ภายหลังร่วมมือเขียนบทเสร็จและส่งต่อโปรเจคต์ The Hobbit ให้แก่ปีเตอร์ แจ็คสัน ไปดำเนินการกำกับ ข่าวต่อมาที่คอหนังหลายคนคงทราบกันดีก็คือ กิลเลอร์โม เดล โตโร หันไปจับโปรเจคต์ที่ไม่ใช่แค่เพียงบิ๊กเบิ้มกว่า หากแต่ยังเป็นอะไรที่เดล โตโร มีความรู้สึกผูกพันฝังใจมาตั้งแต่เด็ก และกับผลลัพธ์ที่ออกมา สรุปได้ว่า การตัดสินใจทิ้งหนังซึ่งมีต้นทุนในการขายดีอยู่แล้วอย่าง The Hobbit มาจับหนังที่ต้องปลุกปั้นขึ้นใหม่ทั้งหมดอย่าง Pacific Rim เป็นการตัดสินใจที่คอหนังแอ็กชั่นมันๆ ควรต้องขอบคุณเขา
กิลเลอร์โม เดล โตโร นั้นคือหนึ่งใน “สามทหารเสือ” ผู้กำกับสายเลือดเม็กซิกันที่สร้างผลงานได้โดดเด่นมาโดยตลอด ส่วนอีกสองคน คือ “อเลฮานโดร กอนซาเลซ อินาร์ริตู” และ “อัลฟองโซ กัวรอง” อินาร์ริตูนั้นพิสูจน์ตัวเองมาเนิ่นนานในฐานะคนทำหนังคุณภาพสูง ไม่ว่าจะเป็น Amores Perros, 21 Grams มาจนถึง Babel และ Biutiful ขณะที่อัลฟองโซ กัวรอง ก็มีงานเด่นๆ หลายเรื่อง ไล่มาตั้งแต่ A Little Princess, Great Expectations และที่ผมชอบมากก็คือ Y To Mama Tambien (อี ตู มาม่า ทามเบี้ยน) แต่แฟนหนังแฮรี่ พอตเตอร์ จะจำคนนี้ได้ในบทบาทผู้กำกับ Harry Potter and the Prisoner of Azkaban
ส่วนทหารเสือรายที่สามอย่างกิลเลอร์โม เดล โตโร ถ้ายังจำกันได้ Hellboy เอย The Devil’s Backbone เอย หรือแม้แต่ Pan’s Labyrinth หนังจินตนาการแฟนตาซีมัวหม่น ก็คือผลงานที่ทำให้เขาสามารถยืนเคียงข้างทหารเสืออีกสองคนได้อย่างสง่าผ่าเผย นั่นยังไม่นับรวมบทบาทในการนั่งเป็นโปรดิวเซอร์ให้กับหนังสยองขวัญดีๆ หลายต่อหลายเรื่อง อย่าง The Orphanage, The Others หรืออย่างล่าสุดที่มาถึงบ้านเราเมื่อเร็วๆ นี้ เรื่อง “ผีหวงลูก” (Mama)
ในมุมมองของผม หลังจากที่ติดตามผลงานของเดล โตโร มาอย่างต่อเนื่อง จุดหนึ่งซึ่งผมชอบในหนังของผู้กำกับคนนี้ คือการมีเนื้อหาที่จับต้องสัมผัสได้ พูดง่ายๆ ว่าหนังมีประเด็น มีมิติในเชิงคุณค่าสาระ ไม่ต้องพูดถึง Pan’s Labyrinth ที่ถือได้ว่าเป็นมาสเตอร์พีซชิ้นหนึ่งของเดล โตโร ก็ว่าได้ แม้แต่ตอนที่เขาทำหนังซึ่งมีตัวละครเป็นเด็กอย่าง The Devil’s Backbone ก็ยังไม่พ้นที่จะมีประเด็นหนักอึ้งขึงขัง หนังอย่าง Hellboy ที่ดูเหมือนจะมีเบื้องหน้าเป็นหนังฮีโร่ แต่ก็เป็นฮีโร่แบบแหวกแนว ซึ่งอบอวลไปด้วยบรรยากาศหม่นมัว อันที่จริง อาจกล่าวได้ว่าเขาหม่นมาก่อน Batman ของคริสโตเฟอร์ โนแลน ด้วยซ้ำ
อย่างไรก็ตาม กล่าวสำหรับ Pacific Rim ผมคงต้องสะกิดตัวเองให้ไม่ลืมว่า ถ้าจะดูหนังหุ่นยนต์เรื่องนี้ให้สนุกอย่างถึงที่สุด อาจจำต้อง “วาง” ประสบการณ์ที่ผ่านมา ซึ่งเคยรู้สึกนึกคิดต่อหนังของเดล โตโร ไว้นอกโรงหนังก่อน
เพราะสิ่งที่ Pacific Rim จะมอบให้กับคนดูผู้ชมอย่างเอาจริงเอาจัง คือความบันเทิงชนิดที่เรียกได้ว่า “วินาศสันตะโร!”
