ประวัติศาสตร์นิยายไซไฟ Part III - Dune มหากาพย์ไซไฟ การมองโลกตะวันออกของชาวตะวันตก

ประวัติศาสตร์ไซไฟ Part III



กระทู้ก่อนหน้านี้

http://ppantip.com/topic/30695066 Part I

http://ppantip.com/topic/30706400 Part II

ปล.อนึ่ง ได้เปลี่ยนชื่อล็อคอินจาก Eagle1000 แล้วครับ เพื่อเป็นการเอาฤกษ์ให้กับหนังสือ "จดหมายเหตุสามก๊ก" ที่กำลังจะวางจำหน่ายกับสนพ.ปราชญ์ เร็วๆนี้ ซึ่งจะใช้ชื่อจริงครับ

---------------------------------------------------------------------------------------------




ยุค 70 – 90 นิยายไซไฟคลื่นลูกใหม่ (New Wave) และการเข้ามาผนวกของสื่อ (Media)




    ยุคปลาย 60 ต่อต้น 70 เป็นช่วงที่การเขียนประวัติศาสตร์มีความเป็นพลวัตและตัวตนที่เข้มแข็งอย่างมาก โดยเฉพาะในอเมริกา อังกฤษ และชาติยุโรปต่างๆ นี่คือยุคสมัยที่ละเอียดอ่อนอย่างมากต่อวงการเขียนทุกแขนง "หลายๆสิ่งที่พวกเราได้เรียนกันในตำรา ถูกสร้างขึ้นมาจากชาวตะวันตกยุคนี้ และพวกเขาพยายามทำตนให้เป็นศูนย์กลางหรือผู้สร้างโลกใหม่ในศตวรรษที่ 20 เป็นต้นไป" วิธีการเขียนประวัติศาสตร์ หรือแนวทาง "ประวัติศาสตร์นิพนธ์" (Historiography) แบบที่ใช้โลกตะวันตกเป็นศูนย์กลางของโลก เริ่มอย่างชัดเจนในยุคนี้เอง


    ในอเมริกาและอังกฤษ เกิดรูปแบบวัฒนธรรมที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่อันเป็นผลพวงจากยุคของความเบื่อหน่ายหลังสงคราม และความรู้สึกที่ต้องการโหยหาอิสระเสรี ของคนหนุ่มสาวชาวอเมริกันในยุคนี้ ซึ่งถูกเรียกว่า "รุ่นบุปผาชน" ขณะเดียวกัน นักเขียนนิยายไซไฟรุ่นใหม่ๆที่ถูกเรียกว่า New Wave ได้เข้ามามีบทบาทในยุคนี้ โดยมีลักษณะของการโหยหาโลกใหม่ และการทำลายต่อแนวคิดและวัฒนธรรมดั้งเดิม เป็นการคิดและสร้าง จินตนาการต่อโลกใหม่ ที่จะดีขึ้นกว่าเดิม


              การนำเสนอลักษณะของการทดลองในการที่จะค้นหาโลกใหม่ ในอังกฤษนั้นประสบความสำเร็จมาก จนเรียกว่าเป็นยุคทองของนิยายไซไฟเลยทีเดียว นิยายแฟนตาซีของอังกฤษหรือสายยุโรป เกิดการผสมผสานกับแนวคิดเชิงไซไฟเข้ามาด้วย จนกระทั่งเป็นจุดเริ่มต้นให้การกำเนิดนิยายแฟนตาซีมหากาพย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกตะวันตก นั่นคือ The Lord of the Ring ของ เจ อาร์ โทลคีน


               ขณะเดียวกัน ในอเมริกา ได้ปรากฏผลงานสุดยอดขึ้นมามากมายขับเคี่ยวกัน ภายใต้แนวคิดนิยายไซไฟแนวสังคมจากยุคทอง มาผสมผสานกับแนวความคิดแบบตะวันออก ซึ่งมุ่งเน้นธรรมชาติและปรัชญาของการผสานกับธรรมชาติ ซึ่งเสมือนเป็นเรื่องลี้ลับและแปลกใหม่ที่ชาวตะวันตกไม่เข้าใจ และพยายามตีความมัน

   
               ในที่สุด ผลงานมหากาพย์ไซไฟแฟนตาซีที่เป้นผลพวงของแนวคิดที่ไม่เคยมีนักเขียนตะวันตกคิดฝันมาก่อนว่าจะเกิดขึ้นได้นั้น ก็นำไปสู่มหากาพย์ยิ่งใหญ่ เรื่อง Dune ของ แฟรงค์ เฮอร์เบิร์ต


                 เช่นเดียวกัน ในเวลาต่อมา อาสิมอฟ ได้กลับมาอีกครั้งพร้อมแนวคิดเรื่อง "คอมพิวเตอร์และหุ่นยนต์ " จากนั้นจึงเริ่มเขียน สถาบันสถาปนา (Foundation) ภาคต่ออีก 4 เล่ม ซึ่งก็เป็นการวางรากฐานให้แก่นิยายไซไฟสไตล์โลกใหม่ที่เด่นชัดมาก ทั้งสองเรื่องถูกยกย่องอย่างสูงให้เป็นผลงานชิ้นเอกที่กลายเป็นเสาหลักนิยายไซไฟยุคหลังทั้งหมดหลังจากนี้


               เพิ่มเติม ตัวอย่างมินิซีรีย์ Dune เวอร์ชั่นปี 2003 ที่ดัดแปลงบางอย่างแต่ก็ออกมาดีและอลังการมาก

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่