กลายเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงของสังคมที่มีต่อข่าวการออกมาเคลื่อนไหวครั้งล่าสุดของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ที่เผยว่า ซีรีส์ฮอร์โมน วัยว้าวุ่นอาจมีเนื้อหาที่ขัดต่อมาตรา 37 แห่งพ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 ในด้านความไม่เหมาะสมเชิงคุณธรรมและศีลธรรม
พูดให้ชัดคือ “กสทช.จะแบนฮอร์โมน” นั่นเอง!
กลายเป็นกระแสตื่นตัวมากกว่าครั้งไหนๆ ของการวิพากษ์วิจารณ์ถึงสิ่งที่เกิดขึ้น และการทำงานที่ผ่านมาของวงการสื่อบันเทิงไทย ถึงขั้นเปรียบเทียบกับหลายกรณีที่ผ่านมา...ละครไทยตบกันทำไมไม่แบน เด็กมีเซ็กส์กันจริงๆทำไมรับไม่ได้!
ล่าสุด...สุภิญญา กลางณรงค์ 1 ในคณะกรรมการของกสทช.ต้องออกมาแก้ข่าวว่า การแบนฮอร์โมนยังไม่ได้มีการผ่านลงมติแต่อย่างใด หากแต่ต้นขั้วของประเด็นก็คือ ความคิดริเริ่มของผู้ใหญ่คนหนึ่งในกสทช.อย่าง พลโทพีระพงษ์ มานะกิจ เท่านั้น!
เจาะใจผู้ใหญ่ในสังคม
หากมองกันที่เนื้อหา ซีรีส์ฮอร์โมนวัยว้าวุ่นบอกเล่าเรื่องราวของชีวิตวัยรุ่น ที่รายล้อมไปด้วยประเด็นปัญหาหลายอย่างที่รุมเร้าราวกับเป็นชีวิตจริง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการใส่เครื่องแบบ เซ็กส์ บุหรี่ ความรัก กระทั่งการท้องในวัยเรียน
แม้ซีรีย์ดังกล่าวจะฉายทางเคเบิลทีวี และมีผู้ชมส่วนใหญ่รับชมผ่านทางออนไลน์ แต่ก็ได้รับความนิยมอย่างมาก และเป็นที่พูดถึงในวงกว้างด้วยคำชมที่ว่าซีรีย์นี้พูดถึงชีวิตวัยรุ่นได้ “แรงและจริง!”
โดยประเด็นนี้เกิดขึ้นเมื่อ พล.ท.พีระพงษ์ มานะกิจ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ด้านกำกับผังและเนื้อหารายการ ออกมาแย้มอย่างมีนัยว่าอาจมีการแบนหรือปรับแปลงเนื้อหาของซีรีย์ฮอร์โมน ทั้งนี้ เนื้อหาที่อยู่นั้นอาจขัดต่อมาตรา 37
มีการระบุว่า ในเบื้องต้น ทางคณะอนุกรรมการพบว่า ละครเรื่องดังกล่าว ได้มีการนำเสนอเนื้อหาที่ชวนให้ผู้รับชมคิดและจินตนาการในทางที่ไม่ดีได้ เช่น ฉากการมีเพศสัมพันธ์ทั้งที่ยังสวมชุดนักเรียนอยู่ ในสถานที่ห้องวิทยาศาสตร์ หรือห้องน้ำของโรงเรียน และฉากที่มีเด็กที่กำลังอยู่ในวัยเรียนไปยังคลินิกทำแท้งเถื่อน และไปซื้อยาคุมกำเนิดมาใช้เอง
ทั้งนี้ได้มีการให้สัมภาษณ์ดังนี้
...“การนำเสนอของละครเรื่องฮอร์โมน แม้จะไม่ได้มีการถ่ายทำฉากต่างๆ ให้เห็นภาพโดยตรง เช่น ในเรื่องของเพศสัมพันธ์ แต่ก็สามารถชวนให้เราจินตนาการถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ อีกทั้งมีหลายเสียงบอกว่าเรื่องที่นำเสนอต่างเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในสังคมของเด็กสมัยนี้ แต่ในฐานะผู้ใหญ่ในสังคมจะต้องมาทบทวนว่าเรายอมรับได้หรือไม่ที่จะให้สังคมไทยเข้าใจว่าเป็นเช่นนั้นจริง และควรยอมรับให้เป็นเช่นนั้นหรือไม่ ทั้งนี้ ขอยืนยันว่าการพิจารณาเรื่องที่ กสทช. ใช้อำนาจในครั้งนี้ไม่ใช่เรื่องของการที่ กสทช. จะใช้อำนาจของตัวเอง แต่เป็นเรื่องของการบริหารควบคุมความเหมาะสมในสังคม”...