หนังไม่พูดพล่ามทำเพลงหรือต้องรำมวยไหว้ครูอะไรกันให้เยิ่นเย้อ เปิดฉากมาก็ซัดกันตูมตามตั้งแต่นาทีแรกยันนาทีสุดท้าย มีช่วงเบรกบ้างนิดหน่อยเพื่อเว้นที่ว่างให้พักหายใจ แต่โดยภาพรวม นี่คือหนังที่เล่นกับฉากแอ็กชั่นการต่อสู้ได้คุ้มค่าเวลาความยาวสองชั่วโมง
จุดเกิดเหตุของ Pacific Rim เริ่มต้นจากสัตว์ประหลาดที่เรียกขานว่า “ไคจู” รุกรานโลกมาเนิ่นนาน และวิธีการของมนุษย์ก็คือสร้างหุ่นยนต์บังคับอย่าง “เจเกอร์ส” ขึ้นมาต่อกร สู้กันหลายยก แต่ก็ปราบไคจูได้ไม่ราบคาบ เนื้อเรื่องโดยคร่าวๆ ก็มีเพียงเท่านี้ และหนังก็วางโจทย์ไว้หลวมๆ แบบคาดเดาได้ว่าสุดท้ายแล้ว มนุษย์ก็จะสามารถพิชิตไคจู แต่จะด้วยรูปแบบวิธีการใดเท่านั้นเอง
ในด้านงานสร้าง Pacific Rim ถือว่าทำได้สมศักดิ์ศรีการเป็นหนังฟอร์มยักษ์บล็อกบัสเตอร์ช่วงซัมเมอร์ และหนังกลุ่มนี้ก็มักจะไม่ได้เรียกร้องต้องการอะไรมากไปกว่าความตูมตามโครมครามแบบถล่มทลาย เดล โตโร คงเข้าใจได้ในจุดนี้และเข้าใจดีว่าคนดูปรารถนาสิ่งใด ดังนั้น เขาจึง “จัดให้” แบบไม่ยั้งมือ สเปเชี่ยลเอฟเฟคต์ ทั้งภาพและเสียงถูกเหวี่ยงเข้าหาคนดูโดยเน้นความอลังการเป็นที่ตั้ง
ในส่วนตัวเรื่อง ผมว่า ก่อนที่จะลงมือเขียนบท เดล โตโร น่าจะทำการบ้านด้วยการดูหนังฮอลลีวูดสูตรสำเร็จบล็อกบัสเตอร์มาเยอะพอสมควร แล้วคิดว่ามันควรจะมีอะไรในสูตรสำเร็จนั้น หายนะของโลกที่มาจ่อคอหอย ศัตรูผู้รุกราน ฮีโร่ผู้เสียสละ การสูญเสีย ความขัดแย้งระหว่างคนในทีม หรือแม้แต่ตัวละครอย่างพวกอัจฉริยะสติเฟื่องและดูเปิ่นๆ ฮาๆ (แต่ไม่ตายแบบงั่งๆ เหมือนด็อกเตอร์นักวิทย์ฯ ใน World War Z 555) และจะว่าไป บรรยากาศโดยรวมมันดูคล้ายกับ ID 4 (Independence Day) ในหลายจุด ใครเคยดู ID 4 แล้วก็ลองเทียบเคียงบรรยากาศอารมณ์หรือแม้กระทั่งตัวละครดูได้
แต่เหนืออื่นใด คำถามหนึ่งซึ่งผมถูกถามทั้งทางรายกาย Viewfinder (ช่องซูเปอร์บันเทิง) และรายการวิทยุ “ชวนคิด ชวนคุย” ก็คือ แล้วหุ่นยนต์ในเรื่องนี้ เมื่อเทียบกับบรรดาหุ่นยนต์ในหนังของไมเคิล เบย์ เรื่อง Transformers เป็นอย่างไร
