข้าร่วมชุมนุมแต่ยังจำนวนไม่มาก
ประเมินม็อบยกระดับทีละขั้น และวางเกมยาว ยืดเยื้อ นำไปสู่ความรุนแรง
โดยมีแผนดาวกระจายบุกสถานที่ ทั้งทำเนียบฯ รัฐสภา กระทรวงการคลัง
ธนาคารแห่งประเทศไทย
เพื่อกระตุ้นองค์กรอิสระ กระทั่งปูทางรัฐประหาร
รวมทั้ง นพ.เหวง โตจิราการ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ออกมาอ้าง
รับทราบข่าวจะมีแผนจับตัวนายกฯ ประธานและรองประธานสภาฯ
เรียกเสียงฮือฮาช็อตหวาดเสียวในการข่าว “แบบเหวงๆ”
ขณะที่กลุ่มคนเสื้อแดง กลุ่ม นปช.ประกาศนัดประชุมแกนนำทุกจังหวัด
ทั่วประเทศที่โรงเรียนเทคนิคดอนเมือง ห่างพื้นที่ม็อบต้านนิรโทษ
เลี่ยงการปะทะ “เข้าทาง” ฝ่ายตรงข้าม วางบทฝ่ายปกป้องประชาธิปไตย
ยังไม่มีอะไรน่าห่วง
ที่น่าสนใจ จังหวะที่ “ตัวแปรสำคัญ” ท่าทีประชาธิปัตย์ยังยึกยัก
ล่าสุดพลิกเกมไปมาของ “เทพเทือก” สุเทพ เทือกสุบรรณ แม่ทัพใหญ่
ปชป.กำหนดเงื่อนเวลา ถ้าแพ้โหวตวาระ 3 จึงพร้อมจะ “ลงถนน”
ขณะที่ “ม็อบต้านนิรโทษ” แทบไม่มีอะไรชัด ทั้งกำหนดสถานที่ชุมนุม
แผนแต่ละขั้นตอน เป้าหมายแต่ละช็อต
“อุบไต๋” พราง “กลลวง” หรือแค่ “กลวง” ก็ยังไม่รู้
เอาเป็นว่าถึงนาทีนี้ ต้องประเมินกันทีละช็อต
แต่เบื้องต้นประชาธิปัตย์จะขยับก็แค่เสริมกำลังย่อมๆพอเป็น “หัวเชื้อ”
ลากเกมยื้อไปวันที่ 7 ส.ค. ประชุมวาระร้อนร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม
รอช่องรอจังหวะ ก่อนขยับเร่งเครื่องเกมโค่นกันอีกที
4 ส.ค.นี้จึงยังไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง หากไม่เกิดเหตุแทรกซ้อน
และก็ต้องจับตาควบคู่ไปกับสถานการณ์ม็อบต้านนิรโทษกับแผน
“ดับกระแสร้อน” ตามสัญญาณจากฮ่องกงของ “นายใหญ่”
ให้ลูกข่ายรอฟัง “บิ๊กเซอร์ไพรส์” จากน้องสาว
คาดการณ์กันไปต่างๆนานา ทั้งอาจจะเป็นแผนแยบยลกับหมากแหย่ บีบ กดดัน
“ขออภัยโทษ” หรืออาจเป็นโปรเจกต์อภิมหาประชานิยมเฟสใหม่ หรือล่าสุดข่าว
“นายกฯปู” เตรียมแถลงแนวทางแก้ปมการเมือง
โดยเชิญทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง ทุกพรรคการเมือง
ทุกกลุ่มสี และองค์กรอิสระต่างๆเข้าร่วมหารือ เพื่อหาแนวทาง
ในการแก้ไขวิกฤติการเมืองที่เกิดขึ้นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ในรูปแบบจัดตั้ง “สภาปฏิรูปการเมือง”
จึงต้องจับตาที่ว่า “บิ๊กเซอร์ไพรส์” จาก “นายใหญ่” บรรจงเขียนบทให้น้องสาวเล่นโชว์
สยบความขัดแย้ง ยุติความแตกแยกด้วยแนวทางดังกล่าวนี้จริงหรือไม่
และซ่อนพรางหมากกลอะไรไว้มากกว่านั้น.
http://www.thairath.co.th/column/pol/wikroh/361085
วีรพัฒน์ ปรียวงศ์ : ได้เวลาปฏิรูป ‘เวทีปฎิรูป’ ....... มติชนออนไลน์
ทันทีที่ ′นายกรัฐมนตรี′ เสนอเปิด ′เวทีระดมความคิดเห็น′ เชิญตัวแทนกลุ่มบุคคล
ที่หลากหลายมาร่วมเวทีกำหนดทิศทางการปฏิรูปการเมือง โดยร่วมมือร่วมใจกัน
อย่างสร้างสรรค์ และไว้เนื้อเชื่อใจกัน
เกิดคำถามตามมาว่า เวทีเช่นนี้จำเป็นและมีประโยชน์หรือไม่ ?
