จากมติชนออนไลน์
พล.ต.ต.ปิยะ ต๊ะวิชัย ผบก.จร. เปิดเผยเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม ว่า บก.จร.ร่วมกับสำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานครได้ทำการศึกษาร่วมกัน และพบว่า มี 10 ถนนสายหลักที่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นบ่อย ในกรุงเทพมหานคร ดังนี้
ลำดับที่ 1. ถนนเพชรบุรี บริเวณแยกอโศก – เพชรบุรี จุดที่เกิดเหตุบ่อยที่สุดได้แก่ บริเวณแยกอโศก – เพชรบุรี ช่วงแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ สถานีมักกะสัน เนื่องจากรถที่มุ่งหน้าออกจากถนนกำแพงเพชร 7 เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนอโศกมนตรี และรถจากถนนอโศก – ดินแดง ทางตรงมักแยกช่องจราจรจนทำให้เกิดการเฉี่ยวชนกันบ่อยครั้ง นอกจากนี้รถจากถนนอโศก – ดินแดง เลี้ยวขวาเข้าถนนกำแพงเพชร 7 เลียบทางรถไฟเพื่อเข้าสู่ถนนนิคมมักกะสัน โดยใช้วิธีขับผิดช่องจราจร (ย้อนศร) และตัดหน้ารถคันอื่นๆ ซึ่งทั้งสองปัจจัยทำให้บริเวณแยกอโศก – เพชรบุรี ติดลำดับจุดเสี่ยงอุบัติเหตุมากที่สุด
ลำดับที่ 2 ทางด่วนขั้นที่ 2 บริเวณต่างระดับพญาไท โดยอุบัติเหตุเกิดจากรถที่อยู่เลนซ้ายสุดเปลี่ยนเลนกะทันหันตัดหน้ารถที่กำลังมุ่งหน้าลงทางต่างระดับพญาไท เพื่อมุ่งหน้าลงทางต่างระดับยมราชทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง นอกจากนี้รถที่ลงจากทางต่างระดับพญาไทที่อยู่เลนขวาสุดจะมุ่งหน้าไปอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิต้องเบียดแย่งเลนกับรถทางตรงบนถนนพหลโยธินทำให้เกิดการเฉี่ยวชนกัน รวมทั้งรถจากจุดทางลงต่างระดับพญาไทที่อยู่เลนซ้ายสุด มักมีการเบียดแย่งเลน เพื่อเบี่ยงเข้าช่องจราจรทางด้านขวามุ่งหน้าเข้าสู่ถนนพญาไท ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุ
ลำดับที่ 3 ถนนสุขุมวิท บริเวณซอยสุขุมวิท 24 โดยเฉพาะรถจักรยานยนต์ ที่ขับตัดหน้าในระยะกระชั้นชิด ขณะที่จอดรอสัญญาณไฟจราจร เมื่อรถเคลื่อนตัวจึงเกิดอุบัติเหตุ นอกจากนี้ยังเกิดจากรถที่ออกจากซอยแยกย่อย เข้าสู่ซอยสุขุมวิท 24 เพื่อมุ่งหน้าไปยังถนนสุขุมวิท เบียดแย่งช่องจราจรกับรถทางตรง แทนที่จะใช้วิธีเปิดไฟขอทางจากรถคันอื่น กลับใช้วิธีตัดหน้ารถคันอื่นอย่างกระชั้นชิด
ลำดับที่ 4 ถนนลาดพร้าว บริเวณซอยลาดพร้าว 101 ซึ่งเกิดจากรถที่วิ่งสวนมาจากถนนโพธิ์แก้ว มุ่งหน้าเข้าวัดบึงทองหลาง โดยไม่สังเกตรถทางตรงจึงเกิดการชนอย่างกระชั้นชิด รวมถึงรถที่วิ่งมาจากถนนโพธิ์แก้วเลี้ยวซ้ายออกสู่ถนนลาดพร้าว 101 แย่งช่องจราจรกับรถทางตรงทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง นอกจากนี้รถที่ขับจากซอยลาดพร้าว 101 เลี้ยวเข้าถนนโพธิ์แก้วทั้งสองด้านเบียดเข้าช่องจราจรเดียวกัน ทำให้เกิดการเฉี่ยวชนกันขึ้น
