ผมอยากให้เป็นบทเรียนของประเทศไทยว่า การบริหารงานของนักการเมือง หรือนักวิชาการที่อิงการเมือง บริหารโดยไม่ฟังเสียงคัดค้านหรือ
แนะจากนักวิชาการ และหน่วยงานของรัฐที่ทำงานเพื่อประเทศ เมื่อผลงานนั้นล้มเหลว และอาจทำลายเศรษฐกิจประเทศ เขาไม่เคยจะเข้ามา
แก้ไข หรือรับผิดชอบต่อคำพูดของเขาเลย พอครบวาระเขาก็ไป แล้วปล่อยให้ประชาชนผู้เสียภาษีอย่างเราต้องเผชิญชตากรรมต่อไป
____________________________________________________
“จำนำข้าวไม่มีทางเจ๊ง” ดร.โอฬาร ไชยประวัติ การันตี
“โครงการรับจำนำข้าว” ของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ระบุไว้ชัดเจนว่า ทำเพื่อคนรากหญ้า กำลังประสบปัญหาอย่างวิกฤต ถูกเสียงสะท้อนต่อต้านถึงความล้มเหลวของโครงการ ทั้งเรื่องการขายขาดทุน พบทุจริตอย่างต่อเนื่อง ถึงขั้นที่นักวิชาการออกมาวิเคราะห์ว่า จะเป็นนโยบาย “ชี้ชะตา” รัฐบาล ว่าจะอยู่หรือไปช้า-เร็วแค่ไหน
“ดร.โอฬาร ไชยประวัติ” ประธานผู้แทนการค้าไทย หนึ่งในผู้ที่อยู่เบื้องหลังคิดนโยบายรับจำนำข้าวให้กับรัฐบาล เปิดใจกับ ทีมข่าวอิศรา ยืนยันว่า “โครงการรับจำนำข้าวไม่มีเจ๊ง แถมยังจะต่อยอดปี 2 ด้วยชื่อโครงการรับจำนำข้าวพลัส”
.............................................
@ รัฐบาลทำอย่างไรเพื่อสร้างความเข้าใจกับประชาชนในเรื่องโครงการรับจำนำข้าว
จากนี้ไปเรื่องที่เกี่ยวกับข้าว ท่านนายกรัฐมนตรีสั่งให้ตั้งคณะทำงาน ประมาณ 20 คน ที่มาจากทุกกระทรวง ทบวง กรม และนำโดยผมเป็นที่ปรึกษา และท่าน ดร.คณิต แสงสุพรรณ ผอ.สถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง เป็นผู้นำทีม จะคอยรวบรวมมูลความก้าวหน้าเกี่ยวกับเรื่องโครงการรับจำนำข้าวทุกประการตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ จนกระทั่งการระบายข้าวต่างๆ
นอกจากนี้ยังจะต้องติดตามประเด็นการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลทั้ง 16 นโยบายที่รัฐบาลได้ประกาศต่อรัฐสภาไว้ ซึ่งคณะทำงานชุดนี้จะนำเสนอข้อมูลที่นำมาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) กระทรวงอุตสาหกรรม ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) ฯลฯ โดยเราจะนำเสนอเป็นประจำทุกอาทิตย์ เพื่อให้ประชาชนรับทราบว่าความก้าวหน้าไปถึงไหนอย่างไร และเป็นการตอบคำถามเพื่อให้ประชาชนรับรู้มองเห็นมุมมองสองฝ่าย หลังจากที่มีฝ่ายต่อต้านนโยบายของรัฐบาล
ขณะเดียวกัน นายกรัฐมนตรี ยังได้มอบโจทย์ให้คณะทำงานคิดนโยบายปีที่ 2 และ 3 ด้วย ซึ่งนโยบายโครงการต่างๆ ตอนนี้ในความคิดของผมนั้นมีอยู่เยอะ โดยเฉพาะนโยบายรับจำนำข้าวที่จะต่อยอดเป็น “นโยบายรับจำนำข้าวพลัส”