คำถามนี้จะถูกตอบได้ก็ด้วยผลงานของเวทีนี้เอง ดังนั้น แทนที่เพียงจะตั้งคำถาม
ผมจึงขอเสนอความเห็นเบื้องต้นก่อนจะลงมือลงแรงกัน ดังนี้
1. ไม่เชื่อใจกันทีหลังยังทัน
ความไว้เนื้อเชื่อใจถือเป็นกุญแจสำคัญ แม้เวทีจะยังไม่ทันเริ่ม ก็อาจมีบางฝ่ายออกตัว
คัดค้านล่วงหน้าว่าจะไม่เข้าร่วม โดยอ้างว่าเวทีดังกล่าวถูกควบคุมหรือชักนำโดยรัฐบาล
ผมเสนอว่าหากรัฐบาลมีความจริงใจ ก็อาจเป็นฝ่ายริเริ่มเสนอต่อสังคมว่า เวทีดังกล่าว
ไม่มีกติกาตายตัว แต่จะให้ผู้ร่วมเวทีช่วยกันออกแบบวิธีการพูดคุยกัน โดยรัฐบาลเป็น
ฝ่ายอำนวยความสะดวก เพื่อให้เกิดความสบายใจและมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย
2. เสริมได้แต่ไม่ซ้ำ
เวทีดังกล่าวไม่ควรถูกคาดหวังให้ทำหน้าที่ทดแทนกลไกการปฏิรูปต่างๆ
ที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะกลไกทางรัฐสภา แต่เวทีดังกล่าว
ควรเป็นกลไกที่เสริมและกระตุ้นกลไกอื่นที่มีอยู่แล้ว โดยอาศัยข้อดี คือ
ความหลากหลาย และความยืดหยุ่น ทั้งนี้ ผมเสนอให้นำประสบการณ์
ความเห็น หรือข้อสรุปจากโครงการประชาเสวนาตลอดจนองค์กรเชิงปฏิรูป
ชุดอื่นๆ ที่เคยมีมาในอดีตและปัจจุบัน เช่นคณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) ที่ถูก
ตั้งขึ้นในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความ
จริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) คณะกรรมการอิสระว่าด้วยการ
ส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.) คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.)
สภาพัฒนาการเมือง รวมทั้งองค์กรปฏิรูปที่ยังไม่ได้ตั้ง เช่น คณะกรรมการปฏิรูป
กระบวนการยุติธรรม ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 81 (4) มาประกอบหรือต่อยอดใน
เวทีนี้ด้วย ก็น่าจะเป็นประโยชน์และไม่สิ้นเปลืองงบประมาณ
3. ยิ่งพูดน้อย ยิ่งอยากฟัง
นอกจากรัฐบาลจะเชิญกลุ่มต่าง ๆ ตามที่ได้แถลงไปแล้วนั้น รัฐบาลอาจ
พิจารณาเชิญกลุ่มอดีตผู้พิพากษาตุลาการ และอดีตผู้นำเหล่าทัพที่
เกษียณอายุราชการและไม่ต้องเกรงใจองค์กรตนอีกต่อไป ให้มาร่วมเวที
พูดคุยด้วย ทั้งนี้ ศาลและกองทัพเป็นฝ่ายที่มีบทบาทและอำนาจในการ
เปลี่ยนแปลงการเมืองมาก แต่ประชาชนกลับเข้าถึงได้ยาก จะมีก็แต่เฉพาะ
อดีตประธานศาล หรือ ผู้บัญชาการทหารบางท่าน ที่สื่อสารกับสังคมมาก
เป็นพิเศษ แต่โดยรวมแล้ว ประชาชนยังถูกจำกัดโอกาสในการพูดคุยและ
ทวงถามคำตอบจากศาลและกองทัพ ในขณะเดียวกัน ผู้ที่อยู่ในศาลและ
กองทัพก็อาจถูกวัฒนธรรมองค์กรจำกัดโอกาสที่จะแสดงความเห็นของ
ตนเองโดยอิสระเช่นกัน
4. สื่อและแขกมีปัญหาพอกัน