เมื่อนำมาลองวิเคราะห์ให้เห็นถึงนัยของการสัมภาษณ์ครั้งนี้จะมองเห็นว่า วรรคหนึ่งนั้นมีนัยสำคัญอยู่คือ ...“ในฐานะ “ผู้ใหญ่” ในสังคมจะต้องมา “ทบทวน” ว่าเรา “ยอมรับ” ได้หรือไม่ที่จะให้ “สังคมไทย” เข้าใจว่าเป็นเช่นนั้นจริง”...
เพราะเมื่อข่าวต่อมาพบว่า ยังไม่มีการลงมติเรื่องดังกล่าว อาจบอกได้ว่า สิ่งที่พล.ท.พีระพงษ์พูดนั้น ไม่ได้พูดในฐานะ กสทช. แต่พูดในฐานะ “ผู้ใหญ่ในสังคม” ซึ่งผู้ใหญ่ในที่นี้ คงบอกได้เพียงว่าผู้ที่ต้องรับฟังก็คือ “ผู้น้อย” ในสังคม
ทั้งนี้ คำพูดที่บอกว่า ...ต้องมา “ทบทวน” ว่าเรา “ยอมรับ” ได้หรือไม่... แม้จะเป็นรูปของประโยคคำถาม แต่การถามออกมาก็บ่งนัยแล้วว่า “ยอมรับไม่ได้” เมื่อนำความหมายนี้เข้ามาเชื่อมโยงกับประโยคสุดท้ายที่บอกว่า ...ที่จะให้ “สังคมไทย” เข้าใจว่าเป็นเช่นนั้นจริง... ก็จะทำให้เห็นถึงความหมายของประโยคทั้งหมดว่า พล.ท.พีระพงษ์ยอมรับไม่ได้ที่จะให้สังคมไทยเข้าใจว่า สิ่งที่เกิดขึ้นในฮอร์โมนนั้นเป็นเรื่องจริง
แต่ความจริงก็คือความจริง...แม้ว่าผู้ใหญ่ในสังคมคนนี้จะเต็มไปด้วยเจตนาดีเพียงใดก็ตาม แต่ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น - การปะทะกันของเสียงใหญ่ๆ ของ “ผู้ใหญ่ในสังคม” คนหนึ่ง กับเสียงเล็กๆ ของผู้น้อยหลายคนในสังคม ก็เหมือนจะให้คำตอบแล้วว่า สังคมไทยยอมรับว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในซีรีส์ฮอร์โมนเป็นเรื่องจริง!
กล้ารับความจริง!