@ แต่โครงการรับจำนำข้าวถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าทำลายระบบเศรษฐกิจ ส่งผลกระทบต่อภาคเอกชน
การรับจำนำข้าวนั้นเป็นหน้าที่ของรัฐบาล โดยมี 2 หน่วยงานหลักที่เข้ามารับผิดชอบ คือ พณ.และ ธกส. และจะมีสถาบันการเงินของรัฐอื่นๆ เช่น ธนาคารออมสิน เข้ามาช่วยแบกรับสินเชื่อ ซึ่งเป็นการให้เครดิตกับพ่อค้าและโรงสี ที่จะไปรับจำนำข้าวของชาวนา ซึ่งเราส่งเสริมและไม่ได้ไปค้าขายแข่งกับใคร แต่กลับกลายเป็นรัฐบาลช่วยเหลือเอกชนในการค้าขายข้าวเสียมากกว่า
โดยเชื่อว่า ปีนี้ข้าวนาปีที่ออกมา % ในการซื้อของโรงสีจะมากกว่าปีที่แล้ว เพราะโครงการรับจำนำข้าวได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า การซื้อราคาจำนำสามารถขายได้ตามปกติ และอาจจะขายได้กำไรดีกว่าด้วยซ้ำไป เพราะตอนนี้ข้าวในตลาดเมืองไทยเริ่มขาดแคลน เพราะฉะนั้นคนที่ไม่ได้ซื้อไว้ก่อนใน 4 เดือนที่ผ่านมา ตอนนี้โดยเฉพาะพ่อค้ารายเล็กต้องมาขอกระทรวงพาณิชย์ให้ระบายข้าวเพื่อขายในเมืองไทย และเรื่องราคาตอนนี้ไม่เกี่ยง เนื่องจากเกิดการขาดแคลน แต่ขณะเดียวกันเราก็จะดูแลให้เกิดความพอดี เมื่อชาวนาขายได้ในราคาที่ควรจะได้แล้ว ในส่วนของผู้บริโภคก็ต้องไม่ขาดแคลน สามารถซื้อได้ในราคาใกล้เคียงกับความเป็นจริง ซึ่งจะเห็นได้ว่าราคาสารข้าวไม่ได้ขึ้น
@ การรับจำนำข้าวในราคาที่สูงทำให้การส่งออกข้าวไปต่างประเทศลดน้อยลง
ก่อนอื่นเราต้องรู้โครงสร้างข้าวก่อนซึ่งประเภทข้าว มีทั้งข้าวเหนียว ข้าวหอมมะลิเกรดเอ ซึ่งข้าวจำพวกเหล่านี้เป็นของดีมีคุณภาพ ราคาตลาดสามารถขายได้มีกำไรตามปกติ ชาวนามีรายได้ดี ซึ่งการขายข้าวคุณภาพดีที่ส่งออกคือกลุ่มพ่อค้าที่ถูกพัฒนาขึ้นมาใหม่ เช่น ซีพี กลุ่มพ่อค้าโรงสีที่ปรับตัวตามตลาด กลุ่มคนเหล่านี้จะไม่ใช่คนที่ออกมาบ่น ไม่ต่อว่ารัฐบาล เพราะเป็นกลุ่มที่จะร่วมกันเดินทางไปยังต่างประเทศ เพื่อขายข้าวหอมมะลิคุณภาพดี และข้าวขาวคุณภาพดี 100% กับต่างชาติ ซึ่งข้าวคุณภาพดีจะไม่มีปัญหาในการขาย และขณะนี้เราได้ติดต่อการขายไปแล้วหลายสิบประเทศและขายมานานแล้วด้วยไม่ใช่ของใหม่
@ หลายฝ่ายเป็นห่วงว่าในอนาคต หากรัฐบาลรับจำนำในจำนวนที่มากและระบายไม่ทัน ข้าวที่ถูกเก็บไว้ในโรงสีเป็นเวลานาน จะเสื่อมคุณภาพ และราคาตก การขายทอดตลาดก็จะขาดทุน