ผมว่ามันเป็นสิ่งที่เปรียบเทียบกันได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากมันเป็นหุ่นยนต์คนละแบบ หุ่นยนต์ของไมเคิล เบย์ คือหุ่นยนต์มีชีวิต ขณะที่ฝ่ายของเดล โตโร เป็นหุ่นยนต์ที่ต้องพึ่งคนบังคับ แต่ถ้าจะต้องเลือกประทับใจสักฝ่ายจริงๆ ผมยังคงรู้สึกว่าหุ่นยนต์ของ Transformers มีความน่าจดจำมากกว่า เพราะมันไม่เพียงแค่มีชีวิต หากแต่ตัวบทและองค์ประกอบด้านต่างๆ ก็เสริมส่ง หุ่นยนต์เหล่านั้นมีมุมที่น่ารักและน่าจดจำในแบบของตัวเองเด่นชัด อย่างเวลานึกถึงบัมเบิ้ล บี เราจะนึกถึงฉากไหน นึกถึงออพติมัส ไพรม์ เราจะนึกถึงอะไร สรุปง่ายๆ ว่า หุ่นยนต์ทุกตัว “มีลีลา” และความน่าตื่นเต้นตื่นตาเฉพาะตัว เอาเฉพาะแค่ตอนที่มัน “ทรานสฟอร์ม” ก็เหลือรับประทานแล้ว
ขณะที่หุ่นใน Pacific Rim ต้องอาศัยคนบังคับ และส่วนที่จะประทับอยู่ในความทรงจำ คือเรื่องของ “คนบังคับ” ไม่ใช่หุ่นยนต์ อีกอย่างหนึ่ง ผมว่า ด้วยองค์ประกอบด้านมุมกล้องหรือแสงเงาอะไรก็ตาม ยังทำให้เจ้าเจเกอร์สดูหล่อดูเท่กว่านี้ได้อีก ฉากเปิดตัว หรือฉากอะไรๆ ควรจะทำให้เจเกอร์สดูมีเสน่ห์ได้มากกว่านี้ แต่โดยรวม หนังเพียงเน้นให้เห็นความใหญ่เบิ้มของหุ่นยนต์เป็นหลัก
กิลเลอร์โม เดล โตโร นั้นมีหุ่นยนต์ญี่ปุ่นหมายเลข 28 หรือ เท็ตสึจิน เป็นหุ่นยนต์ในดวงใจมาตั้งแต่เด็กๆ และ “เจเกอร์ส” แห่ง Pacific Rim ก็ไม่หงิมๆ ติ๋มๆ ที่จะบอกว่า มันคือหุ่นยนต์สายพันธุ์ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากเท็ตสึจิน ขนาดรูปร่างอันใหญ่โตมโหฬารราวกับยักษ์ของมัน ดูเข้ากันได้ดีกับสงครามที่ต้องฟาดฟันกับอสูรร้ายตัวใหญ่จากใต้พิภพ ด้วยไซส์ของหุ่นยนต์ สามารถตอบสนองโจทย์ของหนังที่มุ่งจะ “เอามัน” ได้เป็นอย่างดี เนื่องจากหุ่นยนต์ใหญ่ๆ สัตว์ประหลาดตัวใหญ่ๆ สู้กันทีไร ก็วินาศสันตะโรไปทั้งเมือง
กล่าวในฐานะของคนที่เป็นบิ๊กแฟนคนหนึ่งของหนังเดล โตโร ผมขอพูดจากใจจริงว่า นี่คือผลงานซึ่งดู “ง่าย” ที่สุดในบรรดาหนังของเขาทั้งหมด ในเชิงเนื้อหาประเด็น ความทะเยอทะยานในด้านการนำเสนอเนื้อหา ค่อนข้างน้อย ทั้งที่หนังสามารถจะทุบได้ในหลายจุด พูดสั้นๆ ว่าประเด็นของหนังมันไปไม่สุดสักด้าน บางประเด็นถูกเปิดขึ้นมาแล้วก็วางทิ้งไปอย่างนั้น อย่างเช่น เรื่องของการเชื่อมต่อระหว่างคนบังคับหุ่นสองคน หรือแม้แต่ประเด็นที่ถูกแง้มไว้ในหนังตัวอย่างว่า สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ย้อนกลับมาทำร้ายมนุษย์เอง...แต่ในหนังตัวจริง ประเด็นนี้เป็นแค่ติ่งที่งอกย้อยออกมาเท่านั้นเอง
