คนเกิดมาแล้วตาย ไม่ใช่เรื่องอัศจรรย์

ด้วยเหตุที่ นายคันโตนาซี พยายามจะ "บิดเบือน" พระธรรมวินัยให้เข้ากับมิจฉาทิฐิของมันและพวก
จึงได้ปรากฏว่า นายคนนี้ ได้นำข้อความจาก มหาปรินิพพานสูตร มาอ้างอิงอย่าง "ผิดเพี้ยน" ไปจากพระพุทธประสงค์
เพื่อหวังใช้เป็นหลักฐานสนับสนุน ความคิดความเชื่อโง่ๆ ของมันว่า สัตว์ตายแล้วไปเกิด เป็นความเห็นถูก(ซึ่งไม่จริง)



ประการแรก ที่ท่านทั้งหลายพึงเข้าใจ ก็คือ พระพุทธเจ้าตรัสเอาไว้อย่างชัดเจนว่า เรื่อง สัตว์ตายแล้วไปเกิด
หรือ สัตว์ตายแล้วไม่เกิด ฯลฯ นั้นเป็น อัพยากฤตปัญหา ซึ่งพระพุทธเจ้าจะไม่ทรงพยากรณ์



ข้อความที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ใน โปฏฐปาทสูตร ต้องถือว่าเป็น "ข้อยุติ" แล้วนะครับ กล่าวคือ
การที่นายคันโตนาซีกล่าวข้อความในทำนองว่า มีสัตว์ตายแล้วไปเกิด(ในนรกหรือสวรรค์) แถมยังอ้างอิง
เกี่ยวเนื่องกับ ปฏิจจสมุปบาท นั้นนับว่าเป็น อัพยากฤตปัญหา ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสว่า ไม่ทรงพยากรณ์  



จึงหมายความว่า นายคันโตนาซีและพวก กำลังกล่าวแสดงในสิ่งที่พระพุทธเจ้ามิได้ตรัสไว้
โดยกล่าวในทำนองว่าเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ย่อมเท่ากับเป็นการกล่าวตู่พระพุทธเจ้า นั่นเอง



******************************************************************************

แต่ด้วยความ "หน้าด้าน" เก้อยาก แทนที่คนพวกนี้(ซึ่งอ้างว่าเป็นชาวพุทธ) จะยอมรับพระบาลีพุทธพจน์แต่โดยดี
พวกมันกลับพยายามจะบิดเบือนความหมายที่แท้จริงของพุทธพจน์ ให้เข้ากับมิจฉาทิฐิของพวกมันอย่างปราศจากความละอาย

ข้อเท็จจริง ที่ท่านทั้งหลายพึงทำความเข้าใจให้ถูกต้อง ตรงกับ "หลักการ" ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ก็คือ
อัพยากฤตปัญหา ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า ไม่ทรงบัญญัติ หรือไม่ตรัสพยากรณ์ นั้นหมายถึงอะไร ?

อัพยากฤตปัญหา หมายถึง ทิฐิ ความคิด หรือ ความเชื่อ ที่มีข้อเท็จจริง อันเป็นคำตอบ ได้หลายแง่มุม
แต่การกล่าวแสดง หรือ ตั้งคำถาม เพียงแง่มุมเดียว จึงเท่ากับเป็นการกล่าวที่ "ผิด" ไปจากข้อเท็จจริงที่มันเป็นอยู่

ตัวอย่างเช่น การกล่าวว่า สัตว์ตายแล้วไปเกิดในนรกสวรรค์ กรณีอย่างนี้ จัดเป็น อัพยากฤตปัญหา
เพราะโดยข้อเท็จจริงแล้ว เราไม่สามารถระบุในแง่ใดแง่หนึ่งของข้อเท็จจริง เพียงประการเดียวว่า

(๑) สัตว์เมื่อตายไปแล้ว จะไปเกิดจริง(หรือไม่ ?) เพราะหากสัตว์นั้นหมายถึง พระอรหันต์ เมื่อตาย จะไม่ไปเกิดอีก
(๒) หากสัตว์นั้น หมายถึง โสดาบัน แม้ตายแล้วไปเกิด ก็จริง โดยไม่ไปเกิดในนรกแน่ๆ แต่อาจไม่ไปเกิดในสวรรค์ ก็ย่อมเป็นไปได้เช่นกัน

ด้วยเหตุดังนี้ ข้อความ หรือ คำถามโง่ๆ ของนายคันโตนาซี จึงจัดว่าเป็น อัพยากฤตปัญหา
ซึ่งมีหลายแง่มุมของคำตอบ ที่เป็นไปได้ ตามข้อเท็จจริง
แต่นายคนนั้น กลับกล่าวอย่างผู้มีสติปัญญาคับแคบ โดยแง่ใดแง่หนึ่งเพียงประการเดียว
คำถามโง่ๆ เช่นนั้น จึงย่อมนำมาซึ่งคำตอบโง่ๆ ที่ไม่ประกอบด้วยอรรถ
ไม่ประกอบด้วยธรรม ไม่เป็นเบื้องต้นของพรหมจรรย์ ฯลฯ