รัฐบาลควรร่วมมือกับสื่อมวลชนที่หลากหลายเพื่อสนับสนุนเวทีดังกล่าว
ตลอดจนใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เกิดประโยชน์ เช่น การถ่ายทอดสด
และบันทึกกิจกรรมที่ประชาชนรับชมย้อนหลังได้ และอาจใช้เทคโนโลยี
เพิ่มช่องทางมีส่วนร่วมของประชาชนทั่วถึงมากขึ้น ที่สำคัญ สื่อมวลชน
ควรเพิ่มพื้นที่พูดคุยถกเถียงกัน มากกว่าที่จะกันวงสนทนาเฉพาะของฝ่ายตน
เห็นได้จากสภาพปัจจุบัน ที่รัฐบาลพูดช่องทางหนึ่ง ฝ่ายค้านพูดช่องทางหนึ่ง
ประชาชนแต่ละสี ก็รับฟังเฉพาะช่องทางของตน แต่กลับมีน้อยครั้งที่จะได้พูด
คุยพร้อมกัน หรือรับฟังความเห็นที่ต่างกัน ในขณะเดียวกัน รัฐบาล ฝ่ายค้าน
ผู้มีอำนาจ และแกนนำภาคประชาชน ก็ต้องพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับการซัก
ถามอย่างอดกลั้นและจริงใจ มากไปกว่าการสนทนาและเออออกับพิธีกรรู้ใจ
ในรูปแบบที่ซ้ำซากไปมาดังที่เป็นอยู่ในขณะนี้.
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1375489440&grpid=&catid=02&subcatid=0200
จะเชิญใครไปร่วมเสวนา ก็อย่าลืมสมาชิกห้องรดน. ด้วยกะแล้วกัน มีผู้เทรงคุณวุฒิ
มากมาย และน่าจะเจาะจงคนที่บอกว่า เกลียดอดีตนายกทักษิณฯด้วย เพราะบ้านเมือง
ไม่สามารถสงบได้ หากยังมีคนที่ประกาศอย่างโจ่งแจ้งว่า เกลียดคุณทักษิณ เหมือนอย่าง
ที่ปชป. ก็บอกว่า คุณทักษิณ ต้องมารับโทษที่ถูกกล่าวหา หลังจากเกิดการปฏิวัติ ซะก่อน
เรื่องอื่นๆ ถึงจะพูดกันได้ ...แล้วมันจะปฏิรูปกันได้ไหม ????
ปฏิรูปการเมือง ไทยรัฐ vs มติชน
กลับประเทศไทยรับประเด็นร้อน ช่วงสถานการณ์ไม่ปกติ แนวต้านสารพัด
ม็อบคัดค้านกฎหมายนิรโทษกรรม นำโดยองค์การพิทักษ์สยามรีเทิร์น
ดีเดย์นัดชุมนุมวันที่ 4 ส.ค.นี้
แต่เป็นภารกิจนอกเหนือจากเงื่อนไขตกลงกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ
พี่ชายรับบริหารจัดการเอง “นายกฯปู” ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร คงได้แค่เบี่ยงตัวหลบฉาก
ตีกรรเชียง ชิ่งทุกประเด็น
เมื่อถูกนักข่าวถามเรื่องม็อบต้านนิรโทษ “นายกฯปู” โยนเป็นเรื่อง
ของหน่วยงานด้านความมั่นคงดูแล พอถามเรื่องข้อเสนอของนายอุทัย
พิมพ์ใจชน อดีตประธานรัฐสภาให้ถอนร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม นายกฯ
บอกให้เป็นเรื่องของวิปรัฐบาล และอยากให้ใช้เวทีสภาพิจารณาพูดคุยกัน
ในสถานการณ์ที่ต่างฝ่ายต่างโหมกระแสเร้า “จุดเดือด”
แต่อีกทางหนึ่งต่างฝ่ายต่างก็ต้องคอยดูเชิง
ประเมินหมากเกมเล่ห์กลของฝ่ายตรงข้ามกันช็อตต่อช็อต และที่แปลก
วันนี้ข่าวความเคลื่อนไหวดูจะมาจากฝ่ายตั้งรับ–ฝ่ายถืออำนาจรัฐมากกว่า