แต่ก็อย่างที่ผมจะบอก กิลเลอร์โม เดล โตโร ทำหนังที่หนักอึ้งเข้มข้นมาเยอะแล้ว จอมยุทธ์ก็ย่อมมีวันพักผ่อน และวันพักผ่อนในหน้าร้อนนี้ของเดล โตโร ก็ดูจะเป็นการพักผ่อนที่เวิร์กเอามากๆ แม้ในอเมริกา รายได้เปิดตัวสัปดาห์แรกที่เข้าฉายจะน้อยกว่า Grown Ups 2 (!!!) แต่เชื่อได้ว่าในตลาดต่างบ้าน อย่างเช่นที่เมืองไทย หนังจะทำเงินเกินจุดที่น่าพอใจอย่างแน่นอน ใครอยากเสพหนังเนื้อหาหนักๆ อาจต้องเว้นวรรคไว้ก่อน เพราะตอนนี้ สิ่งที่เดล โตโร ต้องการจะบอก ก็คือ นอกจากสาระอันหนักอึ้งขึ้งเครียด โลกนี้มันยังมีสิ่งที่เรียกว่า “ความมัน” อยู่อีกหนึ่งอย่าง และ...ความมันแบบนั้น ก็ไม่ได้มีแค่ไมเคิล เบย์ หรือโรแลนด์ เอมเมอริช (อีกหนึ่งเจ้าตำรับหนังหายนะทำลายข้าวของ) เท่านั้นที่ทำได้!!
cr manager
http://www.manager.co.th/Entertainment/ViewNews.aspx?NewsID=9560000086325
Pacific Rim : ใหญ่ ยาว เอามัน!!
กิลเลอร์โม เดล โตโร นั้นคือหนึ่งใน “สามทหารเสือ” ผู้กำกับสายเลือดเม็กซิกันที่สร้างผลงานได้โดดเด่นมาโดยตลอด ส่วนอีกสองคน คือ “อเลฮานโดร กอนซาเลซ อินาร์ริตู” และ “อัลฟองโซ กัวรอง” อินาร์ริตูนั้นพิสูจน์ตัวเองมาเนิ่นนานในฐานะคนทำหนังคุณภาพสูง ไม่ว่าจะเป็น Amores Perros, 21 Grams มาจนถึง Babel และ Biutiful ขณะที่อัลฟองโซ กัวรอง ก็มีงานเด่นๆ หลายเรื่อง ไล่มาตั้งแต่ A Little Princess, Great Expectations และที่ผมชอบมากก็คือ Y To Mama Tambien (อี ตู มาม่า ทามเบี้ยน) แต่แฟนหนังแฮรี่ พอตเตอร์ จะจำคนนี้ได้ในบทบาทผู้กำกับ Harry Potter and the Prisoner of Azkaban
ส่วนทหารเสือรายที่สามอย่างกิลเลอร์โม เดล โตโร ถ้ายังจำกันได้ Hellboy เอย The Devil’s Backbone เอย หรือแม้แต่ Pan’s Labyrinth หนังจินตนาการแฟนตาซีมัวหม่น ก็คือผลงานที่ทำให้เขาสามารถยืนเคียงข้างทหารเสืออีกสองคนได้อย่างสง่าผ่าเผย นั่นยังไม่นับรวมบทบาทในการนั่งเป็นโปรดิวเซอร์ให้กับหนังสยองขวัญดีๆ หลายต่อหลายเรื่อง อย่าง The Orphanage, The Others หรืออย่างล่าสุดที่มาถึงบ้านเราเมื่อเร็วๆ นี้ เรื่อง “ผีหวงลูก” (Mama)
