จากมติชนออนไลน์
จากกรณีเมื่อช่วงต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ได้มีการเผยแพร่คลิปวิดีโอ ภาพเหตุการณ์ รุ่นพี่สาว ด่าทอรุ่นน้องขณะทำการซ้อมเต้นเชียร์ลีดเดอร์ ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ในชื่อเรื่อง "รุ่นน้องอย่างงี้ เอาออกไปจากคณะเหอะ!!" ผ่านทางเว็บไซต์ยูทูบ ซึ่งถูกตั้งข้อสงสัยว่า เป็นนักศึกษาของคณะวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กระทั่งต่อมา มีผู้เปิดเผยว่า น่าจะเป็นการทำโฆษณาแบบไวรอล คลิป ของสินค้าประเภทขนมยี่ห้อหนึ่งนั้น จนทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในสังคมออนไลน์อย่างหนักไปต่างๆ นานา และไม่มีการชี้แจงจากฝ่ายใดๆ อย่างเป็นทางการนั้น
ผู้สื่อข่าวรายงานเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม ว่า คณะกรรมการ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน (กนวส.) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดย นายกฤศเมธ วุฒิเมธีกุล ประธาน คณะกรรมการฯ ได้ทำการออกประกาศ ชี้แจงถึงกรณีดังกล่าว เรื่อง แสดงจุดยืนคัดค้านการใช้กลยุทธ์ทางการตลาดปากต่อปาก (Viral Marketing) ที่ละเมิดจริยธรรม โดยระบุเนื้อหา ว่า เป็นการสร้างผลกระทบต่อนักศึกษาคณะวารสารฯ ทางกนวส. จึงขอความร่วมมือนักศึกษา อาจารย์และบุคลากรทุกท่านที่ไม่เห็นด้วยกับการกระทำดังกล่าวร่วมกันประกาศจุดยืนดังกล่าว ด้วยการแชร์ประกาศฉบับดังกล่าว สู่สาธารณชน
สำหรับประกาศดังกล่าว มีใจความดังนี้
เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2556 คณะกรรมการ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน (กนวส.) พบการเผยแพร่คลิปที่มีลักษณะพาดพิงถึงคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2 คลิป ได้แก่ "ซ้อนคันหาพ่อเธอเหรอ" และ "รุ่นน้องอย่างงี้เอาออกไปจากคณะเหอะ!!" ซึ่งมียอดการเข้าชมในอินเตอร์เน็ตเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ภายหลังตรวจสอบพบว่า เป็นหนึ่งในกลยุทธ์โฆษณาแบบปากต่อปาก (Viral Marketing) ของสินค้า ซึ่งได้เข้ามาถ่ายทำในสถานที่ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชนโดยไม่ได้รับอนุญาต สร้างความเสียหายแก่ประชาคมวารสารศาวตร์ฯ และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในนามคณะกรรมการนักศึกษาจึงขอแสดงจุดยืนคัดค้านการผลิตและการใช้กลยุทธ์โฆษณาของสินค้าชนิดนี้ ดังนี้
ประการแรก กระบวนการผลิตคลิปดังกล่าว เป็นการละเมิดหลักจริยธรรมในการผลิตงานด้านสื่อสารมวลชน ที่ผู้ผลิตพึงระมัดระวังไม่สร้างผลกระทบเชิงลบต่อสังคมหรือจงใจให้เกิดความเข้าใจผิด เสียหายต่อชื่อเสียงของบุคคลอื่น ผลกระทบของการโฆษณาสินค้าชนิดนี้ได้บั่นทอนชื่อเสียงของคณะและมหาวิทยาลัย นอกจากนั้น กระบวนการผลิตได้ละเมิด บุกรุกสถานที่ราชการ แม้เป็นความบกพร่องโดยไม่เจตนาแต่ผลที่เกิดขึ้นสร้างความเสียหายต่อสถาบัน และนักแสดงที่ได้รับการว่าจ้าง
ประการที่สอง ปัจจุบันผู้ผลิตโฆษณาและบริษัทผู้ผลิตสินค้าละเลยการแสดงความรับผิดชอบต่อสถาบันและนักแสดง ด้วยแก้ไขความเข้าใจผิดอันสร้างความเสียหายต่อชื่อเสียงของสถาบัน อีกทั้งยังระงับการเผยแพร่ชิ้นงานโฆษณาสุดท้าย เมื่อเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์งานโฆษณา และบริษัทผู้ผลิตสินค้าเชิงลบ ทำให้สาธารณชนเข้าใจผิดว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในทั้ง 2 คลิปนั้น เป็นเรื่องจริง การกระทำดังกล่าว สะท้อนให้เห็นว่า ผู้ผลิตโฆษณาจงใจใช้ประเด็นละเอียดอ่อนเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนเป็นเครื่องมือทางการค้าอย่างปราศจากความรับผิดชอบต่อสังคม