ทั้งการประกาศร่าง พ.ร.บ.รักษาความมั่นคงฯล่วงหน้าก่อนวันนัดม็อบ ตามข้อเสนอ
ของคณะทำงานด้านยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย โดยเฉพาะเสียงสำคัญ “เดอะอ๋อย”
จาตุรนต์ ฉายแสง รมว.ศึกษาธิการ กับ “เดอะสตาร์เสื้อแดง” จตุพร พรหมพันธุ์
2 จอมเก๋าประเมิน ไม่ควรประมาทม็อบต้านนิรโทษ โดยเฉพาะ 2 บิ๊กประชาธิปัตย์
“เดิมพันสูง”
ต้องป้องปราม “กางร่มรอฝนตก–เตรียมน้ำไว้ดับไฟ”
ที่เร้ากระแสเข้าไปใหญ่ การเตรียมกำลังตำรวจรับมือม็อบทั้งจากพื้นที่
บช.น.และต่างจังหวัดสแตนด์บายรอรวมแล้วเกือบ 300 กองร้อย ร่วม 3 หมื่น
รอรับม็อบที่หน่วยข่าวประเมินตรงกัน ลอตแรกราวๆ 1 หมื่นคน
ขณะที่คนในรัฐบาลดาหน้าออกมาเปิดข้อมูลการข่าว
มีพรรคการเมืองขนคนมาจากพื้นที่ภาคใต้เข้าร่วมชุมนุมแต่ยังจำนวนไม่มาก
ประเมินม็อบยกระดับทีละขั้น และวางเกมยาว ยืดเยื้อ นำไปสู่ความรุนแรง
โดยมีแผนดาวกระจายบุกสถานที่ ทั้งทำเนียบฯ รัฐสภา กระทรวงการคลัง
ธนาคารแห่งประเทศไทย
เพื่อกระตุ้นองค์กรอิสระ กระทั่งปูทางรัฐประหาร
รวมทั้ง นพ.เหวง โตจิราการ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ออกมาอ้าง
รับทราบข่าวจะมีแผนจับตัวนายกฯ ประธานและรองประธานสภาฯ
เรียกเสียงฮือฮาช็อตหวาดเสียวในการข่าว “แบบเหวงๆ”
ขณะที่กลุ่มคนเสื้อแดง กลุ่ม นปช.ประกาศนัดประชุมแกนนำทุกจังหวัด
ทั่วประเทศที่โรงเรียนเทคนิคดอนเมือง ห่างพื้นที่ม็อบต้านนิรโทษ
เลี่ยงการปะทะ “เข้าทาง” ฝ่ายตรงข้าม วางบทฝ่ายปกป้องประชาธิปไตย
ยังไม่มีอะไรน่าห่วง
ที่น่าสนใจ จังหวะที่ “ตัวแปรสำคัญ” ท่าทีประชาธิปัตย์ยังยึกยัก
ล่าสุดพลิกเกมไปมาของ “เทพเทือก” สุเทพ เทือกสุบรรณ แม่ทัพใหญ่
ปชป.กำหนดเงื่อนเวลา ถ้าแพ้โหวตวาระ 3 จึงพร้อมจะ “ลงถนน”
ขณะที่ “ม็อบต้านนิรโทษ” แทบไม่มีอะไรชัด ทั้งกำหนดสถานที่ชุมนุม
แผนแต่ละขั้นตอน เป้าหมายแต่ละช็อต
“อุบไต๋” พราง “กลลวง” หรือแค่ “กลวง” ก็ยังไม่รู้
เอาเป็นว่าถึงนาทีนี้ ต้องประเมินกันทีละช็อต
แต่เบื้องต้นประชาธิปัตย์จะขยับก็แค่เสริมกำลังย่อมๆพอเป็น “หัวเชื้อ”
ลากเกมยื้อไปวันที่ 7 ส.ค. ประชุมวาระร้อนร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม
รอช่องรอจังหวะ ก่อนขยับเร่งเครื่องเกมโค่นกันอีกที
4 ส.ค.นี้จึงยังไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง หากไม่เกิดเหตุแทรกซ้อน
และก็ต้องจับตาควบคู่ไปกับสถานการณ์ม็อบต้านนิรโทษกับแผน
“ดับกระแสร้อน” ตามสัญญาณจากฮ่องกงของ “นายใหญ่”
ให้ลูกข่ายรอฟัง “บิ๊กเซอร์ไพรส์” จากน้องสาว
คาดการณ์กันไปต่างๆนานา ทั้งอาจจะเป็นแผนแยบยลกับหมากแหย่ บีบ กดดัน
“ขออภัยโทษ” หรืออาจเป็นโปรเจกต์อภิมหาประชานิยมเฟสใหม่ หรือล่าสุดข่าว