ก่อนอื่นเราจะต้องจำแนกการขายข้าวแต่ละประเภทให้ชัดเจน เริ่มจากข้าวเหนียวที่เรามีการผลิตในแต่ละปีได้ประมาณ 6.5 ล้านตัน และขายได้ดี โดยเฉพาะการขายในประเทศ จึงไม่ต้องกังวล ส่วนข้าวหอมมะลิที่ผลิตเป็นข้าวเปลือกในเมืองไทยในแต่ละปี ประมาณ 6.5 ล้านตัน อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ ซึ่งจากข้าวเปลือกมาเป็นข้าวสารได้แค่ 4 ล้านตัน ดังนั้นความต้องการของคนไทยที่ต้องการบริโภคเกิน 2 ล้านตัน ที่เหลือส่งออกเกือบ 2 ล้านตัน คือต้องเจียด เท่ากับเราไม่ต้องเก็บอะไรเลย อีกทั้งข้าวหอมมะลิจะมีช่วงฤดูการเก็บก็จะแบ่งออกเป็นข้าวใหม่ กลางปี และข้าวหอมมะลิเก่า ซึ่งสามารถมีความต้องการของตลาดได้ทุกช่วงเวลา ดังนั้นข้าวหอมมะลิไม่วันที่จะขายไม่ได้ มีแต่ไม่พอ ข้าวหอมมะลิไม่เคยเก็บเกิน 1 ปี เพราะขายหมด หมดประเทศ
สำหรับข้าวเจ้านาปีที่ผลิตในภาคใต้และภาคกลาง เป็นข้าวที่แห้งมีคุณภาพ เช่น ข้าวเสาไห้ ซึ่งมีปริมาณข้าวอยู่ที่ 7 ล้านตันต่อปี ข้าวชนิดนี้สามารถส่งออกและขายในประเทศได้ตามจำนวนการผลิต ทั้งหมดนี้จึงเห็นได้ว่าไม่ว่าข้าวประเภทใดก็จะไม่มีปัญหา โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิ เพราะสามารถขายได้ทั้งข้าวเก่าและข้าวใหม่ วันนี้จึงมีกลุ่มพ่อค้าต้องมาขอร้องให้ พณ.ระบายขายข้าวให้ ขณะเดียวกันปัจจุบันจำนวนข้าว 21 ล้านตันโดยประมาณคนไทยกินหมดไม่พอที่จะส่งออก แต่การทำข้าวเจ้าข้าวนาปรังครั้งที่ 2 ซึ่งทำให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นประมาณ 15 ล้านตัน สามารถส่งออกได้เช่นกันดังนั้นจึงไม่มีข้าวค้างสต็อกและขายขาดทุนแน่นอน
@ โครงการรับจำนำข้าวส่งผลให้ขายข้าวหอมมะลิขาดทุน
พ่อค้ากลุ่มหนึ่งที่มีปัญหาและออกมาวิจารณ์เรื่องการรับจำนำข้าว คือกลุ่มพ่อค้าที่ไม่ได้ขายข้าวในกลุ่มข้าวหอมมะลิ ทั้งในประเทศและส่งออก และไม่ใช่พ่อค้าที่ค้าข้าวเหนียวเพราะไม่เคยส่งออกเลย ซึ่งก็จะเหลือพ่อค้ากลุ่มหนึ่งที่มีความเชี่ยวชาญในการขายข้าวคุณภาพที่ไม่สูงนักให้กับประเทศที่มีจำนวนประชากรมาก และค่อนข้างยากจน ซึ่งไม่สามารถนำเงินมาซื้อข้าวคุณภาพดีในประเทศไทยได้ และประเทศเหล่านี้คือประเทศที่มีหน่วยงานผู้ซื้อข้าวเข้าประเทศเป็นหน่วยงานของรัฐทั้งหมด เป็นจีทูจีทั้งหมด เป็นรัฐบาลทั้งหมด
เมื่อผู้ขายฝั่งไทยเป็นแบบนโยบายรัฐบาลไทย คือผู้ขายข้าวคุณภาพต่ำเหล่านี้ขายให้กับเพื่อนบ้านเราซึ่งมีประชากรเยอะแต่ยากจน เช่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ บังคลาเทศ จะขายด้วยพ่อค้าเอกชนและไปติดต่อกับผู้ซื้อซึ่งเป็นองค์กรของรัฐ พณ.หรือรัฐวิสาหกิจทั้งหมด หรือจะขายด้วยองค์กรของรัฐ เช่น พณ.