ลำดับที่ 5 ถนนพระราม 2 บริเวณหน้าห้างเซ็นทรัลพลาซ่า พระราม 2 ซึ่งเกิดจากรถที่ออกจากเซ็นทรัลฯ มักเบี่ยงเลนเพื่อเข้าช่องจราจรด้านขวาสุด ให้รถที่มาจากทางเอกด้วยความเร็วสูงไม่สามารถเบรกได้ทัน รวมถึงบริเวณหน้าเซ็นทรัลฯ มีสะพานกลับรถตั้งอยู่ ทำให้รถที่ลงจากสะพานกลับรถรีบเปลี่ยนช่องทางจราจรกะทันหัน และตัดหน้ารถทางตรงอย่างกระชั้นชิด โดยไม่รอให้รถทางตรงไปก่อน ก่อให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นบ่อยครั้ง
ลำดับที่ 6 ถนนเคหะร่มเกล้า บริเวณสามแยกโรงเรียนอรรถญาสาธิต เนื่องจากผู้ขับขี่เกิดความสับสนในช่องจราจร และขาดความระมัดระวัง ทำให้เกิดการเบียดแย่งช่องทางจราจร เช่น รถที่มุ่งหน้าออกจากโรงเรียนฯ ไม่มองขวาขับรถออกเส้นทางหลักทันที จึงชนกับรถที่ออกมาจากการเคหะฯ หรือรถที่มุ่งหน้าเข้าการเคหะฯ ไม่ทันระวังด้านขวาจึงเกิดการเฉี่ยวชนกับรถที่ออกจากโรงเรียนเพื่อเข้าการเคหะฯเช่นกัน
ลำดับที่ 7 ถนนอ่อนนุช (สุขุมวิท 77) บริเวณตลาดอ่อนนุช หน้าศูนย์การค้าบิ๊กซีเอ็กซ์ตร้า (BIG C EXTRA) ซึ่งผู้ขับขี่ที่เลี้ยวซ้ายออกจากบิ๊กซีสู่ถนนอ่อนนุช (สุขุมวิท 77) แทนที่จะค่อยๆ ขอสัญญาณไฟแล้วเบี่ยงเข้าเลนขวา กลับใช้วิธีขับรถตัดรถคันอื่นเข้าสู่เลนขวาสุดเพื่อเลี้ยวขวาสู่ถนนสุมขุมวิท รวมถึงรถที่เลี้ยวขวาออกจากบิ๊กซี มักจะตัดหน้ารถทางตรงอย่างกระชั้นชิด เพื่อมุ่งหน้าไปลาดกระบัง ทำให้เกิดการเฉี่ยวชนเป็นประจำ นอกจากนี้ยังเกิดจากรถที่ขับลงจากสะพานข้ามคลองพระโขนง เลี้ยวซ้ายเข้าถนนอ่อนนุช มักเบียดช่องจราจรกับรถที่ขับมาจากจุดกลับรถใต้สะพานในระยะกระชั้นชิด จนเกิดการเฉี่ยวชนกันขึ้น
ลำดับที่ 8 ถนนสุวินทวงศ์ บริเวณสุวินทวงศ์ขาออก ช่วงกิโลเมตรที่ 52 – 55 โดยถนนช่วงดังกล่าวมีเนินสะพานสูงสลับกับทางโค้งจำนวนมาก ซึ่งจุดนี้ผู้ขับขี่ที่ใช้ความเร็วสูงเกินกำหนด มักจะควบคุมรถได้ยากและหลุดโค้งบ่อยครั้ง นอกจากนี้ปัจจัยที่ทำให้ถนนเส้นนี้มีอุบัติเหตุได้ง่าย คือ กรณีฝนตก ลักษณะผิวถนนที่มีความลื่นมากในช่วงเวลาฝนตก ทำให้รถที่ใช้ความเร็วสูงเสียการควบคุม เมื่อถึงทางโค้งจึงหลุดโค้ง และไถลตกข้างทาง
