ครอบครัวไหนมีลูกติดยาเสพติด สร้างความเจ็บปวดให้พ่อแม่อย่างแสนสาหัส ดังนั้นการช่วยเหลือเด็กที่ติดยาเสพติด จึงเป็นหน้าที่สำคัญที่สุด ที่ทุกคนในครอบครัวจะต้องร่วมมือร่วมใจกัน โดยอาศัยความรัก ความเข้าใจ เป็นพื้นฐานในการทำใจยอมรับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น
การติดยาเสพติดจะติดทั้งทางร่างกายและจิตใจ การติดทางร่างกายสามารถรักษาได้ แต่การติดทางจิตใจเป็นสาเหตุสำคัญและรักษาอยาก จึงทำให้เด็กกลับไปใช้ยาเสพติดซ้ำอีก ดังนั้น การช่วยเหลือเด็กที่หลงผิด และต้องการจะเลิกใช้ยาเสพติดอย่างเด็ดขาด จะต้องนำเข้าฟื้นฟูสมรรถภาพทางด้านจิตใจ เพื่อให้เด็กสามารถเรียนรู้ ที่จะพัฒนาตนเอง จิตใจ สร้างความมั่นคงเข้มแข็งให้กับจิตใจและสามารถแก้ปัญหาทางอารมณ์ได้อย่างเหมาะสมโดยไม่ต้องพึ่งยาเสพติดอีก และเมื่อมีลูกติดยาเสพติด พ่อ แม่ ควรปฏิบัติในสิ่งต่อไปนี้
1. ระงับสติอารมณ์ อย่าวู่วาม
2. ยอมรับความจริง ยอมรับสภาพว่าลูกติดยา เพื่อเตรียมตัวช่วยเหลือเด็ก
3. อย่าแสดงความก้าวร้าวกับเด็ก เพราะจะทำให้เด็กปกปิดซ่อนเร้นมากขึ้น
4. แสดงความรัก ความเห็นใจอย่างจริงใจ เพื่อให้เด็กยอมเปิดใจ ยอมรับความช่วยเหลือ
5. พ่อแม่ต้องหาข้อมูลเพิ่มเติม เช่น ชนิดและฤทธิ์ของยาที่ลูกเสพ ระยะเวลาที่เสพ ปริมาณยาที่ใช้เสพ ทั้งนี้โดยอาจหาจากแหล่งข้อมูลต่างๆ เช่น เพื่อนสนิท ครูที่โรงเรียน ห้องนอน กระเป๋าเสื้อผ้า เป็นต้น
6. ปรึกษาผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญเฉพาะ เช่น ศูนย์ให้คำปรึกษาปัญหายาเสพติด
7. หากเด็กติดยาเสพติดจนกระทั่งมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายและจิตใจ มีพฤติกรรมและบุคลิกภาพเบี่ยงเบนไปจากเดิม และครอบครัวอาจไม่มีเวลา หรือไม่สามารถแก้ไขปัญหาแก่ เด็กได้ พ่อแม่ควรส่งเด็กเข้ารับการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพทางด้านจิตใจ ในสถานบำบัดรักษาต่างๆ ทั่วประเทศ
อย่างไรก็ตาม ครอบครัวไม่ควรคาดหวัง หรือคอยรอรับความช่วยเหลือจากสถานบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ แต่เพียงอย่างเดียว เพราะหน่วยงานดังกล่าว มีหน้าที่ความรับผิดชอบอยู่ในขอบเขตจำกัด แต่ครอบครัว คือ กลุ่มคนที่ใกล้ชิดกับเด็กมากที่สุด จึงเป็นผู้ที่สามารถช่วยเหลือเด็กได้ดีที่สุด
ทว่าหากเป็นไปได้ควรสร้างภูมิคุ้มกันการใช้ยาเสพติดให้กับเด็ก โดยให้ความรัก ความเข้าใจ ความใกล้ชิดสนิทสนม มีการใช้เวลาว่างทำกิจกรรมร่วมกัน เปิดใจยอมรับฟังความคิดเห็นของกันและกันในทุกเรื่อง และเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นในครอบครัว ควรร่วมมือกันหาแนวทางแก้ไขอย่างสันติ เพื่อให้เด็กเป็นผู้มีสุขภาพจิตดี และมีบุคลิกภาพที่เหมาะสม ไม่คิดใช้/ลองยาเสพติด เพราะการป้องกันปัญหา ก่อนที่เด็กจะใช้ยาย่อมง่ายกว่าการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว
ยาเสพติดป้องกันได้ ด้วยความเข้าใจจากครอบครัว
โดย..นางสาวสุวพักตร์ พนมวัน ณ อยุธยา
. Copyright © NARCOTICS CONTROL TECHNOLOGY CENTER All Right Reserved 2009.
ลิขสิทธิ์โดย สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด.