ของไทย และองค์กรคลังสินค้า บางช่วงรัฐบาลก็ตัดสินใจว่าให้ พ่อค้าเอกชนไทยเป็นผู้ขาย รัฐบาลต่างประเทศเป็นผู้ซื้อ ถ้าเปรียบก็เหมือนกับพ่อค้าเอกชนไปเป็น "เอเย่นต์" ของไทย และเอเย่นต์ของผู้ซื้อคือรัฐบาล และถ้าเป็นคุณ คุณจะรักษาผลประโยชน์ของใครในการที่เป็นคุณเอเย่นต์ให้โปรโมชั่นคุณในการขาย เมื่อต้องการข้าวจำนวนมากแต่ราคาต้องถูก นั่นคือพฤติกรรมที่เกิดขึ้น เมื่อตัวแทนผู้ขายสินค้าคุณภาพด้อยเหล่านี้ขายให้กับผู้ที่เป็นตัวแทนองค์กรของรัฐเป็นผู้ซื้อ เมื่อเกิดขึ้นมานานจนกระทั่งพ่อค้าเอกชนกลุ่มนี้ที่ทำธุรกิจมาไม่ใช่แค่ 1 หรือ 2 หรือ 3 ชั่วอายุคน ก็จึงติดนิสัยที่ต้องหาข้าวราคาถูกที่สุดของประเทศไทย
@ คิดอย่างไรหลังจากที่นโยบายโครงการรับจำนำข้าวเดินหน้าได้ถึงจุดหนึ่ง ประเทศไทยเสียแชมป์ในการส่งออกข้าว
แม้ขณะนี้เพื่อนบ้านสามารถผลิตข้าวเองได้ เราก็มีความยินดีที่เขาจะมีโอกาสผลิตข้าวขายออกบ้าง แต่เราถือว่าประเทศเวียดนามไม่ใช่คู่แข่ง แต่เป็นผู้ที่ผลิตข้าวบางประเภทที่ออกขายให้อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ บังคลาเทศ ซึ่งก็ยากจน และเป็นเพื่อนเราเช่นเดียวกัน เราก็ดีใจ เราไม่ได้อิจฉาริษยา ไม่ได้ต้องการเป็นแชมเปี้ยน หรือเน้นปริมาณ แต่เราเน้นคุณภาพและมูลค่าเป็นหลัก นั่นคือที่มาของการที่รัฐบาลหนึ่งในอดีตคือรัฐบาลพรรคไทยรักไทย
และเมื่อพรรคเพื่อไทยได้รับเลือกมาเราก็นำเอานโยบายที่เคยทำได้ผลมาแล้ว แต่ในระหว่างทางนั้นรัฐบาลก่อนหน้านี้ใช้ระบบอื่นอย่างไรผมคงไม่ต้องพูดถึง เพราะมีนักวิชาการอิสระหลายคนได้วิเคราะห์ วิจัยระบบรับประกันรายได้ของรัฐบาลที่ผ่านมา ว่าชาวนาเป็นอยู่อย่างไรมีความสุขหรือไม่ และระบบรับจำนำข้าว ต่างกันอย่างไร ซึ่งถือว่าเป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ ที่ผมไม่ต้องไปอธิบายอะไรทั้งสิ้น
แต่ขออธิบายข้าวที่อาจจะมีปัญหาคือข้าวนาปรัง กรณีนี้เนื่องจากภาคเอกชนและโรงสีไม่เข้าไปซื้อข้าวนาปรังจาก จ.ภาคกลาง โดยตรงในช่วงที่ผ่านมา ดังนั้น รัฐบาลจึงถูกบังคับด้วยสถานการณ์ให้เข้าไปรับจำนำเข้าไว้ค่อนข้างสูงประมาณ 90% ของ 15 ล้านตัน ซึ่งรัฐบาลรู้ดีว่าเอกชนบางรายอาจจะมีความคิดว่านโยบายนี้อาจจะมีการยุติ จึงหวังว่าจะรอดักซื้อในราคาที่ถูก หลังจากจบฤดูกาลรับจำนำ ซึ่งท่านนายกฯยิ่งลักษณ์ และทุกคน รวมทั้งผมบอกได้เลยว่านโยบายนี้ไม่มีวันเปลี่ยน ยังไงก็ไม่เลิกจะจำนำราคานี้ต่อไป พอถึงตอนนี้เมื่อทุกอย่างชัดเจนแล้ว ผมได้รับการร้องขอจากพ่อค้าเอกชนรายเล็กที่ขายในประเทศ ว่าตอนนี้ทุกส่วนเข้าใจกันหมดแล้ว ว่าเราต้องมาทำงานร่วมกัน เขาอาจจะพูดขอโทษด้วยว่า ที่ผ่านมาไม่เชื่อน้ำยาว่ารัฐบาลนี้ทำสำเร็จ เพราะมีคนอยากจะให้โครงการนี้มันล้ม เลยไมได้ซื้อไว้ในราคาข้าวเปลือก 15,000 บาท ลดหลั่นตามความชื้น
