จากกระทู้ก่อนหน้า
http://ppantip.com/topic/30753265
ที่ผมนำราคาน้ำมันบรูไนมาเปรียบเทียบกับราคาน้ำมันบ้านเรา ทำให้ผมเลยคิดต่อไปว่าน่าจะลองเปรียบเทียบกับอีก 2 ประเทศเพื่อนบ้าน AEC ที่มักจะถูกหยิบมากล่าวอ้างเปรียบเทียบกับราคาน้ำมันบ้านเราเสมอๆ คือ ราคาน้ำมันอินโดนีเซีย / ราคาน้ำมันมาเลเซีย
สำหรับคนที่อคติต่อข้อมูลของผม หรืออคติต่อตัวผม เรียนเชิญข้ามเนื้อหาในกระทู้แล้วไปแสดงความคิดเห็นของท่านด้านล่างเลยนะครับ ไม่ต้องสนใจข้อมูลที่ผมนำมาหรอกว่าถูกหรือผิด หรือหาหลักฐานอะไรมาแย้งผมให้เสียเวลาครับ ถ้าการกระทำอย่างนั้นทำให้ท่านมีความสุขใจที่ได้ระบายออกมาบ้างผมก็ยินดีครับ มาเริ่มกันเลยแล้วกัน
....................................................................................................................
ดูที่ราคาน้ำมันของแต่ละประเทศที่รายงานไว้ใน Bloomberg
ราคาน้ำมันไทย
http://www.bloomberg.com/visual-data/gas-prices/20132:Thailand:THB:l
ราคาน้ำมันอินโดนีเซีย
http://www.bloomberg.com/visual-data/gas-prices/20132:Indonesia:THB:l
....................................................................................................................
ข้อมูลไทย จาก
https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/geos/th.html
ข้อมูลอินโดนีเซีย จาก
https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/geos/id.html
ผมขออนุญาตเอามาเฉพาะรูปของข้อมูลด้านพลังงานอินโดนีเซียนะครับ เพราะกระทู้เก่าของผมมีรูปของไทยอยู่แล้ว
เพื่อความสะดวกในการเปรียบเทียบผมขอเอาข้อมูลทั้งหมดมาใส่ในตารางเดียวกันนะครับ
>> ว่ากันที่จำนวนประชากรก่อน พบว่าอินโดนีเซียมีประชากรในประเทศมากกว่าเราอยู่ 3.72 เท่า ผมเลยขอเดาเอาไว้ก่อนเลยว่าปริมาณการใช้น้ำมันของเขาก็น่าจะมากกว่าของบ้านเราด้วย ลองข้ามมาดูที่หัวข้อที่ 10 เรื่องปริมาณน้ำมันสำเร็จรูปที่ใช้เองในประเทศพบว่าอินโดนีเซียใช้มากกว่าเราอยู่เพียง 1.83 เท่าเมื่อเทียบกับจำนวนประชากรที่มากกว่าเราอยู่ 3.72 เท่าแล้วเช่นนี้ก็น่าจะกล่าวได้ว่า
เราใช้น้ำมันสำเร็จรูปมากกว่าอินโดนีเซียประมาณ 2 เท่าเมื่อเทียบต่อจำนวนประชากร 1 คนเท่ากัน
>> ถัดมาดูที่จำนวนน้ำมันดิบที่ผลิตได้พบว่าอินโดนีเซียผลิตน้ำมันดิบได้มากกว่าเราอยู่ที่ 4.28 เท่า ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับจำนวนเท่าของประชากรที่อินโดมากกว่าเราอยู่เพียง 3.27 เท่า ก็น่าจะพอบอกได้ว่า
อินโดนีเซียน่าจะมีน้ำมันดิบให้ใช้ได้มากกว่าบ้านเราในจำนวนประชากร 1 คนเท่ากัน
>> ถัดมาจำนวนน้ำมันดิบที่ส่งออกพบว่าอินโดนีเซียส่งออกน้ำมันดิบมากกว่าเราถึง 11.53 เท่า น่าตั้งคำถามไหมครับว่า