Best Graphic Quality 1024X768 Resolution, Webbrowser IE8
ทำอย่างไร เมื่อลูกติดยาเสพติด
ครอบครัวไหนมีลูกติดยาเสพติด สร้างความเจ็บปวดให้พ่อแม่อย่างแสนสาหัส ดังนั้นการช่วยเหลือเด็กที่ติดยาเสพติด จึงเป็นหน้าที่สำคัญที่สุด ที่ทุกคนในครอบครัวจะต้องร่วมมือร่วมใจกัน โดยอาศัยความรัก ความเข้าใจ เป็นพื้นฐานในการทำใจยอมรับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น
การติดยาเสพติดจะติดทั้งทางร่างกายและจิตใจ การติดทางร่างกายสามารถรักษาได้ แต่การติดทางจิตใจเป็นสาเหตุสำคัญและรักษาอยาก จึงทำให้เด็กกลับไปใช้ยาเสพติดซ้ำอีก ดังนั้น การช่วยเหลือเด็กที่หลงผิด และต้องการจะเลิกใช้ยาเสพติดอย่างเด็ดขาด จะต้องนำเข้าฟื้นฟูสมรรถภาพทางด้านจิตใจ เพื่อให้เด็กสามารถเรียนรู้ ที่จะพัฒนาตนเอง จิตใจ สร้างความมั่นคงเข้มแข็งให้กับจิตใจและสามารถแก้ปัญหาทางอารมณ์ได้อย่างเหมาะสมโดยไม่ต้องพึ่งยาเสพติดอีก และเมื่อมีลูกติดยาเสพติด พ่อ แม่ ควรปฏิบัติในสิ่งต่อไปนี้
1. ระงับสติอารมณ์ อย่าวู่วาม
2. ยอมรับความจริง ยอมรับสภาพว่าลูกติดยา เพื่อเตรียมตัวช่วยเหลือเด็ก
3. อย่าแสดงความก้าวร้าวกับเด็ก เพราะจะทำให้เด็กปกปิดซ่อนเร้นมากขึ้น
4. แสดงความรัก ความเห็นใจอย่างจริงใจ เพื่อให้เด็กยอมเปิดใจ ยอมรับความช่วยเหลือ
5. พ่อแม่ต้องหาข้อมูลเพิ่มเติม เช่น ชนิดและฤทธิ์ของยาที่ลูกเสพ ระยะเวลาที่เสพ ปริมาณยาที่ใช้เสพ ทั้งนี้โดยอาจหาจากแหล่งข้อมูลต่างๆ เช่น เพื่อนสนิท ครูที่โรงเรียน ห้องนอน กระเป๋าเสื้อผ้า เป็นต้น
6. ปรึกษาผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญเฉพาะ เช่น ศูนย์ให้คำปรึกษาปัญหายาเสพติด
7. หากเด็กติดยาเสพติดจนกระทั่งมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายและจิตใจ มีพฤติกรรมและบุคลิกภาพเบี่ยงเบนไปจากเดิม และครอบครัวอาจไม่มีเวลา หรือไม่สามารถแก้ไขปัญหาแก่ เด็กได้ พ่อแม่ควรส่งเด็กเข้ารับการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพทางด้านจิตใจ ในสถานบำบัดรักษาต่างๆ ทั่วประเทศ
อย่างไรก็ตาม ครอบครัวไม่ควรคาดหวัง หรือคอยรอรับความช่วยเหลือจากสถานบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ แต่เพียงอย่างเดียว เพราะหน่วยงานดังกล่าว มีหน้าที่ความรับผิดชอบอยู่ในขอบเขตจำกัด แต่ครอบครัว คือ กลุ่มคนที่ใกล้ชิดกับเด็กมากที่สุด จึงเป็นผู้ที่สามารถช่วยเหลือเด็กได้ดีที่สุด
ทว่าหากเป็นไปได้ควรสร้างภูมิคุ้มกันการใช้ยาเสพติดให้กับเด็ก โดยให้ความรัก ความเข้าใจ ความใกล้ชิดสนิทสนม มีการใช้เวลาว่างทำกิจกรรมร่วมกัน เปิดใจยอมรับฟังความคิดเห็นของกันและกันในทุกเรื่อง และเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นในครอบครัว ควรร่วมมือกันหาแนวทางแก้ไขอย่างสันติ เพื่อให้เด็กเป็นผู้มีสุขภาพจิตดี และมีบุคลิกภาพที่เหมาะสม ไม่คิดใช้/ลองยาเสพติด เพราะการป้องกันปัญหา ก่อนที่เด็กจะใช้ยาย่อมง่ายกว่าการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว
ยาเสพติดป้องกันได้ ด้วยความเข้าใจจากครอบครัว
โดย..นางสาวสุวพักตร์ พนมวัน ณ อยุธยา
. Copyright © NARCOTICS CONTROL TECHNOLOGY CENTER All Right Reserved 2009.
ลิขสิทธิ์โดย สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด.
Best Graphic Quality 1024X768 Resolution, Webbrowser IE8