ใครเป็นเจ้าของคำพูด “จำนำข้าวไม่มีทางเจ๊ง”
ผมอยากให้เป็นบทเรียนของประเทศไทยว่า การบริหารงานของนักการเมือง หรือนักวิชาการที่อิงการเมือง บริหารโดยไม่ฟังเสียงคัดค้านหรือ
แนะจากนักวิชาการ และหน่วยงานของรัฐที่ทำงานเพื่อประเทศ เมื่อผลงานนั้นล้มเหลว และอาจทำลายเศรษฐกิจประเทศ เขาไม่เคยจะเข้ามา
แก้ไข หรือรับผิดชอบต่อคำพูดของเขาเลย พอครบวาระเขาก็ไป แล้วปล่อยให้ประชาชนผู้เสียภาษีอย่างเราต้องเผชิญชตากรรมต่อไป
____________________________________________________
“จำนำข้าวไม่มีทางเจ๊ง” ดร.โอฬาร ไชยประวัติ การันตี
“โครงการรับจำนำข้าว” ของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ระบุไว้ชัดเจนว่า ทำเพื่อคนรากหญ้า กำลังประสบปัญหาอย่างวิกฤต ถูกเสียงสะท้อนต่อต้านถึงความล้มเหลวของโครงการ ทั้งเรื่องการขายขาดทุน พบทุจริตอย่างต่อเนื่อง ถึงขั้นที่นักวิชาการออกมาวิเคราะห์ว่า จะเป็นนโยบาย “ชี้ชะตา” รัฐบาล ว่าจะอยู่หรือไปช้า-เร็วแค่ไหน
“ดร.โอฬาร ไชยประวัติ” ประธานผู้แทนการค้าไทย หนึ่งในผู้ที่อยู่เบื้องหลังคิดนโยบายรับจำนำข้าวให้กับรัฐบาล เปิดใจกับ ทีมข่าวอิศรา ยืนยันว่า “โครงการรับจำนำข้าวไม่มีเจ๊ง แถมยังจะต่อยอดปี 2 ด้วยชื่อโครงการรับจำนำข้าวพลัส”
.............................................
@ รัฐบาลทำอย่างไรเพื่อสร้างความเข้าใจกับประชาชนในเรื่องโครงการรับจำนำข้าว
จากนี้ไปเรื่องที่เกี่ยวกับข้าว ท่านนายกรัฐมนตรีสั่งให้ตั้งคณะทำงาน ประมาณ 20 คน ที่มาจากทุกกระทรวง ทบวง กรม และนำโดยผมเป็นที่ปรึกษา และท่าน ดร.คณิต แสงสุพรรณ ผอ.สถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง เป็นผู้นำทีม จะคอยรวบรวมมูลความก้าวหน้าเกี่ยวกับเรื่องโครงการรับจำนำข้าวทุกประการตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ จนกระทั่งการระบายข้าวต่างๆ
นอกจากนี้ยังจะต้องติดตามประเด็นการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลทั้ง 16 นโยบายที่รัฐบาลได้ประกาศต่อรัฐสภาไว้ ซึ่งคณะทำงานชุดนี้จะนำเสนอข้อมูลที่นำมาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) กระทรวงอุตสาหกรรม ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) ฯลฯ โดยเราจะนำเสนอเป็นประจำทุกอาทิตย์ เพื่อให้ประชาชนรับทราบว่าความก้าวหน้าไปถึงไหนอย่างไร และเป็นการตอบคำถามเพื่อให้ประชาชนรับรู้มองเห็นมุมมองสองฝ่าย หลังจากที่มีฝ่ายต่อต้านนโยบายของรัฐบาล
ขณะเดียวกัน นายกรัฐมนตรี ยังได้มอบโจทย์ให้คณะทำงานคิดนโยบายปีที่ 2 และ 3 ด้วย ซึ่งนโยบายโครงการต่างๆ ตอนนี้ในความคิดของผมนั้นมีอยู่เยอะ โดยเฉพาะนโยบายรับจำนำข้าวที่จะต่อยอดเป็น “นโยบายรับจำนำข้าวพลัส”