“คนอินโดนีเซียมีใครออกมาทักท้วงเรื่องส่งออกน้ำมันดิบจำนวนมหาศาลนี้ไหม ทั้งที่ในประเทศก็ยังไม่พอใช้” ทำไมผมถึงตั้งคำถามนี้หรือ ก็เพราะนี่เป็นสิ่งที่แก๊งทวงคืนพากันโหมประโคมโจมตีการส่งออกน้ำมันดิบของบ้านเรากันเสียเหลือเกินทั้งๆที่มันเป็นการส่งออกแค่ 4.6% (คำนวณจาก จำนวนน้ำมันดิบที่ส่งออก หารด้วย ปริมาณน้ำมันสำเร็จรูปที่ใช้เองในประเทศ) ของความต้องการน้ำมันดิบในประเทศเราเท่านั้น ขณะที่ของอินโดนีเซียตัวเลขการส่งออกคิดบนหลักเดียวกันได้สูงถึง 28%
>>
มาถึงข้อสำคัญแล้วครับที่ทำให้ความแตกต่างระหว่างเรากับอินโดนีเซียน่าจะเริ่มเด่นชัดขึ้นมา คือจำนวนน้ำมันดิบที่นำเข้าจะเห็นว่าอินโดนีเซียมีการนำเข้าน้ำมันดิบเพียง 265,400 คิดเป็น 33% ขณะที่เราต้องนำเข้าถึง 793,900 คิดเป็น 81% ของความต้องการใช้น้ำมันดิบในประเทศ แต่เมื่อเอาปริมาณส่งออกมาพิจารณาด้วยของอินโดนีเซียส่งออก 371,400 คิดเป็น 46% เปรียบเทียบกับเราที่ส่งออก 32,200 คิดเป็น 3.3% ของความต้องการใช้น้ำมันดิบในประเทศ
จากตัวเลขดังกล่าวคงพอจะกล่าวได้นะครับว่า
อินโดนีเซียมีรายได้จากการส่งออกน้ำมันดิบจำนวน 46% มาดุลราคากับน้ำมันดิบที่นำเข้ามาเพียง 33% แต่ไทยเราคงไม่สามารถนำรายได้จากการส่งออกน้ำมันดิบเพียง 3.3% มาดุลราคากับน้ำมันดิบที่นำเข้ามามากถึง 81% ได้ ผมว่าแค่นี้ก็น่าจะพอตอบคำถามได้แล้วมั้งครับว่าทำไมราคาน้ำมันอินโดนีเซียจึงถูกกว่าบ้านเรา
>> อย่างไรก็ตามหากลองสังเกตในหัวข้อ 8 จะเห็นว่าอินโดนีเซียเองเขาก็เหลือน้ำมันดิบสำรองที่พิสูจน์แล้วใช้ได้เพียงอีก 12 ปีเท่านั้น (ก็ยังมากกว่าไทยเราถึง 2 เท่า) เขาก็เริ่มตระหนักถึงความจริงข้อนี้แล้วว่าในอนาคตหากเขาหวังจะพึ่งพาการส่งออกน้ำมันดิบมาช่วยดุลราคาน้ำมันในประเทศก็คงจะไม่สามารถทำได้อีกต่อไป
จึงเป็นที่มาของนโยบายลดการอุดหนุนราคาน้ำมันภายในประเทศที่เป็นข่าวครึกโครมให้แก๊งทวงคืนมาตีกินอยู่พักใหญ่ แต่กับบางประเทศที่คิดว่าตัวเองร่ำรวยทรัพยากรน้ำมันดิบเสียเต็มประดากลับมีคนเลวๆบางกลุ่มออกมาให้ข้อมูลบิดเบือนและสร้างความแตกแยกในสังคม แทนที่จะเอาความรู้ความสามารถที่มีมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติ หนำซ้ำยังกล่าวว่าให้ร้ายเจ้าหน้าที่รัฐที่ทุ่มเท ทำงานเพื่อให้ประเทศไทยมีพลังงานใช้อย่างพอเพียง
>> หากลองสังเกตข้อ 11 ท่านจะเห็นว่าอินโดนีเซียมีการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปน้อยกว่าเราอยู่ 0.74 เท่า แต่หากท่านรู้เท่าทันแก๊งทวงคืน ปตท ที่ก็พยายามหยิบประเด็นนี้มาโจมตี
ท่านจะรู้ว่าการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปไม่ได้มีความหมายอะไรเลยหากประเทศเรายังต้องนำเข้าน้ำมันดิบมากกว่าจำนวนน้ำมันดิบที่เราผลิตได้เองกว่า 5-6 เท่าอย่างทุกวันนี้