ลำดับที่ 9 ถนนพระราม 9 บริเวณสี่แยกพระราม 9 – ประดิษฐ์มนูธรรม โดยเกิดจากรถที่เลี้ยวซ้ายจากถนนประดิษฐ์มนูธรรมมักเบี่ยงเข้าเลนขวาอย่างกระทันหัน และตัดหน้ารถในทางตรงจนเกิดการเฉี่ยวชนอย่างกระชั้นชิด นอกจากนี้รถที่ออกจากถนนประดิษฐ์มนูธรรมทั้ง 2 ด้านได้รับสัญญาณไฟเลี้ยวขวาพร้อมกัน การเกิดอุบัติเหตุจึงเกิดจากผู้ขับขี่ที่ใช้ความเร็วสูง ทำให้ต้องตีโค้งกว้างขึ้น จนเกิดการเฉี่ยวชน
ลำดับที่ 10 ถนนนวมินทร์ บริเวณหน้าการเคหะแห่งชาติ โดยอุบัติเหตุเกิดจากรถที่ออกจากซอยเพื่อเลี้ยวซ้ายเข้าถนนนวมินทร์มุ่งหน้าแยกบางกะปิ ขาดความระมัดระวังตัดหน้ารถที่ขับในช่องทางเอกอย่างกระชั้นชิดทำให้เกิดการเฉี่ยวชนอยู่เป็นประจำ นอกจากนี้ยังเกิดจากรถที่ออกจากซอยนวมินทร์ 10 ต้องการข้ามไปยังฝั่งตรงข้ามเพื่อมุ่งหน้าไปยังถนนรามอินทรา แทนที่จะใช้วิธีเลี้ยวซ้ายแล้วค่อยๆชิดช่องทางขวาเพื่อกลับรถในช่องทางข้างหน้า กลับใช้วิธีตัดหน้ารถคันอื่นข้ามไปยังอีกฝั่งหนึ่งทันที
พล.ต.ต.ปิยะ ต๊ะวิชัย ผบก.จร. กล่าวเพิ่มเติมว่า กรณีดังกล่าวจากสถิติ คนเจ็บ คนตาย โดยภาพรวมทั้งประเทศ ปี 2556 ตั้งแต่เดือน ม.ค. – มิ.ย. 2556 บาดเจ็บ 285,593 ราย และเสียชีวิตจำนวน 3,942 ราย ซึ่งก่อให้เกิดความสูญเสีย และความเสียหายทั้งที่คำนวณเป็นตัวเงินได้และคำนวณเป็นตัวเงินไม่ได้ บก.จร. จึงได้จัดตั้งคณะทำงานเกี่ยวกับการสืบสวนอุบัติเหตุ (AI – Accident Investigation ) มาศึกษาในเรื่องนี้โดยเฉพาะแล้ว
เช็คเลย!! 10 ถนน ในกรุงเทพฯ เส้นไหนบ้าง "เสี่ยงตาย!!"
พล.ต.ต.ปิยะ ต๊ะวิชัย ผบก.จร. เปิดเผยเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม ว่า บก.จร.ร่วมกับสำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานครได้ทำการศึกษาร่วมกัน และพบว่า มี 10 ถนนสายหลักที่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นบ่อย ในกรุงเทพมหานคร ดังนี้
ลำดับที่ 1. ถนนเพชรบุรี บริเวณแยกอโศก – เพชรบุรี จุดที่เกิดเหตุบ่อยที่สุดได้แก่ บริเวณแยกอโศก – เพชรบุรี ช่วงแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ สถานีมักกะสัน เนื่องจากรถที่มุ่งหน้าออกจากถนนกำแพงเพชร 7 เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนอโศกมนตรี และรถจากถนนอโศก – ดินแดง ทางตรงมักแยกช่องจราจรจนทำให้เกิดการเฉี่ยวชนกันบ่อยครั้ง นอกจากนี้รถจากถนนอโศก – ดินแดง เลี้ยวขวาเข้าถนนกำแพงเพชร 7 เลียบทางรถไฟเพื่อเข้าสู่ถนนนิคมมักกะสัน โดยใช้วิธีขับผิดช่องจราจร (ย้อนศร) และตัดหน้ารถคันอื่นๆ ซึ่งทั้งสองปัจจัยทำให้บริเวณแยกอโศก – เพชรบุรี ติดลำดับจุดเสี่ยงอุบัติเหตุมากที่สุด