@ แต่โครงการรับจำนำข้าวถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าทำลายระบบเศรษฐกิจ ส่งผลกระทบต่อภาคเอกชน
การรับจำนำข้าวนั้นเป็นหน้าที่ของรัฐบาล โดยมี 2 หน่วยงานหลักที่เข้ามารับผิดชอบ คือ พณ.และ ธกส. และจะมีสถาบันการเงินของรัฐอื่นๆ เช่น ธนาคารออมสิน เข้ามาช่วยแบกรับสินเชื่อ ซึ่งเป็นการให้เครดิตกับพ่อค้าและโรงสี ที่จะไปรับจำนำข้าวของชาวนา ซึ่งเราส่งเสริมและไม่ได้ไปค้าขายแข่งกับใคร แต่กลับกลายเป็นรัฐบาลช่วยเหลือเอกชนในการค้าขายข้าวเสียมากกว่า
โดยเชื่อว่า ปีนี้ข้าวนาปีที่ออกมา % ในการซื้อของโรงสีจะมากกว่าปีที่แล้ว เพราะโครงการรับจำนำข้าวได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า การซื้อราคาจำนำสามารถขายได้ตามปกติ และอาจจะขายได้กำไรดีกว่าด้วยซ้ำไป เพราะตอนนี้ข้าวในตลาดเมืองไทยเริ่มขาดแคลน เพราะฉะนั้นคนที่ไม่ได้ซื้อไว้ก่อนใน 4 เดือนที่ผ่านมา ตอนนี้โดยเฉพาะพ่อค้ารายเล็กต้องมาขอกระทรวงพาณิชย์ให้ระบายข้าวเพื่อขายในเมืองไทย และเรื่องราคาตอนนี้ไม่เกี่ยง เนื่องจากเกิดการขาดแคลน แต่ขณะเดียวกันเราก็จะดูแลให้เกิดความพอดี เมื่อชาวนาขายได้ในราคาที่ควรจะได้แล้ว ในส่วนของผู้บริโภคก็ต้องไม่ขาดแคลน สามารถซื้อได้ในราคาใกล้เคียงกับความเป็นจริง ซึ่งจะเห็นได้ว่าราคาสารข้าวไม่ได้ขึ้น
@ การรับจำนำข้าวในราคาที่สูงทำให้การส่งออกข้าวไปต่างประเทศลดน้อยลง
ก่อนอื่นเราต้องรู้โครงสร้างข้าวก่อนซึ่งประเภทข้าว มีทั้งข้าวเหนียว ข้าวหอมมะลิเกรดเอ ซึ่งข้าวจำพวกเหล่านี้เป็นของดีมีคุณภาพ ราคาตลาดสามารถขายได้มีกำไรตามปกติ ชาวนามีรายได้ดี ซึ่งการขายข้าวคุณภาพดีที่ส่งออกคือกลุ่มพ่อค้าที่ถูกพัฒนาขึ้นมาใหม่ เช่น ซีพี กลุ่มพ่อค้าโรงสีที่ปรับตัวตามตลาด กลุ่มคนเหล่านี้จะไม่ใช่คนที่ออกมาบ่น ไม่ต่อว่ารัฐบาล เพราะเป็นกลุ่มที่จะร่วมกันเดินทางไปยังต่างประเทศ เพื่อขายข้าวหอมมะลิคุณภาพดี และข้าวขาวคุณภาพดี 100% กับต่างชาติ ซึ่งข้าวคุณภาพดีจะไม่มีปัญหาในการขาย และขณะนี้เราได้ติดต่อการขายไปแล้วหลายสิบประเทศและขายมานานแล้วด้วยไม่ใช่ของใหม่
@ หลายฝ่ายเป็นห่วงว่าในอนาคต หากรัฐบาลรับจำนำในจำนวนที่มากและระบายไม่ทัน ข้าวที่ถูกเก็บไว้ในโรงสีเป็นเวลานาน จะเสื่อมคุณภาพ และราคาตก การขายทอดตลาดก็จะขาดทุน
