คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
คนมาเรียนภาคบัณฑิตจะมีหลายความฝันนะครับ เช่น
๑.เรียนเพื่อเปลี่ยนสายงาน เพราะกฎหมายเป็นวิชาชีพ การจะประกอบวิชาชีพทางกฎหมายได้จะต้องได้ น.บ. เท่านั้น พวกนี้ก็จะเป็นทนายความ อัยการ ผู้พิพากษา นิติกร เป็นต้น
๒.เรียนเพื่อเสริมกับอาชีพเดิมของตนเองโดยไม่คิดเปลี่ยนสายงาน เช่น บัญชีและกฎหมาย
๓.เรียนเพื่อรู้เฉยๆ เอาความรู้ไว้ป้องกันตัว ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
๔.เรียนเพื่อหาแฟน กิ๊ก หรืออะไรแล้วแต่จะเรียก
๕.เรียนเพื่อสร้างคอนเนคชั่นกับอาจารย์และเพื่อนร่วมรุ่น
๖.เรียนเพื่อชุบตัว หลายคนมีปมด้อยที่สถาบันตอนป.ตรีใบแรกจบสถาบันเกรดต่ำๆ เลยมาเรียนภาคบัณฑิต ของจุฬาฯ มธ.เพื่อให้ได้ชื่อว่าจบป.ตรี มาจากมหาลัยปิดชั้นนำของประเทศไทย เพราะถ้าไปต่อป.โท จุฬาฯ มธ. คนก็จะถามต่อได้อีกว่าจบป.ตรีใบแรกมาจากไหน สู้เรียนป.ตรีใหม่อีกใบไม่ได้(อันนี้ต้องยอมรับว่ามีคนคิดแบบนี้มีอยู่จริง)
และอื่นๆ ฯลฯ
ทั้งนี้ทั้งนั้น บางคนอาจมีแค่ข้อเดียว บางคนอาจมีแรงจูงใจผสมๆกันมากกว่า 1 ข้อก็ได้
๑.เรียนเพื่อเปลี่ยนสายงาน เพราะกฎหมายเป็นวิชาชีพ การจะประกอบวิชาชีพทางกฎหมายได้จะต้องได้ น.บ. เท่านั้น พวกนี้ก็จะเป็นทนายความ อัยการ ผู้พิพากษา นิติกร เป็นต้น
๒.เรียนเพื่อเสริมกับอาชีพเดิมของตนเองโดยไม่คิดเปลี่ยนสายงาน เช่น บัญชีและกฎหมาย
๓.เรียนเพื่อรู้เฉยๆ เอาความรู้ไว้ป้องกันตัว ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
๔.เรียนเพื่อหาแฟน กิ๊ก หรืออะไรแล้วแต่จะเรียก
๕.เรียนเพื่อสร้างคอนเนคชั่นกับอาจารย์และเพื่อนร่วมรุ่น
๖.เรียนเพื่อชุบตัว หลายคนมีปมด้อยที่สถาบันตอนป.ตรีใบแรกจบสถาบันเกรดต่ำๆ เลยมาเรียนภาคบัณฑิต ของจุฬาฯ มธ.เพื่อให้ได้ชื่อว่าจบป.ตรี มาจากมหาลัยปิดชั้นนำของประเทศไทย เพราะถ้าไปต่อป.โท จุฬาฯ มธ. คนก็จะถามต่อได้อีกว่าจบป.ตรีใบแรกมาจากไหน สู้เรียนป.ตรีใหม่อีกใบไม่ได้(อันนี้ต้องยอมรับว่ามีคนคิดแบบนี้มีอยู่จริง)
และอื่นๆ ฯลฯ
ทั้งนี้ทั้งนั้น บางคนอาจมีแค่ข้อเดียว บางคนอาจมีแรงจูงใจผสมๆกันมากกว่า 1 ข้อก็ได้
แสดงความคิดเห็น
โดยปกติ คนที่เรียนคณะนิติศาสตร์ ภาคบัณฑิต จุฬาฯและม.ธรรมศาสตร์ นี่คือ เรียนเพื่อเปลี่ยนสายงานใช่ไหม?
และหากต้องการเรียนเพื่อเปลี่ยนสายอาชีพจริงๆ มันช้าไปไหมกับการเริ่มต้นสายอาชีพนี้เมื่ออายุปูนนั้น (ประมาณ 35+) ประมาณว่าทำ Firm ดังๆ (ถ้าสังขารยังไหวและภาษาได้) หรือเป็นที่ปรึกษาด้านกฎหมายในบริษัทชั้นนำ ผมไม่ขอนับอาชีพราชการเช่น อัยการ, ผู้ช่วยผู้พิพากษา, อาจารย์มหาวิทยาลัย ฯลฯ เพราะอาชีพเหล่านั้นสามารถเป็นได้ หากโอกาสและความสามารถเป็นใจ ไม่ใช่เรื่องของอายุ
ปล. ที่ผมถามเพราะผมเองก็อยากรู้จริงๆว่า คนที่มาเรียนคณะนิติฯ หลังจบการศึกษาระดับปริญญาตรีมันจะเวิร์คเหมือนกับระบบการเรียนการสอนนิติศาสตร์ตามแบบฉบับอเมริกันหรือเปล่า? และคนที่มาเรียนนั้น พวกเขาต้องการเรียนเพื่ออะไร? (กระทู้นี้ผมตั้งครั้งแรกนับตั้งแต่เว็บพันทิปเปลี่ยนแปลงระบบครับ ไม่ได้มีเจตนาอะไรใดๆที่ต้องการให้เกิดเรื่องชวนทะเลาะ จึงขอให้ทราบมา ณ ที่นี้ด้วย)