การพบระหว่าง นายบรรหาร ศิลปอาชา กับ นายปลอดประสพ สุรัสวดี ณ บ้านพิษณุโลก
โดยมี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นสะพานเชื่อม
สำคัญ
ไม่เพียง 1 สำคัญต่อเอกภาพภายในรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร หากแต่ 1 ยังสำคัญต่อ
การดำรงอยู่ของโครงการบริหารจัดการน้ำ
เป็นการดำรงอยู่อย่างมีคำว่า "ยั่งยืน" ต่อท้าย
การยอมคุกเข่าลงแสดงคารวะต่อ นายบรรหาร ศิลปอาชา ของ นายปลอดประสพ สุรัสวดี
จึงทรงความหมาย
ไม่เพียงเพราะรู้จักกันมานาน
รู้จักกันในขณะที่ นายบรรหาร ศิลปอาชา ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรี ขณะที่
นายปลอดประสพ สุรัสวดี เสมอเป็นเพียงหัวหน้าประมงที่จังหวัดภูเก็ต
ยาวนานมาแล้วร่วม 40 ปี
หากที่สำคัญเป็นอย่างมากเพราะบทบาทของ นายบรรหาร ศิลปอาชา ในพรรคชาติไทยพัฒนา
และในรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
เป็นบทบาทอัน "ขาด" มิได้
ใครก็ตามที่มองการเมืองแบบ 1 บวก 1 เป็น 2 เท่านั้น ยากเป็นอย่างยิ่งที่จะสามารถทำ
ความเข้าใจต่อปรากฏการณ์ ณ บ้านพิษณุโลก ได้
อาจรู้สึก "เคือง"
ยิ่งหากมองจากพรรคไทยรักไทยที่ นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย เคยร่วมกับ
พรรคประชาธิปัตย์ พรรคมหาชน ในการ "บอยคอต" การเลือกตั้งเมื่อเดือนเมษายน 2549
ก็ยิ่งต้อง "เคือง"
ยิ่งหากมองจากพรรคพลังประชาชนซึ่งถูกยุบเมื่อเดือนธันวาคม 2551 แล้วพรรคชาติไทยของ
นายบรรหาร ศิลปอาชา ไปร่วมกับ นายเนวิน ชิดชอบ ในการหนุนพรรคประชาธิปัตย์จัดตั้งรัฐบาล
โดยชู นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี
ก็ยิ่งต้อง "เคือง"
แต่สถานการณ์เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม ณ บ้านพิษณุโลก ดูเหมือน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะไม่เคือง
ขณะเดียวกัน นายปลอดประสพ สุรัสวดี ก็ไม่เคือง
ตรงกันข้าม นายปลอดประสพ สุรัสวดี เอ่ยคำขอโทษหากพูดอะไรไปแล้วทำให้พรรคชาติไทยพัฒนา
และนายบรรหาร ศิลปอาชา ไม่พอใจ
นี่แหละ "การเมือง"
สภาพทางการเมืองมิได้ดำเนินไปอย่างเส้นตรงเส้น 1 ตั้งอยู่บนเส้นตรงอีก
เส้น 1 ผ่านท่วงทำนอง 1 บวก 1 เป็น 2 เสมอไป
เพราะ 3-1 ก็ได้ 2
เช่นเดียวกับ 4+5 ได้ 9 และเมื่อเอา 7 มาลบออกผลก็จะได้เป็น 2 เหมือนกัน
การเชิญ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ มาฟังคอนเสิร์ตในทำเนียบรัฐบาลจึงมีความจำเป็น
และจากนั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็เดินเข้าบ้านสี่เสาเทเวศร์
ถามว่าทำไมต้องยอมให้กับ นายบรรหาร ศิลปอาชา
คำตอบ 1 เป็นบทเรียนจากการเลือกตั้งเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2548