>> หากลองสังเกตข้อ 12 ท่านจะเห็นว่าอินโดนีเซียก็ยังมีการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปคิดเป็นถึง 43%ของที่เขากลั่นได้เอง ซึ่งถือว่าเป็นการขาดดุลการค้าเป็นอย่างยิ่งแต่ก็เป็นสิ่งที่เขาจำเป็นต้องทำเนื่องจากกำลังการกลั่นของโรงกลั่นในประเทศไม่เพียงพอต่อการใช้ภายในประเทศ ทั้งนี้เมื่อเทียบการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปเป็นร้อยละแล้วเรานำเข้ามาน้อยกว่าคือเพียง 4.56% เท่านั้น
สิ่งนี้ (ผมหมายถึงมีกำลังการกลั่นน้ำมันสำเร็จรูปมากกว่าความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูปในประเทศ) ช่วยลดการขาดดุลการค้าให้กับประเทศเราได้เพราะนอกจากเราไม่ต้องนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปที่มีราคาแพงกว่าน้ำมันดิบแล้วประเทศยังได้ดุลการค้าคืนจากการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปที่เหลือจากความต้องการในประเทศอีกด้วย
....................................................................................................................
ผมขอสรุปให้อีกทีสั้นๆ 5 บรรทัด (ไม่รู้เยอะไปเปล่า) แล้วกันว่า
“ทำไมราคาน้ำมันอินโดนีเซีย (30.02 บาทต่อลิตร) ถูกกว่าบ้านเรา (36.68 บาทต่อลิตร)”
1. เพราะอินโดนีเซียผลิตน้ำมันดิบใช้ได้เองมากกว่าเราถึง 4.28 เท่า
2. เพราะอินโดนีเซียมีปริมาณสำรองน้ำมันดิบที่พิสูจน์แล้วมากกว่าเราถึง 9.05 เท่า
3. เพราะอินโดนีเซียสามารถส่งออกน้ำมันได้มากกว่าเราถึง 11.53 เท่า
4. เพราะอินโดนีเซียนำเข้าน้ำมันดิบน้อยกว่าเราถึง 2.99 เท่า
5. เพราะอินโดนีเซียมีอัตราการใช้น้ำมันต่อประชากร 1 คนน้อยกว่าเรา 2.03 เท่า
เท่านี่พอจะทำใจยอมรับได้ไหมครับว่าทำไมราคาน้ำมันอินโดนีเซีย ถูกกว่าบ้านเรา สำหรับกระทู้ต่อไปผมจะหาคำตอบมาให้พิจารณากันว่า
“ทำไมราคาน้ำมันมาเลเซีย (18.10 บาทต่อลิตร) ถูกกว่าบ้านเรา (36.68 บาทต่อลิตร)”
May The Energy Be With You. ขอพลังงานจงสถิตแด่ท่าน
ปล. ข่าวการปรับขึ้นราคาน้ำมันในอินโดนีเซีย
http://www.manager.co.th/around/viewnews.aspx?NewsID=9560000075569
(ผมเอาข่าวมาจากเว็บผู้จัดการนะครับ ยังจะมีใครหาว่าผมเป็นเสื้อแดง หรือ จะเสื้อเหลือง อยู่ไหมเนี่ย อ่อวันนี้ผมใส่เสื้อส้มครับ)
ปล.2 ผมเองก็ยังงงในความขัดแย้งของข้อมูลอยู่ว่าตกลงราคาน้ำมันอินโดนีเซียมันเท่าไรกันแน่จะ 30.02 ตาม Bloomberg หรือจะ สิบบาทกว่าๆตามข่าวดี ผมเลยลองเช็คไปที่ราคาน้ำมันของเชลล์อินโดนีเซีย
http://www.shell.co.id/en/products-services/on-the-road/fuels/our-price.html
แปลงเป็นเงินไทยแล้วตกประมาณ 28.74 - 33.28 บาท ผู้รู้ท่านใดมีคำตอบก็ขอความรู้ด้วยครับ
