ด๊อกแท็ก (Dog Tag) หรือป้ายห้อยคอ เป็นป้ายบันทึกข้อมูลจำเพาะเฉพาะบุคคลที่ใช้ในวงการทหาร จัดเป็นอุปกรณ์ทางการทหารประเภทหนึ่ง
ด๊อกแท็กมีแรกกำเนิดมาจากสงครามกลางเมืองในสหรัฐอเมริกา (พ.ศ.2404 - 2408) ช่วงเวลานั้น ทหารหน่วยรบ รวมถึงประชาชนสูญหายไปในสงครามจำนวนมาก ความพยายามที่จะสร้างหลักฐานเพื่อระบุตัวผู้สูญหายจึงเกิดขึ้น โดยเหล่าทหารช่วยกันริเริ่มคิดค้นรูปแบบ บ้างก็เขียนชื่อตนและสัญลักษณ์ของกองพลลงบนป้ายกระดาษขนาดเล็ก และเย็บติดไว้กับเสื้อผ้าของพวกเขา ขณะที่อีกบางกองพลสร้างสีสันด้วยป้ายจากเศษไม้ สลักชื่อตนเองลงไปแล้วเจาะรูสำหรับร้อยสายคล้องคอ
ป้ายห้อยคอมาเกิดเต็มตัวจริงจังครั้งแรกใน พ.ศ.2442 และปี พ.ศ.2456 กองทัพหลายประเทศทั่วโลกก็กำหนดให้ป้ายชื่อเป็นอุปกรณ์จำเป็นต่อทุกหน่วยรบ ต่อมา พ.ศ.2460 ทหารและหน่วยรบต่างๆ ได้สวมแผ่นป้ายอะลูมิเนียมคล้องคอด้วยสายโซ่ กระทั่งในสงครามโลกครั้งที่ 2 ป้ายวงกลมก็ถูกแทนที่ด้วยรูปแบบที่คุ้นเคยกันดีในปัจจุบัน เรียกชื่อ "ด๊อกแท็ก"
ข้อมูลในด๊อกแท็กระบุ Identify หรือเอกลักษณ์บุคคล ของเจ้าของ หลักๆ ก็มี ชื่อ สกุล สังกัด วันเดือนปีเกิด กรุ๊ปเลือด ศาสนา ในการทำสงครามต้องมีคนบาดเจ็บล้มตาย โดยที่คนเจ็บคนตายไม่สามารถให้ข้อมูลตนเองได้ กว่าจะมีใครมาเก็บศพหรือนำตัวไปรักษาก็อาจไม่สามารถแยกแยะได้ว่าใครเป็นใคร ทำให้ไม่สามารถนำศพนั้นๆ ส่งไปให้ญาติที่อยู่แนวหลังได้ถูกต้อง
สำหรับกองทัพไทย กองวิทยาการ ศูนย์สงครามพิเศษ ค่ายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช อ.เมือง จ.ลพบุรี ให้รายละเอียดว่า ข้อมูลประจำตัวของเหล่าทหารจะมีรายละเอียดเหมือนกับด๊อกแท็กของทหารฝรั่ง แต่จะบันทึกไว้ในบัตรประจำตัวของแต่ละท่านแทนป้ายห้อยคอ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก คอลัมน์ รู้ไปโม้ด โดยน้าชาติ ประชาชื่น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้คำถามนะครับ[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้1. ทหารไทยมีใช่ไหมครับตอนมีสงคราม?
2. แล้วทำไม ไม่ให้ทหารเราใส่?
3. ที่เค้าไม่ทำให้ทหารเราใส่มีข้อเสียอะไรหรือเปล่าครับ?
Dogtag กับ ทหารไทย
ด๊อกแท็กมีแรกกำเนิดมาจากสงครามกลางเมืองในสหรัฐอเมริกา (พ.ศ.2404 - 2408) ช่วงเวลานั้น ทหารหน่วยรบ รวมถึงประชาชนสูญหายไปในสงครามจำนวนมาก ความพยายามที่จะสร้างหลักฐานเพื่อระบุตัวผู้สูญหายจึงเกิดขึ้น โดยเหล่าทหารช่วยกันริเริ่มคิดค้นรูปแบบ บ้างก็เขียนชื่อตนและสัญลักษณ์ของกองพลลงบนป้ายกระดาษขนาดเล็ก และเย็บติดไว้กับเสื้อผ้าของพวกเขา ขณะที่อีกบางกองพลสร้างสีสันด้วยป้ายจากเศษไม้ สลักชื่อตนเองลงไปแล้วเจาะรูสำหรับร้อยสายคล้องคอ
ป้ายห้อยคอมาเกิดเต็มตัวจริงจังครั้งแรกใน พ.ศ.2442 และปี พ.ศ.2456 กองทัพหลายประเทศทั่วโลกก็กำหนดให้ป้ายชื่อเป็นอุปกรณ์จำเป็นต่อทุกหน่วยรบ ต่อมา พ.ศ.2460 ทหารและหน่วยรบต่างๆ ได้สวมแผ่นป้ายอะลูมิเนียมคล้องคอด้วยสายโซ่ กระทั่งในสงครามโลกครั้งที่ 2 ป้ายวงกลมก็ถูกแทนที่ด้วยรูปแบบที่คุ้นเคยกันดีในปัจจุบัน เรียกชื่อ "ด๊อกแท็ก"
ข้อมูลในด๊อกแท็กระบุ Identify หรือเอกลักษณ์บุคคล ของเจ้าของ หลักๆ ก็มี ชื่อ สกุล สังกัด วันเดือนปีเกิด กรุ๊ปเลือด ศาสนา ในการทำสงครามต้องมีคนบาดเจ็บล้มตาย โดยที่คนเจ็บคนตายไม่สามารถให้ข้อมูลตนเองได้ กว่าจะมีใครมาเก็บศพหรือนำตัวไปรักษาก็อาจไม่สามารถแยกแยะได้ว่าใครเป็นใคร ทำให้ไม่สามารถนำศพนั้นๆ ส่งไปให้ญาติที่อยู่แนวหลังได้ถูกต้อง
สำหรับกองทัพไทย กองวิทยาการ ศูนย์สงครามพิเศษ ค่ายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช อ.เมือง จ.ลพบุรี ให้รายละเอียดว่า ข้อมูลประจำตัวของเหล่าทหารจะมีรายละเอียดเหมือนกับด๊อกแท็กของทหารฝรั่ง แต่จะบันทึกไว้ในบัตรประจำตัวของแต่ละท่านแทนป้ายห้อยคอ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก คอลัมน์ รู้ไปโม้ด โดยน้าชาติ ประชาชื่น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้