การมองเนื้อหาจากซีรีย์ฮอร์โมนความหวาดกลัวในความจริง อาจเป็นเพียงมุมมองคับแคบ อย่างที่เก้า - สุภัสสรา ธนชาต หนึ่งในนักแสดงซีรีย์นี้ได้ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวอิศราว่า
"ถ้าวันนี้ เราทำละครที่สะท้อนปัญหาสังคมจริงๆ แล้วมีใครมาบอกว่า แบบนี้ไม่ดีไม่ถูกต้อง โดยไม่ดูเนื้อหาและวัตถุประสงค์ที่แท้จริงเลย บอกแต่เพียงว่า ต้องโดนแบน จะถูกสั่งแบน หนูว่ามันใจแคบเกินไปนะ"
อย่างไรก็ดี ยังมีผู้ใหญ่ในสังคมอีกมากที่เปิดใจกว้างยอมรับ ผศ.ดร.ณรงค์ ขำวิจิตร์ อาจารย์ผู้สอนวิชา “New Media” หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต และหัวหน้าภาควิชาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อีกเสียงของผู้ใหญ่ในสังคมมองว่า ซีรีส์เรื่องนี้พยายามจะบอกว่าชีวิตเด็กและวัยรุ่นสมัยนี้เป็นยังไง เป็นสิ่งที่ผู้ใหญ่ควรจะรับรู้และรับฟังไว้
“การที่มีผู้ใหญ่ออกมาพยายามควบคุม หรือแสดงความคิดเห็นในเชิงต่อต้าน ไม่อยากให้นำเสนอ คือการเอากรอบความคิดของตัวเองมาใส่ เอาความคิดเก่าๆ ในยุคของตัวเองมาตัดสินว่าสิ่งที่มองเห็นอยู่มันเป็นสิ่งไม่ดี เป็นการพูดถึงเกณฑ์จริยธรรมที่ควรถูกนำเสนอในสังคมเพียงแค่มุมมองเดียว ซึ่งเป็นมุมมองของคนรุ่นเก่า"
ทั้งนี้ นักวิชาการด้านนิเทศศาสตร์มองกลับกันว่า ควรจะส่งเสริมให้มีรายการหรือซีรีส์แบบนี้ออกมาอีกเยอะๆ เพื่อให้คนดูได้พิจารณาถึงรูปแบบสังคมที่เปลี่ยนไป และให้ฉุกคิดได้ว่า มันไม่เหมือนประสบการณ์ที่คนรุ่นเก่าเคยเจอมา
“จะมานั่งพิจารณาเหมือนตอนเซ็นเซอร์วิทยุ-โทรทัศน์มันคงไม่ได้แล้ว เพราะรายการส่วนใหญ่ที่เด็กสมัยนี้ดูอยู่บนอินเทอร์เน็ตทั้งนั้น”
ส่วนในเรื่องที่มีผู้ใหญ่ออกมาบอกว่าเรื่องนี้นำเสนอเรื่องราวที่ไม่เหมาะสมนั้น สิ่งที่ควรนำมาพิจารณาถึงคือเจตนาของคนทำมากกว่า ถึงซีรีส์นี้จะมีฉากการตบตี-ชกต่อยของวัยรุ่นอยู่บ้าง แต่มันก็คือเรื่องจริง โดยที่ผู้สร้างไม่ได้ต้องการนำเสนอเพื่อให้ผู้คนเกิดความเคยชิน แต่นำเสนอเพื่อให้เห็นว่า มันมีอยู่จริง
“มันคือเรื่องที่เกิดขึ้นในข่าว ถึงเด็กจะเป็นเด็กเรียนแค่ไหน แต่บางทีเขาก็ไม่สามารถหลีกหนีอันตรายรอบตัวได้พ้น เดินๆ อยู่เจอสถาบันข้างๆ เอาขวานไล่ฟันกันยังมีเลย เมื่อวานก็เพิ่งเกิดขึ้น มันเป็นเรื่องที่ควรจะนำเสนอให้เด็กระวังตัวไว้นั่นแหละถูกต้องแล้วครับ”