คำตอบ 1 เป็นบทเรียนจากความเป็นจริงของ นายบรรหาร ศิลปอาชา
และการดำรงอยู่ของพรรคชาติไทยและพรรคชาติพัฒนาในทางการเมือง
หากต้องการโดดเดี่ยวพรรคประชาธิปัตย์ก็ต้องสามัคคีกับพรรคชาติไทยพัฒนา
กระบวนการทางการเมืองเช่นนี้อย่าว่าแต่ฮาร์วาร์ดเลย แม้กระทั่ง
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ก็ไม่เคยสอน
ต้องเรียนรู้เอง
ต้องเรียนรู้จากความเป็นจริงของรัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549 ต้องเรียนรู้จาก
ความเป็นจริงเมื่อเดินเข้ากระทรวงกลาโหม
การเมืองไทยมิอาจขาด นายบรรหาร ศิลปอาชา มิอาจขาดบทบาทของพรรคชาติไทยพัฒนา
เพราะการเมืองเป็นส่วนหนึ่งแห่งวิทยาศาสตร์สังคม ไม่สามารถแสวงหาคำตอบจาก
ห้องทดลองเหมือนวิทยาศาสตร์ธรรมชาติทั่วไป
ต้องเรียนรู้จาก "ความเป็นจริง"
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1374216064&grpid=&catid=12&subcatid=1200
"มติชน" สื่อสีแดง จะตีกระทบมาร์ค แต่ก็กลัวจะมากไปเลยต้องแอบเหน็บ นายกหญิง
ซะหน่อย ก่อนที่จะ "อวย" ต่อตามฟอร์ม ไม่ว่ากัน เพราะ "ชอบ" อ่านแบบนี้ ดีกว่า
วันๆ บอกแต่ นางปู .... ยังโง้นยังงี รัฐบาลหุ่นเชิด
ขอวิจารณ์นิดเดียว
การเมือง ไม่มีมิตรแท้ ศัตรูถาวร ....
ยกเว้นพรรคคู่แข่งสำคัญ ตายกันไปข้างหนึ่ง จึงจะดี
อย่างที่เขาทำกันมาตลอด ตั้งแต่ รัฐประหาร 49
บทเรียน บรรหาร ออกซฟอร์ด มิได้สอน บทเรียน การเมือง ..... (ม.ช. ก็ไม่ได้สอน) ..... มติชนออนไลน์
โดยมี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นสะพานเชื่อม
สำคัญ
ไม่เพียง 1 สำคัญต่อเอกภาพภายในรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร หากแต่ 1 ยังสำคัญต่อ
การดำรงอยู่ของโครงการบริหารจัดการน้ำ
เป็นการดำรงอยู่อย่างมีคำว่า "ยั่งยืน" ต่อท้าย
การยอมคุกเข่าลงแสดงคารวะต่อ นายบรรหาร ศิลปอาชา ของ นายปลอดประสพ สุรัสวดี
จึงทรงความหมาย
ไม่เพียงเพราะรู้จักกันมานาน
รู้จักกันในขณะที่ นายบรรหาร ศิลปอาชา ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรี ขณะที่
นายปลอดประสพ สุรัสวดี เสมอเป็นเพียงหัวหน้าประมงที่จังหวัดภูเก็ต
ยาวนานมาแล้วร่วม 40 ปี
หากที่สำคัญเป็นอย่างมากเพราะบทบาทของ นายบรรหาร ศิลปอาชา ในพรรคชาติไทยพัฒนา
และในรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
เป็นบทบาทอัน "ขาด" มิได้
ใครก็ตามที่มองการเมืองแบบ 1 บวก 1 เป็น 2 เท่านั้น ยากเป็นอย่างยิ่งที่จะสามารถทำ
ความเข้าใจต่อปรากฏการณ์ ณ บ้านพิษณุโลก ได้
อาจรู้สึก "เคือง"
ยิ่งหากมองจากพรรคไทยรักไทยที่ นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย เคยร่วมกับ
พรรคประชาธิปัตย์ พรรคมหาชน ในการ "บอยคอต" การเลือกตั้งเมื่อเดือนเมษายน 2549