“นายกฯปู” เตรียมแถลงแนวทางแก้ปมการเมือง
โดยเชิญทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง ทุกพรรคการเมือง
ทุกกลุ่มสี และองค์กรอิสระต่างๆเข้าร่วมหารือ เพื่อหาแนวทาง
ในการแก้ไขวิกฤติการเมืองที่เกิดขึ้นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ในรูปแบบจัดตั้ง “สภาปฏิรูปการเมือง”
จึงต้องจับตาที่ว่า “บิ๊กเซอร์ไพรส์” จาก “นายใหญ่” บรรจงเขียนบทให้น้องสาวเล่นโชว์
สยบความขัดแย้ง ยุติความแตกแยกด้วยแนวทางดังกล่าวนี้จริงหรือไม่
และซ่อนพรางหมากกลอะไรไว้มากกว่านั้น.
http://www.thairath.co.th/column/pol/wikroh/361085
วีรพัฒน์ ปรียวงศ์ : ได้เวลาปฏิรูป ‘เวทีปฎิรูป’ ....... มติชนออนไลน์
ทันทีที่ ′นายกรัฐมนตรี′ เสนอเปิด ′เวทีระดมความคิดเห็น′ เชิญตัวแทนกลุ่มบุคคล
ที่หลากหลายมาร่วมเวทีกำหนดทิศทางการปฏิรูปการเมือง โดยร่วมมือร่วมใจกัน
อย่างสร้างสรรค์ และไว้เนื้อเชื่อใจกัน
เกิดคำถามตามมาว่า เวทีเช่นนี้จำเป็นและมีประโยชน์หรือไม่ ?
คำถามนี้จะถูกตอบได้ก็ด้วยผลงานของเวทีนี้เอง ดังนั้น แทนที่เพียงจะตั้งคำถาม
ผมจึงขอเสนอความเห็นเบื้องต้นก่อนจะลงมือลงแรงกัน ดังนี้
1. ไม่เชื่อใจกันทีหลังยังทัน
ความไว้เนื้อเชื่อใจถือเป็นกุญแจสำคัญ แม้เวทีจะยังไม่ทันเริ่ม ก็อาจมีบางฝ่ายออกตัว
คัดค้านล่วงหน้าว่าจะไม่เข้าร่วม โดยอ้างว่าเวทีดังกล่าวถูกควบคุมหรือชักนำโดยรัฐบาล
ผมเสนอว่าหากรัฐบาลมีความจริงใจ ก็อาจเป็นฝ่ายริเริ่มเสนอต่อสังคมว่า เวทีดังกล่าว
ไม่มีกติกาตายตัว แต่จะให้ผู้ร่วมเวทีช่วยกันออกแบบวิธีการพูดคุยกัน โดยรัฐบาลเป็น
ฝ่ายอำนวยความสะดวก เพื่อให้เกิดความสบายใจและมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย
2. เสริมได้แต่ไม่ซ้ำ
เวทีดังกล่าวไม่ควรถูกคาดหวังให้ทำหน้าที่ทดแทนกลไกการปฏิรูปต่างๆ
ที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะกลไกทางรัฐสภา แต่เวทีดังกล่าว
ควรเป็นกลไกที่เสริมและกระตุ้นกลไกอื่นที่มีอยู่แล้ว โดยอาศัยข้อดี คือ
ความหลากหลาย และความยืดหยุ่น ทั้งนี้ ผมเสนอให้นำประสบการณ์
ความเห็น หรือข้อสรุปจากโครงการประชาเสวนาตลอดจนองค์กรเชิงปฏิรูป
ชุดอื่นๆ ที่เคยมีมาในอดีตและปัจจุบัน เช่นคณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) ที่ถูก
ตั้งขึ้นในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความ
จริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) คณะกรรมการอิสระว่าด้วยการ
ส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.) คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.)