โดยส่วนตัวเขามองว่า ซีรีย์นี้ดีกว่าละครช่องฟรีทีวีที่ฉายกันอยู่ทุกวันนี้...ที่นำเสนอแต่ภาพเมียน้อยเมียหลวง ตบตีกันแย่งผู้ชาย ซึ่งเขามองว่า น่าวิตกมากกว่า เพราะละครเหล่านั้นสร้างความเคยชินในสังคม ทำให้คนยอมรับกันไปแล้วว่า เรื่องการนอกใจ ความรุนแรงในครอบครัวเป็นเรื่องปกติ
“การดูซีรีส์ฮอร์โมนช่วยสะท้อนได้ดี เป็นการหยิบเอาเรื่องที่เกิดขึ้นจริงมาทำให้สนุก ทุกวันนี้ตัวผมเองยังนั่งดูกับลูกกับภรรยาอยู่เลย มันทำให้พ่อแม่ลูกได้มีเวลาอยู่ด้วยกันมากขึ้นด้วย ข้ามขีดจำกัดเวลาไม่ตรงกัน เพราะสามารถดูผ่านอินเทอร์เน็ตในแบบภาพคมชัดได้
“การที่มีคนกล้าลุกขึ้นมานำเสนอเรื่องจริงออกมาตีแผ่แบบนี้ คนในสังคมและผู้ใหญ่ก็ควรจะกล้าเปิดรับเหมือนกัน เพราะเขาไม่ได้พูดอะไรที่เกินเลยไปจากความเป็นจริงเลย เพราะฉะนั้น เราต้องอย่ากลัวที่จะนำเสนอความจริง อย่ากลัวที่จะพูดเรื่องจริงกัน ถ้าการนำเสนอนั้นเป็นประโยชน์ต่อสังคม จะให้มานั่งนำเสนอแต่แบบเดิมๆ นำเสนอแต่เรื่องเพ้อฝันอย่างละครทั่วๆ ไป ผลเสียที่เกิดขึ้นมาภายหลังอาจจะมากกว่าด้วย เพราะมัวแต่ให้เด็กเห็นแต่ในมุมสวยๆ แต่ไม่เคยกล้าฉีดภูมิคุ้มกันให้เขา”
ข่าวโดย ASTV ผู้จัดการ LIVE
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9560000091621
แบนฮอร์โมน ! ผู้ใหญ่ในสังคมกับความจริงที่รับไม่ได้
กลายเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงของสังคมที่มีต่อข่าวการออกมาเคลื่อนไหวครั้งล่าสุดของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ที่เผยว่า ซีรีส์ฮอร์โมน วัยว้าวุ่นอาจมีเนื้อหาที่ขัดต่อมาตรา 37 แห่งพ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 ในด้านความไม่เหมาะสมเชิงคุณธรรมและศีลธรรม
พูดให้ชัดคือ “กสทช.จะแบนฮอร์โมน” นั่นเอง!
กลายเป็นกระแสตื่นตัวมากกว่าครั้งไหนๆ ของการวิพากษ์วิจารณ์ถึงสิ่งที่เกิดขึ้น และการทำงานที่ผ่านมาของวงการสื่อบันเทิงไทย ถึงขั้นเปรียบเทียบกับหลายกรณีที่ผ่านมา...ละครไทยตบกันทำไมไม่แบน เด็กมีเซ็กส์กันจริงๆทำไมรับไม่ได้!
ล่าสุด...สุภิญญา กลางณรงค์ 1 ในคณะกรรมการของกสทช.ต้องออกมาแก้ข่าวว่า การแบนฮอร์โมนยังไม่ได้มีการผ่านลงมติแต่อย่างใด หากแต่ต้นขั้วของประเด็นก็คือ ความคิดริเริ่มของผู้ใหญ่คนหนึ่งในกสทช.อย่าง พลโทพีระพงษ์ มานะกิจ เท่านั้น!
