[SR] เสน่ห์แห่งอีสานใต้ โคราช-สุรินทร์-อุบล Part 1 เยือนชุมชนคนทำเทียน จ. อุบลราชธานี

งานประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี
ถือเป็นประเพณี และงานบุญที่มีประวัติความเป็นมายาวนานและยิ่งใหญ่ที่สุดของจังหวัด
โดยจัดขึ้นในช่วงวันขึ้น 15 ค่ำและแรม 1 ค่ำเดือน 8 ของทุกปี
ว่ากันว่าเริ่มมีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อครั้งพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์
ซึ่งเป็นข้าหลวงใหญ่ของมณฑลลาวกาว(ตั้งอยู่บริเวณจังหวัดอุบล) ได้เห็นการบาดเจ็บล้มตายจากงานบุญบั้งไฟ
จึงให้ยกเลิกการจัดงาน และให้เปลี่ยนเป็นการแห่เทียนเข้าพรรษาเพื่อนำไปถวายวัดแทน

เวลาผ่านไปจากเดิมที่ชาวบ้านในแต่ละชุมชนรวบรวมเทียนมาหลวมรวมกันอย่างง่ายๆ
มีการพัฒนาตกแต่งให้สวยงามวิจิตรบรรจงมากขึ้นเรื่อยๆ และมีการแตกแขนงประเภทของต้นเทียนออกไป
ระยะแรกมีเพียงเทียนมัดตกแต่งด้วยกระดาษเงินกระดาษทอง กลายเป็นเทียนแบบติดพิมพ์ และแบบสลักลาย

ด้วยการแห่เทียนเข้าพรรษาของเมืองอุบลที่มีมานับร้อยปี ทำให้มีวิวัฒนาการหลากหลายมิติ
จึงมีเพิ่มการร้องรำทำเพลง การแสดงต่างๆ มากมายในขบวนของแต่ละคุ้มบ้าน
ซึ่งล้วนแต่ได้มาจากการร่วมแรงร่วมใจของทุกคน ถึงมีการกล่าวว่า มูลค่าที่ลงไปในกระบวนการต่างๆ
ก่อนจะมาเป็นขบวนแห่ที่สวยงามสมบูรณ์แบบ มากกว่าเงินรางวัลที่ตั้งไว้หลายเท่าที่เดียว
นั่นแสดงให้เห็นว่า “เงินรางวัล” ไม่ใช่เป้าหมายหลัก
แต่อยู่ที่การได้ร่วมแรงร่วมใจ การสร้างความภาคภูมิใจ และการเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชุมชน
เพราะฉะนั้น ในฐานะนักท่องเที่ยวนอกจากความงามอันน่าทึ่งของช่างศิลป์เมืองอุบลแล้ว
พลังที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชุมชน ถูกส่งมาให้เรารู้สึกได้ในทันที
และคุ้มค่าที่จะเดินทางหลายร้อยกิโลเพื่อสัมผัสของจริงที่เมืองอุบลนะครับ ...

ชื่อสินค้า:   อุบลราชธานี
คะแนน:     
**SR - Sponsored Review : ผู้เขียนรีวิวนี้ไม่ได้ซื้อสินค้าหรือเสียค่าบริการเอง แต่มีผู้สนับสนุนสินค้าหรือบริการนี้ให้แก่ผู้เขียนรีวิว โดยที่ผู้เขียนรีวิวไม่ได้รับสิ่งตอบแทนอื่นใดในการเขียนรีวิว
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่