คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 5
ลองหาอ่านทฤษฎีทางจิตวิทยา ของอีริคสันดูนะคะ ^_^
ลูกของคุณกำลังอยู่ในระยะ ซึ่งอีริคสันเรียกว่า ขั้นของความไว้วางใจ/ ไม่ไว้วางใจ
ซึ่งในปีแรกที่เด็กเกิดมานั้น ทารกไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ จึงจำเป็นอย่างมากที่จะต้องพึ่งพาอาศัยผู้อื่นในการดูแลเอาใจใส่ทุกด้าน
ไม่ว่าจะเป็นความรัก การกอดรัดสัมผัส พูดคุย เล่นด้วย การได้รับสัมผัสที่อบอุ่น หรือเมื่อหิวก็ได้ดูดนม ได้อาหาร ได้ความอบอุ่นปลอดภัย
กล่าวคือจำเป็นจะต้องได้รับความรักความพอใจทั้งทางร่างกายและอารมณ์ หากได้รับการเติมเต็มในสิ่งเหล่านี้อย่างเพียงพอ
เด็กก็จะเรียนรู้ที่จะไว้วางใจในสิ่งแวดล้อม เช่น แม่ ครอบครัว ผู้เลี้ยงดู รวมไปถึงคนรอบตัว สภาพแวดล้อม และไว้ใจตนเองด้วย
แต่ตรงกันข้าม เมื่อหิวก็ไม่ได้กิน อยู่คนเดียว ไม่มีการกอดรัดสัมผัส ต้องทนอยู่ในสภาพที่หวาดกลัว ร้องให้จ้าแต่ก็ไม่มีแม่มาปลอบ
นอนร้องให้อยู่ในห้องคนเดียว หรืออดๆอยากๆ ท้องหิวก็ไม่ได้กินอิ่ม หนาวก็ไม่มีคนกอด ไม่ได้รับความรักอย่างเพียงพอ
ทารกนั้นจะมีอาการหวั่นกลัว พัฒนาไปเป็นความไม่ไว้วางใจผู้ใดหรือสภาพแวดล้อมใดๆ ทั้งนี้รวมทั้งไม่ไว้วางใจตนเองด้วย
*** ที่เขียนมาไม่ได้บอกว่าลูก จขกท. จะกลายเป็นแบบในทฤษฎีนะคะ เพียงแต่อยากให้จขกท. ซึ่งเป็นคุณพ่อคุณแม่เห็นความสำคัญของ
การเลี้ยงดูในวัยแรกเกิดถึง - 2 ปี ซึ่งจะเป็นพื้นฐานที่สำคัญของบุคลิกภาพลูกๆ ในอนาคตค่ะ
ลูกของคุณกำลังอยู่ในระยะ ซึ่งอีริคสันเรียกว่า ขั้นของความไว้วางใจ/ ไม่ไว้วางใจ
ซึ่งในปีแรกที่เด็กเกิดมานั้น ทารกไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ จึงจำเป็นอย่างมากที่จะต้องพึ่งพาอาศัยผู้อื่นในการดูแลเอาใจใส่ทุกด้าน
ไม่ว่าจะเป็นความรัก การกอดรัดสัมผัส พูดคุย เล่นด้วย การได้รับสัมผัสที่อบอุ่น หรือเมื่อหิวก็ได้ดูดนม ได้อาหาร ได้ความอบอุ่นปลอดภัย
กล่าวคือจำเป็นจะต้องได้รับความรักความพอใจทั้งทางร่างกายและอารมณ์ หากได้รับการเติมเต็มในสิ่งเหล่านี้อย่างเพียงพอ
เด็กก็จะเรียนรู้ที่จะไว้วางใจในสิ่งแวดล้อม เช่น แม่ ครอบครัว ผู้เลี้ยงดู รวมไปถึงคนรอบตัว สภาพแวดล้อม และไว้ใจตนเองด้วย