เจาะใจผู้ใหญ่ในสังคม
หากมองกันที่เนื้อหา ซีรีส์ฮอร์โมนวัยว้าวุ่นบอกเล่าเรื่องราวของชีวิตวัยรุ่น ที่รายล้อมไปด้วยประเด็นปัญหาหลายอย่างที่รุมเร้าราวกับเป็นชีวิตจริง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการใส่เครื่องแบบ เซ็กส์ บุหรี่ ความรัก กระทั่งการท้องในวัยเรียน
แม้ซีรีย์ดังกล่าวจะฉายทางเคเบิลทีวี และมีผู้ชมส่วนใหญ่รับชมผ่านทางออนไลน์ แต่ก็ได้รับความนิยมอย่างมาก และเป็นที่พูดถึงในวงกว้างด้วยคำชมที่ว่าซีรีย์นี้พูดถึงชีวิตวัยรุ่นได้ “แรงและจริง!”
โดยประเด็นนี้เกิดขึ้นเมื่อ พล.ท.พีระพงษ์ มานะกิจ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ด้านกำกับผังและเนื้อหารายการ ออกมาแย้มอย่างมีนัยว่าอาจมีการแบนหรือปรับแปลงเนื้อหาของซีรีย์ฮอร์โมน ทั้งนี้ เนื้อหาที่อยู่นั้นอาจขัดต่อมาตรา 37
มีการระบุว่า ในเบื้องต้น ทางคณะอนุกรรมการพบว่า ละครเรื่องดังกล่าว ได้มีการนำเสนอเนื้อหาที่ชวนให้ผู้รับชมคิดและจินตนาการในทางที่ไม่ดีได้ เช่น ฉากการมีเพศสัมพันธ์ทั้งที่ยังสวมชุดนักเรียนอยู่ ในสถานที่ห้องวิทยาศาสตร์ หรือห้องน้ำของโรงเรียน และฉากที่มีเด็กที่กำลังอยู่ในวัยเรียนไปยังคลินิกทำแท้งเถื่อน และไปซื้อยาคุมกำเนิดมาใช้เอง
ทั้งนี้ได้มีการให้สัมภาษณ์ดังนี้
...“การนำเสนอของละครเรื่องฮอร์โมน แม้จะไม่ได้มีการถ่ายทำฉากต่างๆ ให้เห็นภาพโดยตรง เช่น ในเรื่องของเพศสัมพันธ์ แต่ก็สามารถชวนให้เราจินตนาการถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ อีกทั้งมีหลายเสียงบอกว่าเรื่องที่นำเสนอต่างเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในสังคมของเด็กสมัยนี้ แต่ในฐานะผู้ใหญ่ในสังคมจะต้องมาทบทวนว่าเรายอมรับได้หรือไม่ที่จะให้สังคมไทยเข้าใจว่าเป็นเช่นนั้นจริง และควรยอมรับให้เป็นเช่นนั้นหรือไม่ ทั้งนี้ ขอยืนยันว่าการพิจารณาเรื่องที่ กสทช. ใช้อำนาจในครั้งนี้ไม่ใช่เรื่องของการที่ กสทช. จะใช้อำนาจของตัวเอง แต่เป็นเรื่องของการบริหารควบคุมความเหมาะสมในสังคม”...
เมื่อนำมาลองวิเคราะห์ให้เห็นถึงนัยของการสัมภาษณ์ครั้งนี้จะมองเห็นว่า วรรคหนึ่งนั้นมีนัยสำคัญอยู่คือ ...“ในฐานะ “ผู้ใหญ่” ในสังคมจะต้องมา “ทบทวน” ว่าเรา “ยอมรับ” ได้หรือไม่ที่จะให้ “สังคมไทย” เข้าใจว่าเป็นเช่นนั้นจริง”...
