ซื้อที่ปลูกบ้านเองกับบ้านจัดสรร ข้อดีข้อเสียต่างกันยังไงครับ

กระทู้คำถาม
อายุมากก็เริ่มคิดเรื่องมีบ้านละ ขอความรู้หน่อยครับ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 17
ประสบการณ์ ซื้อที่ดินบ้านจัดสรร และปลูกบ้านเองเหมือนกันค่ะ
ข้อดี
1. ได้แบบตามต้องการ พื้นที่ใช้สอยกำหนดเองได้ว่าตรงไหนเป็นห้องอะไร
2. ถูกกว่าซื้อบ้านจัดสรร
3. ได้วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ก่อสร้างดี เพราะเราเลือกเอง เรารู้ว่าเป็นอย่างไร ตามขนาดที่กำหนดในแบบเป๊ะ
4. มีเพื่อนบ้านอยู่ร่วมกันเยอะ ดีกว่าอยู่บ้านหลังเดียว
5. ไม่ต้องเสียค่าส่วนกลาง

ข้อเสีย
1. เหนื่อยกับผู้รับเหมาหน่อย
2. อาจมีงานช้าบ้างบางครั้ง
3. หากหมู่บ้านไหนกำหนดเวลาในการทำงานก็จะลำบากนิดนึง แต่ก็ทำได้

ขอแนะนำนะค่ะ จากประสบการณ์จริงที่เจอเองตั้งแต่ต้นจนจบ มาพร้อมด้วยความโชคดี
สร้างบ้านเองเหมือนกันค่ะ โชคดีหลายต่อ เริ่มตั้งแต่เลือกซื้อที่ดินก็ได้ราคาถูก อยู่ในเมือง ใกล้บ้านแม่สามี ได้เพื่อนบ้านดี ได้เนื้อที่เยอะ ได้บ้านตามต้องการ หมู่บ้านไม่ได้ fix เรื่องเวลาก่อสร้าง
ก่อนเริ่มจะคิดสร้างบ้าน (เรือนหอ) เราต้องดูความต้องการของเราก่อนว่า
1. ศึกษาข้อมูลก่อน เช่น การเขียนแบบ เลือกผู้รับเหมา ผู้คุมงาน การขออนุญาตก่อสร้าง ซึ่งเก๋ให้บริษัทหนึ่งเขียนแบบให้ เค้าก็จะมีเซ็นเป็นผู้ออกแบบและสถาปนิกให้เรา แต่เราต้องหาวิศวกรและผู้คุมงานเองค่ะ ซึ่งเราก็โชคดีที่มีเพื่อนแนะนำให้เพราะเป็นเพื่อนของพี่ชายเค้า

2. ต้องคิดว่าเราอยากได้บ้านแบบไหน เนื้อที่เท่าไร มีห้องกี่ห้อง เพราะเวลาเราจะเขียนแบบ สถาปนิกต้องถามเราแน่นอน

3. เราต้องกำหนดงบประมาณในการก่อสร้างว่าเท่าไร  เพราะสถาปนิกเค้าจะเขียนแบบให้เราตามงบประมาณของเรา + วัสดุที่เราจะใช้ว่า มาตราฐาน กลางๆ หรือพรี่เมี่ยม

4. เมื่อขณะเขียนแบบ เราต้องบอกความต้องการให้กับสถาปนิกให้หมดว่าเราต้องการอะไร และต้องมานั่ง review ว่าแบบที่เค้าเขียนให้เรานั้น เราต้องแก้ไขหรือไม่  อือ! ลืมบอก เราต้องตกลงกับสถาปนิกก่อนนะว่าเราสามารถแก้ไขแบบได้กี่ครั้ง และเค้าจะเข้ามาตรวจสอบงานก่อสร้างให้เรากี่ครั้ง และปรึกษาได้ตลอดเวลาหรือไม่ เพราะเค้าในฐานะผู้เขียนแบบให้เรา เค้าต้องรับผิดชอบการก่อสร้างส่วนหนึ่ง

5. เราต้องมีผู้ควบคุมงาน แทนเรา เพราะเค้าจะรู้ดีกว่าเรา  และเราจะได้ไม่ต้องเหนื่อย และเรายังสามารถให้เค้าคุยกับผู้รับเหมาเราได้หากทำงานผิดพลาด  เก๋จ่ายไปเดือนละ 5,000 บาท จ้างทั้งหมด 6 เดือน ส่วนตอนปูกระเบี้อง ทาสี เราดูเอง เพราะไม่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญทางวิชาการมาก เก๋เรื่องรากฐานให้มั่นคงแข็งแรงมากกว่า