ประการต่อมา ที่ท่านทั้งหลายพึงสังเกตให้รอบคอบ ก็คือ
พุทธพจน์ที่ตรัสตอบท่านพระอานนท์ ตามที่นายคันโตนาซียกขึ้นอ้างนั้น แท้ที่จริง
(๑) ไม่จัดว่าเป็น อัพยากฤตปัญหา (๒) ไม่มีส่วนใดที่สอดคล้องกับข้อความโง่ๆ ของ นายคันโตนาซี เลยแม้แต่น้อย

ทั้งนี้เพราะ ข้อความที่พระพุทธเจ้าตรัสนั้น เป็นข้อความซึ่งมีความเป็นไปได้ของคำตอบตามความเป็นจริงเพียงแง่เดียว
จึงไม่จัดว่าเป็น อัพยากฤตปัญหา และมีความแตกต่างจากข้อความโง่ๆ ของคันโตนาซี อย่างสิ้นเชิง ตัวอย่างเช่น ตรัสว่า

"อุบาสกนามว่า สุทัตตะ เป็นพระสกทาคามี กลับมายังโลกนี้คราวเดียวเท่านั้น แล้วจักทำที่สุดแห่งทุกข์"

กรณีเช่นนี้ เป็นการกล่าวโดยระบุตัวบุคคลอย่างชัดเจนว่า กล่าวถึง สกทาคามีบุคคล ชื่อ สุทัตตะ
ซึ่งความเป็นไปได้ของ "คติ" ก็คือการ "กลับมายังโลกนี้คราวเดียวเท่านั้น แล้วจักทำที่สุดแห่งทุกข์"
โดยไม่มีความเป็นไปได้ของคำตอบ หรือ ข้อเท็จจริงอื่นอีก ข้อความนี้จึงจัดเป็น "การแสดงธรรมแง่เดียว(เอกังสิกะ)"

ดังนั้น ด้วยข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏอยู่จริงเป็นอย่างนี้ นายคันโตนาซี จึงไม่ควร "สะเออะ" ยกข้อความโง่ๆ ของตน
ขึ้นมาเทียบเทียมกับ พุทธพจน์ ซึ่งตรัสไว้ดีแล้ว อย่างไม่รู้จัก "เจียมตัว" ดังที่พยายามกระทำอยู่นี้(อย่างปราศจากความละอาย)

******************************************************************************

ประเด็นสุดท้าย ที่ท่านทั้งหลายพึงพิจารณาอย่างรอบคอบยิ่ง ก็คือ ถ้าหากนายคันโตนาซี จะมีสติปัญญามากพอ
สามารถอ่านและอ้างพระสูตรให้ตลอดจนจบ ก็จะพบพระบาลีที่ตรัสสอนในสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง ดังนี้คือ

หลังจากที่ พระพุทธเจ้า ตรัสตอบคำถามของ ท่านพระอานนท์
ในเรื่อง คติ ทางไปของอริยบุคคลท่านต่างๆ แล้วนั้น ก็ได้ตรัสต่อไปอีกว่า

(๑) ข้อที่ผู้เกิดมาเป็นมนุษย์แล้วจะพึงทำกาละนั้นไม่อัศจรรย์
(คือ เรื่องการตายและคติที่ไปของผู้อื่น ไม่ได้มีความสำคัญ)

(๒) ตรัสแสดง แว่นธรรม เพื่อใช้สำหรับพยากรณ์ตนเอง
(คือ ไม่ควรไปใส่ใจในเรื่องของผู้อื่น นอกจากเรื่องความดับกิเลสของตน)



นั่นย่อมเท่ากับว่า พระพุทธเจ้าทรงเห็นว่า เรื่องที่เกี่ยวกับคน ในทำนองว่า ตายแล้วไปไหน ?
หรือมี คติ อย่างไรนั้น มิได้เป็นเรื่องที่มีความสำคัญ หรือ อัศจรรย์ อะไรเลย มิหนำซ้ำยังตรัสว่า
ถ้าหากมีใครตาย แล้วจะต้องมากราบทูลถามทุกครั้งไป ก็เท่ากับเป็นการสร้างความลำบากให้แก่พระพุทธเจ้า

แต่ก็น่าแปลก ที่พวกเม็ดมะขาม กลับให้ความสำคัญ(อย่างยิ่ง) กับเรื่องที่พระพุทธเจ้ามิทรงเห็นว่า สำคัญ !