ก็ยิ่งต้อง "เคือง"
ยิ่งหากมองจากพรรคพลังประชาชนซึ่งถูกยุบเมื่อเดือนธันวาคม 2551 แล้วพรรคชาติไทยของ
นายบรรหาร ศิลปอาชา ไปร่วมกับ นายเนวิน ชิดชอบ ในการหนุนพรรคประชาธิปัตย์จัดตั้งรัฐบาล
โดยชู นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี
ก็ยิ่งต้อง "เคือง"
แต่สถานการณ์เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม ณ บ้านพิษณุโลก ดูเหมือน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะไม่เคือง
ขณะเดียวกัน นายปลอดประสพ สุรัสวดี ก็ไม่เคือง
ตรงกันข้าม นายปลอดประสพ สุรัสวดี เอ่ยคำขอโทษหากพูดอะไรไปแล้วทำให้พรรคชาติไทยพัฒนา
และนายบรรหาร ศิลปอาชา ไม่พอใจ
นี่แหละ "การเมือง"
สภาพทางการเมืองมิได้ดำเนินไปอย่างเส้นตรงเส้น 1 ตั้งอยู่บนเส้นตรงอีก
เส้น 1 ผ่านท่วงทำนอง 1 บวก 1 เป็น 2 เสมอไป
เพราะ 3-1 ก็ได้ 2
เช่นเดียวกับ 4+5 ได้ 9 และเมื่อเอา 7 มาลบออกผลก็จะได้เป็น 2 เหมือนกัน
การเชิญ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ มาฟังคอนเสิร์ตในทำเนียบรัฐบาลจึงมีความจำเป็น
และจากนั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็เดินเข้าบ้านสี่เสาเทเวศร์
ถามว่าทำไมต้องยอมให้กับ นายบรรหาร ศิลปอาชา
คำตอบ 1 เป็นบทเรียนจากการเลือกตั้งเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2548
คำตอบ 1 เป็นบทเรียนจากความเป็นจริงของ นายบรรหาร ศิลปอาชา
และการดำรงอยู่ของพรรคชาติไทยและพรรคชาติพัฒนาในทางการเมือง
หากต้องการโดดเดี่ยวพรรคประชาธิปัตย์ก็ต้องสามัคคีกับพรรคชาติไทยพัฒนา
กระบวนการทางการเมืองเช่นนี้อย่าว่าแต่ฮาร์วาร์ดเลย แม้กระทั่ง
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ก็ไม่เคยสอน
ต้องเรียนรู้เอง
ต้องเรียนรู้จากความเป็นจริงของรัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549 ต้องเรียนรู้จาก
ความเป็นจริงเมื่อเดินเข้ากระทรวงกลาโหม
การเมืองไทยมิอาจขาด นายบรรหาร ศิลปอาชา มิอาจขาดบทบาทของพรรคชาติไทยพัฒนา
เพราะการเมืองเป็นส่วนหนึ่งแห่งวิทยาศาสตร์สังคม ไม่สามารถแสวงหาคำตอบจาก
ห้องทดลองเหมือนวิทยาศาสตร์ธรรมชาติทั่วไป
ต้องเรียนรู้จาก "ความเป็นจริง"
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1374216064&grpid=&catid=12&subcatid=1200
"มติชน" สื่อสีแดง จะตีกระทบมาร์ค แต่ก็กลัวจะมากไปเลยต้องแอบเหน็บ นายกหญิง
ซะหน่อย ก่อนที่จะ "อวย" ต่อตามฟอร์ม ไม่ว่ากัน เพราะ "ชอบ" อ่านแบบนี้ ดีกว่า
วันๆ บอกแต่ นางปู .... ยังโง้นยังงี รัฐบาลหุ่นเชิด
ขอวิจารณ์นิดเดียว
การเมือง ไม่มีมิตรแท้ ศัตรูถาวร ....
ยกเว้นพรรคคู่แข่งสำคัญ ตายกันไปข้างหนึ่ง จึงจะดี
อย่างที่เขาทำกันมาตลอด ตั้งแต่ รัฐประหาร 49