เจอภาษีย้อนหลัง7 ปี เพราะสรรพกรส่งใบแจ้งเสียภาษีผิดไปที่อยู่เก่า เราต้องรับผิดชอบค่าปรับย้อนหลังทั้ง 7 ปีหรือไม่

วันดีคืนดี เราก็ได้รับ "ใบเตือนให้ส่งภาษีพร้อมค่าปรับย้อนหลัง 7 ปี"
แจ้งว่าเราคำนวณภาษีผิดในปี 2549 ต้องจ่ายเพิ่ม โดยเค้าตรวจเจอปี 2551ส่งข้อมูลแจ้งเสียภาษีผิดนั้น ไปที่บ้านเก่า???

คนเสียภาษีผ่านเวปจะรู้ดีว่าทุกปีตอนเสียภาษีเค้าให้อัพเดทที่อยู่ใหม่ในหน้าแรกก่อนทุกครั้ง
เราย้ายบ้านตั้งแต่ปี 2550 ที่อยู่การเสียภาษีถูกเปลี่ยนไปแล้วตั้งแต่ปีนั้น ยังจะส่งใบตามกลับมาที่อยู่เก่าเพื่อ???

ผ่านมา จนวันนี้มีเจ้าหน้าที่ๆมารับหน้าที่ใหม่ จึงส่งใบเตือนนี้มาใหม่ ตามที่อยู่ใหม่ แต่ให้ไปเสียภาษีย้อนหลังเป็นเวลา 7 ปีตั้งแต่ปี 49-56

เราโทรไปเจรจาว่า ok ถ้าเราได้รับตามที่ส่งมาแจ้งนั้น เรายินดีจ่ายค่าปรับจากปี 49-51
แต่นี่ สรรพากรผิดพลาด ส่งการแจ้งส่งภาษีผิดไปที่ที่อยู่เก่าที่ไม่อัพเดท แล้ววันนี้เพิ่งมาเจอเราตามที่อยู่ใหม่ แต่ไม่ต้องรับผิดชอบอะไร ประชาชนต้องรับผิดชอบความผิดพลาดของสรรพากรที่ส่งแจ้งไปที่อยู่ผิดตั้งแต่ปี 52-56 มันยุติธรรมหรอ ค่าปรับปีละ 7.5 5 ปีหลัง เป็นความรับผิดชอบของเราทั้งที่ตรวจสอบแล้วสรรพากรเองก็รู้ตัวว่าผิดพลาดทีส่งไปยังที่อยู่ไม่อัพเดท และจดหมายนั้นไม่มีผู้รับ แต่ประชาชนต้องมารับผิดชอบโดยไม่มีเงือ่นไข แล้วจะให้เสียเวลาอัพเดทข้อมูลผู้เสียภาษีไปเพื่อ??????

รบกวนปรึกษาผู้รู้ว่าเราจะต้องเชื่องเดินไปจ่ายค่าความไม่รับผิดชอบของสรรพากรอย่างไม่มีเงือ่นไขหรืออย่างไร เพราะเค้าอ้างว่าชอบธรรมตั้งแต่มีการส่งใบเตือนไปแร้วแม้ไม่มีผู้รับ หรือส่งไปที่อยู่มั่วๆที่ไหนก็แล้วแต่ ห่วย+++
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 5
http://www.rd.go.th/publish/5943.0.html#mata19