เพราะเมื่อข่าวต่อมาพบว่า ยังไม่มีการลงมติเรื่องดังกล่าว อาจบอกได้ว่า สิ่งที่พล.ท.พีระพงษ์พูดนั้น ไม่ได้พูดในฐานะ กสทช. แต่พูดในฐานะ “ผู้ใหญ่ในสังคม” ซึ่งผู้ใหญ่ในที่นี้ คงบอกได้เพียงว่าผู้ที่ต้องรับฟังก็คือ “ผู้น้อย” ในสังคม
ทั้งนี้ คำพูดที่บอกว่า ...ต้องมา “ทบทวน” ว่าเรา “ยอมรับ” ได้หรือไม่... แม้จะเป็นรูปของประโยคคำถาม แต่การถามออกมาก็บ่งนัยแล้วว่า “ยอมรับไม่ได้” เมื่อนำความหมายนี้เข้ามาเชื่อมโยงกับประโยคสุดท้ายที่บอกว่า ...ที่จะให้ “สังคมไทย” เข้าใจว่าเป็นเช่นนั้นจริง... ก็จะทำให้เห็นถึงความหมายของประโยคทั้งหมดว่า พล.ท.พีระพงษ์ยอมรับไม่ได้ที่จะให้สังคมไทยเข้าใจว่า สิ่งที่เกิดขึ้นในฮอร์โมนนั้นเป็นเรื่องจริง
แต่ความจริงก็คือความจริง...แม้ว่าผู้ใหญ่ในสังคมคนนี้จะเต็มไปด้วยเจตนาดีเพียงใดก็ตาม แต่ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น - การปะทะกันของเสียงใหญ่ๆ ของ “ผู้ใหญ่ในสังคม” คนหนึ่ง กับเสียงเล็กๆ ของผู้น้อยหลายคนในสังคม ก็เหมือนจะให้คำตอบแล้วว่า สังคมไทยยอมรับว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในซีรีส์ฮอร์โมนเป็นเรื่องจริง!
กล้ารับความจริง!
การมองเนื้อหาจากซีรีย์ฮอร์โมนความหวาดกลัวในความจริง อาจเป็นเพียงมุมมองคับแคบ อย่างที่เก้า - สุภัสสรา ธนชาต หนึ่งในนักแสดงซีรีย์นี้ได้ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวอิศราว่า
"ถ้าวันนี้ เราทำละครที่สะท้อนปัญหาสังคมจริงๆ แล้วมีใครมาบอกว่า แบบนี้ไม่ดีไม่ถูกต้อง โดยไม่ดูเนื้อหาและวัตถุประสงค์ที่แท้จริงเลย บอกแต่เพียงว่า ต้องโดนแบน จะถูกสั่งแบน หนูว่ามันใจแคบเกินไปนะ"
อย่างไรก็ดี ยังมีผู้ใหญ่ในสังคมอีกมากที่เปิดใจกว้างยอมรับ ผศ.ดร.ณรงค์ ขำวิจิตร์ อาจารย์ผู้สอนวิชา “New Media” หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต และหัวหน้าภาควิชาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อีกเสียงของผู้ใหญ่ในสังคมมองว่า ซีรีส์เรื่องนี้พยายามจะบอกว่าชีวิตเด็กและวัยรุ่นสมัยนี้เป็นยังไง เป็นสิ่งที่ผู้ใหญ่ควรจะรับรู้และรับฟังไว้
“การที่มีผู้ใหญ่ออกมาพยายามควบคุม หรือแสดงความคิดเห็นในเชิงต่อต้าน ไม่อยากให้นำเสนอ คือการเอากรอบความคิดของตัวเองมาใส่ เอาความคิดเก่าๆ ในยุคของตัวเองมาตัดสินว่าสิ่งที่มองเห็นอยู่มันเป็นสิ่งไม่ดี เป็นการพูดถึงเกณฑ์จริยธรรมที่ควรถูกนำเสนอในสังคมเพียงแค่มุมมองเดียว ซึ่งเป็นมุมมองของคนรุ่นเก่า"
