หูฟังยี่ห้อไหน ทนทาน มั่งครับ ช่วยแนะนำหน่อยครับ ตอนนี้ใช้ของ sony อยู่ครับ แต่พังไปข้างนึงแล้วว 555
ส่วนนี่เป็นข้อมูลที่เจอมาครับ
การเลือกซื้อหูฟัง หรือ Headphone นั้น เป็นเรื่องเส้นผมบังภูเขา ที่หลายๆคนมองข้าม และเนื่องจากผมต้องทำงานกับหูฟังเป็นประจำ (อยู่ที่สถานีวิทยุ) วันนี้จึงอยากจะมาแชร์ประสบการณ์เรื่องการใช้หูฟังให้กับเพื่อนๆชาว Give & Rich ซักหน่อยนะครับ เอ้า ใครอยากรู้ ก็เร่กันเข้ามาเลยครับ ..^__^
ประเภทของหูฟังในโลกนี้นั้น ถ้าแบ่งตามลักษณะการสวมใส่ ก็จะแบ่งได้ประมาณ 3 รูปแบบ ดังนี้ครับ
1. หูฟังแบบครอบทั้งหู ( Over-Ear Headphone )
ก็คือ หูฟังที่สามารถครอบใบหูของเราให้อยู่ในหูฟังได้ทั้งใบ พูดง่ายๆว่า ใส่แล้ว มองไม่เห็นหูของเราเลย ประมาณนั้นนะครับ ซึ่งหูฟังประเภทนี้ มักเป็นหูฟังที่ค่อนข้างเทอะทะ มีขนาดใหญ่ (ก็แหงล่ะ ไม่ใหญ่แล้วมันจะครอบหูได้ยังไง) แต่ข้อดีของมันคือ เนื่องจากมันครอบทั้งหู จึงทำให้หูฟังประเภทนี้ สามารถ “อุ้ม” มวลเสียงทั้งหมดได้ดีกว่าหูฟังประเภทอื่นครับ และยังช่วย “กัน” เสียงภายนอก ไม่ให้เข้ามารบกวนเสียงที่เรากำลังฟังจากหูฟังได้ด้วย ดังนั้น จึงไม่ต้องแปลกใจที่ว่า ทำไมพวกซาวด์เอ็นจิเนียร์ที่ทำงานในห้องอัดเสียง รวมถึงศิลปินนักร้องนักดนตรี และดีเจทั้งหลาย จึงนิยมใช้หูฟังประเภทนี้กันนัก ทั้งที่มันค่อนข้างหนักกบาลพอสมควร นั่นก็เพราะมันเหมาะกับการฟังเสียงดนตรีอย่างละเอียด และ ละเมียด นั่นเองครับ สรุปว่า หูฟังแบบครอบทั้งหู เป็นหูฟังที่นิยมใช้กันในงานอาชีพที่เกี่ยวกับเสียงเพลงจริงๆครับ เช่น งานในห้องอัดเสียง งานในห้องส่งวิทยุ หรือ แม้แต่งานมิกซ์เสียงสำหรับเวทีคอนเสิร์ต ก็ใช้หูฟังประเภทนี้เช่นกัน ราคาของหูฟังแบบครอบทั้งหู ถ้าเป็นยี่ห้อของมืออาชีพจริงๆ จะมีราคาแพงมากครับ หลักหลายพัน ถึง หลักหมื่น ขึ้นไป
2. หูฟังแบบทับหู ( On-Ear Headphone )
หูฟังประเภทนี้ เรามักจะได้เจอกันบ่อยครับ เป็นหูฟังสามัญประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วๆไป มักจะเป็นแบบที่มีไมโครโฟนติดมาด้วย (หรือที่เราเรียกว่า Headset นั่นเอง) ซึ่งเรามักจะชอบเอาไว้ใช้คุย skype หรือ ประชุมออนไลน์กับเพื่อนๆนั่นเองครับ ซึ่งหูฟังแบบทับหูนี้ จะแตกต่างจากหูฟังแบบครอบทั้งหู ตรงที่ว่า หูฟังแบบทับหู มันจะถูกออกแบบมาให้วางทับบนหูเฉยๆครับ ไม่สามารถครอบทั้งหูของเราได้ (ยกเว้นหูเด็กเล็กๆ) ดังนั้น หูฟังแบบทับหู จึงมีขนาดเล็กกว่า หูฟังแบบครอบทั้งหู และน้ำหนักก็เบากว่าด้วยครับ เรียกว่า เบาหัวกว่าแบบแรก ว่างั้นเถอะ หูฟังแบบทับหูนี้ ถูกผลิตออกมาหลากหลายเกรดมากครับ มีตั้งแต่หูฟังจีนแตงราคาร้อยกว่าบาท ไปจนถึงหูฟังราคาหลักพัน ซึ่งความต่างของราคาก็ขึ้นอยู่กับความสามารถในการ “ขับ” ย่านเสียง นั่นเอง อย่างที่ผมบอกไปแล้วว่า หูฟังแบบครอบทั้งหูนั้น อุ้มเนื้อเสียงไว้ได้มากกว่า ดังนั้น เมื่อมันกลายเป็นหูฟังแบบทับหู จึงเท่ากับว่า ไม่สามารถอุ้มย่านเสียงบางย่านได้ดีนัก โดยเฉพาะย่านความถึ่ต่ำ หรือ เสียง Bass นั่นเองครับ ดังนั้น ใครที่อยากใช้หูฟังประเภทนี้ สำหรับฟังดนตรี โดยเฉพาะดนตรีที่เน้นเสียง Bass เจ๋งๆ เช่น Hip Hop หรือ Funky อันนี้ คงต้องยอมเสียเงินซื้อยี่ห้อที่มันราคาแพงสักหน่อยนะครับ เพื่อความสุนทรีย์ในการขับขี่ เอ๊ย.. ในอารมณ์ของตัวท่านเอง ^__^
3. หูฟังแบบยัดใส่รูหู ( In-Ear Headphone เรียกอีกอย่างว่า Earphone หรือ Earbud )
หูฟังแบบนี้ ชื่อก็บอกชัดเจน คงไม่ต้องอธิบายอะไรกันมาก รูปแบบมันก็เหมือน ก้อนอะไรเล็กๆสองก้อน ยัดใส่ในหูเรานั่นแหละครับ ซึ่งต้องขออวดหน่อยว่า ผมเป็นวัยรุ่นยุคที่เจ้าหูฟังประเภทนี้ มันเกิดขึ้นมาในโลกพอดี (ตกลงจะประจานว่าตัวเอง “แก่” ใช่มั้ยเนี่ย 555 ^__^) และมันคือหูฟัง ที่ popular มากที่สุดในยุคนั้นเลยครับ ( ยุค 80 ) เพราะมันถือกำเนิดขึ้นมาพร้อมกับ “ซาวด์อะเบ๊าท์” นั่นเอง (วัยรุ่นยุคนี้ งง ตกลง ไอ้ “ซาวด์อะเบ๊าท์” เนี่ย มันคืออะไรกันหว่า 555 เอาเป็นว่า จะตอบคำถามนี้ได้ ต้องไปหาคำตอบมาก่อนว่า “เทปคาสเส็ท” มันคืออะไร 555 ไปกันใหญ่) หูฟังแบบยัดใส่รูหูนี้ สะดวกต่อการพกพาไปไหนต่อไหนเป็นอย่างยิ่ง จึงถูกใจวัยรุ่นผู้ชอบฟังเพลงเป็นอันมาก ใครที่ยังใช้หูฟังโบราณแบบครอบทั้งหู จะถือว่าเชยมากในสมัยนั้น ต้องแบบยัดใส่หูสิ เท่ห์สุด แต่… แต่หารู้ไม่ว่า เจ้าหูฟังแบบยัดใส่หูนี้ มันไม่ได้ช่วยถนอมรูหูเราเลย ใครที่ชอบฟังเพลงแบบดังๆสะใจ แล้วใช้เจ้าหูฟังแบบยัดใส่รูหูแบบนี้นะ ระวังไว้เลยว่า ท่านอาจต้องกลายเป็นคนหูตึงไปในที่สุด เพราะมันคือการเอาเสียงอันดัง ไปยัดใส่รูหูโดยตรงยังไงล่ะครับท่าน คือ ต้องเข้าใจก่อนว่า ย่านเสียงสำคัญ อันได้แก่ เสียง Bass, เสียงกลาง และ เสียงสูง นั้น มันจะถูกลดทอนลงไป ตามประเภทของหูฟังที่ใช้ โดยเฉพาะหูฟังแบบยัดใส่รูหูนี้ มันจะเหลือแค่เสียงสูงกับเสียงกลางเท่านั้น ที่แจ่มที่สุด แต่เสียง Bass จะถูกลดทอนตัวมันเองลง คือ ฟังรู้ว่ามีเสียง Bass แต่ไม่รู้สึกว่ามัน “อื้บ” หรือว่า “แน่น” อะไรเลย แหม! มันอธิบายยากแฮะ เอาเป็นว่า เพลงยุค 80 เขาไม่ค่อยเน้นเสียง Bass กันสักเท่าไหร่ ก็เลยไม่เป็นปัญหา หรือเป็นเพราะว่า ค่ายเพลงเขารู้ว่า วัยรุ่นสมัยนั้น ขอบฟังเพลงกับหูฟังแบบนี้ ก็เลยทำซาวด์ดนตรีให้มันไม่ต้องเน้นเสียง Bass ไปเลยหรือยังไง ก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน แต่หลังจากกระแสเพลงเปลี่ยนไป เริ่มมีเพลงยุคใหม่อย่าง Hip Hop ที่เน้นเสียง Bass เจ๋งๆ ซึ่งวัยรุ่นก็เริ่มหันมาคลั่งไคล้ Hip Hop กันมากขึ้น และก็เริ่มรู้สึกว่า ใช้หูฟังแบบยัดใส่รูหูนั้น มันไม่ได้อรรถรสในการฟังเสียง Bass เลย พับผ่าเหอะ! และอีกทั้ง พ่อเจ้าประคุณดีเจ ศิลปิน Hip Hop ทั้งหลาย เขาก็ใช้แต่หูฟังแบบครอบทั้งหูกันทั้งนั้น เราก็เลยได้เริ่มเห็นวัยรุ่นกลุ่มสมัยใหม่ ที่นิยมเสพดนตรีกันจริงจัง เริ่มหันกลับมานิยมหูฟังแบบครอบทั้งหูกันอีกครั้งนั่นเอง
พูดมาก็ตั้งเยอะ สรุปว่า ถ้าจะฟังดนตรี ก็ใช้หูฟังแบบครอบทั้งหูเถอะพี่น้อง (Over-Ear) ได้อรรถรสทุกย่านเสียง และถนอมสุขภาพหูด้วย แต่ถ้าจะใช้เพื่อพูดคุยสื่อสาร หรือ ใช้กับ small talk อันนี้ ใช้หูฟังแบบทับหู (On-Ear) หรือ แบบยัดใส่รูหู (In-Ear) ก็ได้ เพราะไม่ได้ต้องการอรรถรสของเสียง แต่ย้ำว่า ถ้าจะต้องใช้เพื่อพูดคุยกันนานๆเป็นชั่วโมง ก็ขอให้ใช้แบบทับหูจะดีกว่า และมีทริคอีกอันหนึ่งที่เคยเจอกับตัว คือ หลายๆคนอยากฝึกฟังภาษาอังกฤษ แต่รู้สึกว่า สำเนียงเจ้าของภาษาฟังยากมาก ยิ่งถ้าฟังจาก Youtube เสียงก็ไม่ค่อยชัด อันนี้ อยากจะบอกว่า บางทีหูฟังก็มีส่วน เพราะผมเคยเปลี่ยนมาใช้หูฟังแบบทับหูนี่แหละ แต่เป็นแบบที่ราคาแพงขึ้นมาหน่อย ประมาณซัก 700-1,000 บาท ผมพบว่า มันขับย่านเสียงได้ครบทุกเสียงจริงๆ ทำให้ได้ยินชัดเจนมากขึ้นว่าฝรั่งเขาพูดอะไรกัน โดยเฉพาะ รายการข่าวภาษาอังกฤษ ที่ฝรั่งเค้าพูดกันเร็วปรื๋อ จะได้ยินชัดขึ้นมาก และรู้เรื่องมากขึ้นกว่าเดิมเยอะเลยครับ ดังนั้น ราคาหูฟัง ก็เป็นปัจจัยที่สำคัญเช่นกันครับ
วิธีเลือกซื้อหูฟังแบบคร่าวๆ ก็มีประมาณนี้ครับ จริงๆยังมีรายละเอียดอื่นๆอีก เช่น หูฟังดนตรี หรือว่า หูฟังดีเจ จริงๆแล้ว ควรใช้ยี่ห้ออะไรบ้าง ไว้ถ้าผมสะดวก จะมาอัพเดทเรื่องของ “หูฟัง” ให้เพื่อนๆได้อ่านกันอีกละกันนะครับ