ในมุมมองของผม หลังจากที่ติดตามผลงานของเดล โตโร มาอย่างต่อเนื่อง จุดหนึ่งซึ่งผมชอบในหนังของผู้กำกับคนนี้ คือการมีเนื้อหาที่จับต้องสัมผัสได้ พูดง่ายๆ ว่าหนังมีประเด็น มีมิติในเชิงคุณค่าสาระ ไม่ต้องพูดถึง Pan’s Labyrinth ที่ถือได้ว่าเป็นมาสเตอร์พีซชิ้นหนึ่งของเดล โตโร ก็ว่าได้ แม้แต่ตอนที่เขาทำหนังซึ่งมีตัวละครเป็นเด็กอย่าง The Devil’s Backbone ก็ยังไม่พ้นที่จะมีประเด็นหนักอึ้งขึงขัง หนังอย่าง Hellboy ที่ดูเหมือนจะมีเบื้องหน้าเป็นหนังฮีโร่ แต่ก็เป็นฮีโร่แบบแหวกแนว ซึ่งอบอวลไปด้วยบรรยากาศหม่นมัว อันที่จริง อาจกล่าวได้ว่าเขาหม่นมาก่อน Batman ของคริสโตเฟอร์ โนแลน ด้วยซ้ำ
อย่างไรก็ตาม กล่าวสำหรับ Pacific Rim ผมคงต้องสะกิดตัวเองให้ไม่ลืมว่า ถ้าจะดูหนังหุ่นยนต์เรื่องนี้ให้สนุกอย่างถึงที่สุด อาจจำต้อง “วาง” ประสบการณ์ที่ผ่านมา ซึ่งเคยรู้สึกนึกคิดต่อหนังของเดล โตโร ไว้นอกโรงหนังก่อน
เพราะสิ่งที่ Pacific Rim จะมอบให้กับคนดูผู้ชมอย่างเอาจริงเอาจัง คือความบันเทิงชนิดที่เรียกได้ว่า “วินาศสันตะโร!”
หนังไม่พูดพล่ามทำเพลงหรือต้องรำมวยไหว้ครูอะไรกันให้เยิ่นเย้อ เปิดฉากมาก็ซัดกันตูมตามตั้งแต่นาทีแรกยันนาทีสุดท้าย มีช่วงเบรกบ้างนิดหน่อยเพื่อเว้นที่ว่างให้พักหายใจ แต่โดยภาพรวม นี่คือหนังที่เล่นกับฉากแอ็กชั่นการต่อสู้ได้คุ้มค่าเวลาความยาวสองชั่วโมง
จุดเกิดเหตุของ Pacific Rim เริ่มต้นจากสัตว์ประหลาดที่เรียกขานว่า “ไคจู” รุกรานโลกมาเนิ่นนาน และวิธีการของมนุษย์ก็คือสร้างหุ่นยนต์บังคับอย่าง “เจเกอร์ส” ขึ้นมาต่อกร สู้กันหลายยก แต่ก็ปราบไคจูได้ไม่ราบคาบ เนื้อเรื่องโดยคร่าวๆ ก็มีเพียงเท่านี้ และหนังก็วางโจทย์ไว้หลวมๆ แบบคาดเดาได้ว่าสุดท้ายแล้ว มนุษย์ก็จะสามารถพิชิตไคจู แต่จะด้วยรูปแบบวิธีการใดเท่านั้นเอง
ในด้านงานสร้าง Pacific Rim ถือว่าทำได้สมศักดิ์ศรีการเป็นหนังฟอร์มยักษ์บล็อกบัสเตอร์ช่วงซัมเมอร์ และหนังกลุ่มนี้ก็มักจะไม่ได้เรียกร้องต้องการอะไรมากไปกว่าความตูมตามโครมครามแบบถล่มทลาย เดล โตโร คงเข้าใจได้ในจุดนี้และเข้าใจดีว่าคนดูปรารถนาสิ่งใด ดังนั้น เขาจึง “จัดให้” แบบไม่ยั้งมือ สเปเชี่ยลเอฟเฟคต์ ทั้งภาพและเสียงถูกเหวี่ยงเข้าหาคนดูโดยเน้นความอลังการเป็นที่ตั้ง