6. การหาผู้รับเหมา ต้องเลือกมาหลายๆ ที่ และเอาแบบให้เค้าตีราคาก่อสร้างมา อย่างน้อยต้อง 3 เจ้า และที่สำคัญเราต้องเข้าไปดูหน้างานที่เค้าก่อสร้างด้วย  ตอนเก๋จะเริ่มสร้างบ้าน เคยไปดูงานก่อสร้างกับ selectcon ก็ได้ความรู้เยอะมากเรื่องสร้างบ้าน

7. การหาวัสดุก่อสร้าง  เราสามารถสอบถามคนเขียนแบบ ผู้รับเหมา หรือวิศวกร สถาปนิกของเราได้ว่าเป็นอย่างไง ที่ไหน o.k พอดีเก๋ได้คนแนะนำเรื่องวัสดุก่อสร้างจากพวกเค้าเรานั่นที่เอ่ยไป แล้วได้ราคาถูกมาก  ตั้งแต่ซื้อเสาเข็ม ปูน เหล็ก คอนกรีต แผ่นพื้นสำเร็จรูป กระจก อลูมิเนียม ส่วนประตูไม้สัก ก็ search หาจากทาง internet สั่งตรงจากทางภาคเหนือได้ราคาถูกกว่าซื้อในกรุงเทพ 2-3 เท่า และไม้พื้น คือ บ้านเก๋ปูพื้นไม้จริง ก็มีคนแนะนำให้ได้ราคาถูกมาก

8. ส่วนหลังคา ใช้ของ SCG และจ้างมุงพร้อม

9. อ๋อ! ลืมบอก เรื่องการขออนุญาต ก็ยื่นธรรมดา ไม่ต้องเสียตังค์ใต้โต๊ะ เสียแค่ 200 กว่าบ้าน พื้นที่ใช้สอยประมาณ 300 ตร.ม. ตอนแรกก็โดนเรียกเหมือนกัน แต่เราไม่จ่าย เพราะไปดูระเบียบในการออกใบอนุญาตก่อสร้าง เค้าระบุเลยนะว่า ประชาชนมาขอก่อสร้างบ้านต้องทำให้แล้วเสร็จ ตั้งแต่วันยื่นภายใน 20 วันทำการ เค้ามี SLA กันอยู่นะตามระเบียบ เพราะเรามั่นใจว่าแบบเราถูกต้องแน่นอน

10. ลืมอีกข้อ! การเขียนแบบต้องเขียนให้ละเอียด เพราะยิ่งละเอียดเท่าไรจะยิ่งมีผลดีตอนก่อสร้างบ้าน เพราะมันบอกทุกอย่างว่า กี่เซนติเมตร ขนาดเท่าไร บอกแม้กระทั่ง ฝักบัวติดจากพื้นกี่เซน เป็นต้น  และจากประสบการณ์ที่ผ่านมา ก็เจอว่า บ้านเพื่อน กับบ้านเราสร้างพร้อมกัน เราใช้บริษัทเขียนแบบ ส่วนเพื่อนใช้คนรู้จักเขียน ของเราแบบมี 80 หน้า ของเพื่อนมีไม่ถึง 20 หน้า ทั้งๆ ที่บ้านเพื่อนมีพื้นที่ใช้สอยมากกว่าเราอีก  สิ่งที่เจอ  บ้านเราไม่มีปัญหาในการก่อสร้าง ส่วนบ้านเพื่อนแก้ไขตั้งแต่ยื่นขออนุญาตตั้งหลายรอบ และพอก่อสร้างมีปัญหา โครงสร้างหลังคาผิดหมด ต้องแก้ไขปัญหากันเยอะมาก

หากต้องการสอบถามการก่อสร้างบ้านยินดีให้คำปรึกษาทุกเรื่องค่ะ รวมถึงการซื้อวัสดุก่อสร้างด้วยค่ะ สามารถแนะนำให้ได้ทั้งหมดค่ะ
หลังไมค์ได้นะค่ะ 086-0366449 (เก๋) 081-9886235 (อาร์ท แฟนเก๋เองค่ะ)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่