หูฟังยี่ห้อไหน ทนทาน มั่งครับ ช่วยแนะนำหน่อยครับ
ส่วนนี่เป็นข้อมูลที่เจอมาครับ
การเลือกซื้อหูฟัง หรือ Headphone นั้น เป็นเรื่องเส้นผมบังภูเขา ที่หลายๆคนมองข้าม และเนื่องจากผมต้องทำงานกับหูฟังเป็นประจำ (อยู่ที่สถานีวิทยุ) วันนี้จึงอยากจะมาแชร์ประสบการณ์เรื่องการใช้หูฟังให้กับเพื่อนๆชาว Give & Rich ซักหน่อยนะครับ เอ้า ใครอยากรู้ ก็เร่กันเข้ามาเลยครับ ..^__^
ประเภทของหูฟังในโลกนี้นั้น ถ้าแบ่งตามลักษณะการสวมใส่ ก็จะแบ่งได้ประมาณ 3 รูปแบบ ดังนี้ครับ
1. หูฟังแบบครอบทั้งหู ( Over-Ear Headphone )
ก็คือ หูฟังที่สามารถครอบใบหูของเราให้อยู่ในหูฟังได้ทั้งใบ พูดง่ายๆว่า ใส่แล้ว มองไม่เห็นหูของเราเลย ประมาณนั้นนะครับ ซึ่งหูฟังประเภทนี้ มักเป็นหูฟังที่ค่อนข้างเทอะทะ มีขนาดใหญ่ (ก็แหงล่ะ ไม่ใหญ่แล้วมันจะครอบหูได้ยังไง) แต่ข้อดีของมันคือ เนื่องจากมันครอบทั้งหู จึงทำให้หูฟังประเภทนี้ สามารถ “อุ้ม” มวลเสียงทั้งหมดได้ดีกว่าหูฟังประเภทอื่นครับ และยังช่วย “กัน” เสียงภายนอก ไม่ให้เข้ามารบกวนเสียงที่เรากำลังฟังจากหูฟังได้ด้วย ดังนั้น จึงไม่ต้องแปลกใจที่ว่า ทำไมพวกซาวด์เอ็นจิเนียร์ที่ทำงานในห้องอัดเสียง รวมถึงศิลปินนักร้องนักดนตรี และดีเจทั้งหลาย จึงนิยมใช้หูฟังประเภทนี้กันนัก ทั้งที่มันค่อนข้างหนักกบาลพอสมควร นั่นก็เพราะมันเหมาะกับการฟังเสียงดนตรีอย่างละเอียด และ ละเมียด นั่นเองครับ สรุปว่า หูฟังแบบครอบทั้งหู เป็นหูฟังที่นิยมใช้กันในงานอาชีพที่เกี่ยวกับเสียงเพลงจริงๆครับ เช่น งานในห้องอัดเสียง งานในห้องส่งวิทยุ หรือ แม้แต่งานมิกซ์เสียงสำหรับเวทีคอนเสิร์ต ก็ใช้หูฟังประเภทนี้เช่นกัน ราคาของหูฟังแบบครอบทั้งหู ถ้าเป็นยี่ห้อของมืออาชีพจริงๆ จะมีราคาแพงมากครับ หลักหลายพัน ถึง หลักหมื่น ขึ้นไป
2. หูฟังแบบทับหู ( On-Ear Headphone )
หูฟังประเภทนี้ เรามักจะได้เจอกันบ่อยครับ เป็นหูฟังสามัญประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วๆไป มักจะเป็นแบบที่มีไมโครโฟนติดมาด้วย (หรือที่เราเรียกว่า Headset นั่นเอง) ซึ่งเรามักจะชอบเอาไว้ใช้คุย skype หรือ ประชุมออนไลน์กับเพื่อนๆนั่นเองครับ ซึ่งหูฟังแบบทับหูนี้ จะแตกต่างจากหูฟังแบบครอบทั้งหู ตรงที่ว่า หูฟังแบบทับหู มันจะถูกออกแบบมาให้วางทับบนหูเฉยๆครับ ไม่สามารถครอบทั้งหูของเราได้ (ยกเว้นหูเด็กเล็กๆ) ดังนั้น หูฟังแบบทับหู