ในส่วนตัวเรื่อง ผมว่า ก่อนที่จะลงมือเขียนบท เดล โตโร น่าจะทำการบ้านด้วยการดูหนังฮอลลีวูดสูตรสำเร็จบล็อกบัสเตอร์มาเยอะพอสมควร แล้วคิดว่ามันควรจะมีอะไรในสูตรสำเร็จนั้น หายนะของโลกที่มาจ่อคอหอย ศัตรูผู้รุกราน ฮีโร่ผู้เสียสละ การสูญเสีย ความขัดแย้งระหว่างคนในทีม หรือแม้แต่ตัวละครอย่างพวกอัจฉริยะสติเฟื่องและดูเปิ่นๆ ฮาๆ (แต่ไม่ตายแบบงั่งๆ เหมือนด็อกเตอร์นักวิทย์ฯ ใน World War Z 555) และจะว่าไป บรรยากาศโดยรวมมันดูคล้ายกับ ID 4 (Independence Day) ในหลายจุด ใครเคยดู ID 4 แล้วก็ลองเทียบเคียงบรรยากาศอารมณ์หรือแม้กระทั่งตัวละครดูได้
แต่เหนืออื่นใด คำถามหนึ่งซึ่งผมถูกถามทั้งทางรายกาย Viewfinder (ช่องซูเปอร์บันเทิง) และรายการวิทยุ “ชวนคิด ชวนคุย” ก็คือ แล้วหุ่นยนต์ในเรื่องนี้ เมื่อเทียบกับบรรดาหุ่นยนต์ในหนังของไมเคิล เบย์ เรื่อง Transformers เป็นอย่างไร
ผมว่ามันเป็นสิ่งที่เปรียบเทียบกันได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากมันเป็นหุ่นยนต์คนละแบบ หุ่นยนต์ของไมเคิล เบย์ คือหุ่นยนต์มีชีวิต ขณะที่ฝ่ายของเดล โตโร เป็นหุ่นยนต์ที่ต้องพึ่งคนบังคับ แต่ถ้าจะต้องเลือกประทับใจสักฝ่ายจริงๆ ผมยังคงรู้สึกว่าหุ่นยนต์ของ Transformers มีความน่าจดจำมากกว่า เพราะมันไม่เพียงแค่มีชีวิต หากแต่ตัวบทและองค์ประกอบด้านต่างๆ ก็เสริมส่ง หุ่นยนต์เหล่านั้นมีมุมที่น่ารักและน่าจดจำในแบบของตัวเองเด่นชัด อย่างเวลานึกถึงบัมเบิ้ล บี เราจะนึกถึงฉากไหน นึกถึงออพติมัส ไพรม์ เราจะนึกถึงอะไร สรุปง่ายๆ ว่า หุ่นยนต์ทุกตัว “มีลีลา” และความน่าตื่นเต้นตื่นตาเฉพาะตัว เอาเฉพาะแค่ตอนที่มัน “ทรานสฟอร์ม” ก็เหลือรับประทานแล้ว
ขณะที่หุ่นใน Pacific Rim ต้องอาศัยคนบังคับ และส่วนที่จะประทับอยู่ในความทรงจำ คือเรื่องของ “คนบังคับ” ไม่ใช่หุ่นยนต์ อีกอย่างหนึ่ง ผมว่า ด้วยองค์ประกอบด้านมุมกล้องหรือแสงเงาอะไรก็ตาม ยังทำให้เจ้าเจเกอร์สดูหล่อดูเท่กว่านี้ได้อีก ฉากเปิดตัว หรือฉากอะไรๆ ควรจะทำให้เจเกอร์สดูมีเสน่ห์ได้มากกว่านี้ แต่โดยรวม หนังเพียงเน้นให้เห็นความใหญ่เบิ้มของหุ่นยนต์เป็นหลัก