ลำดับที่ 2 ทางด่วนขั้นที่ 2 บริเวณต่างระดับพญาไท โดยอุบัติเหตุเกิดจากรถที่อยู่เลนซ้ายสุดเปลี่ยนเลนกะทันหันตัดหน้ารถที่กำลังมุ่งหน้าลงทางต่างระดับพญาไท เพื่อมุ่งหน้าลงทางต่างระดับยมราชทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง นอกจากนี้รถที่ลงจากทางต่างระดับพญาไทที่อยู่เลนขวาสุดจะมุ่งหน้าไปอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิต้องเบียดแย่งเลนกับรถทางตรงบนถนนพหลโยธินทำให้เกิดการเฉี่ยวชนกัน รวมทั้งรถจากจุดทางลงต่างระดับพญาไทที่อยู่เลนซ้ายสุด มักมีการเบียดแย่งเลน เพื่อเบี่ยงเข้าช่องจราจรทางด้านขวามุ่งหน้าเข้าสู่ถนนพญาไท ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุ
ลำดับที่ 3 ถนนสุขุมวิท บริเวณซอยสุขุมวิท 24 โดยเฉพาะรถจักรยานยนต์ ที่ขับตัดหน้าในระยะกระชั้นชิด ขณะที่จอดรอสัญญาณไฟจราจร เมื่อรถเคลื่อนตัวจึงเกิดอุบัติเหตุ นอกจากนี้ยังเกิดจากรถที่ออกจากซอยแยกย่อย เข้าสู่ซอยสุขุมวิท 24 เพื่อมุ่งหน้าไปยังถนนสุขุมวิท เบียดแย่งช่องจราจรกับรถทางตรง แทนที่จะใช้วิธีเปิดไฟขอทางจากรถคันอื่น กลับใช้วิธีตัดหน้ารถคันอื่นอย่างกระชั้นชิด
ลำดับที่ 4 ถนนลาดพร้าว บริเวณซอยลาดพร้าว 101 ซึ่งเกิดจากรถที่วิ่งสวนมาจากถนนโพธิ์แก้ว มุ่งหน้าเข้าวัดบึงทองหลาง โดยไม่สังเกตรถทางตรงจึงเกิดการชนอย่างกระชั้นชิด รวมถึงรถที่วิ่งมาจากถนนโพธิ์แก้วเลี้ยวซ้ายออกสู่ถนนลาดพร้าว 101 แย่งช่องจราจรกับรถทางตรงทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง นอกจากนี้รถที่ขับจากซอยลาดพร้าว 101 เลี้ยวเข้าถนนโพธิ์แก้วทั้งสองด้านเบียดเข้าช่องจราจรเดียวกัน ทำให้เกิดการเฉี่ยวชนกันขึ้น
ลำดับที่ 5 ถนนพระราม 2 บริเวณหน้าห้างเซ็นทรัลพลาซ่า พระราม 2 ซึ่งเกิดจากรถที่ออกจากเซ็นทรัลฯ มักเบี่ยงเลนเพื่อเข้าช่องจราจรด้านขวาสุด ให้รถที่มาจากทางเอกด้วยความเร็วสูงไม่สามารถเบรกได้ทัน รวมถึงบริเวณหน้าเซ็นทรัลฯ มีสะพานกลับรถตั้งอยู่ ทำให้รถที่ลงจากสะพานกลับรถรีบเปลี่ยนช่องทางจราจรกะทันหัน และตัดหน้ารถทางตรงอย่างกระชั้นชิด โดยไม่รอให้รถทางตรงไปก่อน ก่อให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นบ่อยครั้ง
ลำดับที่ 6 ถนนเคหะร่มเกล้า บริเวณสามแยกโรงเรียนอรรถญาสาธิต เนื่องจากผู้ขับขี่เกิดความสับสนในช่องจราจร และขาดความระมัดระวัง ทำให้เกิดการเบียดแย่งช่องทางจราจร เช่น รถที่มุ่งหน้าออกจากโรงเรียนฯ ไม่มองขวาขับรถออกเส้นทางหลักทันที จึงชนกับรถที่ออกมาจากการเคหะฯ หรือรถที่มุ่งหน้าเข้าการเคหะฯ ไม่ทันระวังด้านขวาจึงเกิดการเฉี่ยวชนกับรถที่ออกจากโรงเรียนเพื่อเข้าการเคหะฯเช่นกัน