ทำไมราคาน้ำมันอินโดนีเซีย ถูกกว่าบ้านเรา - ไม่การเมืองละ
ที่ผมนำราคาน้ำมันบรูไนมาเปรียบเทียบกับราคาน้ำมันบ้านเรา ทำให้ผมเลยคิดต่อไปว่าน่าจะลองเปรียบเทียบกับอีก 2 ประเทศเพื่อนบ้าน AEC ที่มักจะถูกหยิบมากล่าวอ้างเปรียบเทียบกับราคาน้ำมันบ้านเราเสมอๆ คือ ราคาน้ำมันอินโดนีเซีย / ราคาน้ำมันมาเลเซีย
สำหรับคนที่อคติต่อข้อมูลของผม หรืออคติต่อตัวผม เรียนเชิญข้ามเนื้อหาในกระทู้แล้วไปแสดงความคิดเห็นของท่านด้านล่างเลยนะครับ ไม่ต้องสนใจข้อมูลที่ผมนำมาหรอกว่าถูกหรือผิด หรือหาหลักฐานอะไรมาแย้งผมให้เสียเวลาครับ ถ้าการกระทำอย่างนั้นทำให้ท่านมีความสุขใจที่ได้ระบายออกมาบ้างผมก็ยินดีครับ มาเริ่มกันเลยแล้วกัน
....................................................................................................................
ดูที่ราคาน้ำมันของแต่ละประเทศที่รายงานไว้ใน Bloomberg
ราคาน้ำมันไทย http://www.bloomberg.com/visual-data/gas-prices/20132:Thailand:THB:l
ราคาน้ำมันอินโดนีเซีย http://www.bloomberg.com/visual-data/gas-prices/20132:Indonesia:THB:l
....................................................................................................................
ข้อมูลไทย จาก https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/geos/th.html
ข้อมูลอินโดนีเซีย จาก https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/geos/id.html
ผมขออนุญาตเอามาเฉพาะรูปของข้อมูลด้านพลังงานอินโดนีเซียนะครับ เพราะกระทู้เก่าของผมมีรูปของไทยอยู่แล้ว
เพื่อความสะดวกในการเปรียบเทียบผมขอเอาข้อมูลทั้งหมดมาใส่ในตารางเดียวกันนะครับ
>> ว่ากันที่จำนวนประชากรก่อน พบว่าอินโดนีเซียมีประชากรในประเทศมากกว่าเราอยู่ 3.72 เท่า ผมเลยขอเดาเอาไว้ก่อนเลยว่าปริมาณการใช้น้ำมันของเขาก็น่าจะมากกว่าของบ้านเราด้วย ลองข้ามมาดูที่หัวข้อที่ 10 เรื่องปริมาณน้ำมันสำเร็จรูปที่ใช้เองในประเทศพบว่าอินโดนีเซียใช้มากกว่าเราอยู่เพียง 1.83 เท่าเมื่อเทียบกับจำนวนประชากรที่มากกว่าเราอยู่ 3.72 เท่าแล้วเช่นนี้ก็น่าจะกล่าวได้ว่าเราใช้น้ำมันสำเร็จรูปมากกว่าอินโดนีเซียประมาณ 2 เท่าเมื่อเทียบต่อจำนวนประชากร 1 คนเท่ากัน
>> ถัดมาดูที่จำนวนน้ำมันดิบที่ผลิตได้พบว่าอินโดนีเซียผลิตน้ำมันดิบได้มากกว่าเราอยู่ที่ 4.28 เท่า ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับจำนวนเท่าของประชากรที่อินโดมากกว่าเราอยู่เพียง 3.27 เท่า ก็น่าจะพอบอกได้ว่าอินโดนีเซียน่าจะมีน้ำมันดิบให้ใช้ได้มากกว่าบ้านเราในจำนวนประชากร 1 คนเท่ากัน