กิลเลอร์โม เดล โตโร นั้นมีหุ่นยนต์ญี่ปุ่นหมายเลข 28 หรือ เท็ตสึจิน เป็นหุ่นยนต์ในดวงใจมาตั้งแต่เด็กๆ และ “เจเกอร์ส” แห่ง Pacific Rim ก็ไม่หงิมๆ ติ๋มๆ ที่จะบอกว่า มันคือหุ่นยนต์สายพันธุ์ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากเท็ตสึจิน ขนาดรูปร่างอันใหญ่โตมโหฬารราวกับยักษ์ของมัน ดูเข้ากันได้ดีกับสงครามที่ต้องฟาดฟันกับอสูรร้ายตัวใหญ่จากใต้พิภพ ด้วยไซส์ของหุ่นยนต์ สามารถตอบสนองโจทย์ของหนังที่มุ่งจะ “เอามัน” ได้เป็นอย่างดี เนื่องจากหุ่นยนต์ใหญ่ๆ สัตว์ประหลาดตัวใหญ่ๆ สู้กันทีไร ก็วินาศสันตะโรไปทั้งเมือง
กล่าวในฐานะของคนที่เป็นบิ๊กแฟนคนหนึ่งของหนังเดล โตโร ผมขอพูดจากใจจริงว่า นี่คือผลงานซึ่งดู “ง่าย” ที่สุดในบรรดาหนังของเขาทั้งหมด ในเชิงเนื้อหาประเด็น ความทะเยอทะยานในด้านการนำเสนอเนื้อหา ค่อนข้างน้อย ทั้งที่หนังสามารถจะทุบได้ในหลายจุด พูดสั้นๆ ว่าประเด็นของหนังมันไปไม่สุดสักด้าน บางประเด็นถูกเปิดขึ้นมาแล้วก็วางทิ้งไปอย่างนั้น อย่างเช่น เรื่องของการเชื่อมต่อระหว่างคนบังคับหุ่นสองคน หรือแม้แต่ประเด็นที่ถูกแง้มไว้ในหนังตัวอย่างว่า สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ย้อนกลับมาทำร้ายมนุษย์เอง...แต่ในหนังตัวจริง ประเด็นนี้เป็นแค่ติ่งที่งอกย้อยออกมาเท่านั้นเอง
แต่ก็อย่างที่ผมจะบอก กิลเลอร์โม เดล โตโร ทำหนังที่หนักอึ้งเข้มข้นมาเยอะแล้ว จอมยุทธ์ก็ย่อมมีวันพักผ่อน และวันพักผ่อนในหน้าร้อนนี้ของเดล โตโร ก็ดูจะเป็นการพักผ่อนที่เวิร์กเอามากๆ แม้ในอเมริกา รายได้เปิดตัวสัปดาห์แรกที่เข้าฉายจะน้อยกว่า Grown Ups 2 (!!!) แต่เชื่อได้ว่าในตลาดต่างบ้าน อย่างเช่นที่เมืองไทย หนังจะทำเงินเกินจุดที่น่าพอใจอย่างแน่นอน ใครอยากเสพหนังเนื้อหาหนักๆ อาจต้องเว้นวรรคไว้ก่อน เพราะตอนนี้ สิ่งที่เดล โตโร ต้องการจะบอก ก็คือ นอกจากสาระอันหนักอึ้งขึ้งเครียด โลกนี้มันยังมีสิ่งที่เรียกว่า “ความมัน” อยู่อีกหนึ่งอย่าง และ...ความมันแบบนั้น ก็ไม่ได้มีแค่ไมเคิล เบย์ หรือโรแลนด์ เอมเมอริช (อีกหนึ่งเจ้าตำรับหนังหายนะทำลายข้าวของ) เท่านั้นที่ทำได้!!
cr manager
http://www.manager.co.th/Entertainment/ViewNews.aspx?NewsID=9560000086325