คณะกรรมการ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน ประจำปีการศึกษา 2556 จึงเป็นตัวแทนของประชาคมวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน ประกอบด้วยคณาจารย์ ศิษย์เก่า และนักศึกษาที่ไม่เห็นด้วยต่อกลยุทธ์การตลาดปากต่อปากดังกล่าว ขอเรียกร้องให้ผู้ผลิตโฆษณาโปรดพิจารณาถึงผลกระทบเชิงลบที่สถาบันและสังคมได้รับจากการโฆษณาสินค้า และแสดงความรับผิดชอบโดยการแถลงการณ์ต่อสาธารณชนว่า โฆษณาดังกล่าวเป็นเพียงการแสดง มิใช่เหตุการณ์จริง ไม่ว่าจะเป็นระบบการข่มขู่รุ่นน้อง (SOTUS)และพฤติกรรมก้าวร้าวต่างๆ ที่ปรากฏในคลิป
อนึ่ง ในฐานะว่าที่นักสื่อสารมวลชนในอนาคต เราตระหนักถึงข้อจำกัดของการผลิตงานโฆษณาซึ่งต้องอยู่ภายใต้ความกดดันทางการตลาด แต่อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน ยังเชื่อมั่นว่า นักวิชาชีพจะสามารถสร้างสมดุลระหว่างผลงานโฆษณาที่สะท้อนถึงจริยธรรมวิชาชีพ พร้อมกับตอบสนองการแข่งขันทางการตลาดได้ โดยในที่สุด ตราสินค้าที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมจะอยู่ในใจผู้บริโภคได้อย่างแท้จริง
จึงเรียนมาเพื่อทราบ
นายกฤศเมธ วุฒิเมธีกุล
คณะกรรมการ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน ประจำปีการศึกษา 2556
คณะวารสารศาสตร์ฯ มธ. ออกประกาศจี้บ.โฆษณาสินค้า แจง2คลิปไวรอล ละเมิดจริยธรรม
จากกรณีเมื่อช่วงต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ได้มีการเผยแพร่คลิปวิดีโอ ภาพเหตุการณ์ รุ่นพี่สาว ด่าทอรุ่นน้องขณะทำการซ้อมเต้นเชียร์ลีดเดอร์ ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ในชื่อเรื่อง "รุ่นน้องอย่างงี้ เอาออกไปจากคณะเหอะ!!" ผ่านทางเว็บไซต์ยูทูบ ซึ่งถูกตั้งข้อสงสัยว่า เป็นนักศึกษาของคณะวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กระทั่งต่อมา มีผู้เปิดเผยว่า น่าจะเป็นการทำโฆษณาแบบไวรอล คลิป ของสินค้าประเภทขนมยี่ห้อหนึ่งนั้น จนทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในสังคมออนไลน์อย่างหนักไปต่างๆ นานา และไม่มีการชี้แจงจากฝ่ายใดๆ อย่างเป็นทางการนั้น
ผู้สื่อข่าวรายงานเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม ว่า คณะกรรมการ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน (กนวส.) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดย นายกฤศเมธ วุฒิเมธีกุล ประธาน คณะกรรมการฯ ได้ทำการออกประกาศ ชี้แจงถึงกรณีดังกล่าว เรื่อง แสดงจุดยืนคัดค้านการใช้กลยุทธ์ทางการตลาดปากต่อปาก (Viral Marketing) ที่ละเมิดจริยธรรม โดยระบุเนื้อหา ว่า เป็นการสร้างผลกระทบต่อนักศึกษาคณะวารสารฯ ทางกนวส. จึงขอความร่วมมือนักศึกษา อาจารย์และบุคลากรทุกท่านที่ไม่เห็นด้วยกับการกระทำดังกล่าวร่วมกันประกาศจุดยืนดังกล่าว ด้วยการแชร์ประกาศฉบับดังกล่าว สู่สาธารณชน
สำหรับประกาศดังกล่าว มีใจความดังนี้
เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2556 คณะกรรมการ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน (กนวส.) พบการเผยแพร่คลิปที่มีลักษณะพาดพิงถึงคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2 คลิป ได้แก่ "ซ้อนคันหาพ่อเธอเหรอ" และ "รุ่นน้องอย่างงี้เอาออกไปจากคณะเหอะ!!" ซึ่งมียอดการเข้าชมในอินเตอร์เน็ตเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ภายหลังตรวจสอบพบว่า เป็นหนึ่งในกลยุทธ์โฆษณาแบบปากต่อปาก (Viral Marketing) ของสินค้า ซึ่งได้เข้ามาถ่ายทำในสถานที่ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชนโดยไม่ได้รับอนุญาต สร้างความเสียหายแก่ประชาคมวารสารศาวตร์ฯ และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในนามคณะกรรมการนักศึกษาจึงขอแสดงจุดยืนคัดค้านการผลิตและการใช้กลยุทธ์โฆษณาของสินค้าชนิดนี้ ดังนี้
ประการแรก กระบวนการผลิตคลิปดังกล่าว เป็นการละเมิดหลักจริยธรรมในการผลิตงานด้านสื่อสารมวลชน ที่ผู้ผลิตพึงระมัดระวังไม่สร้างผลกระทบเชิงลบต่อสังคมหรือจงใจให้เกิดความเข้าใจผิด เสียหายต่อชื่อเสียงของบุคคลอื่น ผลกระทบของการโฆษณาสินค้าชนิดนี้ได้บั่นทอนชื่อเสียงของคณะและมหาวิทยาลัย นอกจากนั้น กระบวนการผลิตได้ละเมิด บุกรุกสถานที่ราชการ แม้เป็นความบกพร่องโดยไม่เจตนาแต่ผลที่เกิดขึ้นสร้างความเสียหายต่อสถาบัน และนักแสดงที่ได้รับการว่าจ้าง
ประการที่สอง ปัจจุบันผู้ผลิตโฆษณาและบริษัทผู้ผลิตสินค้าละเลยการแสดงความรับผิดชอบต่อสถาบันและนักแสดง ด้วยแก้ไขความเข้าใจผิดอันสร้างความเสียหายต่อชื่อเสียงของสถาบัน อีกทั้งยังระงับการเผยแพร่ชิ้นงานโฆษณาสุดท้าย เมื่อเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์งานโฆษณา และบริษัทผู้ผลิตสินค้าเชิงลบ ทำให้สาธารณชนเข้าใจผิดว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในทั้ง 2 คลิปนั้น เป็นเรื่องจริง การกระทำดังกล่าว สะท้อนให้เห็นว่า ผู้ผลิตโฆษณาจงใจใช้ประเด็นละเอียดอ่อนเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนเป็นเครื่องมือทางการค้าอย่างปราศจากความรับผิดชอบต่อสังคม
คณะกรรมการ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน ประจำปีการศึกษา 2556 จึงเป็นตัวแทนของประชาคมวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน ประกอบด้วยคณาจารย์ ศิษย์เก่า และนักศึกษาที่ไม่เห็นด้วยต่อกลยุทธ์การตลาดปากต่อปากดังกล่าว ขอเรียกร้องให้ผู้ผลิตโฆษณาโปรดพิจารณาถึงผลกระทบเชิงลบที่สถาบันและสังคมได้รับจากการโฆษณาสินค้า และแสดงความรับผิดชอบโดยการแถลงการณ์ต่อสาธารณชนว่า โฆษณาดังกล่าวเป็นเพียงการแสดง มิใช่เหตุการณ์จริง ไม่ว่าจะเป็นระบบการข่มขู่รุ่นน้อง (SOTUS)และพฤติกรรมก้าวร้าวต่างๆ ที่ปรากฏในคลิป
อนึ่ง ในฐานะว่าที่นักสื่อสารมวลชนในอนาคต เราตระหนักถึงข้อจำกัดของการผลิตงานโฆษณาซึ่งต้องอยู่ภายใต้ความกดดันทางการตลาด แต่อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน ยังเชื่อมั่นว่า นักวิชาชีพจะสามารถสร้างสมดุลระหว่างผลงานโฆษณาที่สะท้อนถึงจริยธรรมวิชาชีพ พร้อมกับตอบสนองการแข่งขันทางการตลาดได้ โดยในที่สุด ตราสินค้าที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมจะอยู่ในใจผู้บริโภคได้อย่างแท้จริง
จึงเรียนมาเพื่อทราบ
นายกฤศเมธ วุฒิเมธีกุล
คณะกรรมการ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน ประจำปีการศึกษา 2556