ก่อนอื่นเราจะต้องจำแนกการขายข้าวแต่ละประเภทให้ชัดเจน เริ่มจากข้าวเหนียวที่เรามีการผลิตในแต่ละปีได้ประมาณ 6.5 ล้านตัน และขายได้ดี โดยเฉพาะการขายในประเทศ จึงไม่ต้องกังวล ส่วนข้าวหอมมะลิที่ผลิตเป็นข้าวเปลือกในเมืองไทยในแต่ละปี ประมาณ 6.5 ล้านตัน อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ ซึ่งจากข้าวเปลือกมาเป็นข้าวสารได้แค่ 4 ล้านตัน ดังนั้นความต้องการของคนไทยที่ต้องการบริโภคเกิน 2 ล้านตัน ที่เหลือส่งออกเกือบ 2 ล้านตัน คือต้องเจียด เท่ากับเราไม่ต้องเก็บอะไรเลย อีกทั้งข้าวหอมมะลิจะมีช่วงฤดูการเก็บก็จะแบ่งออกเป็นข้าวใหม่ กลางปี และข้าวหอมมะลิเก่า ซึ่งสามารถมีความต้องการของตลาดได้ทุกช่วงเวลา ดังนั้นข้าวหอมมะลิไม่วันที่จะขายไม่ได้ มีแต่ไม่พอ ข้าวหอมมะลิไม่เคยเก็บเกิน 1 ปี เพราะขายหมด หมดประเทศ
สำหรับข้าวเจ้านาปีที่ผลิตในภาคใต้และภาคกลาง เป็นข้าวที่แห้งมีคุณภาพ เช่น ข้าวเสาไห้ ซึ่งมีปริมาณข้าวอยู่ที่ 7 ล้านตันต่อปี ข้าวชนิดนี้สามารถส่งออกและขายในประเทศได้ตามจำนวนการผลิต ทั้งหมดนี้จึงเห็นได้ว่าไม่ว่าข้าวประเภทใดก็จะไม่มีปัญหา โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิ เพราะสามารถขายได้ทั้งข้าวเก่าและข้าวใหม่ วันนี้จึงมีกลุ่มพ่อค้าต้องมาขอร้องให้ พณ.ระบายขายข้าวให้ ขณะเดียวกันปัจจุบันจำนวนข้าว 21 ล้านตันโดยประมาณคนไทยกินหมดไม่พอที่จะส่งออก แต่การทำข้าวเจ้าข้าวนาปรังครั้งที่ 2 ซึ่งทำให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นประมาณ 15 ล้านตัน สามารถส่งออกได้เช่นกันดังนั้นจึงไม่มีข้าวค้างสต็อกและขายขาดทุนแน่นอน
@ โครงการรับจำนำข้าวส่งผลให้ขายข้าวหอมมะลิขาดทุน
พ่อค้ากลุ่มหนึ่งที่มีปัญหาและออกมาวิจารณ์เรื่องการรับจำนำข้าว คือกลุ่มพ่อค้าที่ไม่ได้ขายข้าวในกลุ่มข้าวหอมมะลิ ทั้งในประเทศและส่งออก และไม่ใช่พ่อค้าที่ค้าข้าวเหนียวเพราะไม่เคยส่งออกเลย ซึ่งก็จะเหลือพ่อค้ากลุ่มหนึ่งที่มีความเชี่ยวชาญในการขายข้าวคุณภาพที่ไม่สูงนักให้กับประเทศที่มีจำนวนประชากรมาก และค่อนข้างยากจน ซึ่งไม่สามารถนำเงินมาซื้อข้าวคุณภาพดีในประเทศไทยได้ และประเทศเหล่านี้คือประเทศที่มีหน่วยงานผู้ซื้อข้าวเข้าประเทศเป็นหน่วยงานของรัฐทั้งหมด เป็นจีทูจีทั้งหมด เป็นรัฐบาลทั้งหมด
เมื่อผู้ขายฝั่งไทยเป็นแบบนโยบายรัฐบาลไทย คือผู้ขายข้าวคุณภาพต่ำเหล่านี้ขายให้กับเพื่อนบ้านเราซึ่งมีประชากรเยอะแต่ยากจน เช่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ บังคลาเทศ จะขายด้วยพ่อค้าเอกชนและไปติดต่อกับผู้ซื้อซึ่งเป็นองค์กรของรัฐ พณ.หรือรัฐวิสาหกิจทั้งหมด หรือจะขายด้วยองค์กรของรัฐ เช่น พณ.