แต่ในเรื่องที่มีความสำคัญยิ่ง พวกเม็ดมะขาม กลับไม่ให้ความสำคัญ ก็คือ แว่นธรรม ซึ่งเป็นหลักการ
ที่ใช้สำหรับพิจารณาตนเองว่า เป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว เป็นต้นนี้ กล่าวคือ มีความเลื่อมใสในพระรัตนตรัย
มีศีลบริสุทธิ์อันตัณหาและทิฐิไม่ลูบคลำ เป็นไปเพื่อสมาธิ ซึ่งประเด็นที่สำคัญที่สุด และสอดคล้องกับ
ความข้างต้น ก็คือ พระพุทธเจ้าตรัสสอนให้พิจารณาตนเอง ไม่ควรไปเสียเวลาพิจารณาเรื่องของคนอื่น เช่น
แทนที่จะไปสนใจว่าคนอื่นตายแล้วไปเกิดอย่างไร ก็ควรสนใจในเรื่อง ศีลสมาธิปัญญาของตน จะเป็นประโยชน์มากกว่า

ถ้าหัด "รู้จัก" แยกแยะ ลำดับความสำคัญ(หรือความไม่สำคัญ) กันให้ได้เสียบ้าง ก็คงจะดีมิใช่น้อย นะครับ

******************************************************************************

สรุป

(๑) ข้อความโง่ๆ ของคันโตนาซี เป็น (อ)ธรรม ที่มีหลายแง่(อเนกังสิกะ) จัดเป็น อัพยากฤตปัญหา ซึ่งพระพุทธเจ้าไม่ตรัสพยากรณ์
นี่เป็นข้อเท็จจริง ที่คันโตนาซีและพวก มิอาจปฏิเสธได้เลย เว้นเสียแต่จะใช้ความหน้าด้านเก้อยาก เข้าสู้ !

(๒) พระดำรัสของพระพุทธเจ้าที่ นายคันโตนาซี ยกขึ้นอ้างนั้น มิได้เป็น อัพยากฤตปัญหา
เพราะเป็นการแสดงธรรมที่มีแง่เดียว(เอกังสิกะ) มีความเป็นไปได้ของคำตอบเพียงหนึ่งเดียว
ซึ่งย่อมแตกต่างไปจากข้อความโง่ๆ ของคันโตนาซี อย่างมิอาจเปรียบเทียบกันได้เลย !

(๓) ข้อความบางส่วนจาก มหาปรินิพพานสูตร ข้อ ๘๙ ถ้าท่านทั้งหลายจะอุตสาหะอ่านให้จบ เพียงข้อนี้ข้อเดียว
ก็จะทราบข้อเท็จจริงว่า แม้พระพุทธเจ้าจะตรัสตอบคำถามของท่านพระอานนท์ ก็จริง แต่ก็ได้ตรัสต่อไปอีกว่า
เรื่องที่ท่านพระอานนท์กราบทูลถามนั้น เป็นเรื่องที่ไม่มีความสำคัญหรืออัศจรรย์ใดๆ เลย
แถมยังเป็นการสร้างความลำบากให้กับพระพุทธเจ้า อย่างเกินจำเป็นอีกด้วย !

แต่ส่วนที่มีความสำคัญที่สุดของพระบาลีจาก มหาปรินิพพานสูตร ข้อ ๘๙ นี้ก็คือเรื่อง แว่นธรรม
ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสหลักการนี้ไว้สำหรับสาวกทั้งหลายใช้ในการพิจารณาตน ว่าเป็นผู้ที่พ้นจากอบาย ฯ แล้วหรือไม่
โดยไม่จำเป็นต้องไปใส่ใจในเรื่อง คติที่ไป ของผู้อื่น ซึ่งไม่มีประโยชน์ในทางดับทุกข์ของตนเลยแม้แต่น้อย

(๔) เรื่องจึงกลายเป็นว่า นายคันโตนาซีและพวก ไปให้ความสำคัญ
และสนใจอยู่กับเรื่องที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า ไม่สำคัญ ไม่อัศจรรย์
แต่กลับไม่อ้างถึง ไม่พูดถึง รวมถึงอาจจะอ่านไปไม่ถึง(ทั้งๆ ที่เป็นพระบาลีข้อเดียวกัน)
ก็คือเรื่อง แว่นธรรม ซึ่งเกี่ยวข้องกับความดับทุกข์ของตน !

(๕) แต่สิ่งที่เลวร้ายอย่างที่สุด ของพวกเม็ดมะขาม ก็คือ ความพยายามจะกล่าวตู่บิดเบือนพุทธพจน์
เพื่อให้เข้ากันได้กับมิจฉาทิฐิของพวกมัน อย่างปราศจากความละอายและเกรงกลัวต่อบาป

ความคิดความเชื่อ และคำพูดคำถาม ในทำนองว่ามีสัตว์ตายแล้วไปเกิด ไม่ว่าจะเป็นรกหรือสวรรค์ ก็ตาม
จัดเป็นความเห็นผิด เป็นอัพยากฤตปัญหา ที่พระพุทธเจ้าไม่ตรัสพยากรณ์ ดังนั้น หากใครผู้ใด ยังกล่าวว่า
พระพุทธเจ้า ตรัสพยากรณ์ เรื่องที่สอดคล้องกับ ข้อความโง่ๆ ของนายคันโตนาซีอยู่อีก
ก็เท่ากับว่า มันกำลังกล่าวตู่พระพุทธเจ้าโดยเจตนา ซึ่งจะเป็นบาปกรรม มิใช่น้อย !

หวังว่าจะสามารถทำความเข้าใจได้ตามสมควร นะครับ
แสดงความคิดเห็น
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ  ปฏิบัติธรรม พระไตรปิฎก มหาสติปัฏฐาน 4 ศาสนาพุทธ
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่