>> ถัดมาจำนวนน้ำมันดิบที่ส่งออกพบว่าอินโดนีเซียส่งออกน้ำมันดิบมากกว่าเราถึง 11.53 เท่า น่าตั้งคำถามไหมครับว่า “คนอินโดนีเซียมีใครออกมาทักท้วงเรื่องส่งออกน้ำมันดิบจำนวนมหาศาลนี้ไหม ทั้งที่ในประเทศก็ยังไม่พอใช้” ทำไมผมถึงตั้งคำถามนี้หรือ ก็เพราะนี่เป็นสิ่งที่แก๊งทวงคืนพากันโหมประโคมโจมตีการส่งออกน้ำมันดิบของบ้านเรากันเสียเหลือเกินทั้งๆที่มันเป็นการส่งออกแค่ 4.6% (คำนวณจาก จำนวนน้ำมันดิบที่ส่งออก หารด้วย ปริมาณน้ำมันสำเร็จรูปที่ใช้เองในประเทศ) ของความต้องการน้ำมันดิบในประเทศเราเท่านั้น ขณะที่ของอินโดนีเซียตัวเลขการส่งออกคิดบนหลักเดียวกันได้สูงถึง 28%
>> มาถึงข้อสำคัญแล้วครับที่ทำให้ความแตกต่างระหว่างเรากับอินโดนีเซียน่าจะเริ่มเด่นชัดขึ้นมา คือจำนวนน้ำมันดิบที่นำเข้าจะเห็นว่าอินโดนีเซียมีการนำเข้าน้ำมันดิบเพียง 265,400 คิดเป็น 33% ขณะที่เราต้องนำเข้าถึง 793,900 คิดเป็น 81% ของความต้องการใช้น้ำมันดิบในประเทศ แต่เมื่อเอาปริมาณส่งออกมาพิจารณาด้วยของอินโดนีเซียส่งออก 371,400 คิดเป็น 46% เปรียบเทียบกับเราที่ส่งออก 32,200 คิดเป็น 3.3% ของความต้องการใช้น้ำมันดิบในประเทศ
จากตัวเลขดังกล่าวคงพอจะกล่าวได้นะครับว่าอินโดนีเซียมีรายได้จากการส่งออกน้ำมันดิบจำนวน 46% มาดุลราคากับน้ำมันดิบที่นำเข้ามาเพียง 33% แต่ไทยเราคงไม่สามารถนำรายได้จากการส่งออกน้ำมันดิบเพียง 3.3% มาดุลราคากับน้ำมันดิบที่นำเข้ามามากถึง 81% ได้ ผมว่าแค่นี้ก็น่าจะพอตอบคำถามได้แล้วมั้งครับว่าทำไมราคาน้ำมันอินโดนีเซียจึงถูกกว่าบ้านเรา
>> อย่างไรก็ตามหากลองสังเกตในหัวข้อ 8 จะเห็นว่าอินโดนีเซียเองเขาก็เหลือน้ำมันดิบสำรองที่พิสูจน์แล้วใช้ได้เพียงอีก 12 ปีเท่านั้น (ก็ยังมากกว่าไทยเราถึง 2 เท่า) เขาก็เริ่มตระหนักถึงความจริงข้อนี้แล้วว่าในอนาคตหากเขาหวังจะพึ่งพาการส่งออกน้ำมันดิบมาช่วยดุลราคาน้ำมันในประเทศก็คงจะไม่สามารถทำได้อีกต่อไป จึงเป็นที่มาของนโยบายลดการอุดหนุนราคาน้ำมันภายในประเทศที่เป็นข่าวครึกโครมให้แก๊งทวงคืนมาตีกินอยู่พักใหญ่ แต่กับบางประเทศที่คิดว่าตัวเองร่ำรวยทรัพยากรน้ำมันดิบเสียเต็มประดากลับมีคนเลวๆบางกลุ่มออกมาให้ข้อมูลบิดเบือนและสร้างความแตกแยกในสังคม แทนที่จะเอาความรู้ความสามารถที่มีมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติ หนำซ้ำยังกล่าวว่าให้ร้ายเจ้าหน้าที่รัฐที่ทุ่มเท ทำงานเพื่อให้ประเทศไทยมีพลังงานใช้อย่างพอเพียง
>> หากลองสังเกตข้อ 11 ท่านจะเห็นว่าอินโดนีเซียมีการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปน้อยกว่าเราอยู่ 0.74 เท่า แต่หากท่านรู้เท่าทันแก๊งทวงคืน ปตท ที่ก็พยายามหยิบประเด็นนี้มาโจมตี ท่านจะรู้ว่าการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปไม่ได้มีความหมายอะไรเลยหากประเทศเรายังต้องนำเข้าน้ำมันดิบมากกว่าจำนวนน้ำมันดิบที่เราผลิตได้เองกว่า 5-6 เท่าอย่างทุกวันนี้