จึงมีขนาดเล็กกว่า หูฟังแบบครอบทั้งหู และน้ำหนักก็เบากว่าด้วยครับ เรียกว่า เบาหัวกว่าแบบแรก ว่างั้นเถอะ หูฟังแบบทับหูนี้ ถูกผลิตออกมาหลากหลายเกรดมากครับ มีตั้งแต่หูฟังจีนแตงราคาร้อยกว่าบาท ไปจนถึงหูฟังราคาหลักพัน ซึ่งความต่างของราคาก็ขึ้นอยู่กับความสามารถในการ “ขับ” ย่านเสียง นั่นเอง อย่างที่ผมบอกไปแล้วว่า หูฟังแบบครอบทั้งหูนั้น อุ้มเนื้อเสียงไว้ได้มากกว่า ดังนั้น เมื่อมันกลายเป็นหูฟังแบบทับหู จึงเท่ากับว่า ไม่สามารถอุ้มย่านเสียงบางย่านได้ดีนัก โดยเฉพาะย่านความถึ่ต่ำ หรือ เสียง Bass นั่นเองครับ ดังนั้น ใครที่อยากใช้หูฟังประเภทนี้ สำหรับฟังดนตรี โดยเฉพาะดนตรีที่เน้นเสียง Bass เจ๋งๆ เช่น Hip Hop หรือ Funky อันนี้ คงต้องยอมเสียเงินซื้อยี่ห้อที่มันราคาแพงสักหน่อยนะครับ เพื่อความสุนทรีย์ในการขับขี่ เอ๊ย.. ในอารมณ์ของตัวท่านเอง ^__^
3. หูฟังแบบยัดใส่รูหู ( In-Ear Headphone เรียกอีกอย่างว่า Earphone หรือ Earbud )
หูฟังแบบนี้ ชื่อก็บอกชัดเจน คงไม่ต้องอธิบายอะไรกันมาก รูปแบบมันก็เหมือน ก้อนอะไรเล็กๆสองก้อน ยัดใส่ในหูเรานั่นแหละครับ ซึ่งต้องขออวดหน่อยว่า ผมเป็นวัยรุ่นยุคที่เจ้าหูฟังประเภทนี้ มันเกิดขึ้นมาในโลกพอดี (ตกลงจะประจานว่าตัวเอง “แก่” ใช่มั้ยเนี่ย 555 ^__^) และมันคือหูฟัง ที่ popular มากที่สุดในยุคนั้นเลยครับ ( ยุค 80 ) เพราะมันถือกำเนิดขึ้นมาพร้อมกับ “ซาวด์อะเบ๊าท์” นั่นเอง (วัยรุ่นยุคนี้ งง ตกลง ไอ้ “ซาวด์อะเบ๊าท์” เนี่ย มันคืออะไรกันหว่า 555 เอาเป็นว่า จะตอบคำถามนี้ได้ ต้องไปหาคำตอบมาก่อนว่า “เทปคาสเส็ท” มันคืออะไร 555 ไปกันใหญ่) หูฟังแบบยัดใส่รูหูนี้ สะดวกต่อการพกพาไปไหนต่อไหนเป็นอย่างยิ่ง จึงถูกใจวัยรุ่นผู้ชอบฟังเพลงเป็นอันมาก ใครที่ยังใช้หูฟังโบราณแบบครอบทั้งหู จะถือว่าเชยมากในสมัยนั้น ต้องแบบยัดใส่หูสิ เท่ห์สุด แต่… แต่หารู้ไม่ว่า เจ้าหูฟังแบบยัดใส่หูนี้ มันไม่ได้ช่วยถนอมรูหูเราเลย ใครที่ชอบฟังเพลงแบบดังๆสะใจ แล้วใช้เจ้าหูฟังแบบยัดใส่รูหูแบบนี้นะ ระวังไว้เลยว่า ท่านอาจต้องกลายเป็นคนหูตึงไปในที่สุด เพราะมันคือการเอาเสียงอันดัง ไปยัดใส่รูหูโดยตรงยังไงล่ะครับท่าน คือ ต้องเข้าใจก่อนว่า ย่านเสียงสำคัญ อันได้แก่ เสียง Bass, เสียงกลาง และ เสียงสูง นั้น มันจะถูกลดทอนลงไป ตามประเภทของหูฟังที่ใช้ โดยเฉพาะหูฟังแบบยัดใส่รูหูนี้ มันจะเหลือแค่เสียงสูงกับเสียงกลางเท่านั้น