ลำดับที่ 7 ถนนอ่อนนุช (สุขุมวิท 77) บริเวณตลาดอ่อนนุช หน้าศูนย์การค้าบิ๊กซีเอ็กซ์ตร้า (BIG C EXTRA) ซึ่งผู้ขับขี่ที่เลี้ยวซ้ายออกจากบิ๊กซีสู่ถนนอ่อนนุช (สุขุมวิท 77) แทนที่จะค่อยๆ ขอสัญญาณไฟแล้วเบี่ยงเข้าเลนขวา กลับใช้วิธีขับรถตัดรถคันอื่นเข้าสู่เลนขวาสุดเพื่อเลี้ยวขวาสู่ถนนสุมขุมวิท รวมถึงรถที่เลี้ยวขวาออกจากบิ๊กซี มักจะตัดหน้ารถทางตรงอย่างกระชั้นชิด เพื่อมุ่งหน้าไปลาดกระบัง ทำให้เกิดการเฉี่ยวชนเป็นประจำ นอกจากนี้ยังเกิดจากรถที่ขับลงจากสะพานข้ามคลองพระโขนง เลี้ยวซ้ายเข้าถนนอ่อนนุช มักเบียดช่องจราจรกับรถที่ขับมาจากจุดกลับรถใต้สะพานในระยะกระชั้นชิด จนเกิดการเฉี่ยวชนกันขึ้น
ลำดับที่ 8 ถนนสุวินทวงศ์ บริเวณสุวินทวงศ์ขาออก ช่วงกิโลเมตรที่ 52 – 55 โดยถนนช่วงดังกล่าวมีเนินสะพานสูงสลับกับทางโค้งจำนวนมาก ซึ่งจุดนี้ผู้ขับขี่ที่ใช้ความเร็วสูงเกินกำหนด มักจะควบคุมรถได้ยากและหลุดโค้งบ่อยครั้ง นอกจากนี้ปัจจัยที่ทำให้ถนนเส้นนี้มีอุบัติเหตุได้ง่าย คือ กรณีฝนตก ลักษณะผิวถนนที่มีความลื่นมากในช่วงเวลาฝนตก ทำให้รถที่ใช้ความเร็วสูงเสียการควบคุม เมื่อถึงทางโค้งจึงหลุดโค้ง และไถลตกข้างทาง
ลำดับที่ 9 ถนนพระราม 9 บริเวณสี่แยกพระราม 9 – ประดิษฐ์มนูธรรม โดยเกิดจากรถที่เลี้ยวซ้ายจากถนนประดิษฐ์มนูธรรมมักเบี่ยงเข้าเลนขวาอย่างกระทันหัน และตัดหน้ารถในทางตรงจนเกิดการเฉี่ยวชนอย่างกระชั้นชิด นอกจากนี้รถที่ออกจากถนนประดิษฐ์มนูธรรมทั้ง 2 ด้านได้รับสัญญาณไฟเลี้ยวขวาพร้อมกัน การเกิดอุบัติเหตุจึงเกิดจากผู้ขับขี่ที่ใช้ความเร็วสูง ทำให้ต้องตีโค้งกว้างขึ้น จนเกิดการเฉี่ยวชน
ลำดับที่ 10 ถนนนวมินทร์ บริเวณหน้าการเคหะแห่งชาติ โดยอุบัติเหตุเกิดจากรถที่ออกจากซอยเพื่อเลี้ยวซ้ายเข้าถนนนวมินทร์มุ่งหน้าแยกบางกะปิ ขาดความระมัดระวังตัดหน้ารถที่ขับในช่องทางเอกอย่างกระชั้นชิดทำให้เกิดการเฉี่ยวชนอยู่เป็นประจำ นอกจากนี้ยังเกิดจากรถที่ออกจากซอยนวมินทร์ 10 ต้องการข้ามไปยังฝั่งตรงข้ามเพื่อมุ่งหน้าไปยังถนนรามอินทรา แทนที่จะใช้วิธีเลี้ยวซ้ายแล้วค่อยๆชิดช่องทางขวาเพื่อกลับรถในช่องทางข้างหน้า กลับใช้วิธีตัดหน้ารถคันอื่นข้ามไปยังอีกฝั่งหนึ่งทันที
พล.ต.ต.ปิยะ ต๊ะวิชัย ผบก.จร. กล่าวเพิ่มเติมว่า กรณีดังกล่าวจากสถิติ คนเจ็บ คนตาย โดยภาพรวมทั้งประเทศ ปี 2556 ตั้งแต่เดือน ม.ค. – มิ.ย. 2556 บาดเจ็บ 285,593 ราย และเสียชีวิตจำนวน 3,942 ราย ซึ่งก่อให้เกิดความสูญเสีย และความเสียหายทั้งที่คำนวณเป็นตัวเงินได้และคำนวณเป็นตัวเงินไม่ได้ บก.จร. จึงได้จัดตั้งคณะทำงานเกี่ยวกับการสืบสวนอุบัติเหตุ (AI – Accident Investigation ) มาศึกษาในเรื่องนี้โดยเฉพาะแล้ว