แต่ตรงกันข้าม เมื่อหิวก็ไม่ได้กิน อยู่คนเดียว ไม่มีการกอดรัดสัมผัส ต้องทนอยู่ในสภาพที่หวาดกลัว ร้องให้จ้าแต่ก็ไม่มีแม่มาปลอบ
นอนร้องให้อยู่ในห้องคนเดียว หรืออดๆอยากๆ ท้องหิวก็ไม่ได้กินอิ่ม หนาวก็ไม่มีคนกอด ไม่ได้รับความรักอย่างเพียงพอ
ทารกนั้นจะมีอาการหวั่นกลัว พัฒนาไปเป็นความไม่ไว้วางใจผู้ใดหรือสภาพแวดล้อมใดๆ ทั้งนี้รวมทั้งไม่ไว้วางใจตนเองด้วย
*** ที่เขียนมาไม่ได้บอกว่าลูก จขกท. จะกลายเป็นแบบในทฤษฎีนะคะ เพียงแต่อยากให้จขกท. ซึ่งเป็นคุณพ่อคุณแม่เห็นความสำคัญของ
การเลี้ยงดูในวัยแรกเกิดถึง - 2 ปี ซึ่งจะเป็นพื้นฐานที่สำคัญของบุคลิกภาพลูกๆ ในอนาคตค่ะ
แสดงความคิดเห็น
เด็ก 5 เดือนนิดๆ เสียใจเพราะตื่นมาไม่เห็นใคร เด็กจะจำความเสียใจนี้ได้นานมั้ยครับ
พอดีว่ามันเป็นเวลานอนของเค้า ก็เลยชะล่าใจว่าลูกคงไม่ตื่นขึ้นมากลางดึก แต่ก็ได้บอกให้หลานไปดูเป็นระยะๆ
ทีนี้ หลานก็มาบอกว่า น้องตื่นแล้ว ร้องไห้อยู่ เราสองคนก็ไม่รู้ว่าร้องไห้มานานแค่ไหนแล้ว (ปกติจะมีคนอยู่กับลูกตลอดเวลา ไม่พ่อ ก็ แม่)
แฟนผมก็รีบวิ่งไปดู และกล่อมหลับ แต่ลูกมีอาการที่แปลกกว่าปกติ คือ
- ร้องไห้ เสียงดังมาก
- ไม่เอาแม่
- ปลอบก็ไม่เงียบ
(ปกติจะเป็นเด็กนอนง่าย ปลอบง่าย)
ต้องปลอบกันอยู่นานถึงจะนอนหลับได้อีกครั้ง
แต่ปัญหาคือ วันต่อมา พอจะวางลูกนอน หลังจากกินนมแม่อิ่มแล้ว ลูกไม่ยอมนอน จะร้องขึ้นมาทันที พออุ้มขึ้นมากกอดก็จะเลิ่กลั่กๆ เหมือนพยายามมองหาคน ซักพักก็จะหลับคาอกไป บางทีหลับๆ อยู่ก็สะอื้นไห้ขึ้นมา
เป็นทุกครั้งที่จะวางลูกนอน หลังจากให้นมแม่ ถ้าจะให้นอนง่ายก็ต้องนอนอยู่ด้วยกัน ร้องเพลงให้ฟัง ตบก้นไปเรื่อยๆ ถึงจะหลับลึก หลับสนิท
ยิ่งเมื่อคืน กว่าจะเอาลูกนอนได้ ยากมาก 3-4 รอบ ที่มีอาการแบบนี้
ผมกับแฟนเลยสงสัยว่า เพราะลูกเสียใจ และกลัวการนอนหรือเปล่า กลัวนอนแล้วตื่นขึ้นมาไม่เจอใครอีก
เลยอยากจะถามว่า เคยมีลูกๆ ของเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ คนไหนที่รู้สึกเสียใจ กับเรื่องอะไรก็ตามในอายุประมาณนี้ แล้วมีอาการเหมือนลูกผมหรือเปล่า
แล้วนานมั้ย กว่าจะลืมความเสียใจครั้งนี้ไปได้