>> หากลองสังเกตข้อ 12 ท่านจะเห็นว่าอินโดนีเซียก็ยังมีการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปคิดเป็นถึง 43%ของที่เขากลั่นได้เอง ซึ่งถือว่าเป็นการขาดดุลการค้าเป็นอย่างยิ่งแต่ก็เป็นสิ่งที่เขาจำเป็นต้องทำเนื่องจากกำลังการกลั่นของโรงกลั่นในประเทศไม่เพียงพอต่อการใช้ภายในประเทศ ทั้งนี้เมื่อเทียบการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปเป็นร้อยละแล้วเรานำเข้ามาน้อยกว่าคือเพียง 4.56% เท่านั้น สิ่งนี้ (ผมหมายถึงมีกำลังการกลั่นน้ำมันสำเร็จรูปมากกว่าความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูปในประเทศ) ช่วยลดการขาดดุลการค้าให้กับประเทศเราได้เพราะนอกจากเราไม่ต้องนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปที่มีราคาแพงกว่าน้ำมันดิบแล้วประเทศยังได้ดุลการค้าคืนจากการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปที่เหลือจากความต้องการในประเทศอีกด้วย
....................................................................................................................
ผมขอสรุปให้อีกทีสั้นๆ 5 บรรทัด (ไม่รู้เยอะไปเปล่า) แล้วกันว่า “ทำไมราคาน้ำมันอินโดนีเซีย (30.02 บาทต่อลิตร) ถูกกว่าบ้านเรา (36.68 บาทต่อลิตร)”
1. เพราะอินโดนีเซียผลิตน้ำมันดิบใช้ได้เองมากกว่าเราถึง 4.28 เท่า
2. เพราะอินโดนีเซียมีปริมาณสำรองน้ำมันดิบที่พิสูจน์แล้วมากกว่าเราถึง 9.05 เท่า
3. เพราะอินโดนีเซียสามารถส่งออกน้ำมันได้มากกว่าเราถึง 11.53 เท่า
4. เพราะอินโดนีเซียนำเข้าน้ำมันดิบน้อยกว่าเราถึง 2.99 เท่า
5. เพราะอินโดนีเซียมีอัตราการใช้น้ำมันต่อประชากร 1 คนน้อยกว่าเรา 2.03 เท่า
เท่านี่พอจะทำใจยอมรับได้ไหมครับว่าทำไมราคาน้ำมันอินโดนีเซีย ถูกกว่าบ้านเรา สำหรับกระทู้ต่อไปผมจะหาคำตอบมาให้พิจารณากันว่า “ทำไมราคาน้ำมันมาเลเซีย (18.10 บาทต่อลิตร) ถูกกว่าบ้านเรา (36.68 บาทต่อลิตร)”
May The Energy Be With You. ขอพลังงานจงสถิตแด่ท่าน
ปล. ข่าวการปรับขึ้นราคาน้ำมันในอินโดนีเซีย http://www.manager.co.th/around/viewnews.aspx?NewsID=9560000075569
(ผมเอาข่าวมาจากเว็บผู้จัดการนะครับ ยังจะมีใครหาว่าผมเป็นเสื้อแดง หรือ จะเสื้อเหลือง อยู่ไหมเนี่ย อ่อวันนี้ผมใส่เสื้อส้มครับ)
ปล.2 ผมเองก็ยังงงในความขัดแย้งของข้อมูลอยู่ว่าตกลงราคาน้ำมันอินโดนีเซียมันเท่าไรกันแน่จะ 30.02 ตาม Bloomberg หรือจะ สิบบาทกว่าๆตามข่าวดี ผมเลยลองเช็คไปที่ราคาน้ำมันของเชลล์อินโดนีเซีย http://www.shell.co.id/en/products-services/on-the-road/fuels/our-price.html
แปลงเป็นเงินไทยแล้วตกประมาณ 28.74 - 33.28 บาท ผู้รู้ท่านใดมีคำตอบก็ขอความรู้ด้วยครับ