สภาพัฒนาการเมือง รวมทั้งองค์กรปฏิรูปที่ยังไม่ได้ตั้ง เช่น คณะกรรมการปฏิรูป
กระบวนการยุติธรรม ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 81 (4) มาประกอบหรือต่อยอดใน
เวทีนี้ด้วย ก็น่าจะเป็นประโยชน์และไม่สิ้นเปลืองงบประมาณ
3. ยิ่งพูดน้อย ยิ่งอยากฟัง
นอกจากรัฐบาลจะเชิญกลุ่มต่าง ๆ ตามที่ได้แถลงไปแล้วนั้น รัฐบาลอาจ
พิจารณาเชิญกลุ่มอดีตผู้พิพากษาตุลาการ และอดีตผู้นำเหล่าทัพที่
เกษียณอายุราชการและไม่ต้องเกรงใจองค์กรตนอีกต่อไป ให้มาร่วมเวที
พูดคุยด้วย ทั้งนี้ ศาลและกองทัพเป็นฝ่ายที่มีบทบาทและอำนาจในการ
เปลี่ยนแปลงการเมืองมาก แต่ประชาชนกลับเข้าถึงได้ยาก จะมีก็แต่เฉพาะ
อดีตประธานศาล หรือ ผู้บัญชาการทหารบางท่าน ที่สื่อสารกับสังคมมาก
เป็นพิเศษ แต่โดยรวมแล้ว ประชาชนยังถูกจำกัดโอกาสในการพูดคุยและ
ทวงถามคำตอบจากศาลและกองทัพ ในขณะเดียวกัน ผู้ที่อยู่ในศาลและ
กองทัพก็อาจถูกวัฒนธรรมองค์กรจำกัดโอกาสที่จะแสดงความเห็นของ
ตนเองโดยอิสระเช่นกัน
4. สื่อและแขกมีปัญหาพอกัน
รัฐบาลควรร่วมมือกับสื่อมวลชนที่หลากหลายเพื่อสนับสนุนเวทีดังกล่าว
ตลอดจนใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เกิดประโยชน์ เช่น การถ่ายทอดสด
และบันทึกกิจกรรมที่ประชาชนรับชมย้อนหลังได้ และอาจใช้เทคโนโลยี
เพิ่มช่องทางมีส่วนร่วมของประชาชนทั่วถึงมากขึ้น ที่สำคัญ สื่อมวลชน
ควรเพิ่มพื้นที่พูดคุยถกเถียงกัน มากกว่าที่จะกันวงสนทนาเฉพาะของฝ่ายตน
เห็นได้จากสภาพปัจจุบัน ที่รัฐบาลพูดช่องทางหนึ่ง ฝ่ายค้านพูดช่องทางหนึ่ง
ประชาชนแต่ละสี ก็รับฟังเฉพาะช่องทางของตน แต่กลับมีน้อยครั้งที่จะได้พูด
คุยพร้อมกัน หรือรับฟังความเห็นที่ต่างกัน ในขณะเดียวกัน รัฐบาล ฝ่ายค้าน
ผู้มีอำนาจ และแกนนำภาคประชาชน ก็ต้องพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับการซัก
ถามอย่างอดกลั้นและจริงใจ มากไปกว่าการสนทนาและเออออกับพิธีกรรู้ใจ
ในรูปแบบที่ซ้ำซากไปมาดังที่เป็นอยู่ในขณะนี้.
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1375489440&grpid=&catid=02&subcatid=0200
จะเชิญใครไปร่วมเสวนา ก็อย่าลืมสมาชิกห้องรดน. ด้วยกะแล้วกัน มีผู้เทรงคุณวุฒิ
มากมาย และน่าจะเจาะจงคนที่บอกว่า เกลียดอดีตนายกทักษิณฯด้วย เพราะบ้านเมือง
ไม่สามารถสงบได้ หากยังมีคนที่ประกาศอย่างโจ่งแจ้งว่า เกลียดคุณทักษิณ เหมือนอย่าง
ที่ปชป. ก็บอกว่า คุณทักษิณ ต้องมารับโทษที่ถูกกล่าวหา หลังจากเกิดการปฏิวัติ ซะก่อน
เรื่องอื่นๆ ถึงจะพูดกันได้ ...แล้วมันจะปฏิรูปกันได้ไหม ????