มาตรา 19  เว้นแต่จะมีบทบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น กรณีที่เจ้าพนักงานประเมินมีเหตุอันควรเชื่อว่า ผู้ใดแสดงรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ ให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกผู้ยื่นรายการนั้นมาไต่สวน และออกหมายเรียกพยานกับสั่งให้ผู้ยื่นรายการหรือพยานนั้น นำบัญชีเอกสารหรือหลักฐานอื่นอันควรแก่เรื่องมาแสดงได้ แต่ต้องให้เวลาล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวันนับแต่วันส่งหมาย ทั้งนี้ การออกหมายเรียกดังกล่าว จะต้องกระทำภายในเวลาสองปี นับแต่วันที่ได้ยื่นรายการไม่ว่าการยื่นรายการนั้น จะได้กระทำภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด หรือเวลาที่รัฐมนตรีหรืออธิบดีขยายหรือเลื่อนออกไปหรือไม่ ทั้งนี้ แล้วแต่วันใดจะเป็นวันหลัง เว้นแต่กรณีปรากฏหลักฐานหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าผู้ยื่นรายการมีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีอากร หรือเป็นกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการคืนภาษีอากร อธิบดีจะอนุมัติให้ขยายเวลาการออกหมายเรียกดังกล่าวเกินกว่าสองปีก็ได้ แต่ต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่ได้ยื่นรายการ แต่กรณีขยายเวลาเพื่อประโยชน์ในการคืนภาษีอากรให้ขยายได้ไม่เกินกำหนดเวลาตามที่มีสิทธิขอคืนภาษีอากร

สรุปง่าย ๆ ว่าเจ้าหน้าที่มีสิทธิ์ประเมินย้อนหลังไม่เกิน 2 ปี แต่ถ้าจะขยายเป็น 5 ปีต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดี ดังนั้นกรณีนี้ไม่ต้องเสียเงินย้อนหลัง ไม่ว่าจะเป็นภาษีที่คำนวณผิด ค่าปรับ หรือดอกเบี้ย จบแล้วครับ ให้เข้าไปพบสรรพากรพร้อมพิมพ์ประมวลรัษฎากรข้อนี้ไปด้วย แต่เวลาไปเจรจาไม่ใช่ไปคุยเฉย ๆ นะครับ ให้ไปคุยกับคนที่ส่งจดหมายมา ตำหนิเขาว่าเขาไม่มีความรู้เรื่องกฏหมาย มาเป็นเจ้าหน้าที่ได้อย่างไร ได้รับการอบรมที่ดีหรือเปล่า เพราะแค่ประมวลรัษฎากรพื้น ๆ แค่นี้ยังไม่เข้าใจ เข้าไปคุยกับหัวหน้าเลยว่าลูกน้องไม่มีความรู้ รับเข้ามาได้ยังไง

คุณอาจจะเจอข้อแก้ตัวของสรรพากร เช่น
- ส่งจดหมายไปแล้ว : แต่ส่งไปที่อยู่เก่า เป็นหน้าที่ของกรมสรรพากรต้องอัพเดทข้อมูลกับกระทรวงมหาไทยเอง การส่งจดหมายไปที่อยู่ผิดเป็นความผิดพลาดของสรรพากร ไม่ใช่ของเรา และหากส่งจดหมายแล้วแต่เราไม่มา ต้องมีหมายเรียก แล้วหมายเรียกอยู่ไหน แสดงว่าเรื่องในปี 2551 จบไปแล้ว
- ระบบคอมพิวเตอร์ไม่อัพเดท :  ถ้าระบบคอมพิวเตอร์ไม่มีคุณภาพ ใครเป็นคนพัฒนา ใครเป็นคนจัดซื้อจัดจ้าง ใครเป็นคนเป็นคนเซ็นรับงาน เพราะนั่นหมายถึงการคอรัปชั่น ให้ทำหนังสือมาเราจะไปแจ้ง ปปช. และผู้ตรวจการแผ่นดินว่าเราได้รับความเดือดร้อนจากการคอรัปชั่นของช้าราชการ
- มุขสุดท้าย "ช่วยจ่ายหน่อยเถอะ" : ให้เขาทำหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรมา เพื่อเราจะได้เอามาประจานว่าเจ้าหน้าที่ทำเกินหน้าที่ เพราะเรียกย้อนหลัง 7 ปี ทั้งที่มีอำนาจย้อนหลังได้แค่ 2 ปี

เพื่อนผมก็เจอปัญหาเหมือนคุณเลย คำนวณภาษีผิดเมื่อ 7 ปีที่แล้วจะเรียกค่าปรับพร้อมดอกเบี้ย ผมเข้าไปเคลียร์ให้แล้วสรุปว่าไม่ต้องจ่าย ถ้าคุณ จขกท. มีอะไรหลังไมค์มาได้ครับ เพราะจะเป็นการเปิดตัวมากเกินไป
ความคิดเห็นที่ 33
ขอบคุณคุณ "ปรานยิ่งดี" ที่กรุณาช่วยรวบรวมผลงานให้นะครับ

