คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 6
หนี้สินที่เกิดก่อนสมรส ย่อมเป็นหนี้สินของคุณคนเดียว
ในอนาคตถ้าคุณไม่สามารถชำระหนี้ก้อนนี้ เจ้าหนี้จะตามยึดที่ดิน
และถ้ายึดที่ดินขายทอดตลาดแล้วไม่พอชำระหนี้สินทั้งหมด เจ้าหนี้จะฟ้องยึดทรัพย์ของคุณ
และถ้าทรัพย์ของคุณ ไม่พอชำระ...เจ้าหนี้จะสืบหาสินสมรส ตามยึดได้
..............................................
.
สินสมรส
สินสมรส แบ่งเป็น 3 ประเภท
1. ทรัพย์ที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส เช่น เงินเดือน โบนัส
2. ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาโดยพินัยกรรม โดยระบุว่าให้เป็นสินสมรส
3. ทรัพย์สินที่เป็นกำไรสุทธิ หรือดอกผลของสินส่วนตัว
สิทธิการจัดการทรัพย์สิน กฎหมายถือให้ผู้เป็นเจ้าของมีอำนาจจัดการทรัพย์สินส่วนตัวได้โดยลำพัง สำหรับสินสมรส ถือเป็นทรัพย์สินร่วมกันคนละครึ่ง จึงให้สองฝ่ายจัดการร่วมกัน
สามีภรรยาสามารถแยกกันจัดการสินสมรสได้ 4 กรณี คือ...
1. เมื่อคู่สมรสตกลงแยกกันจัดการสินสมรสโดยการทำสัญญาก่อนสมรสไว้ก่อน
2. เมื่อคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตกเป็นคนไร้ความสามารถ อีกฝ่ายมีสิทธิร้องขอให้ศาลแยกสินสมรสได้
3. เมื่อคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถูกศาลสั่งให้เป็นบุคคลล้มละลาย จะมีผลให้สินสมรสแยกกันตามกฎหมาย
4. เมื่อมีการร้องขอต่อศาลให้แยกสินสมรสเพราะสาเหตุ เช่น อีกฝ่ายทำความเสียหายแก่สินสมรส ไม่อุปการะ เลี้ยงดู เป็นหนี้สินมากมาย หรือขัดขวางการจัดการสินสมรสโดยไม่มีเหตุอันควรและเมื่อมีการแยกสินสมรส ออกจากกันแล้ว สินสมรสส่วนที่แยกออกมาจะถือเป็นสินส่วนตัวของแต่ละฝ่าย รวมถึงทรัพย์สิน เช่น มรดก ดอกผลที่ได้มาหลังการแยกสินสมรสด้วย
การจัดการเรื่องหนี้สินของสามีภรรยาควรทำอย่างไร
เมื่อสามีภรรยาไปเป็นหนี้บุคคลภายนอก หากหนี้นั้นมีมาก่อนสมรสถือเป็นหนี้ส่วนตัว ให้แต่ละฝ่ายรับผิดชอบใช้ต่อเจ้าหนี้เป็นการส่วนตัวโดยใช้สินส่วนตัวมาก่อน ถ้าไม่พอจึงใช้จากสินสมรสที่เป็นส่วนของตนได้คือ ครึ่งหนึ่งของสินสมรส ในกรณีที่เกิดหนี้ระหว่างสมรสหนี้นั้นอาจเป็นหนี้ส่วนตัวค้างคามาหรือเป็นหนี้ร่วม สามีภรรยาต้องร่วมกันชดใช้เจ้าหนี้โดยใช้เงินทั้งจากสินสมรสและสินส่วนตัวได้ หนี้ที่เกิดระหว่างสมรส และถือเป็นหนี้ร่วมได้แก่ หนี้ค่าอุปการะเลี้ยงดู รักษาพยาบาลคนในครอบครัว และให้การศึกษาบุตร หนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินสมรส หนี้ที่เกิดจารการงานที่สามีภรรยาทำร่วมกันและหนี้ที่สามีหรือภรรยาก่อให้เกิดเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียว แต่อีกฝ่ายยินยอมและรับรู้ด้วย 4 กรณีนี้สามีภรรยาต้องรับผิดชอบร่วมกัน
...
ในอนาคตถ้าคุณไม่สามารถชำระหนี้ก้อนนี้ เจ้าหนี้จะตามยึดที่ดิน
และถ้ายึดที่ดินขายทอดตลาดแล้วไม่พอชำระหนี้สินทั้งหมด เจ้าหนี้จะฟ้องยึดทรัพย์ของคุณ
และถ้าทรัพย์ของคุณ ไม่พอชำระ...เจ้าหนี้จะสืบหาสินสมรส ตามยึดได้
..............................................
.