ของไทย และองค์กรคลังสินค้า บางช่วงรัฐบาลก็ตัดสินใจว่าให้ พ่อค้าเอกชนไทยเป็นผู้ขาย รัฐบาลต่างประเทศเป็นผู้ซื้อ ถ้าเปรียบก็เหมือนกับพ่อค้าเอกชนไปเป็น "เอเย่นต์" ของไทย และเอเย่นต์ของผู้ซื้อคือรัฐบาล และถ้าเป็นคุณ คุณจะรักษาผลประโยชน์ของใครในการที่เป็นคุณเอเย่นต์ให้โปรโมชั่นคุณในการขาย เมื่อต้องการข้าวจำนวนมากแต่ราคาต้องถูก นั่นคือพฤติกรรมที่เกิดขึ้น เมื่อตัวแทนผู้ขายสินค้าคุณภาพด้อยเหล่านี้ขายให้กับผู้ที่เป็นตัวแทนองค์กรของรัฐเป็นผู้ซื้อ เมื่อเกิดขึ้นมานานจนกระทั่งพ่อค้าเอกชนกลุ่มนี้ที่ทำธุรกิจมาไม่ใช่แค่ 1 หรือ 2 หรือ 3 ชั่วอายุคน ก็จึงติดนิสัยที่ต้องหาข้าวราคาถูกที่สุดของประเทศไทย
@ คิดอย่างไรหลังจากที่นโยบายโครงการรับจำนำข้าวเดินหน้าได้ถึงจุดหนึ่ง ประเทศไทยเสียแชมป์ในการส่งออกข้าว
แม้ขณะนี้เพื่อนบ้านสามารถผลิตข้าวเองได้ เราก็มีความยินดีที่เขาจะมีโอกาสผลิตข้าวขายออกบ้าง แต่เราถือว่าประเทศเวียดนามไม่ใช่คู่แข่ง แต่เป็นผู้ที่ผลิตข้าวบางประเภทที่ออกขายให้อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ บังคลาเทศ ซึ่งก็ยากจน และเป็นเพื่อนเราเช่นเดียวกัน เราก็ดีใจ เราไม่ได้อิจฉาริษยา ไม่ได้ต้องการเป็นแชมเปี้ยน หรือเน้นปริมาณ แต่เราเน้นคุณภาพและมูลค่าเป็นหลัก นั่นคือที่มาของการที่รัฐบาลหนึ่งในอดีตคือรัฐบาลพรรคไทยรักไทย
และเมื่อพรรคเพื่อไทยได้รับเลือกมาเราก็นำเอานโยบายที่เคยทำได้ผลมาแล้ว แต่ในระหว่างทางนั้นรัฐบาลก่อนหน้านี้ใช้ระบบอื่นอย่างไรผมคงไม่ต้องพูดถึง เพราะมีนักวิชาการอิสระหลายคนได้วิเคราะห์ วิจัยระบบรับประกันรายได้ของรัฐบาลที่ผ่านมา ว่าชาวนาเป็นอยู่อย่างไรมีความสุขหรือไม่ และระบบรับจำนำข้าว ต่างกันอย่างไร ซึ่งถือว่าเป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ ที่ผมไม่ต้องไปอธิบายอะไรทั้งสิ้น
แต่ขออธิบายข้าวที่อาจจะมีปัญหาคือข้าวนาปรัง กรณีนี้เนื่องจากภาคเอกชนและโรงสีไม่เข้าไปซื้อข้าวนาปรังจาก จ.ภาคกลาง โดยตรงในช่วงที่ผ่านมา ดังนั้น รัฐบาลจึงถูกบังคับด้วยสถานการณ์ให้เข้าไปรับจำนำเข้าไว้ค่อนข้างสูงประมาณ 90% ของ 15 ล้านตัน ซึ่งรัฐบาลรู้ดีว่าเอกชนบางรายอาจจะมีความคิดว่านโยบายนี้อาจจะมีการยุติ จึงหวังว่าจะรอดักซื้อในราคาที่ถูก หลังจากจบฤดูกาลรับจำนำ ซึ่งท่านนายกฯยิ่งลักษณ์ และทุกคน รวมทั้งผมบอกได้เลยว่านโยบายนี้ไม่มีวันเปลี่ยน ยังไงก็ไม่เลิกจะจำนำราคานี้ต่อไป พอถึงตอนนี้เมื่อทุกอย่างชัดเจนแล้ว ผมได้รับการร้องขอจากพ่อค้าเอกชนรายเล็กที่ขายในประเทศ ว่าตอนนี้ทุกส่วนเข้าใจกันหมดแล้ว ว่าเราต้องมาทำงานร่วมกัน เขาอาจจะพูดขอโทษด้วยว่า ที่ผ่านมาไม่เชื่อน้ำยาว่ารัฐบาลนี้ทำสำเร็จ เพราะมีคนอยากจะให้โครงการนี้มันล้ม เลยไมได้ซื้อไว้ในราคาข้าวเปลือก 15,000 บาท ลดหลั่นตามความชื้น