ที่แจ่มที่สุด แต่เสียง Bass จะถูกลดทอนตัวมันเองลง คือ ฟังรู้ว่ามีเสียง Bass แต่ไม่รู้สึกว่ามัน “อื้บ” หรือว่า “แน่น” อะไรเลย แหม! มันอธิบายยากแฮะ เอาเป็นว่า เพลงยุค 80 เขาไม่ค่อยเน้นเสียง Bass กันสักเท่าไหร่ ก็เลยไม่เป็นปัญหา หรือเป็นเพราะว่า ค่ายเพลงเขารู้ว่า วัยรุ่นสมัยนั้น ขอบฟังเพลงกับหูฟังแบบนี้ ก็เลยทำซาวด์ดนตรีให้มันไม่ต้องเน้นเสียง Bass ไปเลยหรือยังไง ก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน แต่หลังจากกระแสเพลงเปลี่ยนไป เริ่มมีเพลงยุคใหม่อย่าง Hip Hop ที่เน้นเสียง Bass เจ๋งๆ ซึ่งวัยรุ่นก็เริ่มหันมาคลั่งไคล้ Hip Hop กันมากขึ้น และก็เริ่มรู้สึกว่า ใช้หูฟังแบบยัดใส่รูหูนั้น มันไม่ได้อรรถรสในการฟังเสียง Bass เลย พับผ่าเหอะ! และอีกทั้ง พ่อเจ้าประคุณดีเจ ศิลปิน Hip Hop ทั้งหลาย เขาก็ใช้แต่หูฟังแบบครอบทั้งหูกันทั้งนั้น เราก็เลยได้เริ่มเห็นวัยรุ่นกลุ่มสมัยใหม่ ที่นิยมเสพดนตรีกันจริงจัง เริ่มหันกลับมานิยมหูฟังแบบครอบทั้งหูกันอีกครั้งนั่นเอง
พูดมาก็ตั้งเยอะ สรุปว่า ถ้าจะฟังดนตรี ก็ใช้หูฟังแบบครอบทั้งหูเถอะพี่น้อง (Over-Ear) ได้อรรถรสทุกย่านเสียง และถนอมสุขภาพหูด้วย แต่ถ้าจะใช้เพื่อพูดคุยสื่อสาร หรือ ใช้กับ small talk อันนี้ ใช้หูฟังแบบทับหู (On-Ear) หรือ แบบยัดใส่รูหู (In-Ear) ก็ได้ เพราะไม่ได้ต้องการอรรถรสของเสียง แต่ย้ำว่า ถ้าจะต้องใช้เพื่อพูดคุยกันนานๆเป็นชั่วโมง ก็ขอให้ใช้แบบทับหูจะดีกว่า และมีทริคอีกอันหนึ่งที่เคยเจอกับตัว คือ หลายๆคนอยากฝึกฟังภาษาอังกฤษ แต่รู้สึกว่า สำเนียงเจ้าของภาษาฟังยากมาก ยิ่งถ้าฟังจาก Youtube เสียงก็ไม่ค่อยชัด อันนี้ อยากจะบอกว่า บางทีหูฟังก็มีส่วน เพราะผมเคยเปลี่ยนมาใช้หูฟังแบบทับหูนี่แหละ แต่เป็นแบบที่ราคาแพงขึ้นมาหน่อย ประมาณซัก 700-1,000 บาท ผมพบว่า มันขับย่านเสียงได้ครบทุกเสียงจริงๆ ทำให้ได้ยินชัดเจนมากขึ้นว่าฝรั่งเขาพูดอะไรกัน โดยเฉพาะ รายการข่าวภาษาอังกฤษ ที่ฝรั่งเค้าพูดกันเร็วปรื๋อ จะได้ยินชัดขึ้นมาก และรู้เรื่องมากขึ้นกว่าเดิมเยอะเลยครับ ดังนั้น ราคาหูฟัง ก็เป็นปัจจัยที่สำคัญเช่นกันครับ
วิธีเลือกซื้อหูฟังแบบคร่าวๆ ก็มีประมาณนี้ครับ จริงๆยังมีรายละเอียดอื่นๆอีก เช่น หูฟังดนตรี หรือว่า หูฟังดีเจ จริงๆแล้ว ควรใช้ยี่ห้ออะไรบ้าง ไว้ถ้าผมสะดวก จะมาอัพเดทเรื่องของ “หูฟัง” ให้เพื่อนๆได้อ่านกันอีกละกันนะครับ