สินสมรส
สินสมรส แบ่งเป็น 3 ประเภท
1. ทรัพย์ที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส เช่น เงินเดือน โบนัส
2. ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาโดยพินัยกรรม โดยระบุว่าให้เป็นสินสมรส
3. ทรัพย์สินที่เป็นกำไรสุทธิ หรือดอกผลของสินส่วนตัว
สิทธิการจัดการทรัพย์สิน กฎหมายถือให้ผู้เป็นเจ้าของมีอำนาจจัดการทรัพย์สินส่วนตัวได้โดยลำพัง สำหรับสินสมรส ถือเป็นทรัพย์สินร่วมกันคนละครึ่ง จึงให้สองฝ่ายจัดการร่วมกัน
สามีภรรยาสามารถแยกกันจัดการสินสมรสได้ 4 กรณี คือ...
1. เมื่อคู่สมรสตกลงแยกกันจัดการสินสมรสโดยการทำสัญญาก่อนสมรสไว้ก่อน
2. เมื่อคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตกเป็นคนไร้ความสามารถ อีกฝ่ายมีสิทธิร้องขอให้ศาลแยกสินสมรสได้
3. เมื่อคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถูกศาลสั่งให้เป็นบุคคลล้มละลาย จะมีผลให้สินสมรสแยกกันตามกฎหมาย
4. เมื่อมีการร้องขอต่อศาลให้แยกสินสมรสเพราะสาเหตุ เช่น อีกฝ่ายทำความเสียหายแก่สินสมรส ไม่อุปการะ เลี้ยงดู เป็นหนี้สินมากมาย หรือขัดขวางการจัดการสินสมรสโดยไม่มีเหตุอันควรและเมื่อมีการแยกสินสมรส ออกจากกันแล้ว สินสมรสส่วนที่แยกออกมาจะถือเป็นสินส่วนตัวของแต่ละฝ่าย รวมถึงทรัพย์สิน เช่น มรดก ดอกผลที่ได้มาหลังการแยกสินสมรสด้วย
การจัดการเรื่องหนี้สินของสามีภรรยาควรทำอย่างไร
เมื่อสามีภรรยาไปเป็นหนี้บุคคลภายนอก หากหนี้นั้นมีมาก่อนสมรสถือเป็นหนี้ส่วนตัว ให้แต่ละฝ่ายรับผิดชอบใช้ต่อเจ้าหนี้เป็นการส่วนตัวโดยใช้สินส่วนตัวมาก่อน ถ้าไม่พอจึงใช้จากสินสมรสที่เป็นส่วนของตนได้คือ ครึ่งหนึ่งของสินสมรส ในกรณีที่เกิดหนี้ระหว่างสมรสหนี้นั้นอาจเป็นหนี้ส่วนตัวค้างคามาหรือเป็นหนี้ร่วม สามีภรรยาต้องร่วมกันชดใช้เจ้าหนี้โดยใช้เงินทั้งจากสินสมรสและสินส่วนตัวได้ หนี้ที่เกิดระหว่างสมรส และถือเป็นหนี้ร่วมได้แก่ หนี้ค่าอุปการะเลี้ยงดู รักษาพยาบาลคนในครอบครัว และให้การศึกษาบุตร หนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินสมรส หนี้ที่เกิดจารการงานที่สามีภรรยาทำร่วมกันและหนี้ที่สามีหรือภรรยาก่อให้เกิดเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียว แต่อีกฝ่ายยินยอมและรับรู้ด้วย 4 กรณีนี้สามีภรรยาต้องรับผิดชอบร่วมกัน
...
แสดงความคิดเห็น
ถ้าจดทะเบียนสมรสแล้ว เอาทรัพย์ส่วนตัวไปจำนอง สามีจะติดหนี้ด้วยไหม
ที่ดินเป็นของพ่อแม่เราค่ะ (และจะระบุว่าเป็นสินส่วนตัวของเรา ตกลงกับแฟนไว้แล้ว) ชื่อคนที่จะกู้เงินคือชื่อเราเอง เพราะพ่อแม่ไม่ได้ทำงานแล้ว และอายุเกิน 60 ปีแล้วค่ะ (พ่อแม่คงไม่เกี่ยวกับการกู้ครั้งนี้) แต่สงสัยว่าสามีเขาจะโดนลากมาเกี่ยวด้วยหรือเปล่า ถ้าจำนองที่ผืนนี้หลังจากจดทะเบียนแล้ว
ไม่อยากให้สามีต้องมาติดหนึ้ไปด้วยค่ะ ถ้าจดทะเบียนแล้วเขาจะต้องเป็นหนี้ไปด้วย จะได้รีบทำเรื่องจำนองอย่างด่วนให้ทันก่อนจะทะเบียน หรือไม่ก็เลื่อนจดทะเบียน (แต่อันนี้ยาก เพราะได้ฤกษ์มา มีฤกษ์ดีแค่วันเดียว)
ขอบคุณค่ะ