1.) "การย้ายที่อยู่ เป็นหน้าที่ของผู้มีเงินได้ฯต้องแจ้งเป็นหนังสือไปถึงเจ้าพนักงาน มิใช่ให้ จพง.ค้นหาเอง" ตีความได้ดีมาก เจ้าพนักงานคงใหญ่คับฟ้า ไม่ต้องทำงาน ประชาชนต้องทำให้ทั้งหมด

2.) โดยผู้มีหน้าที่เสียภาษีต้องแจ้งการเปลี่ยนที่อยู่ต่อเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ฯภายในหกสิบวันนับแต่วันย้ายที่อยู่พร้อมแนบบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรเดิม คืนไปด้วยเพื่อขอทำบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรใหม่แทนบัตรเดิม เพิ่งรู้ว่าสมัยนี้ยังต้องขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอยู่อีก อย่างนี้ จขกท. ใช้บัตรประชาชนไม่ใช้บัตรประจำตัวผู้เสียภาษี ก็ไม่สามารถอัพเดทที่อยู่ใหม่ได้สิครับ อีกทั้งเหตุการณ์ในปี 2551 ตอนนั้นก็ใช้บัตรประชาชนกันแล้วครับ ถ้าจำไม่ผิดใช้ตั้งแต่ประมาณปี 2545 ก่อนจะมีการส่งเอกสาร 5-6 ปี

3.) การจะโต้แย้งข้อกฎหมาย ควรใช้ข้อกฎหมายและเหตุผลตามกฎหมาย โลกนี้มีแต่กฏหมาย เรื่องอื่นห้ามพูด เจ้าหน้าที่ทำงานผิดพลาดก็ห้ามพูด ห้ามถามถึง เพราะคุยได้แค่กฏหมายอย่างเดียว
กระทู้นี้เป็นกระทู้คำถาม เป้าหมายของการตอบกระทู้คือการหาทางออกของปัญหา ซึ่งสามารถรับฟังความคิดเห็นรอบด้านในหลาย ๆ แง่มุม ซึ่งคนอื่นก็สามารถนำเอาไปใช้ได้ ไม่ใช่การเถียงข้อกฏหมายครับ บางคนตั้งกระทู้เพื่อเถียงข้อกฏหมายเขาก็บอกเลยว่าขอประเด็นทางกฏหมายเท่านั้น นั่นแหละครับที่ต้องการประเด็นทางกฏหมายเท่านั้น

4.) การอัพเดตผ่านเว็บ สรรพากร ไม่มีผลเป็นการแจ้งย้ายที่อยู่ตามกฎหมาย และไม่มีกฎหมายรองรับให้แจ้งผ่านเว็บได้ อัพเดทผ่านเว็บใช้ได้หรือไม่ก็ต้องตีความกฏหมายด้วย สงสัยต้องกลับไปข้อ (3) ทุกอย่างต้องโต้แย้งด้วยข้อกฏหมาย เรื่องอื่นห้ามพูด แล้วสรรพากรจะมีนโยบายส่งเสริมให้คนยื่นภาษีผ่านระบบอินเตอร์เน็ตทำไม

ดูจากการตอบคำถามของคุณ "ปรานยิ่งดี" แล้วผมพยายามจินตนาการตาม
- ช่วงแรกพยายามอ้างข้อกฏหมาย ใช้ภาษากฏหมายที่สละสลวย แม้จะไม่ค่อยมีสาระก็เถอะ
- เมื่อถูกวิจารณ์ก็จะแสดงอารมณ์อย่างรุนแรง มีคำหยาบออกมา เช่น "แสดงความคิดเห็นกาก ๆ แต่ไพล่คิดว่าตัวเองเจ๋ง"
- มีการตำหนิด้วยถ้อยคำหวานแหวว เช่น "ปากดีนะเรา"
ผมว่าสำนวนคุณแปลก ๆ นะ คิดว่าผมเดาไม่ผิด
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่