ทั้งนี้ นักวิชาการด้านนิเทศศาสตร์มองกลับกันว่า ควรจะส่งเสริมให้มีรายการหรือซีรีส์แบบนี้ออกมาอีกเยอะๆ เพื่อให้คนดูได้พิจารณาถึงรูปแบบสังคมที่เปลี่ยนไป และให้ฉุกคิดได้ว่า มันไม่เหมือนประสบการณ์ที่คนรุ่นเก่าเคยเจอมา
“จะมานั่งพิจารณาเหมือนตอนเซ็นเซอร์วิทยุ-โทรทัศน์มันคงไม่ได้แล้ว เพราะรายการส่วนใหญ่ที่เด็กสมัยนี้ดูอยู่บนอินเทอร์เน็ตทั้งนั้น”
ส่วนในเรื่องที่มีผู้ใหญ่ออกมาบอกว่าเรื่องนี้นำเสนอเรื่องราวที่ไม่เหมาะสมนั้น สิ่งที่ควรนำมาพิจารณาถึงคือเจตนาของคนทำมากกว่า ถึงซีรีส์นี้จะมีฉากการตบตี-ชกต่อยของวัยรุ่นอยู่บ้าง แต่มันก็คือเรื่องจริง โดยที่ผู้สร้างไม่ได้ต้องการนำเสนอเพื่อให้ผู้คนเกิดความเคยชิน แต่นำเสนอเพื่อให้เห็นว่า มันมีอยู่จริง
“มันคือเรื่องที่เกิดขึ้นในข่าว ถึงเด็กจะเป็นเด็กเรียนแค่ไหน แต่บางทีเขาก็ไม่สามารถหลีกหนีอันตรายรอบตัวได้พ้น เดินๆ อยู่เจอสถาบันข้างๆ เอาขวานไล่ฟันกันยังมีเลย เมื่อวานก็เพิ่งเกิดขึ้น มันเป็นเรื่องที่ควรจะนำเสนอให้เด็กระวังตัวไว้นั่นแหละถูกต้องแล้วครับ”
โดยส่วนตัวเขามองว่า ซีรีย์นี้ดีกว่าละครช่องฟรีทีวีที่ฉายกันอยู่ทุกวันนี้...ที่นำเสนอแต่ภาพเมียน้อยเมียหลวง ตบตีกันแย่งผู้ชาย ซึ่งเขามองว่า น่าวิตกมากกว่า เพราะละครเหล่านั้นสร้างความเคยชินในสังคม ทำให้คนยอมรับกันไปแล้วว่า เรื่องการนอกใจ ความรุนแรงในครอบครัวเป็นเรื่องปกติ
“การดูซีรีส์ฮอร์โมนช่วยสะท้อนได้ดี เป็นการหยิบเอาเรื่องที่เกิดขึ้นจริงมาทำให้สนุก ทุกวันนี้ตัวผมเองยังนั่งดูกับลูกกับภรรยาอยู่เลย มันทำให้พ่อแม่ลูกได้มีเวลาอยู่ด้วยกันมากขึ้นด้วย ข้ามขีดจำกัดเวลาไม่ตรงกัน เพราะสามารถดูผ่านอินเทอร์เน็ตในแบบภาพคมชัดได้
“การที่มีคนกล้าลุกขึ้นมานำเสนอเรื่องจริงออกมาตีแผ่แบบนี้ คนในสังคมและผู้ใหญ่ก็ควรจะกล้าเปิดรับเหมือนกัน เพราะเขาไม่ได้พูดอะไรที่เกินเลยไปจากความเป็นจริงเลย เพราะฉะนั้น เราต้องอย่ากลัวที่จะนำเสนอความจริง อย่ากลัวที่จะพูดเรื่องจริงกัน ถ้าการนำเสนอนั้นเป็นประโยชน์ต่อสังคม จะให้มานั่งนำเสนอแต่แบบเดิมๆ นำเสนอแต่เรื่องเพ้อฝันอย่างละครทั่วๆ ไป ผลเสียที่เกิดขึ้นมาภายหลังอาจจะมากกว่าด้วย เพราะมัวแต่ให้เด็กเห็นแต่ในมุมสวยๆ แต่ไม่เคยกล้าฉีดภูมิคุ้มกันให้เขา”
ข่าวโดย ASTV ผู้จัดการ LIVE
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9560000091621