ข้อมูลน่าสนใจ ความปลอดภัยจากการใช้มือถือ เรื่องที่ไม่ควรมองข้ามอย่างยิ่ง

รู้หรือไม่ว่า
- 2 ใน 3 ของคนใช้โมบาย ดีไวส์ ไม่มีซอฟต์แวร์ป้องกันความปลอดภัยบนอุปกรณ์ของตัวเอง (ผมก็ไม่มีครับ..พูดเลย แต่กำลังจะซื้อมาลงบ้างแล้วครับ)

- คนอีก 1 ใน 3 ยังคิดว่าภัยคุกคามบนโลกไซเบอร์เป็นเรื่องไกลตัว หรือไม่น่าจะตกเป็นเป้าของการถูกแฮกหรอก

- แต่ผลสำรวจหลายฉบับให้ผลใกล้เคียงกันว่า เว็บที่เป็นเป้าหมายของเหล่าแฮกเกอร์ทั้งหลายก็คือ เว็บที่วัยรุ่นอย่างเราๆชอบไปกัน ทั้งเว็บบล็อก เว็บช้อปปิ้ง และโซเชียล เน็ตเวิร์ค


ขณะที่ผลลัพธ์จากการถูกแฮกเครื่องในยุคนี้ก็เริ่มไม่ธรรมดาแล้วนะครับ เพราะเหล่าแฮกเกอร์ไม่ได้ต้องการโชว์พาว อวดวิชาเหมือนเมื่อก่อน แต่เริ่มหวังผลเป็นตัวเงิน และชอบนักประเภทที่เจาะระบบบนเครื่องเพื่อขโมยข้อมูลส่วนตัว โดยเฉพาะข้อมูลบัตรเครดิตเอาไปขายต่อ หรือแฮกใช้เอง คงพอจะเห็นภาพความยับเยินทางการเงินของผู้ถูกแฮกได้นะครับ

เหตุที่ผมต้องยกเรื่องนี้มาคุยกัน เพราะเริ่มเห็นแนวโน้มการใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ประเภทสมาร์ทโฟน แทบเล็ตแพร่หลายมากขึ้นรวดเร็ว แต่น้อยคนมากที่คิดจะดูแลความปลอดภัยของเครื่องเหมือนกับที่ทำบนพีซี หรือโน้ตบุ๊คทั่วไป เพราะคืดว่า ตัวเองไม่น่าจะตกเป็นเป้าของแฮกเกอร์หรอก (มั๊ง)

ในแวดวงอินไซเดอร์กลุ่มซีเคียวริตี้เริ่มส่งสัญญาณเตือนกันแล้วว่า การโจมตีรูปแบบใหม่ๆ กำลังมาเยือนเหล่าผู้ใช้โมบาย ดีไวส์กันแล้วอย่างเงียบๆ โดยเฉพาะการใช้ Social Engineering หรือส่งมัลแวร์เข้ามาเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานบนมือถือของเราอย่างเงียบๆ แล้วรายงานกลับไปฐานที่มี่นเพื่อรอคำสั่งโจมตี ซึ่งจะมาในหลากหลายรูปแบบ เช่น อีเมลที่มีข้อมูลที่เราสนใจ ซึ่งแน่นอนแค่พลาดไปคลิกเดียวความเสี่ยงที่จะถูกขโมยข้อมูลสำคัญออนไลน์ก็สูงขึ้นมาก

หรือแม้แต่การส่งข้อความจากคนที่เรารู้จัก เพื่อหลอกขอข้อมูลหรือโอนเงินให้ และอีกสารพัดวิธีที่ไม่ประสงค์ดีจะทำได้บนโลกไซเบอร์
และอีกวิธีที่เริ่มจะเข้ามาแล้วนั่นคือ Advanced persistent threats หรือ APT ซึ่งนิยามง่ายๆเลยคือ การโจมตีขั้นแอดวานซ์ของแฮกเกอร์ มีการวางแผนล่วงหน้า ล็อกเป้าผู้ที่ต้องการโจมตีชัดเจน และมักเป็นการโจมตีผ่าน Social Network ที่ฮีโร่สายพันธุ์ไหนก็ไล่จับยาก

ยิ่งมือถือจีน ราคาถูก ซื้อจากตลาดนัด แถมฟรีมัลแวร์ไม่รู้ตัว

คือ ให้เราดูแลโมบาย ดีไวส์ของเราเหมือนกับที่ทำบนพีซี หรือโน้ตบุ๊ค นั่นคือ ติดตั้งซอฟต์แวร์ป้องกันความปลอดภัย หรือแอนตี้ไวรัสสักหน่อย และหมั่นอัพเดทอยู่เสมอ

โดยเฉพาะแพลตฟอร์มฟรีอย่าง “แอนดรอยด์” ที่มีระบบกรองความปลอดภัยแอพพลิเคชั่นต่ำกว่าแพลตฟอร์มอื่นๆ โอกาสที่จะได้แอพปลอม หรือมีมัลแวร์เป็นของแถมสูงปรี๊ดเป็นพิเศษ

ด้วยความปรารถนาดีครับ แต่ก็อย่าลืมระมัดระวังมือดีบนโลกจริงของเรากันด้วยนะครับ เผลอแป๊บเดียว ฉกจากมือได้ไม่รู้ตัว และแอนตี้ไวรัสตัวไหนก็ช่วยไม่ได้ครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่